จิตคืออะไร?จิตมีชื่อเรียกถึง ๑๐ ชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อรูปาวจรจิต

    อรูปาวจรจิต เป็นจิตที่ถึงซึ่งอรูปฌาน เป็นจิตที่โดยมากท่องเที่ยว อยู่ในอรูปภูมิ
    มี คาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๙ แสดงว่า

    ๙. อาลมฺพนปฺปเภเทน จตุธารุปฺปมานสํ
    ปุญฺญปากฺริยาเภทา ปุน ทฺวามสธา ฐิตํ ฯ


    แปลความว่า อรูปาวจรจิตนั้น กล่าวโดยประเภทแห่งอารมณ์ ก็มี ๔ แล้วจำแนกตามประเภท
    แห่งชาติ กุศล วิบาก กิริยา อีก จึงเป็น ๑๒ ดวง

    มีคำอธิบายว่า อรูปาวจรจิต กล่าวโดยประเภทแห่งอารมณ์แล้วมี ๔ คือ

    ๑. มี กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ เป็นอารมณ์ หมายถึงอากาศที่เพิกกสิณแล้ว
    เป็นอากาศที่ว่างเปล่าไม่มีที่สิ้นสุดเป็น อารมณ์ โดยบริกรรมว่า อากาโส อนนฺโต อากาศไม่มีที่สิ้นสุด
    จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยมี กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ
    เป็นอารมณ์นี้ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน บางทีเรียกว่า ปฐมารูปจิต คือ ปฐมอรูปจิต เป็นอรูปาวจรจิตชั้นต้น

    ๒. มี อากาสานัญจายตนจิต เป็นอารมณ์ หมายถึงวิญญาณคือตัวรู้ หน่วงเอาตัวที่รู้ว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
    นั้นแหละ เป็นอารมณ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็ว่า เพ่งหรือหน่วงเอาปฐมารูปจิตเป็นอารมณ์
    โดยบริกรรมว่า วิญฺญาณํ อนนฺตํ วิญญาณ ไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น
    ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยมาอากาสานัญจายตนจิตเป็นอารมณ์นี้ ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาน
    บางทีก็เรียกว่า ทุติยารูปจิต คือ ทุติยอรูปจิต เป็น อรูปาวจรชั้นที่ ๒

    ๓. มี นัถติภาวบัญญัติ เป็นอารมณ์ คือสภาพที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ มีความหมายว่า
    เมื่อได้เจริญวิญญาณัญจายตนฌานบ่อยๆ จนชำนาญ ก็จะรู้สึกขึ้นมาว่า วิญญาณ คือตัวรู้ว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี
    แม้แต่อากาศที่ไม่มีที่ สิ้นสุดนั้นเองก็ดี จะมีอะไรแม้แต่สักหน่อยหนึ่งก็หาไม่ จึงได้มาเพ่งถึงความไม่มี
    โดยบริกรรมว่า นตฺถิ กิญฺจิ นิดหนึ่งก็ไม่มีหน่อย หนึ่งก็ไม่มีจนกว่าฌานจะเกิดขึ้น
    ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยมี นัตถิภาวบัญญัติ เป็นอารมณ์นี้ ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน
    บางทีก็เรียกว่า ตติยารูปจิต คือ ตติยอรูปจิต เป็นอรูปาวจรจิตชั้นที่ ๓

    ๔. มี อากิญจัญญายตนจิต เป็นอารมณ์ คือหน่วงเอาตติยารูปจิต เป็นอารมณ์กำหนด
    เอาความปราณีตละเอียดของตติยรูปจิตเป็นอารมณ์โดยความรู้สึกว่า สัญญาคือจิตที่รู้นิดหนึ่งก็ไม่มี
    หน่อยหนึ่งก็ไม่มีนั้นจะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะยังมีตัว รู้ว่าไม่มีอยู่ จะว่ามีก็ไม่เชิง
    เพราะสัญญานั้นปราณีตละเอียดอ่อนและสงบมากเหลือเกิน จนแทบจะไม่รู้ว่ามี
    ดังนั้นจึงกำหนด เพ่งธรรมชาติที่สงบที่ปราณีต

    โดยบริกรรมว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ สงบหนอ ประณีตหนอ
    จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยอากิญจัญญายตนจิตเป็นอารมณ์เช่นนี้
    ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ซึ่งแปลว่าฌานที่ไม่มีสัญญาหยาบ
    มีแต่สัญญาละเอียด หรือ ฌานที่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ จะว่ามีสัญญาก็ไม่เชิง
    บางทีเรียกฌานนี้ว่าจตุตถารูปจิต คือจตุตถอรูปจิตเป็นอรูปาวจรจิตชั้นที่ ๔ อันเป็นชั้นสูงสุดเพียงนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 6109-2.gif
      6109-2.gif
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      119
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2013
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การจำแนกอรูปฌาน ๔ โดยชาติ คือ
    อรูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรวิบากจิต และ อรูปาวจรกิริยาจิต ก็มีอย่างละ ๔ คือ

    อรูปาวจรกุศลจิต

    อรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่บำเพ็ญจนถึงอรูปฌาน
    เป็นจิตที่ตกแต่งบุญกุศลไว้เพื่อรับสมบัติ ก็มีอย่างละ ๔ คือ

    ๑. อากาสานัญจายตนกุศลจิต
    ๒. วิญญาณัญจายตนกุศลจิต
    ๓. อากิญจัญญายตนกุศลจิต
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต

    อรูปาวจรจิตวิบากจิต

    อรูปาวจรวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศลจิต
    เป็นจิตที่เสวยสมบัติซึ่งอรูปาวจรกุศลจิตได้ตกแต่งมาให้
    เป็นจิตของอรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๔ ดวง
    อันเป็นจำนวนที่เท่ากันกับอรูปาวจรกุศลจิต

    อรูปาวจรวิบากจิต ๔ ดวง คือ

    ๑. อากาสานัญจายตนวิบากจิต
    ๒. วิญญาณัญจายตนวิบากจิต
    ๓. อากิญจัญญายตนวิบากจิต
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิต

    อรูปาวจรกิริยาจิต

    อรูปาวจกิริยาจิต เป็นจิตโดยเฉพาะของพระอรหันต์ที่เข้าอรูปฌานมีสำนวนเก่าอธิบายว่า
    อรูปาวจรกุศลกับอรูปาวจรกิริยานั้นเหมือนกันต่างแต่ที่เกิด อรูปาวจรกุศลเกิดในสันดานปุถุชน
    และเสกขบุคคล ส่วนอรูปาวจรกิริยาเกิดในสันดาน อเสกขบุคคล (คือ พระอรหันต์)

    อรูปาวจรกิริยาจิต มีจำนวน ๔ ดวง คือ

    ๑. อากาสานัญจายตนกิริยาจิต
    ๒. วิญญาณัญจายตนกิริยาจิต
    ๓. อากิญจัญญายตนกิริยาจิต
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต


    ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า รูปาวจรจิตนั้น อารมณ์อาจจะเหมือนกัน
    แต่แตกต่างกันที่องค์ฌาน กล่าวคือ องค์ฌานไม่เท่ากัน
    ส่วนอรูปาวจรจิตนั้น องค์ฌานเท่ากัน และเหมือนกัน
    แต่แตกต่างกันที่อารมณ์ไม่เหมือนกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 6109-2.gif
      6109-2.gif
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      135
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2013
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มหัคคตจิต

    ใน อัฐสาลินีอรรถกถา แสดงว่า

    มหนฺตภาวํ คตาติ มหคฺคตา
    แปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติที่ถึงซึ่งความเป็นใหญ่นั้น เรียกว่า มหัคคตะ

    ที่ว่า ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ นั้น มีอรรถาธิบายว่า
    ก. ข่มกิเลสไว้ได้นาน ชนิดที่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
    ข. มีผลอันไพบูลย์ คือมีพรหมวิหารธรรม ได้เสวยสมบัติในพรหมโลก
    ค. เกิดขึ้นสืบต่อกันได้เป็นเวลานาน เป็นรูปพรหม อรูปพรหมที่อายุยืนยาวกว่าสัตว์อื่นทั้งหลาย
    จิตที่ประกอบด้วยมหัคคตธรรมนี้เรียกว่า มหัคคตจิต มี ๒๗ ดวง คือ รูปาวจรจิต ๑๕ และ อรูปาวจรจิต ๑๒

    จำแนกมหัคคตจิตโดยชาติเภทเป็นต้น

    ๑. ชาติเภท มหัคคตกุศลจิต ๙ ดวง เป็นชาติกุศล
    มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง เป็นชาติวิบาก
    มหัคคตกิริยาจิต ๙ ดวง เป็นชาติกิริยา

    ๒. ภูมิเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวงนั้น รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง เป็นรูปาวจรภูมิ คือเป็นจิตชั้นรูปาวจร
    อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง เป็นอรูปาวจรภูมิ คือเป็นจิตชั้นอรูปาวจร

    ๓. เวทนาเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีเวทนา ๒ อย่าง คือ รูปาวจรปฐมฌาน ๓ ดวง
    รูปาวจรทุติยฌาน ๓ ดวง รูปาวจรตติยฌาน ๓ ดวง รูปาวรจตุตถฌาน ๓ ดวง
    รวมรูปาวจรจิต ๑๒ ดวงนี้ เป็นโสมนัสเวทนา
    รูปาวจรปัญจมฌาน ๓ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง รวมจิต ๑๕ ดวงนี้เป็นอุเบกขาเวทนา

    ๔. เหตุเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นสเหตุกจิต เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ
    มีเหตุประกอบทั้ง ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

    ๕. สังขารเภท มหัคคตจิต ๒๗ ดวง เป็นสสังขาริก เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยสิ่งชักจูง
    กล่าวคือต้องเจริญสมถภาวนาด้วยมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ฌานจิตจึงจะเกิด
    จึงถือว่ามหากุศลญาณสัมปยุตตจิตนั่นแหละ เป็นสิ่งชักจูงให้เกิดกุศลฌานจิต
    กุศลฌานจิต ซึ่งเกิดขึ้นในมรณาสันนวิถี คือวิถีจิตที่จะตาย เป็นสิ่งชักจูงให้เกิดวิบากฌานจิต
    มหากิริยาญาณสัมปยุตต เป็นสิ่งที่ชักจูงให้กิริยาฌานจิตเกิด ทำนองเดียวกับมหากุศลญาณสัมปยุตต
    ชักจูงให้เกิด กุศลฌานจิต

    ๖. สัมปยุตตเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นญาณสัมปยุตต เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา

    ๗. โสภณเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นโสภณจิต

    ๘. โลกเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง ก็ยังเป็นโลกียจิต หาใช่โลกุตตรจิตไม่

    ๙. ฌานเภท มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง เป็นฌานจิต เป็นจิตที่เป็นฌานที่ได้ฌานที่ถึงฌาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.3 KB
      เปิดดู:
      125
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2013
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โลกุตตรจิต
    โลกุตตรจิต มาจากคำว่า โลก + อุตตร + จิต
    โลก หมายถึงโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก ( กามภูมิ ) รูปโลก ( รูปภูมิ ) และ อรูปโลก(อรูปภูมิ) ก็ได้
    อีกนัยหนึ่ง คำว่า โลก หมายถึงการเกิดดับ ก็ได้
    อุตตร มีความหมายว่า เหนือ หรือ พ้น

    ดังนั้นโลกุตตรจิตจึงเป็นจิตที่เหนือโลกทั้ง ๓ เป็นจิตที่พ้นจากโลกทั้ง ๓
    ซึ่งมิได้หมายความว่า จิตนี้อยู่เหนือโลกหรือ จิตนี้พ้นไปจากโลก
    แต่หมายความว่าจิตนี้มีอารมณ์ที่เหนือโลกมีอารมณ์พ้นไปจากโลก
    คือโลกุตตรจิตนี้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากโลกเป็นธรรมที่เหนือโลก

    โลกุตตรจิตเป็นจิตที่พ้นจากการเกิดดับ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจิตนี้ไม่ได้เกิดดับ
    จิตนี้คงเกิดดับตามสภาพของจิตแต่เป็นจิตที่มีอารมณ์อันพ้นจากการเกิดดับ อารมณ์นั้นคือนิพพาน
    ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีการเกิดดับ ธรรมทั้งหลายในโลกทั้ง ๓ ย่อมเกิดดับทั้งสิ้น
    แต่นิพพานเป็นธรรมที่ไม่เกิดดับเป็นธรรมที่พ้นจากการเกิดดับ นิพพานจึงเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก

    อีกนัยหนึ่ง โลกุตตรจิตมีความหมายว่าเป็นจิตที่กำลังประหารและประหารแล้วซึ่งกิเลส
    หมายความว่าโลกุตตรจิตหรือ มัคคจิตนั้นกำลังทำการประหารกิเลสอยู่ โลกุตตรวิบากจิตหรือผลจิต
    เป็นจิตที่เสวยผลที่มัคคจิตได้ประหารกิเลสนั้นแล้ว เป็นการประหารได้อย่างเด็ดขาด
    อันทำให้กิเลสนั้นๆ หมดสิ้นสูญเชื้อไปโดยสิ้นเชิง จนไม่สามารถที่จะเกิดมาก่อความเศร้าหมอง
    เร่าร้อนอีกต่อไปได้เลย การประหารเช่นนี้แหละที่เรียกว่าสมุจเฉทปหาน

    มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๑๐ แสดงจำนวนละประเภทของโลกุตตรจิตไว้ดังนี้

    ๑๐. จตุมคฺคปฺปเภเทน จตุธา กุสลนฺตถา
    ปากนฺตสฺส ผลตฺตาติ อฏฺฐธานุตฺตรํ มตํฯ

    แปลความว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า โลกุตตรอันประเสริฐยิ่งนั้นมี ๘ คือ
    โลกุตตรกุศลจิต ซึ่งเป็นประเภท อริยมัคค ๔ และ โลกุตตรวิบาก ซึ่งเป็นผลของ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.gif
      image.gif
      ขนาดไฟล์:
      37.8 KB
      เปิดดู:
      84
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2013
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โลกุตตรกุศลจิต อีก ๔
    อธิบายว่า โลกุตตรจิตนั้นมี ๒ ชาติ คือ

    ชาติกุศล เรียกว่า โลกุตตรกุศลจิต ซึ่งเป็นประเภทอริยมัคค
    จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มัคคจิต มีจำนวน ๔ ดวง
    ชาติวิบาก เรียกว่า โลกุตตรวิบากจิต อันเป็นผลของโลกุตตรกุศลจิต
    จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผลจิต มีจำนวน ๔ ดวงเหมือนกัน จึงรวมเป็น โลกุตตรจิต ๘ ดวง
    จำง่ายๆ สั้นๆ ว่า มัคคคือกุศล ผลคือวิบาก ซึ่งหมายความว่า มัคคจิตนั้นเป็นชาติกุศล
    ผลจิตนั้นเป็นชาติวิบาก

    มีข้อควรสังเกตอยู่ว่า โลกุตตรจิตนี้มีแต่โลกุตตรกุศลและโลกุตตรวิบาก
    ไม่มีโลกุตตรกิริยา ด้วยเลย ที่โลกุตตรจิตไม่มี โลกุตตรกิริยานั้น
    เพราะโลกุตตรกิริยาถ้ามีก็คือมีโลกุตตรกุศลอันเกิดในสันดานพระอรหันต์
    ทำนองเดียวกับมหากิริยา และมหัคคตกิริยาก็คือ มหากุศลและมหัคคตกุศล
    อันเกิดในสันดานพระอรหันต์นั่นเอง

    อันว่า มหากุศล หรือ มหัคคตกุศลนั้น สามารกเกิดได้บ่อยๆ เกิดได้เนืองๆ
    ดังนั้นจึงเกิดในสันดานพระอรหันต์ได้เสมอ เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นมหากิริยาหรือมหัคคตกิริยาไป
    ไม่เหมือนกับมัคคจิตซึ่ง เกิดได้เพียงมัคคละครั้งเดียว คือ โสดาปัตติมัคคก็เกิด ได้ครั้งเดียว
    สกาทาคามิมัคค อนาคามิมัคค ตลอดจนอรหัตตมัคค ก็เกิดได้มัคคละครั้งเดียวเท่านั้น
    เพราะมัคคจิตนั้นเกิดขึ้น เพื่อประหารกิเลสและประหารเป็นสมุจเฉทเสียด้วย

    เมื่อได้เป็นพระอรหันต์ซึ่งได้ประหารกิเลสจนหมดจดสิ้นเชิง ไม่มีกิเลส เหลือเลยแม้แต่น้อยแล้ว
    ก็ไม่ต้องมีมัคคจิตเกิดขึ้นมาประหารอะไรอีก ดั่งนี้จึงไม่มีโลกุตตรกิริยาจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2013
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การประหารกิเลส

    กิเลส คือ ธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน เมื่อกิเลสเกิดพร้อมกับจิตใดหรือประกอบกับจิตใดแล้ว
    ก็ทำให้จิตนั้นเศร้า หมองและเร่าร้อนไปด้วย กิเลสนี้ประกอบเฉพาะอกุศลจิตเท่านั้น
    ดังนั้นการประหารกิเลสก็เท่ากับประหารอกุศลจิตนั่นเอง
    ในพระอภิธัมมัตถสังคหะปริเฉทที่ ๗ จำแนกกิเลสออกเป็นถึง ๙ กอง โดยนัยต่างๆ กัน
    จะกล่าวในที่นี้ก็จะสับสนไป ในชั้นนี้พึงทราบแต่เพียงว่ากิเลสนี้แบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ

    ก. วิติกกมกิเลส ได้แก่กิเลสที่เกิดขึ้นชั้นนอก หมายความว่ากิเลสจำพวก
    นี้ได้ล่วงออกมาแล้วถึงกายทวารหรือวจีทวาร คือถึงกับลงมือกระทำการทุจริตทางกาย
    หรือทางวาจาแล้ว กิเลสชนิดนี้ระงับไว้ได้ด้วยศีลเป็นการระงับไว้ได้ชั่วคราวชั่วขณะ
    ที่ยังรักษาศีลอยู่ การระงับ การข่ม หรือการประหารเช่นนี้เรียกว่า ตทังคปหาน
    หมายความว่าขณะใดที่จิตเป็นมหากุศลอยู่ กิเลสเหล่านี้ก็สงบระงับไปชั่วคราวชั่วขณะ
    ไม่สามารถประกอบกับจิตก่อให้เกิดกายทุจริตหรือวจีทุจริตได้ในชั่วขณะนั้น

    ข. ปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่กิเลสที่อยู่ภายใน หมายความว่ากิเลสจำพวกนี้เกิดอยู่ในมโนทวาร
    คือคิดอยู่ในใจเท่านั้น ไม่ถึงกับแสดงออกทางกายหรือทางวาจา ตัวเองรู้ได้ ผู้อื่นบางทีก็รู้
    บางทีก็ไม่รู้ กิเลสชนิดนี้ข่มไว้ได้ด้วยสมาธิ คือ ฌาน ข่มไว้หรือระงับไว้ได้เป็นเวลานาน
    เรียกว่า วิกขัมภนปหาน ข่มไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม

    ค. อนุสยกิเลส ได้แก่กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน
    ซึ่งตนเองและผู้อื่นก็ไม่สามารถรู้ได้ กิเลสจำพวกนี้ต้องประหาร ด้วยปัญญา
    อันหมายถึงมัคคจิต ซึ่งมัคคจิตสามารถประหารได้จนหมดสิ้นสูญเชื้อ
    โดยสิ้นเชิงที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน

    สรุปได้ว่าวิติกกมกิเลส ประหารด้วยมหากุศลจิต เป็นตทังคปาน
    ปริยุฏฐสนกิเลส ประหารด้วยมหัคคตกุศลจิต เป็นวิกขัมภนปหาน
    อนุสยกิเลส ประหารด้วยมัคคจิต เป็นสมุจเฉทปหาน
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โลกุตตรกุศลจิต หรือ มัคคจิต

    โลกุตตรกุศลจิต หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า มัคคจิต เป็นจิตที่กำลังพ้นจากโลก
    เป็นจิตที่กำลังประหารกิเลส มีจำนวน ๔ ดวง คือ

    ๑. โสดาปัตติมัคคจิต
    ๒. สกทาคามิมัคคจิต
    ๓. อนาคามิมัคคจิต
    ๔. อรหันตตมัคคจิต

    โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต

    โลกุตตรวิบากจิต หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ผลจิต เป็นจิตที่เป็นผลแห่งโลกุตตรกุศลจิต
    เป็นจิตที่พ้นแล้วจากโลก เป็นจิตที่ได้ประหารแล้วซึ่งกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน
    เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้นและดับแล้ว ผลจิตก็จะเกิดติดต่อกันในทันทีทันใดนั้นเอง
    โดยไม่มีระหว่างคั่น คือไม่มีจิตใดมาคั่นเลย ดังนั้นจึงเรียกมัคคจิตว่า อกาลิโก
    เพราะเป็นเหตุให้ผลจิตเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอกาลรอเวลาเลย
    ผลจิตมีจำนวน ๔ ดวง คือ

    ๑. โสดาปัตติผลจิต
    ๒. สกทาคามิผลจิต
    ๓. อนาคามิผลจิต
    ๔. อรหัตตผลจิต
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โสดาปัตติมัคคจิต คู่กับ โสดาปัตติผลจิต

    โสดาปัตติมัคคจิต มาจากคำว่า โสต ( กระแส คือ ไหล ) + อาปัตติ ( ถึงครั้งแรก ) + มัคค ( ทาง ) + จิต
    รวมแปล ความว่า จิตที่ถึงครั้งแรกซึ่งทางอันเป็นกระแสแห่งพระนิพพาน หมายความว่าตกกระแส
    ที่ไหลไปสู่พระนิพพานเหมือนดังกระแส น้ำไหลสู่มหาสมุทร
    วจนตฺถ คือ เนื้อความของคำ หมายถึงคำจำกัดความ หรือความหมายของคำนั้น
    วะจะนัตตถะของโสดาปัตติมัคคจิตมีว่า

    ๑. อริยมคฺคโสตสฺส อาทิโต ปชฺชนํ เอตสฺสาติ โสตาปตฺติ ฯ
    การถึงกระแสอริยมัคคอันไหลไปสู่พระนิพพานครั้งแรก ของบุคคลนั้นมีอยู่ ดังนั้นชื่อว่า โสตาปัตติ

    ๒. ตสฺส มคฺโค โสตาปตฺติมคฺโค ฯ
    มัคคแห่งบุคคลผู้ถึงกระแสอริยมัคค อันไหลไปสู่พระนิพพานครั้งแรก ชื่อ โสตาปัตติมัคค

    ๓. เตน สมฺปยุตฺตํ จิตฺตํ โสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ ฯ
    จิตที่สัมปยุตตด้วยโสดาปัตติมัคคนั้น ชื่อว่า โสดาปัตติมัคคจิต

    โสดาปัตติมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าโสดาปัตติมัคคบุคคล
    โสดาปัตติผลจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าโสดาปัตติผลจิต
    โสดาปัตติผลบุคคลนี่แหละเรียกว่า พระโสดาบัน ได้ชื่อว่า เสกขบุคคลเป็นบุคคลที่

    จะต้องศึกษากันอีกต่อไป หมายความว่า จะต้องปฏิบัติต่อไปจนกว่าจะเป็นพระอรหันต์
    จึงจะไม่ต้องศึกษาต่อไปอีกแล้วจึงได้ ชื่อว่า อเสกขบุคคล

    โสดาปัตติมัคคจิต เป็นจิตที่พ้นจากกามโลกเฉพาะส่วนที่เป็นอบายภูมิ
    คือ นรก เปรต อสุรกาย และดิรัจฉาน

    โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่พ้นแล้วจากอบายภูมิโดยเด็ดขาด หมายความว่า พระโสดาบันเมื่อจุติแล้ว
    จะไม่ปฏิสนธิในอบายภูมิอีกเลย เพราะประหารจิตชั่วจิตบาปที่เป็นเหตุให้ต้องเกิดในอบายได้แล้ว

    โสดาปัตติมัคคจิต เป็นจิตที่ประหารกิเลส ได้กล่าวมาแล้วว่า กิเลสเป็นตัวการที่มาประกอบและก่อให้เกิด
    อกุศลจิต ดังนั้นในที่นี้จะได้กล่าวถึงอกุศลจิตที่ถูกประหารนั้นเลยทีเดียว
    คือโสดาปัตติมัคคจิตกำลังประหารจิตโลภที่เป็นทิฏฐิสัมปยุตต ๔ ดวง
    และโมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต ๑ ดวง รวมกำลังประหาร
    อกุศลจิต ๕ ดวง โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งอกุศลจิต ๕ ดวงนั้น
    ได้โดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน

    กล่าวโดยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ โสดาปัตติมัคคจิต เป็นจิตที่กำลังประหาร
    อกุศลกรรมบถ ๕ ประการ คือ ปาณาติบาต ๑, อทินนาทาน ๑, กาเมสุมิจฉาจาร ๑,
    มุสาวาท ๑ และ มิจฉาทิฏฐิ ๑
    โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งอกุศลกรรมบถ ๕ ประการนั้น
    ได้โดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้โดยตรงว่า พระโสดาบันนั้นจำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ

    ๑. เอกพิชีโสดาบัน เป็นพระโสดาบันที่มีพืชกำเนิดอีกเพียงหนึ่ง
    หมายความว่า พระโสดาบันผู้นั้นจะต้องปฏิสนธิเป็น มนุษย์หรือเทวดาอีกชาติเดียวก็บรรลุอรหัตตผล

    ๒. โกลังโกลโสดาบัน คือพระโสดาบันผู้ต้องปฏิสนธิเป็นมนุษย์หรือเทวดาอีกในระหว่าง ๒ ถึง ๖ ชาติ
    จึงจะบรรลุ อรหัตตผล

    ๓. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือพระโสดาบันผู้ต้องปฏิสนธิอีกถึง ๗ ชาติ
    จึงจะบรรลุอรหัตตผลที่แตกต่างกันเช่นนี้ เป็นเพราะอินทรีย์แก่กล้ายิ่งหน่อยกว่ากัน จึงทำให้ความมุ่งมั่น

    ในการบรรลุอรหัตตมัคคอรหัตตผลนั้นเนิ่นนานกว่ากันไปด้วย แต่อย่างไรก็ดี
    พระโสดาบันก็ไม่ต้องปฏิสนธิในชาติที่ ๘ เพราะ แม้จะเป็นผู้เพลิดเพลินมีความประมาทอยู่บ้าง
    ก็ต้องบรรลุอรหัตตผลในชาติที่ ๗ แน่นอน
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สกทาคามิมัคคจิต คู่กับ สกทาคามิผลจิต

    สกทาคามิมัคคจิต มาจากคำว่า สกึ ( ครั้งเดียว ) + อนาคามี ( กลับมา ) + มัคค ( ทาง ) + จิต
    รวมแปลความว่า จิตที่ถึงซึ่งทางที่จะกลับมาอีกครั้งเดียวมีความหมายว่า เป็นผู้ที่จะกลับมาปฏิสนธิ
    ในกามภูมิอีกครั้งเดียวเท่านั้น
    วะจะนัตถะ ของ สกาทาคามิมัคคจิต มีว่า

    ๑. สกึ เอกวารํ ปฏิสนฺธิวเสน อิมํ มนุสฺสโลกํ อาคจฺฉตีติ สกทาคามี ฯ
    พระอริยบุคคลที่กลับมาสู่มนุษย์โลกนี้ด้วยอำนาจ ปฏิสนธิครั้งเดียวชื่อว่า สกทาคามี

    ๒. ตสฺส มคฺโค สกทาคามิมคฺโค ฯ
    มัคคของพระสกทาคามีนั้นชื่อว่า สกทาคามิมัคค

    ๓. เตน สมฺปยุตฺตํ จิตฺตํ สกทาคามิมคฺคจิตฺตํ ฯ
    จิตที่สัมปยุตตด้วยสกทาคามิมัคคนั้นชื่อว่า สกทาคามิมัคคจิต

    สกทาคามิมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคลลนั้นได้ชื่อว่า สกทาคามิมัคคบุคคล
    สกทาคามิผลจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่า สกาทาคามิผลบุคคล
    สกทาคามิผลบุคคลนี่แหละที่เรียกว่า พระสกทาคามี บางทีเรียกว่า พระสกิทาคามี
    เป็นเสกขบุคคลเหมือนกัน เพราะยังต้องศึกษา คือปฏิบัติให้บรรลุเป็นพระอรหันต์ต่อไป

    เมื่อกล่าวโดยการพ้นโลกแล้ว สกาทาคามิมัคคจิตไม่ได้พ้นโลกเพิ่มขึ้นอีก
    เพียงแต่พ้นกามโลกอันเป็นส่วนอบายภูมิโดย อำนาจแห่งโสดาปัตติมัคคจิตเท่านั้น
    เมื่อกล่าวโดยการประหารกิเลสแล้ว สกทาคามิมัคคจิตก็หาได้ประหารกิเลสเป็นสมุจเฉท
    เพิ่มขึ้นอีกแต่อยางใดไม่ เป็นแต่เพียงทำให้กิเลสที่เหลือจากโสดาบันปัตติมัคคจิต
    ได้ประหารมาแล้วนั้น ให้เบาบางลง อันเรียกว่า ตนุกรปหาน เท่านั้น
    แม้กล่าวโดยการประหารอกุศลกรรมบถ สกทาคามิมัคคจิตก็ไม่ได้ประหารเพิ่มขึ้น
    เป็นแต่เพียงทำให้เบาบางลงเช่นกัน
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ในวิสุทธิมัคคมหาฎีกาแสดงว่า พระสกทาคามี นี้ มี ๕ จำพวก คือ

    ๑. อิธ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี ฯ
    เป็นพระสกทาคามี ที่บรรลุสกทาคามิผลในมนุษย์โลก และปรินิพพานในมนุษย์โลกนี้

    ๒. ตตฺถ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี
    เป็นพระสกทาคามี ที่บรรลุสกทาคามิผลในเทวโลก และปรินิพพานในเทวโลก นั้นแหละ

    ๓. อิธ ปตฺวา ตตฺถ ปรินิพฺพายี
    สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษย์โลกนี้ แต่ปรินิพพานในเทวโลกโน้น

    ๔. ตตฺถ ปตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี
    สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในเทวโลกโน้น มาปรินิพพานในมนุษย์โลกนี้

    ๕. อิธ ปตฺวา ตตฺถ นิพฺพตฺติตฺวา อิธ ปรินิพฺพายี
    สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษย์โลกนี้ ไปบังเกิดในเทวโลกโน้นแล้วกลับมาปรินิพพานในมนุษย์โลกนี้
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อนาคามิมัคคจิต คู่กับ อนาคามิผลจิต

    อนาคามิมัคคจิต มาจากคำว่า น ( ไม่ ) + อาคามี ( กลับมา ) + มัคค ( ทาง ) + จิต
    รวมแปลความว่า จิตถึงซึ่งทางที่ไม่กลับมาอีก มีความหมายว่าเป็นผู้ไม่กลับมาปฏิสนธิ
    ในกามโลกอีก คือจะต้องไปเกิดเป็นพรหมบุคคลในพรหมโลกแน่นอน

    วะจะนัตถะ ของอนาคามิมัคคจิต มีว่า

    ๑. ปฏิสนฺธิวเสน อิมํ กามธาตุ น อาคจฺฉตีติ อนาคามี ฯ
    พระอริยบุคคลผู้ไม่กลับมาเกิดมาสู่กามโลกนี้อีก ด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่า อนาคามี

    ๒. ตสฺส มคฺโค อนาคามิมคฺโค ฯ
    มัคคแห่งพระอริยบุคคลผู้อนาคามีนั้น ชื่อว่า อนาคามิมัคค

    ๓. เตน สมฺปยุตฺตํ จิตฺตํ อนาคามิมคฺคจิตฺตํ ฯ
    จิตที่สัมปยุตตด้วยอนาคามิมัคคนั้น ชื่อว่า อนาคามิมัคคจิต

    อนาคามิมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคลลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าอนาคามิมัคคบุคคล
    อนาคามิผลจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าอนาคามิผลบุคคล
    อนาคามิผลบุคคลนี้แหละเรียกว่า พระอนาคามี ยังเป็นเสกขบุคคลเหมือนกัน เพราะ

    ยังจะต้องศึกษาคือปฏิบัติต่อไปให้บรรลุอรหัตตผล
    อนาคามิมัคคจิต เป็นจิตที่กำลังพ้นจากกามโลกในส่วนที่เป็นมนุษย์โลกและเทวโลกอีก
    อนาคามิผลจิต เป็นจิตที่พ้นแล้วจากกามโลกโดยเด็ดขาด หมายความว่า พระอนาคามีเมื่อจุติแล้ว
    จะไม่มาปฏิสนธิใน กามโลก อีกเลย แต่จะไปฏิสนธิเป็นพรหมบุคคลในพรหมโลกแน่นอน

    อนาคามิมัคคจิต เป็นจิตที่กำลังประหารกิเลส กล่าวโดยจิตก็ประหารโทสมูลจิต ๒ ดวง
    อนาคามิผลจิต เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งโทสจิต ๒ ดวง โดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน
    กล่าวโดยอกุศลกรรมบถ ๑๐ อนาคามิมัคคจิตเป็นจิตที่กำลังประหารอกุศลกรรมบถ
    เพิ่มขึ้นอีก ๓ คือ ปิสุณาวาจา ผรุสวาท และ พยาบาท
    อนาคามิผลจิต เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งกิเลสเพิ่มขึ้นอีก ๓ ประการนั้น
    โดยเด็ดขาดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พระอนาคามี มี ๕ จำพวก คือ

    ๑. อนฺตรปรินิพฺพายี ฯ
    พระอนาคามีผู้ถึงซึ่งปรินิพพานในกึ่งแรกแห่งอายุกาลในภูมินั้น

    ๒. อุปหจฺจปรินิพฺพายี ฯ
    พระอนาคามีผู้ถึงซึ่งปรินิพพานในกึ่งหลังแห่งอายุกาลในภูมินั้น

    ๓. อสงฺขารปรินิพฺพายี ฯ
    พระอนาคามีผู้ไม่ต้องใช้ความเพียรแรงกล้า ก็ถึงซึ่งปรินิพพาน

    ๔. สสงฺขารปรินิพฺพายี ฯ
    พระอนาคามีผู้ต้องขะมักเขม้นพากเพียรอย่างแรงกล้า จึงจะถึงซึ่งปรินิพพาน

    ๕. อุทฺธํโสตอกนิฏฺฐคามี ฯ
    พระอนาคามี ผู้มีกระแสไปถึงอกนิฏฐภูมิ จึงจะถึงซึ่งปรินิพพาน
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อรหัตตมัคคจิต คู่กับ อรหัตตผลจิต

    อรหัตมัคคจิต มาจากคำว่า อรหัตต ( ผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง ) + มัคค ( ทาง ) + จิต
    รวมแปลว่า จิตถึงทางที่เป็นผู้ควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง

    วะจะนัตถะ ของ อรหัตตมัคคจิต มีว่า

    ๑. อคฺคทกฺขิเณยฺยภาเวน ปูชาวิเสสํ อรหาตีติ อรหา ฯ
    พระอริยบุคคลผู้ควรแก่การบูชาอันวิเศษ เพราะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาอันเลิศนั้น ชื่อว่า อรหันต์

    ๒. ตสฺส ภาโว อรหตฺตํ จตุตฺถผลสฺสเสตํ อธิวจนํ ฯ
    ความเป็นแห่งพระอริยบุคคลผู้ควรแก่การอันวิเศษนั้น ชื่อว่า อรหัตต คำว่า อรหัตตนี้เป็นชื่อแห่ง อรหัตตผล

    ๓. ตสฺส อาคมนภูโต มคฺโค อรหตฺตมคฺโค ฯ
    มัคคเป็นที่มาแห่งอรหัตตผลนั้น ชื่อว่า อรหัตตมัคค

    ๔. เตน สมฺปยุตฺตํ จิตฺตํ อรหตฺตมคฺคจิตฺตํ ฯ
    จิตที่สัมปยุตตด้วยอรหัตตมัคคนั้น ชื่อว่า อรหัตตมัคคจิต

    อรหัตตมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าอรหัตตมัคคบุคคล
    อรหัตตผลจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าอรหัตตผลบุคคล
    อรหัตตผลบุคคลนี่แหละ เรียกว่า พระอรหันต์ เป็นพระ ขีณาสพ คือผู้ที่สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว
    เป็น อเสกขบุคคล คือบุคคลที่ไม่ต้องศึกษา ไม่ต้องปฏิบัติอีกแล้ว เพราะบริสุทธิหมดจดจนสิ้นเชิงแล้ว

    อรหัตตมัคคจิต เป็นจิตที่กำลังพ้นจากรูปโลกและอรูปโลก ( อนาคามีพ้นจากกามโลกแล้ว นี่กำลังพ้นจากรูปโลกและ อรูปโลกอีก )
    อรหัตตผลจิต เป็นจิตที่พ้นแล้วจากรูปโลกและอรูปโลกโดยเด็ดขาดหมายความว่า พระอรหันต์เมื่อปรินิพพานแล้ว
    ไม่ต้องปฏิสนธิอีกเลย เป็นอันสิ้นภพสิ้นชาติ พ้นจากสังสารวัฏฏ์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
    อรหัตตมัคคจิต เป็นจิตที่กำลังประหารกิเลส กล่าวโดยจิต ก็กำลังประหารอกุศลจิตที่เหลืออีก ๕ ดวง คือ
    โลภมูลจิต ที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตต ๔ ดวง และโมหมูลจิตที่เป็นอุทธัจจสัมปยุตต ๑ ดวง

    อรหัตตผล เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งอกุศลจิตที่เหลือ ๕ ดวงที่กล่าวแล้วข้างต้นข้างบนนั้น
    ได้โดยเด็ดขาดเป็น สมุจเฉทปหาน เป็นอันว่าพระอรหันต์ไม่มีจิตที่เป็นอกุศลทั้ง ๑๒ ดวง
    เกิดในสันดานอีกเลย
    กล่าวโดยอกุศลกรรมบถ ๑๐ อรหัตตมัคคจิต เป็นจิตที่กำลังประหารอกุศลกรรมบถที่เหลืออีก ๒ คือ
    สัมผัปปลาป ๑ และ อภิชฌา ๑

    อรหัตตผลจิต เป็นจิตที่ประหารแล้วซึ่งอกุศลกรรมบถที่เหลือ ๒ ประการที่กล่าวแล้วนั้นได้โดยเด็ดขาด
    เป็น สมุจเฉทปหาน เป็นอันว่าพระอรหันต์ไม่มีอกุศลกรรมบถ ๑๐ เกิดในสันดานอีกเลย
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พระอรหันต์มีหลายประเภท

    พระอรหันต์ บางทีเรียกว่า พระขีณาสพ บางทีเรียกว่า อเสกขบุคคล
    ที่เรียกว่าพระอรหันต์หมายความว่า เป็นบุคคล ที่ควรสักการะบูชายิ่ง
    ที่เรียกว่าพระขีณาสพหมายความว่าเป็นบุคคลที่สิ้นอาสวกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว
    และที่เรียกว่า พระอเสกขบุคคลนั้นหมายถึงว่า เป็นผู้ที่ไม่ต้องศึกษาต่อไปอีกแล้ว
    เพราะมีศีลสิกขา สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา โดยบริบูรณ์ บริสุทธิ์แล้ว
    พระอรหันต์นี้จัดได้ว่ามี ๓ ประเภท คือ

    ๑. พระอรหันต์ที่ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยพระองค์เองและสามารถโปรดเวไนยสัตว์
    ให้พ้นทุกข์คือให้ถึง อริยมัคคอริยผลได้ด้วย เพราะทรงเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วย อาสยานุสยญาณ
    ญาณที่สามารถรู้อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ประการหนึ่ง อินทริยปโรปริยัตติญาณ
    ญาณที่สามารถรู้อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายว่ายิ่งหรือหย่อนเพียงใด ประการหนึ่ง
    และ สัพพัญญุตตญาณ ญาณที่สามารถรอบรู้สิ้นซึ่งปวงสังขตธรรมและอสังขตธรรมอีกประการหนึ่ง
    จึงได้ชื่อว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า คือที่ขนานพระนามกันว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    หรือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ๒. พระอรหันต์ที่ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเหมือนกัน แต่ไม่สามารถโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้
    เพราะไม่ถึงพร้อมด้วยญาณ ๓ ประการ ดังกล่าวแล้วในข้อ ๑ นั้น พระอรหันต์ประเภทนี้
    ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้า
    อยากจะกล่าวโดย อัตโนมัติว่า ที่พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่สามารถโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้นั้น
    เป็นด้วยเหตุอีกประการหนึ่ง คือ ในยุคนั้นไม่มีผู้มีบารมีแก่กล้าพอที่จะเข้าถึงธรรมอันประเสริฐ
    ถึงชั้นนั้นได้ เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าบังเกิดมีได้เฉพาะใน ยุคที่ว่างพระพุทธศาสนาเท่านั้น
    ก็ในกาลที่ว่างพระพุทธศาสนาเช่นนั้น บุคคลทั้งหลายย่อมปราศจากศีลธรรมประกอบแต่กรรม
    อันเป็นอกุศล ใครเล่าจะสามารถสั่งสอนผู้ที่ไร้ศีลธรรมให้บรรลุถึงธรรมอันประเสริฐยิ่งปานนั้นได้
    แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงพระมหากรุณาได้เฉพาะผู้ที่ทรงโปรดได้เท่านั้น
    ไม่ใช่โปรดได้ทั่วไปทั้งหมด
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๓. พระอรหันต์ที่ตรัสรู้อรหัตตมัคคอรหัตตผลตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ( คือไม่ได้ตรัสรู้เอง ) นั้น ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ ได้แก่ พระอรหันต์ทั่วๆ ไป
    ที่นอกจากพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระอรหันตปัจเจกพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั่วๆ ไปนี้
    ยังจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ปัญญาวิมุตติ และ เจโตวิมุตติ

    ปัญญาวิมุตติ หมายถึงพระอรหันต์ผู้ไม่ได้ฌานเลย กล่าวคือไม่ได้เจริญสมถภาวนาไม่ได้ทำฌาน
    เป็นแต่เจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียวจนบรรลุอรหัตตมัคคอรหัตตผล
    พระอรหันต์ผู้ที่ไม่ได้ฌานนี้เรียกว่า สุกขวิปัสสก พระอรหันต์
    ส่วน เจโตวิมุตติ หมายถึงพระอรหันต์ผู้ที่ได้ฌานด้วย ( ผู้ที่ได้ฌานเรียกว่า ฌานลาภีบุคคล )
    การได้ฌานก็สามารถได้มาด้วย ๒ ประการ คือ

    ก. เป็นผู้เจริญสมถภาวนาจนได้ฌาน เช่นนี้เรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน ได้ฌานด้วยการปฏิบัติ
    แล้วก็มาเจริญวิปัสสนา ภาวนาตามลำดับ จนบรรลุพระอรหันต์

    ข. เป็นผู้ที่แม้จะไม่ได้เจริญสมถภาวนามาก่อนก็ตาม แต่ว่าเมื่อได้เจริญวิปัสสนาภาวนามาตามลำดับ
    จนบรรลุอรหัตตมัคค อรหัตตผล ด้วยผลแห่งบุญญาธิการแต่ปางก่อน เมื่อบรรลุอรหัตตผล
    ก็ถึงพร้อมซึ่งฌานด้วยเช่นนี้เรียกว่า มัคคสิทธิฌาน ได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค จนถึงได้อภิญญาด้วย
    ก็มี เช่น พระจุฬปัณถก เมือสำเร็จเป็น

    พระอรหันต์ก็มีอภิญญา ด้วยคือมีอิทธิฤทธิถึงสำแดงปาฏิหารย์ เป็นพระภิกษุหลายรูปจนเต็ม
    พระเชตวัน รวมความว่า พระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุตติ ไมได้ฌานด้วยเรียกว่า สุกขวิปัสสก
    พระอรหันต์ พระอรหันต์ประเภท เจโตวิมุตตินั้นเป็นผู้ได้ฌานด้วย เรียกว่าพระอรหันตฌานลาภีบุคคล
    พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีบุคคลนั้น ได้ฌานจนถึงได้อภิญญาด้วยก็มี ได้ฌานก็จริงแต่ไม่ถึง
    ได้อภิญญาด้วยก็มี
    ฌานลาภีอรหัตตบุคคลนั้นที่ได้ถึงอภิญญาด้วยนั้น บางองค์ก็ได้เพียง อภิญญา ๓ บางองค์ก็ได้ถึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กรกฎาคม 2013
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อภิญญา ๖

    อภิญญา ๓ หรือบางทีก็เรียกว่า วิชา ๓ นั้นได้แก่
    ( ๑ ) ปุพเพนิวาสนุสติญาณ ระลึกชาติได้
    ( ๒ ) ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์ รู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย
    ( ๓ ) อาสวักขยญาณ รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลสและอาสวะ

    เฉพาะอภิญญาข้อ ๓ นี้ จะเป็นสุกขวิปัสสกพระอรหันต์ก็ตาม หรือฌานลาภีอรหัตตบุคคล
    ได้ถึงอภิญญาด้วยหรือไม่ก็ตาม ต้องมีอภิญญาข้อ ๓ นี้ด้วยทุกๆ องค์
    อภิญญา ๖ หรือบางทีก็เรียกว่า วิชา ๖ นั้น คือวิชา ๓ นั่นเอง และเพิ่มขึ้นอีก ๓ คือ

    ( ๔ ) ปรจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น
    ( ๕ ) ทิพพโสตญาณ หูทิพย์
    ( ๖ ) อิทธิวิธี สำแดงฤทธิ์ได้
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อีกนัยหนึ่งนั้น จำแนกพระอรหันต์เป็น ๒ ประเภท โดยจำแนกเป็นพระอรหันต์ผู้มี ปฏิสัมภิทาญาณ
    และพระอรหันต์ ผู้ไม่มี ปฏิสัมภิทาญาณ
    ปฏิสัมภิทาญาณ คือ ถึงพร้อมด้วยความรู้อันแตกฉาน แปลสั้นๆ ว่า ปัญญาแตกฉาน
    ปฏิสัมภิทาญาณ มี ๔ ประการคือ

    ๑. อตฺถปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในผลทั้งปวง
    อันบังเกิดจากเหตุ ชื่อว่า อัตถะปฏิสัมภิทาญาณ
    อัตถะ หรือ ผล นั้นได้แก่ธรรม ๕ ประการ คือ

    ก. ยํ กิญฺจิ ปจฺจยสมฺภูตํ คือรูปธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยประชุมปรุงแต่ง
    ข. นิพฺพานํ คือพระนิพพาน
    ค. ภาสิตตฺโถ คืออรรถที่กล่าวแก้ให้รู้วิบากขันธ์ ๓๒ ดวง
    ง. กิริยาจิตฺตํ คือกิริยาจิต ๒๐ ดวง
    จ. ผลจิตฺตํ คือผลจิต ๔ ดวง

    ๒. ธมฺมปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในเหตุที่ทำให้บังเกิดผลชื่อว่า
    ธัมมาปฏิสัมภิทาญาณธรรม หรือ เหตุ นั้นได้แก่ธรรม ๕ ประการ คือ
    ก. โย โกจิ ผลนิพฺพตฺตโก เหตุ คือเหตุทั้งปวงบรรดาที่ยังผลให้เกิดขึ้น
    ข. อริยมคฺโค คือมัคคจิตทั้ง ๔
    ค. ภาสิตํ คือพระธรรมทั้ง ๓ ปิฎก
    ง. กุสลจิตฺตํ คือกุศลจิต ๑๗ ดวง
    จ. อกุศลจิตฺตํ คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง

    ๓. นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในภาษา คือบัญญัติแห่งอัตถะปฏิสัมภิทา
    และธัมมะปฏิสัมภิทาย่อมมีด้วย นิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าว ธมฺมนิรุตฺติ นั้น
    ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ หมายความว่ารู้จักถ้อยคำหรือภาษาอัน เป็นบัญญัติที่เรียกว่า
    โวหารในการอธิบายขยายความแห่งอัตถปฏิสัมภิทา
    และธัมมปฏิสัมภิทา ให้ผู้สดับตรับฟังรู้และเข้าใจได้แจ่มแจ้งลึกซึ้งโดยถ้วนถี่ เช่นนี้เป็นต้น

    ๔. ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ คือมีปัญญาว่องไว ไหวพริบ
    เฉียบแหลม คมคาย ในการตอบโต้อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ทั้ง ๓ นั้น ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่วชัดแจ้ง โดยฉับ พลันทันที ความรู้แตกฉานเช่นนี้แหละ
    ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โลกุตตรจิตอย่างพิสดาร

    โลกุตตรจิตอย่างพิสดารนั้น คือโลกุตตรจิตอย่างย่อ ๘ ดวงนั่นเอง
    แจกไปตามฌานที่ได้ที่ถึง ซึ่งมีอยู่ ๕ ฌานนั้น เช่น โสดาปัตติมัคคจิต ๑ ดวง
    ก็มีได้ทั้งที่ได้ปฐมฌาน ๑, ที่ได้ทุติยฌาน ๑, ที่ได้ตติยฌาน ๑, จตุตถฌาน ๑
    และปัญจมฌาน ๑ รวม เป็น ๕ ฌาน หรือ ๕ ชั้น ดังนี้
    โสดาปัตติมัคคจิตที่ประกอบด้วยฌาน ก็มี ๕ ดวง
    มัคคจิตโดยย่อ ๔ ดวง ประกอบด้วยฌาน ๕ ชั้น จึงมีมัคคจิตโดยพิสดารเป็น ๒๐ ดวง
    เฉพาะมัคคจิตโดยย่อ ๔ ดวง ซึ่งแม้จะมิใช่จิตที่ประกอบด้วยฌาน แต่ที่ถือว่าเป็นปฐมฌานด้วย
    ดังมีคาถาสังคหะที่ ๑๕ กล่าวไว้ ดังจะเห็นได้ในเมื่อกล่าวถึงคาถาสังคหะนั้น

    อนึ่ง มัคคจิตก็ไม่ได้แจกไปตามอรูปฌานอีก ๔ ฌานนั้นด้วยก็เพราะเหตุว่า
    อรูปฌานทั้ง ๔ นั้นนับเป็นปัญจมฌาน ด้วยว่ามีองค์ฌานเพียง ๒
    คือ อุเบกขากับเอกัคคตาเท่ากันและเหมือนกันกับรูปาวจรปัญจมฌาน
    เป็นแต่อารมณ์ต่างกันเท่า นั้นเอง ส่วนองค์ฌานคงเท่ากัน
    ดังนั้นจึงนับว่าฌานทั้ง ๙ ฌานมีเพียง ๕ ชั้น ด้วยเหตุนี้มัคคจิต ๔ ดวง
    จำแนกไปตามฌาน ๕ ชั้นจึงเป็น ๒๐ ดวง
    โดยทำนองเดียวกัน ผลจิตโดยย่อ ๔ ดวง เมื่อจำแนกไปตามฌานที่ได้ที่ถึง
    ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ดวง รวม มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ดวง
    กับผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ดวง จึงเป็นโลกุตตรจิตอย่างพิสดาร ๔๐ ดวง
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โลกุตตรกุศลจิต หรือ มัคคจิต อย่างพิสดาร ๒๐ ดวงนั้น ได้แก่

    ๑. วิตกฺวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
    โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌาน

    ๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
    โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌาน

    ๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
    โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌาน

    ๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
    โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌาน

    ๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
    โสดาปัตติมัคคจิต เกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌาน

    สกทาคามิมัคคจิต ที่ประกอบด้วยฌาน เป็น ๕ ดวง อนาคามิมัคคจิต ที่ประกอบด้วยฌาน
    เป็น ๕ ดวง และ อรหัตตมัคคจิต ที่ประกอบด้วยฌานเป็น ๕ ดวง ก็มีนัยเป็นทำนองเดียวกันนี้

    โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต อย่างพิสดาร ๒๐ ดวงนั้นได้แก่

    ๑. วิตกฺวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ
    โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌาน

    ๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ
    โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌาน

    ๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ
    โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌาน

    ๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ
    โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌาน

    ๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ
    โสดาปัตติผลจิต เกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌาน

    สกทาคามิผลจิต ที่ประกอบด้วยฌาน เป็น ๕ ดวง อนาคามิผลจิตที่ประกอบด้วยฌาน
    เป็น ๕ ดวง และ อรหัตตผลจิต ที่ประกอบด้วยฌานเป็น ๕ ดวง ก็มีนัยทำนองเดียวกันนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.gif
      image.gif
      ขนาดไฟล์:
      37.8 KB
      เปิดดู:
      79
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...