จิตคืออะไร?จิตมีชื่อเรียกถึง ๑๐ ชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิโมกขเจตสิก

    ๓. อธิโมกขเจตสิก มีการตัดสินอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    สนฺนิฏฺฐานลกฺขโณ มีการสันนิษฐานอารมณ์ เป็นลักษณะ
    อสํสปฺปนรโส มีการไม่โยกไม่คลอน เป็นกิจ
    วินิจฺฉยปจฺจุปฏฺฐาโน มีการตัดสิน เป็นผล
    สนฺนิฏเฐยฺยธมฺมปทฏฺฐาโน มีการสันนิษฐานธรรม เป็นเหตุใกล้

    วิริยเจตสิก

    ๔. วิริยเจตสิก คือ ความเพียรเพื่อให้ได้อารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

    อุสฺสาหนลกฺขณํ มีความอุตสาหะ เป็นลักษณะ
    สหชาตานํ อุปตฺถมฺภนรสํ มีการอุดหนุนค้ำชูสหชาตธรรม เป็นกิจ
    อสํสีทนปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่ย่อท้อถดถอย เป็นผล
    สํเวคปทฏฺฐานํ มีความสลด เป็นเหตุใกล้
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ปีติเจตสิก

    ๕. ปีติเจตสิก คือ ความปลาบปลื้ม หรืออิ่มใจในอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

    สมฺปิยายนลกฺขณา มีความอิ่มใจ เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตปีฬนรสา มีการทำกายและใจอิ่มเอิบ เป็นกิจ
    โอทคฺยปจฺจุปฏฺฐานา มีกายและใจเฟื่องฟู เป็นผล
    เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐานา มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์) เป็นเหตุใกล้

    ปีติเจตสิก คือ ความปลาบปลื้มใจ อิ่มใจในอารมณ์นั้นมี ๕ ประการ

    ๑. ขุทฺทกาปีติ ปลาบปลื้มใจเล็กน้อยพอรู้สึกขนลุก
    ๒. ขณิกาปีติ ปลาบปลื้มใจชั่วขณะเกิดขึ้นบ่อยๆ
    ๓. โอกฺกนฺติกาปีติ ปลาบปลื้มใจจนถึงกับตัวโยกตัวโคลง
    ๔. อุพฺเพงฺคาปีติ ปลาบปลื้มใจจนถึงกับตัวลอย
    ๕. ผราณาปีติ ปลาบปลื้มใจจนนอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจ

    ปีติ ที่เป็นองค์ฌานนั้น ต้องถึง ผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับเป็นองค์ฌาน เพราะยังเป็นของหยาบอยู่
    อนึ่ง ปีติ กับ สุข ต่างกัน คือ ปีติ เป็นสังขารขันธ์ สุข เป็นเวทนาขันธ์ และเมื่อมี ปีติ
    จะต้องมีสุขเสมอแน่นอน แต่ว่า เมื่อมีสุข อาจจะไม่มีปีติด้วยก็ได้

    ฉันทเจตสิก

    ๖. ฉันทเจตสิก คือความพอใจในอารมณ์ ความปลงใจที่จะทำ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    กตฺตุกมฺยตา ลกฺขโณ มีความปรารถนาเพื่อจะกระทำ เป็นลักษณะ
    อารมฺมณปริเยสนรโส มีการแสวงอารมณ์ เป็นกิจ
    อารมฺมเณน อตฺถิกตาปจฺจุปฏฺฐาโน มีความปรารถนาอารมณ์ เป็นผล
    อารมฺมณปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อกุศลเจตสิก

    อกุศลเจตสิก คือ เจตสิกที่ชั่ว ที่บาป ที่หยาบ ที่ไม่งาม ที่ไม่ฉลาด อกุศลเจตสิกนี้
    เมื่อประกอบกับจิตแล้ว ก็ทำให้จิตเศร้าหมองเร่าร้อน และทำให้เสียศีลธรรม

    อกุศลเจตสิก ประกอบกับอกุศลเจตสิก ๑๒ ดวงเท่านั้น
    ไม่ประกอบกับจิตอย่างอื่นเลย และเพราะเหตุว่าอกุศลเจตสิก ประกอบกับอกุศลจิต
    ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าอกุศลเจตสิก ไม่ชื่อว่าอโสภณเจตสิก เพราะถ้าชื่อว่า

    อโสภณเจตสิกแล้ว ก็จะมีความหมายไปว่า ต้องประกอบกับอโสภณจิตได้ทั้งหมด
    กล่าวคือต้องประกอบกับอเหตุกจิตด้วย

    อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง แบ่งออกเป็น ๕ พวก คือ

    ก. โมจตุกเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกพวกมีโมหะมี ๔ ดวงด้วยกัน คือ
    โมหเจตสิก อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก และอุทธัจจเจตสิก โมจตุก นี้
    ประกอบกับอกุศลเจตสิกได้ทั้งหมดทั้ง ๑๒ ดวง ดังนั้นจึงมีชื่ออีกชื่อว่า
    สัพพากุศลสาธารณเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกที่สาธารณแก่อกุศลจิต ทั้งหมด

    ข. โลติกเจตสิก หมายความว่าเป็นเจตสิกพวกโลภะ มี ๓ ดวงด้วยกัน คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก
    และมานะเจตสิก โลติกนี้ประกอบได้เฉพาะแต่โลภมูลจิต ๘ ดวงเท่านั้น

    ค. โทจตุกเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกพวกโทสะมี ๔ ดวงด้วยกัน คือ
    โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก และกุกกุจจเจตสิก โทจตุก นี้ประกอบได้แต่เฉพาะโทสมูลจิต ๒ ดวงเท่านั้น

    ง. ถีทุกเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกพวกถีนะ มี ๒ ดวงด้วยกัน คือ ถีนเจตสิก และมิทธเจตสิก
    ถีทุก นี้ ประกอบได้เฉพาะแต่อกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก ๕ ดวงเท่านั้น

    จ. วิจิกิจฉาเจตสิกไม่มีพวก มีแต่ตัวดวงเดียว และประกอบได้เฉพาะแต่ โมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉา
    ดวงเดียวเท่านั้น เอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กรกฎาคม 2013
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โมหเจตสิก

    ๑. โมหเจตสิก คือ ความหลง ความไม่รู้จริงตามสภาวะของอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

    อญาณลกฺขโณ มีการไม่รู้ เป็นลักษณะ
    อารมมฺมณสภาวจฺฉาทนรโส มีการปกปิดไว้ซึ่งสภาวะแห่งอารมณ์ เป็นกิจ
    อนฺธการปจฺจุปฏฺฐาโน มีความมืดมน เป็นผล
    อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐาโน มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีก่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

    ที่ว่า ไม่รู้นั้น หมายความว่าไม่รู้ในการสิ่งควรรู้ แต่ไม่รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้
    ความไม่รู้ในที่นี้ หมายเฉพาะ ไม่รู้ในธรรม ๘ ประการ คือ

    (๑) ทุกฺเข อญาณํ ไม่แจ้งในทุกข์
    (๒) ทุกฺขสมุทเย อญาณํ ไม่แจ้งเหตุให้เกิดทุกข์
    (๓) ทุกฺขนิโรเธ อญาณํ ไม่แจ้งการดับทุกข์
    (๔) ทุกฺขนิโรธคามินิปฏิปทาย อญาณํ ไม่แจ้งหนทางที่จะดับทุกข์
    (๕) ปุพฺพนฺเต ยญาณํ ไม่แจ้งในขันธ์ อายตน ธาตุ อินทริย์ สัจจ ปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นส่วนอดีต
    ( อเหตุกทิฏฐิ ไม่เชื่อเหตุ )
    (๖) อปรนฺเต อญาณํ ไม่แจ้งในขันธ์ อายตน ธาตุ อินทรีย์ สัจจ ปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นส่วน อนาคต ( อุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าสูญและนัตถิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผล )
    (๗) ปุพฺพนฺตาปรนฺเต อญาณํ ไม่แจ้งในขันธ์ อายตน ธาตุ อินทรีย์ สัจจ ปฏิจจสมุปบาท ทั้งที่เป็นส่วนในอดีตและในอนาคต ( อกริยทิฏฐิ ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล )
    (๘) อธิปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ อญาณํ ไม่แจ้งในธรรมที่มีเหตุให้เกิดผลอันต่อเนื่องกัน
    ( อัตตทิฏฐิเชื่อว่าเป็นตัวเป็นตน )
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อหิริกเจตสิก

    ๒. อหิริเจตสิก คือ ความไม่ละอายต่อการทำบาป ไม่ละอายต่อการทำอกุศล มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    กายทุจฺจริตาทีหิอชิคุจฺฉนลกฺขณํ มีการไม่เกลียดต่อกายทุจริต เป็นต้น เป็นลักษณะ
    ปาปานํกรณรสํ มีการกระทำบาป เป็นกิจ
    อสงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความไม่เกลียดต่อบาปธรรม เป็นผล
    อตฺตอคารวปทฏฺฐานํ มีการไม่เคารพตน เป็นเหตุใกล้

    ที่ไม่เคารพตน เพราะ
    ก. ไม่ละอายต่อ วัย
    ข. ไม่ละอายต่อ เพศ
    ค. ไม่ละอายต่อ ตระกูล
    ง. ไม่ละอายต่อ อกุศล

    อโนตตัปปเจตสิก

    ๓. อโนตตัปเจตสิก คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อการทำบาป ไม่สะดุ้งกลัวต่อการทำอกุศล
    มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อนุตฺตาสลกฺขณํ มีการไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นลักษณะ
    ปาปานํกรณรสํ มีการทำบาป เป็นกิจ
    อสงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความไม่เกลียดต่อบาปธรรม เป็นผล
    ปรอคารวปทฏฺฐานํ ไม่มีการเคารพผู้อื่น เป็นเหตุใกล้

    อุทธัจจเจตสิก

    ๔. อุทธัจจเจตสิก คือความฟุ้งซ่าน ไม่สงบ คิดฟุ้งไปในอารมณ์ต่างๆ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อวูปสมลกฺขณํ มีความไม่สงบ เป็นลักษณะ
    อนวตฺถานรสํ มีการไม่มั่นในอารมณ์เดียว เป็นกิจ
    ภนฺตตฺถ ปจฺจุปฏฺฐานํ มีความหวั่นไหว เป็นผล
    อโยนิโสมนสิการ ปทฏฺฐานํ มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โลภเจตสิก

    ๕. โลภเจตสิก คือ ความรัก ความอยากได้ ความติดใจในอารมณ์ทั้ง ๖ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อารมฺมณคหณลกฺขโณ มีการยึดมั่นซึ่งอารมณ์ เป็นลักษณะ
    อภิสงฺครโส มีการติดในอารมณ์ เป็นกิจ
    อปริจฺจาคปจฺจุปฏฺฐาโน มีการไม่บริจาค เป็นผล
    สํโยชนิธมฺเมสุ อสฺสาททสฺสนปทฏฺฐาโน มีการดูด้วยความยินดีในสังโยชน์ เป็นเหตุใกล้

    อรรถของโลภะโดยปริยาย ในไวยกรณ์ ตามบาลีในปรมัตถทีปนีฎีกา ได้จำแนกออกไป ๑๐ ประการ คือ
    (๑) ตัณหา ความต้องการ (๒) ราคะ ความกำหนัด
    (๓) กามะ ความใคร่ (๔) นันทิ ความเพลิดเพลิน
    (๕) อภิชฌา ความเพ่งเล็ง (๖) ชเนตติ ความก่อให้เกิดกิเลส
    (๗) โปโนพภวิก ความนำให้เกิดในภพใหม่ (๘) อิจฉา ความปรารถนา
    (๙) อาสา ความหวัง (๑๐) สังโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ความผูกพันธ์ ผูกมัด รัดไว้ ล่ามไว้

    ปริตสฺสตีติ ตณฺหาฯ (วิสุทธิมัคค)

    ความกระหายอยากได้ซึ่งอารมณ์นั้นเรียกว่า ตัณหา
    กาโม จ โสตณฺหา จาติ กามตณฺหา ฯ (ปรมัตถทีปนีฎีกา)

    ความกำหนัดที่อยากได้ซึ่งกามคุณอารมณ์นั้น เรียกว่า กามตัณหา
    สสฺสตทิฏฐิ สหคโต หิ ราโค ภวตณฺหาติ วุจฺจติฯ (วิสุทธิมัคค)

    ตัณหาที่เกิดพร้อมด้วย สัสสตทิฏฐิ เรียกว่า ภวตัณหา
    อุจฺเฉททิฏฐิ สหคโต หิ ราโค วิภวตณฺหา วุจฺจติ (วิสุทธิมัคค)

    ตัณหาที่เกิดพร้อมด้วย อุจเฉททิฏฐิ เรียกว่า วิภวตัณหา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ทิฏฐิเจตสิก

    ๖. ทิฏฐิเจตสิก คือ ความเห็นผิดจากความเป็นจริงในสภาวธรรม มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

    อโยนิโส อภินิเวส ลกฺขณา มีการถือมั่นด้วยหาปัญญามิได้ เป็นลักษณะ
    ปรามาส รสา มีการถือผิดจากสภาวะ เป็นกิจ
    มิจฺฉาภินิเวสปจฺจุปฏฺฐานา มีการยึดถือความเห็นผิด เป็นผล
    อริยานํ อทสฺสน กามตาทิ ปทฏฺฐานา ไม่ต้องการ เห็นพระอริยะ เป็นต้น เป็นเหตุใกล้

    คำว่า ทิฏฐิ แปลตามพยัญชนะ คือ ตามตัวอักษร ตามศัพท์ ก็แปลว่าความเห็น
    ไม่เจาะจงว่าเป็นความเห็นผิดหรือ ความเห็นถูกต้องตามสภาวะ
    แต่โดยอรรถ คือ ตามความหมายแห่งธรรมแล้ว ถ้าใช้ลอยๆ ว่า ทิฏฐิ เฉยๆ
    ก็หมายว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดเสมอไป เว้นไว้แต่ในที่ใดบ่งว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ
    จึงมีความหมายว่าเป็นความเห็นชอบความเห็นถูกโดยเฉพาะ ทิฏฐิเจตสิก เป็นความเห็นผิดเสมอไป
    และทิฏฐินี้แบ่งเป็นหยาบๆ เป็น ๒ คือ ทิฏฐิสามัญ และทิฏฐิพิเศษ


    ทิฏฐิสามัญ ได้แก่สักกายทิฏฐิ คือ เห็นเป็นตัวตนบุคคลเราเขา อันเป็นความเห็นผิด
    แต่ที่จัดเป็นสามัญ เพราะทิฏฐิ ชนิดนี้ มีประจำทั่วทุกตัวสัตว์เป็นปกตวิสัย (เว้นพระอริยบุคคล)

    ทิฏฐิพิเศษ ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ คือ อเหตุกทิฏฐิ ไม่เชื่อ เหตุ นัตถิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผล
    อกิริยทิฏฐิ ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล และสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยงแท้แน่นอน
    อุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าสูญ ตลอดทั้งทิฏฐิ ๖๒ ที่จัดเป็นทิฏฐิพิเศษ ก็เพราะว่าทิฏฐิชนิดนี้บางคนก็มี บางคนก็ไม่มี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กรกฎาคม 2013
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มานเจตสิก

    ๗. มานเจตสิก คือ ความถือตนความทะนงตน มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

    อุณฺณติ ลกฺขโณ มีการทะนงตน เป็นลักษณะ
    สมฺปคฺค รโส มีการยกย่องสัมปยุตตธรรม เป็นกิจ
    เกตุกมฺยตาปจฺจุปฏฺฐาโน มีความปรารถนาสูง เป็นผล
    ทิฏฺฐิวิปฺปยุตฺตโลภ ปทฏฺฐาโน มีโลภจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตต เป็นเหตุใกล้

    มานะ นี้ท่านจัดไว้ ๙ ประการ คือ
    (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา
    (๒) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา
    (๓) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคุณตัวว่า เลวกว่าเขา
    (๔) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา
    (๕) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา
    (๖) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา
    (๗) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา
    (๘) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา
    (๙) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา

    อติมานะ=ดูหมิ่นท่าน,สารัมภะ=แข่งดี,ถัมภะ=หัวดื้อ,สาเถยยะ=โอ้อวด เหล่านี้จัดเป็นมานะทั้งสิ้น
    ข้อควรสังเกต คือถ้าเกิดมีการเปรียบเทียบเรากับเขาขึ้นเมื่อใดก็เป็นมานะเมื่อนั้น
    ไม่ว่าการเปรียบเทียบนั้นจะเป็นการเปรียบเทียบด้วย ชาติ โคตร สกุล รูป สมบัติ ทรัพย์ ศิลปะวิทยา การงาน หรือ ความเฉลียวฉลาด
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โทสเจตสิก

    ๘. โทสเจตสิก คือ ความโกรธ ความไม่ชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    จณฺฑิกลกฺขโณ มีความหยาบกระด้าง เป็นลักษณะ
    นิสฺสยทาหนรโส มีการทำให้จิตตนและผู้อื่นหม่นไหม้ เป็นกิจ
    ทูสนปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประทุษฐร้าย การทำลาย เป็นผล
    อาฆาตวตฺถุ ปทฏฺฐาโน มีอาฆาตวัตถุ เป็นเหตุใกล้

    ความไม่ชอบใจ เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญใจ หงุดหงิด โกรธ เกลียด กลัว ประทุษฐร้าย
    ทำลายเหล่านั้น เป็นลักษณะหรือเป็นตัวโทสะทั้งนั้น
    อาฆาตวัตถุ อันเป็นเหตุใกล้ให้เกิดโทสะนั้นมี ๑๐ ประการ คือ
    (๑) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา ได้ ทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา
    (๒) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา กำลัง ทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา
    (๓) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา จัก ทำความเสื่อมเสียให้แก่เรา

    (๔) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา ได้ ทำความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
    (๕) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา กำลัง ทำความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
    (๖) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา จัก ทำความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ที่เรารักเราชอบ
    (๗) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา ได้ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
    (๘) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา กำลัง ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
    (๙) อาฆาตเขา เพราะคิดว่าเขา จัก ทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
    (๑๐) ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร เช่นเกิดโกรธขึ้นเมื่อเดินสะดุดตอไม้ หรือ เหยียบหนาม เป็นต้น
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อิสสาเจตสิก

    ๙. อิสสาเจตสิก คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความไม่ยินดี ความริษยาในการได้ลาภได้ยศของผู้อื่น มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    ปรสมฺปตฺตีนํ อุสฺสูยนลกฺขณา มีการริษยาในสมบัติของผู้อื่น เป็นลักษณะ
    ตตฺเถว อนภิรติรสา มีการไม่ชอบใจในความมั่งมีของผู้อื่น เป็นกิจ
    ตโตวิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีการเบือนหน้าหนีจากสมบัติของผู้อื่น เป็นผล
    ปรสมฺปตฺติปทฏฺฐานา มีสมบัติของผู้อื่น เป็นเหตุใกล้

    มัจฉริยเจตสิก

    ๑๐. มัจฉริยเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความตระหนี่เหนียวแน่น ไม่ยอมเสียสละ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อตฺตโนสมฺปตฺตีนํ นิคูหนลกฺขณํ มีการซ่อนสมบัติของตน เป็นลักษณะ
    ตาสํ เยว ปเรหิสาธารณภาว อกฺขมนรสํ มีการไม่ชอบให้สมบัติของตนเป็นสาธารณแก่ผู้อื่น เป็นกิจ
    สงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความหดหู่ หวงแหน ไม่เผื่อแผ่ เป็นผล
    อตฺตสมฺปตฺติปทฏฺฐานํ มีสมบัติของตน เป็นเหตุใกล้

    มัจฉริยะ ๕ ประการ ได้แก่
    (๑) อาวาสมัจฉริย ตระหนี่ ที่อยู่
    (๒) กุลมัจฉริย ตระหนี่ สกุล
    (๓) ลาภมัจฉริย ตระหนี่ ลาภ
    (๔) วัณณมัจฉริย ตระหนี่ วรรณะ
    (๕) ธรรมมัจฉริย ตระหนี่ ธรรม

    กุกกุจจเจตสิก

    ๑๑. กุกกุจจเจตสิก คือธรรมชาติที่เดือดร้อนรำคาญใจในสิ่งชั่ว อกุสลกรรมที่ได้ทำไปแล้ว
    และร้อนใจในกุสลกรรม ความดีที่ยังไม่ได้ทำ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    ปจฺฉานุตาปลกฺขณํ มีความเดือดร้อนอยู่เนืองๆ ในภายหลัง เป็นลักษณะ
    กตากตานุโสจนรสํ มีการตามเดือดร้อนอยู่เนือง ๆ ถึงบาปที่ได้กระทำแล้ว และบุญที่ไม่ได้กระทำ เป็นกิจ
    วิปฺปฏิสารปจฺจุปฏฺฐานํ มีความกินแหนงใจอยู่ เป็นผล
    กตากตปทฏฺฐานํ มีการทำบาป มิได้กระทำบุญ เป็นเหตุใกล้
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ถีนเจตสิก

    ๑๒. ถีนเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้จิตท้อถอยหดหู่ เซื่องซึม ไม่ใส่ใจในอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อนุสฺสาหลกฺขณํ มีการไม่อุตสาหะ เป็นลักษณะ
    วีริยวิโนทนรสํ มีการทำลายความเพียร เป็นกิจ
    สํสีทนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความท้อถอย เป็นผล
    อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานํ มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

    มิทธเจตสิก

    ๑๓. มิทธเจตสิก คือเจตสิกที่ทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยตนให้หดหู่ท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน และง่วงซึมหลับ จับอารมณ์ไม่ติด มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อกมฺมญฺญตาลกฺขณํ มีความไม่ควรแก่การงาน เป็นลักษณะ
    โอทหนรสํ มีการกั้นกำบังกุสล เป็นกิจ
    ลีนตาปจฺจุปฏฺฐานํ มีความท้อถอย เป็นผล
    อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานํ มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิจิกิจฉาเจตสิก

    ๑๔. วิจิกิจฉาเจตสิก คือ ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ ในอารมณ์ต่างๆ สงสัยตัดสินอารมณ์ไม่ได้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    สํสยลกฺขณา มีความสงสัย เป็นลักษณะ
    กมฺปนรสา มีการหวั่นไหวในอารมณ์ เป็นกิจ
    อนิจฺฉยปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่สามารถตัดสินใจได้ เป็นผล
    อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐานา มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

    ความสงสัยทั้งหลาย หาใช่เป็นวิจิกิจฉาเจตสิกนี้ทั้งหมดไม่ ความสงสัยในวิจิกิจฉาเจตสิกนี้ หมายเฉพาะสงสัยในธรรม ๘ ประการเท่านั้น คือ
    (๑) สงสัยในพระพุทธเจ้า ได้แก่สงสัยในพระสรีระ (ว่าเห็นจะไม่มีตัวจริง น่าจะสมมุติขึ้น) หรือสงสัยในพระคุณ (พระพุทธคุณ ๙)
    (๒) สงสัยในพระธรรม ว่ามัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ มีจริงหรือและธรรมนี้นำออกจากทุกข์ ได้จริงหรือ
    (๓) สงสัยในพระสงฆ์ ว่าสงฆ์ที่ตั้งอยู่ในมัคค ๔ ผล ๔ มีจริงหรือ สงฆ์ที่ปฏิบัติดีจริงมีหรือ ผลแห่งทานที่ถวายแก่สงฆ์ มีจริงหรือ
    (๔) สงสัยในสิกขา ๓ (ศีล สมาธิ ปัญญา) ว่ามีจริงหรือ ผลานิสงส์แห่งการศึกษาปฏิบัติในสิกขา ๓ มีจริงหรือ
    (๕) สงสัยในขันธ์ ๕ อายตน ธาตุที่เป็นส่วนอดีตมีจริงหรือ คือสงสัยว่าชาติก่อนมีจริงหรือ (อเหตุกทิฏฐิ)
    (๖) สงสัยในขันธ์ อายตน ธาตุ ที่เป็นอนาคต มีจริงหรือ คือสงสัยว่า ชาติหน้ามีจริงหรือ (อุจเฉททิฏฐิ)
    (๗) สงสัยในขันธ์ อายตน ธาตุ ทั้งที่เป็นส่วนอดีตและอนาคตนั้น มีจริงหรือ คือสงสัยทั้งชาติก่อนและชาติหน้า (อกิริยทิฏฐิ)
    (๘) สงสัยในปฏิจจสมุปบาทธรรม คือ ธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลอาศัยกันเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปโดยไม่ขาดสายเลยนั้น มีจริงหรือ (อัตตทิฏฐิ)

    อนึ่งความสงสัยอย่างอื่นที่ไม่ใช่ธรรม ๘ ประการ เช่นสงสัยในเรื่องสมมุติและบัญญัติ ไม่เป็นกิเลส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โสภณเจตสิก

    โสภณเจตสิก เป็นเจตสิกที่ดีงาม ไม่เศร้าหมอง ไม่เร่าร้อน เมื่อประกอบกับจิต ก็ทำให้จิตนั้นดีงาม
    ปราศจากความเร่าร้อน ให้จิตตั้งอยู่ในศีลธรรม มีการเว้นจากบาป เว้นจากทุจริตต่างๆ ฉะนั้นเจตสิก
    ประเภทนี้ จึงเรียกว่า โสภณเจตสิก
    จิตที่มีโสภณเจตสิกประกอบ ก็เรียกว่า โสภณจิต ส่วนจิตใดที่ไม่มีโสภณเจตสิกประกอบ ก็เรียกว่า อโสภณจิต

    โสภณเจตสิก มีจำนวน ๒๕ ดวง และยังแบ่งออกได้เป็น ๔ พวก คือ

    ก. โสภณสาธารณเจตสิก มี ๑๙ ดวง เป็นเจตสิกที่สาธารณะกับโสภณจิตทั้งหมด หมายความว่า โสภณจิต ๕๙
    หรือ ๙๑ ดวงนั้น ไม่ว่าดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีโสภณสาธารณเจตสิกนี้ประกอบพร้อมกันทั้ง ๑๙ ดวง ไม่มีเว้นเลย

    ข. วิรตีเจตสิก มี ๓ ดวง เป็นเจตสิกที่เว้นจากบาปธรรมทั้งปวง อันเกิดจากกายทุจริต และวจีทุจริต

    ค. อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ ดวง เป็นเจตสิกที่มีความรู้แผ่ไปไม่มีประมาณ เรียกว่า พรหมวิหาร ก็ได้
    ที่เรียกว่า อัปปมัญญานั้นเพราะแผ่ไปในสัตว์ทั้งหลาย จนประมาณไม่ได้
    ที่เรียกว่า พรหมวิหารนั้น เพราะธรรมนี้เป็นที่อยู่สำราญของพวกพรหม

    ง. ปัญญาเจตสิก มีดวงเดียว ไม่มีพวก เป็นเจตสิกที่มีความรู้เป็นใหญ่ เป็นประธาน
    ปกครองซึ่งสหชาตธรรมทั้งปวง ปัญญินทรียเจตสิก ก็เรียก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง มีดังนี้

    สัทธาเจตสิก

    ๑. สัทธาเจตสิก คือ ความเชื่อถือเหตุผลตามความเป็นจริง ความเลื่อมใสในกุสลธรรม
    ความเชื่อในฝ่ายดี เช่น เชื่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    สทฺทหนลกฺขณา มีความเชื่อถือในอารมณ์ที่ดี เป็นลักษณะ
    ปสาทนรสา มีการเลื่อมใส เป็นกิจ
    อกาฬุสฺสิยปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
    สทฺเทยฺยวตฺถุปทฏฺฐานา มีปูชนียวัตถุเป็นเหตุใกล้

    สัทธาแม้อย่างน้อยเพียงเชื่อว่าสัตว์นั้นมีกรรมเป็นของตน คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพียงเท่านี้
    ก็เป็นคุณยิ่ง มิฉะนั้นก็จะไม่ประหยัดต่อบาปกรรม จะกระทำอะไรก็ไม่คิดว่าเป็นทุจริตเสียหาย
    เพราะสำคัญผิดว่าจะไม่ต้องได้รับผลนั้น
    ถ้ามีสัทธา เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมแล้ว ก็จะตั้งตนไว้ในทางที่ชอบ ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
    สัทธา จึงเป็นธรรมเบื้องต้นที่จะทำให้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญเป็นกุสล จนหาประมาณมิได้
    สัทธา พีชํฯ สัทธาเปรียบเหมือนพืช (อันจะงอกงามโตใหญ่ให้ดอกผลในภายหน้า)

    เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสสัทธา
    (๑) รูปปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
    (๒) ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย
    (๓) โฆสปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะได้ฟังชื่อเสียงลือว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้
    (๔) ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะได้สดับธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สติเจตสิก

    ๒. สติเจตสิก คือความระลึกรู้อารมณ์และยับยั้งมิให้จิตตกไปในอกุสล
    ความระลึกอารมณ์ที่เป็นกุสล ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์
    สติ เป็นธรรมที่มีอุปการะมากต้องใช้สติต่อเนื่องกันตลอดเวลา ในทางเจริญวิปัสสนา
    หรือเจริญสมาธิ มุ่งทางปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายเดียวที่จะหลุดพ้นจากกิเลสไปได้
    โดยเจริญสติปัฏฐานทาง กาย เวทนา จิต ธรรม มีสติระลึกรู้อยู่เนื่อง ๆ ว่า กายมีปฏิกูล ฯลฯ
    สติมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆคือมีความไม่ประมาท เป็นลักษณะ
    อสมฺโมหรสา มีการไม่หลงลืม เป็นกิจ
    อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล
    ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้

    สติเป็นเครื่องชักนำใจให้ยึดถือกุสลธรรมเป็นอุดมคติ ถ้าหากว่าขาดสติเป็นประธานเสียแล้ว
    สมาธิก็ไม่สามารถจะมีได้เลย และเมื่อไม่มีสมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดไม่ได้

    เหตุให้เกิดสติ โดยปกติมี ๑๗ ประการ คือ
    (๑) ความรู้ยิ่ง เช่น สติของบุคคลที่ระลึกชาติได้พระพุทธองค์ระลึกชาติได้ไม่จำกัดชาติจะระลึกได้
    ทุกชาติที่พระองค์ปรารถนา สติของพระอานนท์จำพระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัสไว้ได้หมด
    (๒) ทรัพย์ เป็นเหตุให้เจ้าของทรัพย์มีสติ คือเมื่อมีทรัพย์มักจะเก็บรักษาไว้อย่างดี และจะระมัดระวังจดจำไว้ว่าตนเก็บทรัพย์ไว้ที่ใด
    (๓) สติเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น พระโสดาบันจะจำได้โดยแม่นยำ
    ถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้บันลุเป็นพระโสดาบัน หรือบุคคลที่ได้รับยศยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต
    (๔) สติเกิดขึ้น โดยระลึกถึงเหตุการณ์ที่ตนได้รับความสุขที่ประทับใจ เมื่อนึกถึงก็จะจำเรื่องต่าง ๆ ได้
    (๕) สติเกิดขึ้น เนื่องจากความทุกข์ที่ได้รับเมื่อระลึกถึงก็จะจดจำได้
    (๖) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ
    (๗) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับที่เคยประสบ
    (๘) สติเกิดขึ้น เพราะคำพูดของคนอื่น เช่น มีคนเตือนให้เก็บทรัพย์ที่ลืมไว้
    (๙) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเครื่องหมายที่ตนทำไว้ เช่น เห็นหนังสือที่เขียนชื่อไว้ถูกลืมไว้
    (๑๐) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเรื่องราวต่าง ๆ หรือผลงาน เช่น เห็นพุทธประวัติก็ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
    (๑๑) สติเกิดขึ้น เพราะความจำได้ เช่น มีการนัดหมายไว้ เมื่อมองไปที่กระดานก็จำได้ว่าต้องไปตามที่ได้นัดไว้
    (๑๒) สติเกิดขึ้น เพราะการนับ เช่น การเจริญสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็ใช้นับลูกประคำ เพื่อมิให้ลืม
    (๑๓) สติเกิดขึ้น เพราะการทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้
    (๑๔) สติเกิดขึ้น เพราะการระลึกชาติได้ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง (บุคคลที่มิใช่พระพุทธเจ้า)
    (๑๕) สติเกิดขึ้น เพราะการบันทึกไว้ เมื่อดูบันทึกก็จำได้
    (๑๖) สติเกิดขึ้น เพราะทรัพย์ที่เก็บได้เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้นได้ว่าได้เก็บทรัพย์ไว้
    (๑๗) สติเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เคยพบเคยเห็นมาแล้ว เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึกได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กรกฎาคม 2013
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    หิริเจตสิก

    ๓. หิริเจตสิก คือความละอายต่อการทำบาปทำชั่ว ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ
    บาปคือธรรมชาติที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บุญคือธรรมชาติที่ชำระจิตให้สะอาดผ่องแผ้ว
    ในขณะที่จิตอกุสลเกิดขึ้นอยากจะประพฤติผิดศีล ๕ เครื่องยับยั้งมิให้เกิดอกุสลจิตนั้น
    ก็คือ หิริ คือเกิดความละอายต่อบาปที่จะกระทำ จึงยับยั้งไว้ช่วยไม่ให้ทำอกุสล

    ฉะนั้นหิริจึงเป็นธรรมที่เป็นโลกบาล คือเป็นธรรมชาติที่คุ้มครองโลก หิริ เกิดขึ้นทำให้ละอายต่อบาป
    จึงไม่กล้าทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง สิ่งที่ทำให้เกิดหิริ คือมีการเคารพตนเอง
    จึงละอายต่อการทำบาป หิริเจตสิกมีลักขณาทิจตุกะดังนี้

    ปาปโตชิคุจฺฉนลกฺขณา มีความเกลียดต่อบาป เป็นลักษณะ
    ปาปานํอกรณรสา มีการไม่ทำบาป เป็นกิจ
    ปาปโตสงฺโกจน ปจฺจุปฏฺฐานา มีความละอายต่อบาป เป็นผล
    อตฺตคารวปทฏฺฐานา มีความเคารพในตน เป็นเหตุใกล้
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    โอตตัปปเจตสิก

    ๔. โอตตัปปเจตสิก คือ ธรรมชาติที่มีความสะดุ้งกลัวต่อผลของบาป จึงไม่ทำบาป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อตฺตาสนลกฺขณํ มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นลักษณะ
    ปาปานํอกรณรสํ มีการไม่ทำบาป เป็นกิจ
    ปาปโตสงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความละอายต่อบาป เป็นผล
    ปรคารวปทฏฺฐานํ มีความเคารพผู้อื่น เป็นเหตุใกล้
    หิริกับโอตตัปปะ จะเกิดได้ต้องอาศัย เหตุภายนอก ๔ เหตุภายใน ๘ อย่างใดอย่างหนึ่ง

    เหตุภายนอก ๔ ได้แก่
    (๑) อตฺตานุวาทภยํ กลัวต่อการถูกติเตียนตนด้วยตนเอง
    (๒) ปรวาทานุภยํ กลัวต่อการถูกติเตียนตนจากผู้อื่น
    (๓) ทณฺฑภยํ กลัวต่อราชทัณฑ์ คือกฎหมายบ้านเมือง
    (๔) ทุคฺคติภยํ กลัวต่อภัยในอบายภูมิ

    เหตุภายใน ๘ ได้แก่
    (๑) กุละ ละอายบาป กลัวบาปโดยคำนึงถึงตระกูลของตน
    (๒) วยะ ละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงวัยของตน
    (๓) พาหุสัจจะ ละอายบาปกลัวบาป โดยคำนึงถึงการศึกษาของตน
    (๔) ชาติมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึงชาติอันประเสริฐของตน
    (๕) สัตถุมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึงพระพุทธเจ้า บิดา มารดา ครู อาจารย์
    (๖) ทายัชชมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึง มรดกของพระพุทธเจ้า ของบิดา มารดา ซึ่งตนเองจะต้องรับมรดกนั้น
    (๗) สพรหมจารีมหัตตะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึง เพื่อนที่ดีที่เคยคบมา
    (๘) สูรภาวะ ละอายบาปกลัวบาปโดยคำนึงถึง ความกล้าหาญและความสงบเสงี่ยมเจียมตัวของตน
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อโลภเจตสิก

    ๕. อโลภเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ไม่อยากได้ ไม่ข้องในอารมณ์ ไม่ติดในอารมณ์ เมื่อประสบในอารมณ์นั้น
    จะพยายามให้หลุดออกไปจากอารมณ์นั้น มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อลคฺคภาวลกฺขโณ มีความไม่ติดอารมณ์ เป็นลักษณะ
    อปริคฺคหรโส มีการไม่หวงแหน เป็นกิจ
    อนลฺลีนภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีการไม่ยึดมั่น เป็นผล
    โยนิโสมนสิการปทฏฺฐาโน มีการเอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

    อโทสเจตสิก

    ๖. อโทสเจตสิก คือธรรมชาติที่ไม่โกรธ ไม่หยาบคาย ไม่มีปองร้าย ไม่ประทุษร้าย (มีเมตตาต่อกัน)
    มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    อจณฺฑิกลกฺขโณ มีความไม่ดุร้าย เป็นลักษณะ
    อาฆาตวินยรโส มีการทำลายความอาฆาต เป็นกิจ
    โสมภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีความร่มเย็น เป็นผล
    โยนิโสมนสิการปทฏฺฐาโน มีการเอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

    ขนฺติ คือความอดทน ทนตรากตรำ ทนลำบาก ทนต่อเหตุที่ทำให้เจ็บใจ
    อกฺโกธ คือ ความไม่โกรธ
    ส่วน เมตฺตา ยังประสงค์ให้ผู้อื่นมีความสุขอีกด้วย
    ทั้ง ขันติ อักโกธ และเมตตา นี้องค์ธรรมได้แก่ อโทส
    เมตตา มีการเพ่งเล็งเห็นความงดงามแห่งจิตใจของผู้อื่น เป็นฐานที่เกิด
    ส่วนราคะ มีการเพ่งเล็งเห็นความงดงามแห่งร่างกายของผู้อื่น เป็นฐานที่เกิด
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก

    ๗. ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก คือ การทำใจเป็นกลาง เป็นยุตติธรรม ไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง
    การวางใจเฉยในอารมณ์ (เป็นอุเบกขาในพรหมวิหาร) มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    จิตฺตเจตสิกานํ สมวาหิตลกฺขณา มีการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกให้เสมอภาค เป็นลักษณะ อูนาธิกตานิวารณรสา มีการห้ามความยิ่งหย่อน เป็นกิจ
    มชฺฌตฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความเป็นกลาง(อุเบกขา) เป็นผล
    สมฺปยุตฺตานํปทฏฺฐานา มีสัมปยุตตธรรม เป็นเหตุใกล้

    กายปัสสัทธิเจตสิก และ จิตตปัสสัทธิเจตสิก

    ๘.กายปัสสิทธิเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้เจตสิกสงบจากอกุสล ความสงบจากอกุสลของเจตสิก
    ๙. จิตตปัสสัทธิเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้จิตสงบจากอกุสล ความสงบจากอกุสลของจิต

    เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    กายจิตฺตานํทรถวูปสมลกฺขณา มีการทำให้เจตสิก ทำให้จิตสงบจากความเร่าร้อน เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตทรถนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความเร่าร้อนของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ
    กายจิตฺตานํ อปริปฺผนฺทนสีติภาว ปจฺจุปฏฺฐานา มีความเยือกเย็น ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    กายลหุตาเจตสิก และ จิตตลหุตาเจตสิก

    ๑๐. กายลหุตาเจตสิก คือสภาวที่ทำให้เจตสิกเบาจากอกุสล ความเบาของเจตสิกจากอกุสล
    ๑๑. จิตตลหุตาเจตสิก คือสภาวที่ทำให้จิตเบาจากอกุสล ความเบาของจิตจากอกุสล
    เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    กายจิตฺตครุภาววูปสมลกฺขณา มีการทำให้เจตสิก ทำให้จิต สงบจากความหนัก เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตครุภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความหนักของเจตสิก ของจิต เป็นกิจ
    กายจิตฺตานํอทนฺธตาปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่หนักของเจตสิก ของจิต เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้

    กายมุทุตาเจตสิก และ จิตตมุทุตาเจตสิก

    ๑๒. กายมุทุตาเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้เจตสิกมีความอ่อนโยน ความอ่อนโยนของเจตสิก ทำให้เป็นไปง่ายดายในอารมณ์ที่เป็นกุสล
    ๑๓. จิตตมุทุตาเจตสิก คือ สภาวที่ทำให้จิตอ่อนโยน เจตสิกที่ทำให้จิตอ่อนโยน เป็นไปได้ง่ายดายในอารมณ์ที่เป็นกุสล
    เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

    กายจิตฺตถทฺธวูปสมลกฺขณา มีเจตสิก และมีการทำให้จิตสงบจากความแข็ง กระด้าง เป็นลักษณะ
    กายจิตฺตถทฺธภาวนิมฺมทฺทนรสา มีการทำลายความแข็งกระด้างของเจตสิก และของจิต เป็นกิจ
    อปฺปฏิฆาตปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่โกรธไม่อาฆาต เป็นผล
    กายจิตฺตปทฏฺฐานา มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...