ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วันเสาร์ ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556, 09.12 น.
    29 มิ.ย.56 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศ หรือ นาซ่า ได้เปิดเผยภาพการชนกันของกาแล็คซี่ ซึ่งถ่ายโดยกล้องเทเลสโคปฮับเบิล
    image.jpg
    ภาพดังกล่าวเป็นกาแล็คซี่ ที่อยู่ห่างจากโลกถึง 326 ล้านปีแสง มีรูปร่างคล้ายกับกาแล็คซี่ทางช้างเผือกของโลก อีกทั้งนาซ่าได้จินตนาการว่า ภาพกาแล็คซี่ชนกันนี้ มีลักษณะคล้ายเพนกวินกำลังห่อตัวปกป้องไข่ของมัน

    นักวิทยาศาสตร์เผยว่า การชนกันของกาแล็คซี่ เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนมวลสารกัน ทำให้เกิดการระเบิดตัวครั้งใหญ่ อีกทั้งก๊าซและมวลสาร ก็ถูกกาแล็คซี่ทั้งสองดูดเข้าหากัน จนกลายเป็นการก่อตัวเกิดเป็นดาวใหม่

    ต่างประเทศ - นาซ่าเผยภาพกาแล็คซี่ชนกัน คล้ายเพนกวินปกป้องไข่
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ก้องภพ อยู่เย็น ได้แชร์ ลิงก์
    เมื่อวานนี้ เวลา 20:39 น. ใกล้กับ Arlington, VA ·
    วันที่ 6 กรกฎาคม เวลาประมาณ 20 UT เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ มีทิศทางตรงกับโลกจากการคำนวณพบว่าพลังงานจะเดินทางมาถึงโลกในวันที่ 10 กรกฎาคม เวลา 0 UT +/- 7 ชั่วโมง และในวันที่ 7-8 กรกฏาคม เกิดการขยายตัวของปริมาณจุดดับอย่างฉับพลัน ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติได้ในช่วงเวลาดังกล่าวจนถึงวันที่ 11 กรกฏาคม ครับ

    ส่วนรายละเอียดของเหตุการณ์ดัวกล่าวมีดังนี้

    - โมเดลจำลองการแพร่กระจายของพลังงานจากดวงอาทิตย์สู่โลก SOLARHAM.com - CME Tracker
    - ภาพถ่ายมุมกว้างของดวงอาทิตย์โดยโลกอยู่ทางด้านขวามือของภาพ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/07/06/behind_20130706_cor2_512.mpg
    - ภาพถ่ายมุมกว้างของดวงอาทิตย์โดยโลกอยู่ทางด้านซ้ายมือของภาพ http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2013/07/06/ahead_20130706_cor2_512.mpg
    - ดัชนีจุดดับบนผิวดอาทิตย์ ESA Daily Sun Spot Number
    SOLARHAM.com - CME Tracker
    SOLARHAM.com / Solar Cycle 24 / Spaceweather / Amateur Radio VHF Aurora Website
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Piyacheep S.Vatcharobol ได้แชร์ ลิงก์
    4 ชั่วโมงที่แล้ว ใกล้กับ Bangkok ·
    ลองดูคลิปนะครับ ซอมบี้ ในอินโดนิเซีย
    ในอดีตการนำร่างคนตายกลับหมู่บ้านลำบากมาก
    เขาเลยปลุกคนตายให้ตื่นแล้วเดินกลับหมู่บ้านเอง
    เพื่อนำไปฝั่งยังบ้านตนเองแทนการขาย้ายศพ ???

    The Walking Dead of Toraja | Oddity Central - Collecting Oddities
    The Walking Dead of Toraja | Oddity Central - Collecting Oddities
    Oddity Central - Weird Places, Odd Events, Bizarre News, Strange People and A Lot More
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Coronal hole กระจายเต็มดวงอาทิตย์ 11 กรกฎาคม 2556
    1.jpg
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ขอให้คุฯป้าในภาพนี้ไปสู่สุคติน่ะครับ รูปผู้หญิงอินโดนีเซียที่เฟสอาจารย์ปิบะชีพบอกว่าเป็นซอมปี้ครับ
    Toraja-walking-dead.jpg
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แจ้งผู้ดูแลเว็บครับมีปัญหาการ search engine ครับ เวลาค้นหาข้อมูลผ่าน google จะขึ้นคำค้นเป็น palungjit.org: The Leading Palung JIT Site on the Net.............
    Untitled.jpg
     
  7. gun2555

    gun2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    701
    ค่าพลัง:
    +1,205
    ขอให้คุณป้าไปสุ่สุคติเหมือนกัน ไม่ใช่ซอมบี้หรอก เป็นพิธีกรรมแต่งตัวให้ศพเปลี่ยนเสื้อผ้า แต่ไม่รุ้เปลี่ยนได้ไง อะไรก็คงแข็งไปตามสภาพหมดแล้วและคงแห้งเปราะอีกตั้งหาก แต่แปลกใจอย่างเวลาคนตาย พวกเส้นผมทำไมมันไม่ตายไปด้วย มีการงอกยาวอีกตั้งหาก เคยเห็นเขาล้างป่าช้านะ มีผมยาวเพิ่มขึ้น เล็บมือเท้ายาวขึ้น
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    2 - 3 วันมานี้สนามแม่เหล็กโลกแปรปรวนมากน่ะ ตอนนี้ก็เกิดพายุสนามแม่เหล็กโลกระดับ G1 แถมสนามแม่เหล็กโลกยังเบี่ยงใต้อีก
    image.jpg

    Added 07/11/2013 @ 09:30 UTC
    Geomagnetic Storm Flareup
    Another period of minor geomagnetic storming is being observed at high latitudes on Thursday morning. The Bz/IMF component of the solar wind continues to point somewhat south.

    ALERT: Geomagnetic K-index of 5
    Threshold Reached: 2013 Jul 11 0853 UTC
    Synoptic Period: 0600-0900 UTC
    Active Warning: Yes
    NOAA Scale: G1 - Minor
    Potential Impacts: Area of impact primarily poleward of 60 degrees Geomagnetic Latitude.
    Induced Currents - Weak power grid fluctuations can occur.
    Spacecraft - Minor impact on satellite operations possible.
    Aurora - Aurora may be visible at high latitudes, i.e., northern tier of the U.S. such as northern Michigan and Maine.

    Updated 07/11/2013 @ 09:10 UTC
    Solar Update
    Good morning. Attached is an updated image of the visible solar disk on Thursday morning. Solar activity has again been at low levels during the past 24 hours. Both Sunspots 1785 and 1787 continue to slowly decay. The chances for moderate to strong solar flares are currently on the decline. There is about a 35% chance for M-Class flares according to the latest NOAA synoptic update. Two small new sunspots rotated into view off the east limb, however both are not a threat for stronger flares at this time.
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ค่า Bz ขณะนี้ เบี่ยงใต่ -6.7
    image.jpg
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ก้องภพ อยู่เย็น
    รายงานสถานการณ์เพิ่มเติมครับ ในวันที่ 9-10 กรกฏาคม เกิดภัยธรรมชาติหลายแห่งทั่วโลกได้แก่
    - น้ำท่วมหนักในประเทศจีน รุนแรงทีสุดในรอบ 50 ปี At least 7 dead, 48 missing in west China flooding | CharlotteObserver.com
    - น้ำท่วมในประเทศบังคลาเทศ RSOE EDIS - Flood in Bangladesh on Wednesday, 10 July, 2013 at 11:50 (11:50 AM) UTC. EDIS CODE: FL-20130710-39977-BGD
    - เกิดหลุมยุบในประเทศสหรัฐอเมริกา RSOE EDIS - Landslide in USA on Tuesday, 09 July, 2013 at 03:32 (03:32 AM) UTC. EDIS CODE: LS-20130709-39953-USA
    - เกิดดินถล่มในประเทสหรัฐอเมริกา RSOE EDIS - in on Thursday, 01 January, 1970 at 01:00 (01:00 AM) UTC. EDIS CODE:...
    - ภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศญี่ปุ่น Suwanose-jima volcano (Japan): ash plume reported
    - แผ่นดินไหวขนาดมากกว่าปกติที่ประเทศอิตาลี Italy: Tremors shake central and northern regions - Adnkronos Security
    - เกิดพายุสนามแม่เหล็กระดับ 4 ในเวลา 21 UTC
    Mudslide in western China buries dozens of people
    charlotteobserver.com
    ถูกใจ · 1 · 3 นาทีที่แล้ว
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อุกาบาตมหันตภัยจากนอกโลก
    อุกกาบาตพุ่งเข้าชนโลก” มักเป็นพล็อตเรื่องขายดีสำหรับนิยายวิทยาศาสตร์ทั่วไป หนังและหนังสือหลายเรื่องต่างพยายามแสดงความเป็นไปได้อันนี้ เช่น Deep Impact, Armageddon, Lucifer’s Hammer เป็นต้น แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นจริงๆ ในปัจจุบันนี้ล่ะ มันจะเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา?

    ในทางวิทยาศาสตร์อุกกาบาตตกถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงและเคยเกิดขึ้นมาแล้ว หลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่บนผิวโลก (รวมถึงดวงจันทร์) ล้วนเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงการที่วัตถุขนาดใหญ่จากห้วงอวกาศเคยตกกระทบผิวดาวเคราะห์ตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน เหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดคือ การตกกระทบผิวโลกชองอุกกาบาตเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ซึ่งเชื่อว่าส่งผลให้ไอน้ำและฝุ่นผงจำนวนมากลอยฟุ้งอยู่ในบรรยากาศปิดกั้นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ เป็นสาเหตุให้อุณหภูมิลดลงทั่วโลกและเกิดการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ในที่สุด

    ถ้าอุกกาบาตพุ่งชนโลกในวันนี้?
    อุกกาบาตลูกใดก็ตามที่ตกลงสู่ผิวโลกนั้นล้วนมีพลังงานมหาศาล ยกตัวอย่าง ในปีพ.ศ.2571 (ค.ศ. 2028) ดาวเคราะห์น้อย (35396) 1997 XF11 จะเคลื่อนที่เฉียดโลกแล้วผ่านไป แต่หากมีบางอย่างเปลี่ยนแปลงหรือผิดพลาดแล้วล่ะก็ เราอาจจะมีอุกกาบาตขนาดกว้างกว่า 2 กิโลเมตร พุ่งเข้าสู่ผิวโลกด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งมีพลังงานเทียบเท่ากับระเบิดขนาด 1 ล้านเมกกะตัน และอานุภาพการทำลายล้างเพียงพอที่จะทำลายทุกชีวิตบนโลกให้หมดไป

    พูดถึงระเบิด 1 ล้านเมกกะตันอาจจะนึกภาพได้ยาก ลองคิดง่ายๆ ว่ามีอุกกาบาตขนาดเท่าบ้านหนึ่งหลัง ตกสู่ผิวโลกด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อวินาที มันจะมีพลังงานเทียบเท่ากับระเบิดที่ทิ้งลงเมืองฮิโรชิมา (ประมาณ 20 กิโลตัน) สามารถทำลายสิ่งก่อสร้างด้วยปูนคอนกรีตในรัศมีมากถึง 1 กิโลเมตร และทำลายโครงสร้างที่เป็นไม้ต่างๆ ได้มากกว่า 2.5 กิโลเมตร หรือเทียบได้กับเมืองใหญ่หนึ่งเมืองให้ราบเป็นหน้ากลอง

    แต่ถ้าอุกกาบาตนั้นมีขนาดเท่าตึก 20 ชั้น (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เมตร) จะมีอานุภาพเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะสามารถสร้างได้ในปัจจุบัน หรือขนาดประมาณ 20-25 เมกกะตัน ซึ่งสามารถทำลายสิ่งก่อสร้างด้วยปูนคอนกรีตในรัศมีมากกว่า 8 กิโลเมตร หรือถล่มเมืองใหญ่ๆ เกือบทั้งหมดในประเทศไทยได้เลยทีเดียว

    สหรัฐอเมริกาเคยทดสอบการระเบิดอาวุธนิวเคลียร์ เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2514 ด้วยระเบิดขนาดประมาณ 5 เมกะตัน ในโครงการ Cannikin บนเกาะภูเขาไฟ Amchitka ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอะแลสกา แรงระเบิดทำให้เกิดแผ่นดินไหววัดขนาดได้ถึง 7 ริกเตอร์ มีการยกตัวของพื้นดินสูงกว่า 6 เมตร และส่งผลให้เกิดหินถล่มตามแนวชายฝั่งของเกาะ ดูกราฟิกเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวและพลังงานที่ถูกปลดปล่อยด้านล่าง

    ดันนั้น เมื่ออุกกาบาตขนาดกว้างเป็นกิโลเมตรมาถึง เราก็คงจะได้เผชิญกับระเบิดขนาด 1 ล้านเมกกะตัน ซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงกว่าระเบิดที่ทิ้งลงเมืองฮิโรชิมาถึง 10 ล้านเท่า สามารถทำลายล้างทุกสิ่งสิ่งอย่างในรัศมี 150-350 กิโลเมตร เปรียบเทียบได้ว่า หากอุกกาบาตนี้ตกที่กรุงเทพมหานครแรงปะทะจะทำลายทุกอย่างในที่ราบภาคกลาง และจังหวัดโดยรอบระยะรัศมี และยังทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในระยะ 1,500 กิโลเมตรอีกด้วย ฝุ่นผงและเถ้าจำนวนมหาศาลจะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศปิดกั้นแสงอาทิตย์ไม่ให้สาดส่องมาถึงผิวโลกเป็นสาเหตุให้ทุกชีวิตบนโลกต้องดับสูญ และถ้าหากอุกกาบาตนี้ตกลงในมหาสมุทร สิ่งที่จะเกิดขึ้นแทนคือ กลุ่มคลื่นน้ำขนาดยักษ์สูงร่วมร้อยเมตรที่จะเคลื่อนเข้าปะทะแนวชายฝั่งที่อยู่ใกล้เคียงแล้วกวาดล้างทุกสิ่งลงสู่ทะเล

    หากว่าเหตุการณ์อุกกาบาตชนโลกเกิดขึ้นจริง แน่นอนว่าต้องเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายถึงที่สุด ไม่ว่าอุกกาบาตนั้นจะมีขนาดเท่าใดก็ตาม จงช่วยกันภาวนาอย่าให้มันเกิดขึ้นในช่วงเวลาอันใกล้นี้เลย

    image.jpg
    เปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวและพลังงานที่ถูกปลดปล่อย เครดิต วิชาการธรณีไทย (GeoThai.net)

    บทความที่เกี่ยวข้อง
    จะทำอย่างไรเมื่อเจออุกกาบาต

    ข้อมูลเพิ่มเติม
    Near-Earth Asteroid Tracking
    Meteorite Impacts
    Asteroid and Comet Impact Hazards
    PBS Nova Online: Doomsday Asteroid
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เกมจำลองอุกกาบาตชนโลก
    image.jpg
    เกมจำลองอุกกาบาตชนโลก

    เล่นเกม Impact: Earth!
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อุกกาบาตในประเทศไทย
    image.jpg

    อุกกาบาตในประเทศไทย (เครดิต: GeoThai.net)
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จากข้อความข้างล่าง ผมคิดว่ามีอันตรายครับ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวมีสิทธิที่สนามแม่เหล็กโลกอาจมีจุดเปิดให้มีอานุภาพจากภายนอกผ่านเข้ามาได้ครับ เช่นถ้าเกิดพายุสนามแม่เหล็กโลกพร้อมกับสนามแม่เหล็กเบี่ยงได้ และเจอ cme แถม electron flux หรือ proton flux สูง และเราจะไปแน่ใจได้อย่างไรว่าโลก ระบบสุริยะ ปกแลกซี่ทางช้างเผือก จะนำโลกไปอยู่ส่วนไหนของอวกาศ ตรงนั้นมีอะไร ถ้ามันหลุดเข้ามาจะน่ากลัวไหม

    Piyacheep S.Vatcharobol
    เขาว่าพายุสนามแม่เหล็กไม่มีอันตรายใดๆ
    แต่หากอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือให้ระวังสัญญาณการสื่อสาร ก็ว่ากันไปนะครับ
    image.jpg
    วันสองวันนี่จะมีเครื่องบินตกอีกไหมหน้อ?
    รูปภาพบนไทม์ไลน์ · 3 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    ดูภาพขนาดเต็ม · รายงานรูปภาพ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2013
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วันที่ 11 กรกฏาคม 2556
    image.jpg
    Piyacheep S.Vatcharobol
    แนวรอยแยกของเปลือกโลกพอดี
    หนึ่งในหลากหลายบริเวณที่มีการสั่นไหว
    แม้ไม่แรงมาก ๓ ๔ ๕ แต่อยู่แนวรอยต่อเปลือกโลกหมด ที่สำคัญ ส่วนมากไม่ค่อยเกิด ไม่เคยเกิด แต่มาเกิดถี่มากขึ้นนับแต่มิถุนายนที่ผ่านมา

    อเมริกาไม่เคยซ้อมการเตือนภัยผ่านทางโทรทัศน์มาก่อนเลย แต่ตอนนี้ซ้อม ทดสอบถี่ทั่วประเทศ และที่น่าสังเกตุคือ ภาพที่ออกอากาศ มีกาีเผยแพร่ภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ บางการทดสอบมีภาพโลกแตกร้าวด้วย

    ถือว่าเขาเตือนทางอ้อมแล้วนะครับ

    อาหาร น้ำสะอาด ยา เพื่อความสบายใเก็บตุนไว้อย่างน้อย ๑ เดือนนะครับ — ที่ CAT Telecom Tower Bangrak
    รูปภาพบนไทม์ไลน์ · 2 ชั่วโมงที่แล้ว ·
    ดูภาพขนาดเต็ม · รายงานรูปภาพ
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    image.jpg

    千手千眼觀世音菩薩廣大圓滿無礙大悲心陀羅尼經

    สหัสสภุชสหัสสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวมหากรุณาจิตธารณีสูตร

    สมณะภควัตธรรม แห่งมหาอาณาจักรถังแปลเป็นภาษาจีน



    ข้าฯ ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระศากยมุนีตถาคตพุทธเจ้าเสด็จประทับ ณ. โปตลกบรรพต (ปัจจุบันคือ บริเวณปาปานาสัม ตั้งอยู่ในรัฐทมิลนาดู ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย) ตำหนักแห่งพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ ท่ามกลางรัตนะธรรมสถานอันวิเศษ ทรงประทับเหนือสีหอาสน์ อันสำเร็จแล้วด้วยสรรพรัตนะอันประมาณมิได้ โดยมีหมู่รัตนะธวัชฉัตรธงทั้งร้อยคอยแวดล้อม

    ก็ในสมัยนั้น พระตถาคตเจ้าประสงค์จะแสดงมนต์ธารณี ต่อโพธิสัตว์และมหาสัตว์อันประมาณมิได้ อาทิเช่น พระธารณีราชโพธิสัตว์, พระรัตนราชโพธิสัตว์, พระไภษัชยราชโพธิสัตว์, พระไภษัชยุตตรราชโพธิสัตว์, พระอวโลกิเตศวร, พระสถามปราปต์โพธิสัตว์, พระอวตังสกโพธิสัตว์, พระมหาลังการโพธิสัตว์, พระรัตนครรภ์โพธิสัตว์, พระจริยครรภ์โพธิสัตว์, พระวัชรครรภ์โพธิสัตว์, พระอากาศครรภ์โพธิสัตว์, พระเมตไตรยโพธิสัตว์, พระสมันตภัทรโพธิสัตว์, พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทั้งนี้ ถึงพร้อมด้วยอภิเษกมหาธรรมราช นอกจากนี้ยังมีพระสงฆ์สาวกอันประมาณมิได้ ซึ่งล้วนแล้วด้วยพระอรหัตและทศภูมิ นำโดยพระมหากัสปะ ทั้งยังมีพรหมประชาบดีอันประมาณมิได้ นำโดยท้าวสุทธพรหม และยังมีเทวกามาวจรภูมิ นำโดยโคตมเทวบุตร ทั้งยังมีพระจตุโลกบาล นำโดยท้าวธตรฐ ทั้งยังมีนาค, ยักษ์, คนธรรพ์, ครุฑ, กินนร, มโหราค, มนุษย์, อมนุษย์ นำโดยนาคราช ทั้งยังมีเทวนารีอันประมาณมิได้ นำโดยกุมารเนตรเทวนารี นอกจากนี้ในเบื้องนภากาศ ยังแวดล้อมด้วยเทวะอันประมาณมิได้ เทพสมุทร เทพลำคลอง เทพแม่น้ำ เทพโอสถ รุกขเทวดา เทพประจำอาคารบ้านเรือน พระคงคา พระเพลิง พระภูมิ พระพาย พระปถวี เทพสิงขร เทพศิลา เทพประจำตำหนัก ต่างพากันมาร่วมมหาสมาคม

    ก็ในสมัยนั้น พระอวโลกิตเศวรโพธิสัตว์ ท่ามกลางมหาสมาคม ได้แผ่ซ่านพระรัศมีเป็นการลับ พระรัศมีสาดส่องทั่วทศทิศ ทั่วทั้งตรีสหัสโลกธาตุ รัศมีมีวรรณะดั่งทองคำ เทวตำหนัก นาคตำหนัก และตำหนักแห่งทวยเทพทั้งปวงล้วนเลื่อนลั่นหวั่นไหว คงคาธาราแลวารี เขาจักรวาลบรรพต เขาสิเนรุบรรพต เขาปฤถวีบรรพต เขากาลบรรพต พากันสะท้านสะเทือน ดวงสุรีย์ศศิแลดารากรน้อยใหญ่ ต่างมืดมนอับแสง

    เมื่อพระธารณีโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุการณ์ดังนั้น จึงลุกขึ้นจากที่ประทับ กระทำอัญชลี แล้วกล่าวโศลกบังคมถามพระผู้มีพระภาคว่า กฤษดาภินิหารเห็นปานนี้ ชนใดหนอเป็นผู้ยังให้เกิดขึ้น ดังนี้

    ៙ บัดนี้ใครกันสำเร็จธรรม กระทำโอภาสเห็นปานนี้

    ทศทิศล้วนสุวรรณรัศมี ทั่วทั้งตรีสหัสขึ้นพร้อมกัน

    วันนี้ใครกันเป็นอิศวร สร้างกระบวนมหาอิทธิฤทธิ์

    สะเทือนอนันต์พุทธนครสถิต นาคเทวินทร์ตำหนักล้วนเลื่อนลั่น

    บัดนี้ปวงข้าฯ สงกาพลัน ไม่แจ้งกันฤทธาของผู้ใด

    เพื่อพุทธะโพธิสัตว์สาวกา ปวงพรหมาเทวาแลมารา

    ขอพระโลกเชษฐ์โปรดเมตตา สำแดงว่าฤทธิ์นั้นมาแต่หนใด ๚ะ๛

    พระผู้มีพระภาคทรงตรัสกับพระธารณีโพธิสัตว์ว่า "ดูกร กุลบุตร เธอทั้งหลายพึงรู้เถิด ท่ามกลางสมาคมในกาลนี้ มีพระโพธิสัตว์มหาสัตว์องค์หนึ่ง นามอวโลกิเตศวร นับกัปล่วงมาประมาณมิได้ ได้สำเร็จแล้วซึ่งมหาเมตตามหากรุณา ปรีชาในการบำเพ็ญธารณีทั้งปวง ด้วยต้องการให้สรรพชีวิตได้บันเทิง จึงได้สำแดงฤทธิ์นั้นเป็นการลับ"

    เมื่อพระศาสดาแสดงดังนี้ ในกาลนั้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ทรงยืนขึ้น ครองผ้าเฉวียงบ่า กระทำอัญชลีต่อพระสุคตเจ้า แล้วกล่าวว่า "ข้าแต่พระโลกเชษฐ์ หม่อมฉันมีมหากรุณาธารณี บัดนี้ใคร่จะแสดง เพื่อความสุขและบันเทิงแห่งสรรพชีวิต เพื่อการขจัดแล้วซึ่งโรคทั้งปวง เพื่อการได้มาซึ่งความจำเริญแห่งอายุ เพื่อการได้มาซึ่งโภคทรัพย์ เพื่อการขจัดซึ่งบาปกรรมทั้งปวง เพื่อการได้พ้นแล้วจากอุปสรรคทั้งปวง เพื่อการเพิ่มพูนแล้วซึ่งธรรมและกุศลทั้งปวง เพื่อการถอยห่างจากเครื่องกังวลทั้งปวง เพื่อความสมปารารถนาทั้งปวง ขอประทานวโรกาส ขอพระโลกเชษฐ์ พระกรุณาทรงสดับ"

    พระศาสดาทรงตรัสว่า "ดูกร กุลบุตร เธอมีมหากรุณา ต่อสรรพชีวิต ปรารถนาจะแสดงมหามนต์ บัดนี้เป็นกาลที่เหมาะสมที่จะกล่าว ตถาคตขออนุโมทนา พระพุทธเจ้าทั้งปวงก็เฉกเช่นกัน"

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ กล่าวว่า ข้าแต่พระโลกเชษฐ์ หม่อมฉันรำลึกถึงอดีตภาคอันล่วงได้อนันตกัป ในกาลพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคนาม พระสหัสรังสีสันติสถิตตถาคตพุทธเจ้า ด้วยมีมหากรุณาต่อต่อหม่อมฉันและสรรพชีวิต จึงทรงมหาไวปุลยมหากรุณาหฤทัยธารณีนี้ ทรงใช้พระสุวรรณหัตถ์ ลูบกระหม่อมของหม่อมฉัน แล้วตรัสดังนี้ "ดูกร กุลบุตร เธอจงทรงจำหฤทัยมนต์นี้ เพื่อความสุขแห่งสรรพชีวิต ในกาลภาคหน้า" ในกาลนั้น หม่อมฉันซึ่งเป็นที่ปฐมภูมิโพธิสัตว์ ได้ฟังมหามนต์นี้เพียงครั้งเดียว ก็ข้ามไปเป็นที่อัฏฐภูมิโพธิสัตว์ ในกาลนั้นหม่อมฉันมีความยินดี จึงได้ตั้งมหาปณิธานดังนี้

    "สืบแต่นี้ไป เพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิต ขอให้เรามีแขนและดวงตาถึงพัน" เมื่อตั้งมหาปณิธานดังนี้ มหาปฐพีทศทิศต่างหวั่นไหว พระตถาคตเจ้าทั้งพันในทศทิศ ฉายพระฉัพพรรณรังสี ส่องมาที่เรา และโลกธาตุทั้งปวง

    สืบแต่นั้น เราผ่านกาลพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้ามานับไม่ถ้วน ผ่านมหาธรรมสมาคมมาประมาณมิได้ ได้สดับธารณีนี้ซ้ำเรื่อยๆ ก็บังเกิดความยินดีขึ้นเรื่อยๆ จนมิอาจคณนาได้ ข้ามพ้นจากความเกิดตาย เป็นอนันตกัป

    สืบแต่นั้นมา เราหมั่นเจริญสาธยายธารณี มิเคยลืมเลือน ด้วยเหตุนี้ เกิดครั้งใดก็ได้พบพระศาสนา อุบัติในดอกบัว ไม่ต้องเกิดในครรภ์ของมนุษย์อีก

    มาตรว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา กุลบุตร กุลธิดา ปรารถนาจักเจริญสาธยายมหามนต์ ให้ตั้งมหาปณิธาน ตามเราก่อน ดังนี้

    "ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสิตว์ ผู้ทรงพระมหากรุณา ขอให้ข้าพเจ้ารู้แจ้งชัดในธรรมทั้งปวง

    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสิตว์ ผู้ทรงพระมหากรุณา ขอให้ข้าพเจ้าได้ธรรมจักษุในเร็ววัน

    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสิตว์ ผู้ทรงพระมหากรุณา ขอให้ข้าพเจ้าได้โปรดสรรพชีวิตทั้งปวง

    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสิตว์ ผู้ทรงพระมหากรุณา ขอให้ข้าพเจ้าได้แจ้งในกุศโลบายในเร็ววัน

    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสิตว์ ผู้ทรงพระมหากรุณา ขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึงปัญญาในเร็ววัน

    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสิตว์ ผู้ทรงพระมหากรุณา ขอให้ข้าพเจ้าอยู่เหนือทะเลทุกข์ในเร็ววัน

    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสิตว์ ผู้ทรงพระมหากรุณา ขอให้ข้าพเจ้าเข้าถึงศีลสมาธิในเร็ววัน

    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสิตว์ ผู้ทรงพระมหากรุณา ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุพระนฤพานในเร็ววัน

    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสิตว์ ผู้ทรงพระมหากรุณา ขอให้ข้าพเจ้าสละได้โดยไร้กังวล

    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสิตว์ ผู้ทรงพระมหากรุณา ขอให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระธรรมกายในเร็ววัน

    มาตรว่าข้าฯ ขึ้นภูผาดาบ ดาบนั้นย่อมสลาย

    มาตรว่าข้าฯ ลงทะเลเพลิง ทะเลเพลิงย่อมดับมอด

    มาตรว่าข้าฯ ลงนรก นรกย่อมแตกทำลาย

    มาตรว่าข้าฯ ไปภูมิเปรต ปวงเปรตย่อมอิ่มพลัน

    มาตรว่าข้าฯ ไปอสุรภูมิ อกุศลจิตทั้งนั้นย่อมถูกสยบ

    มาตรว่าข้าฯ ไปติรัจฉานภูมิ หมู่เดรัจฉานย่อมมีปัญญา"

    เมื่อตั้งปณิธานนั้น ให้สาธยายและรำลึกนามแห่งเรา ดุจดังรำลึกนามบรมครูแห่งเราพระอมิตาภตถาคตพุทธเจ้า จากนั้นจึงจำเริญสาธยายธารณีมนต์นี้ หนึ่งราตรีให้ครบห้าจบ จักสลายบาปกรรมที่ทำมาแล้วในอนันตกัปได้

    จากนั้นพระอวโลกิเตศวรจึงกล่าวต่อว่า มาตรว่าสรรพชีวิตสาธยายรักษา (ธารณีนี้) เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พระตถาคตเจ้าในทศทิศย่อมมารับ ปรารถนาอุบัติในพุทธเกษตรใดย่อมสมปรารถนา

    แล้วพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์จึงกล่าวต่อว่า ข้าแต่พระโลกเชษฐ์

    มาตรว่าสรรพชีวิตหมั่นสาธยาย รักษามหากรุณามนต์นี้ หากตกสู่อบาย (นรก, เปรต, เดรัจฉาน) หม่อมฉันตั้งปณิธานจักไม่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    (มาตรว่าสรรพชีวิตหมั่นสาธยาย รักษามหากรุณามนต์นี้) ไม่อุบัติในพุทธเกษตร หม่อมฉันตั้งปณิธานจักไม่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    (มาตรว่าสรรพชีวิตหมั่นสาธยาย รักษามหากรุณามนต์นี้) ไม่เข้าถึงสมาธิปฏิสัมภิทา หม่อมฉันตั้งปณิธานจักไม่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    ผู้รักษามหากรุณามนต์นี้ ย่อมสมในสิ่งที่ปรารถนา มาตรว่าไม่อาจสมปรารถนา หมายความว่าสิ่งที่ต้องการไม่ถูกทำนองคลองธรรม

    มาตรว่ากุลธิดา เบื่อหน่ายในอิตถีเพศ ปรารถนากลับเพศ จากหญิงเป็นชาย หมั่นจำเริญสาธยายมหากรุณาธารณี มาตรว่าไม่อาจกลับเพศเป็นชาย (หม่อมฉัน) ตั้งปณิธานจักไม่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    มาตรว่าสรรพชีวิตดื่มกินใช้สอยทรัพย์ในพระศาสนา ไม่อาจสำนึกบาป สาธยายมหากรุณามนต์ บาปกรรมย่อมสลาย

    มาตรว่าสรรพชีวิตดื่มกินใช้สอยทรัพย์ในพระศาสนา ต้องขอขมาและขอบคุณหมู่สงฆ์ในพระศาสนาทั้งทศทิศ ถึงจะสลายบาปได้ เมื่อสาธยายมหากรุณามนต์ หมู่สงฆ์และบูรพาจารย์ในทศทิศย่อมมาเป็นสักขี บาปกรรมทั้งนั้น ย่อมสูญสลาย

    บาปกรรมทั้งปวง มีอกุศลกรรมบถเป็นอาทิ มีอนันตริยกรรมเป็นปริโยสาน หลบหลู่พระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ผิดศีล ทำลายศาสนสถาน กระทำพรหมจรรย์ให้ด่างพร้อย ตลอดจนอกุศลกรรมทั้งปวง จักสูญสลายไปสิ้น

    มีเพียงหนึ่งคือ มีจิตเคลือบแคลงสงสัย (ในมหากรุณามนต์นี้) แม้นว่าดังนี้ บาปเพียงเล็กน้อยก็ไม่อาจทำลาย จักกล่าวไปใยกับบาปกรรมอันหนักไม่เพียงไม่อาจสลายบาปกรรม ทั้งยังจักต้องถอยห่างจากโพธิเหตุ (พระโพธิญาณ)

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ยังกล่าวอีกว่า ข้าแต่พระโลกเชษฐ์ ปวงมนุษย์และเทวัญ หากภาวนาและรักษามหากรุณาหฤทัยมนต์นี้ ย่อมพบกับศุภนิมิต ๑๕ ประการ และพ้นจากการตายอันร้ายทั้ง ๑๕ ประการ ดังนี้

    ๑. ไม่ตายเพราะความอดอยาก

    ๒. ไม่ตายเพราะราชทัณฑ์ขื่อคาโซ่ตรวน

    ๓. ไม่ถูกฆ่าตาย

    ๔. ไม่ตายเพราะสงคราม

    ๕. ไม่ตายเพราะสัตว์ร้าย

    ๖. ไม่ตายเพราะพิษของสัตว์ร้าย

    ๗. ไม่ตายเพราะน้ำและไฟ

    ๘. ไม่ตายเพราะยาพิษ

    ๙. ไม่ตายเพราะยาสั่ง

    ๑๐. ไม่ตายเพราะเสียสติ

    ๑๑. ไม่ตายเพราะตกจากที่สูง (เช่นตกจากต้นไม้หรือหน้าผา)

    ๑๒. ไม่ตายเพราะคนชั่วทำร้าย

    ๑๓. ไม่ตายเพราะการกระทำของภูตผีและเทพร้าย

    ๑๔. ไม่ตายเพราะโรคร้าย

    ๑๕. ไม่ตายเพราะอัตวินิบาตกรรม (ไม่ตายเพราะฆ่าตัวตาย)

    ชนผู้ภาวนาและรักษามหากรุณามนต์ ย่อมพ้นจากการตายอันร้ายทั้ง ๑๕ ประการ และย่อมพบกับศุภนิมิต ๑๕ ประการ ดังนี้

    ๑. เกิดครั้งใด จะได้พบกับพระราชา (ผู้ปกครอง) ที่ดี

    ๒. เกิดในประเทศ (สถานที่ และสิ่งแวดล้อม) ที่ดี

    ๓. เกิดในเวลาที่ดี

    ๔.มีมิตรดี

    ๕. ร่างกายบริบูรณ์ (ไม่พิการหรือทุพพลภาพ)

    ๖. มีจิตใจบริสุทธิ์

    ๗. ไม่เป็นผู้ทุศีล (มีศีลเป็นปกติ)

    ๘. ครอบครัวรักใคร่กลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี

    ๙. โภคสมบัติบริบูรณ์

    ๑๐. ได้รับการเคารพนับถือจากปวงชนชั่วกาลนาน

    ๑๑. โภคสมบัติทั้งปวง ใครก็ไม่อาจแย่งชิงไปได้

    ๑๒. คิดการสิ่งใด จักสมความปรารถนาทุกประการ

    ๑๓. เทวานาคาคอยอารักษ์

    ๑๔. เกิดที่ใด ได้พบพระพุทธเจ้า และได้สดับพระสัทธรรม

    ๑๕. เมื่อได้ฟังสัทธรรม ก็แจ้งธรรมอันลึกซึ้ง

    ชนผู้ได้ภาวนาและรักษามหากรุณาหฤทัยธารณี ย่อมจักได้รับศุภนิมิตทั้ง ๑๕ ประการดังที่กล่าวมา มนุษย์และทวยเทพทั้งปวง จงหมั่นภาวนาและรักษา อย่าได้ย่อหย่อน เมื่อสิ้นคำกล่าว พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์จึงกระทำอัญชลี แก่ชนทั้งปวงในมหาสมาคม แล้วตั้งมหากรุณาจิตต่อสรรพชีวิต ดวงพักตร์ยิ้มแย้ม แล้วแสดง "มหาไวปุลยมหากรุณาหฤทัยธารณี" ดังนี้

    ៙ นโม รตน ตราย นม อารยา วโลกิเตศวราย โพธิสตฺตวาย มหา การุณิกาย โอมฺ สรว รวิเย สุธนทสฺย นมสฺ กฤตวา อิมํ อารยา วโลกิเต ศวร รํธว นโม นรกินฺทิ ฮฺรีฮ์ มหา วาต สวาเม สรว อรถโต ศุภํ อเชยํ สรว สตฺ นม วษต นโม วาก มวิตโต ตทยถา อวโลกิ โลกเต กรเต เอ ฮฺรีฮ์ มหา โพธิสตฺตวาย สรว สรว มล มล มหิม หฤทยํ กุรุ กุรุ กรมํ ธุรุ ธุรุ วิชยเต มหา วิชยเต ธร ธร ธฤนี ศวราย จล จล มม วิมล มุกฺเตเล เอหิ เอหิ ศิน ศิน อารษํ ปรฺสริ วิศว วิศวํ ปรฺสย หุลุ หุลุ มร หุลุ หุลุ ฮฺรีฮ์ สร สร สิริ สิริ สุรุ สุรุ โพธิย โพธิย โพธย โพธย ไมตเรย นรกินทิ ธฤษณิน ภยมน สวาหา สิทธาย สวาหา มหา สิทธาย สวาหา สิทธา โยเค ศวาราย สวาหา นรกินทิ สวาหา มารณร สวาหา ศิร สิงฺห มุขาย สวาหา สรว มหา อสิทธาย สวาหา จกร อสิทธาย สวาหา ปทม กสฺตาย สวาหา นรกินทิ วกลาย สวาหา มวริ สํขราย สวาหา นโม รตน ตรยาย นม อารยา วโลกิเต ศวราย สวาหา โอมฺ สิทธยนฺตุ มนฺตร ปทาย สวาหา ๚ะ๛

    เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แสดงมหามนต์จบลง พสุธาทั้ง ๖ (หมายถึงภพภูมิทั้ง ๖ อันประกอบไปด้วย เทพ, มนุษย์, อสุรกาย, เดรัจฉาน, เปรต, สัตว์นรก) ก็พากันกัมปนาทหวั่นไหว ท้องฟ้าก็บังเกิดฝนรัตนพรรษโปรยปราย ปวงพระพุทธเจ้าในทศทิศ ต่างอนุโมทนายินดี หมู่มารและปวงเดียรถีย์ต่างขนพองสยองเกล้าครั่นคร้ามสะพรึงกลัว ชนทั้งปวงในท่ามกลางมหาสมาคม ต่างก็สำเร็จมรรคผล บ้างก็บรรลุพระโสดาปัตติมรรค บ้างก็บรรลุพระสกทาคามิมรรค บ้างก็บรรลุพระอนาคามิมรรค บ้างก็บรรลุพระอรหัตมรรค บ้างก็บรรลุ (พระโพธิสัตว์ขั้น) ปฐมภูมิ, ทุติยภูมิ, ตติยภูมิ, จตุถภูมิ, ปัญจมภูมิ จนกระทั่งถึงบรรลุทศภูมิ สรรพชีวิตอันมีประมาณมิได้ ต่างตั้งจิตปรารถนาพระโพธิญาณ

    ก็ในสมัยนั้น ท้าวมหาพรหมลุกขึ้นจากที่ประทับ กระทำอัญชลี แล้วกล่าวกับพระอวโลกิเตศวรว่า "สาธุ สาธุ สาธุ ข้าแต่พระมหาบุรุษ ข้าพเจ้านับแต่จำเนียรกาลผ่านมา ผ่านมหาพุทธสมาคมมานับมิถ้วน สดับธรรมต่างๆ สดับธารณีต่างๆ แต่มิเคยได้สดับมหาไวปุลยมหากรุณาจิตหฤทัยธารณีนี้มาก่อน ขอพระมหาบุรุษ โปรดทรงแสดงลักษณะแห่งมหาไวปุลยมหากรุณาหฤทัยธารณีนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีจิตยินดี ขอน้อมสดับ"

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ กล่าวกับพระพรหมราชว่า "อาศัยที่ท่านมีจิตมุ่งประโยชน์แห่งสรรพชีวิตเป็นเหตุ จึงได้ตั้งข้อปุจฉา บัดนี้ขอท่านทั้งปวงจงตั้งใจสดับ เราจักวิสัชนาสักเล็กน้อย"

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ กล่าวว่า "(อันลักษณะแห่งมหาไวปุลยมหากรุณาหฤทัยธารณีนี้คือ) มหาเมตากรุณาจิต สามัญญตจิต (จิตที่เสมอภาคไม่แบ่งแยกเราเขา) อสมัตถจิต (จิตที่ไร้สามารถ หมายถึงการไม่แย่งชิงแข่งขัน) วิมลจิต (จิตที่สะอาด ไม่มีมลทินเจือปน) สุญญตจิต (จิตที่ว่างเปล่า) คารวะจิต (จิตที่นอบน้อม) นิวาตจิต (จิตที่ไม่พองลม คือ ไม่โอ้อวดโอหัง) เอกัคตจิต (จิตที่เป็นหนึ่งไม่ซัดส่าย) อทิฐิกจิต (จิตที่ไม่มีความเห็น) อนุตตรสัมมาสัมโพธิจิต และจิตอื่นๆ อีกมากมาย นี้คือลักษณะแห่งพระมหาไวปุลยมหากรุณาหฤทัยธารณี ท่านทั้งปวงจงอาศัยที่เรากล่าวมาแล้วนี้บำเพ็ญเพียรเถิด"

    พระมหาพรหมราชกล่าวว่า "ข้าพเจ้าทั้งปวง บัดนี้แจ้งในพระมหาไวปุลยมหากรุณาจิตหฤทัยธารณี สืบนี้ต่อไป จักทรงจำรักษา มิกล้าลืมเลือน"

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์กล่าวว่า "มาตรว่ากุลบุตร กุลธิดา ทรงจำรักษามนต์นี้ ตั้งมหาปณิธานโพธิจิต จักโปรดสรรพชีวิต รักษาอุโบสถศีล ตั้งสามัญญตจิต (เมตตาต่อสรรพชีวิตโดยเสมอภาค ไม่มีใครมากกว่าหรือน้อยกว่า) ต่อสรรพชีวิต เมื่อจะเจริญมหามนต์ ให้ชำระร่างกายให้สะอาด สวมเสื้อผ้าที่สะอาด จากนั้นตามประทีป แล้วจัดเครื่องหอม ดอกไม้ และโภชนาหาร ไว้บูชา เมื่อจะบูชา ให้รวมจิตเป็นหนึ่ง ตัดเครื่องปลิโพธ แล้วจึงเจริญมหามนต์ กระทำได้ดังนี้ เมื่อเจริญภาวนา พระสุริยประภาโพธิสัตว์ พระจันทรประภาโพธิสัตว์ และเทพยดาอันประมาณมิได้ จักเสด็จมาเป็นสักขี การณ์ดังนี้จึงถือว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

    ในกาลนั้น ดวงเนตรแห่งเราทั้งพันจักคอยสอดส่อง ปวงหัตถ์ทั้งพันแห่งเราจักคอยอารักษ์ สืบแต่นี้ไป คัมภีร์ที่มีทั้งหมดในโลก จักสามารถทรงจำรักษาได้ทั้งหมด สรรพวิทยา ปวงตำราคัมภีร์ ความรู้ของพวกเดียรถีย์ จักรู้แจ้งเจนจบจนสิ้น ผู้ทรงจำรักษามหามนต์นี้ สรรพโรคาพาธทั้ง ๘๔,๐๐๐ ประการในโลกนี้ จักสามารถรักษา และไม่อาจมากล้ำกลายได้อีก

    ทั้งยังจักสามารถบัญชาพวกภูตผีแลทวยเทพ สยบหมู่มาร กำราบเดียรถีย์ มาตรว่าเข้าป่า บำเพ็ญพระกรรมฐาน เจ้าป่าเจ้าเขา ภูตผีปีศาจ ทวยเทพเทวาย่อมมาอารักษ์ มาตรพบสิ่งวุ่นวาย ยังจิตไม่สงบ เจริญมหามนต์นี้ ๑ จบ บรรดาภูตผีแลทวยเทพ ย่อมยอมศิโรราบจนสิ้น

    มาตรว่าสามารถเจริญมหามนต์ (ตามนัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว) บังเกิดมหากรุณาจิต ต่อสรรพชีวิต เราจักบัญชาทวยเทพแลนาคราช วัชรคุหยปาทะ ให้คอยอภิบาลรักษา ไม่ให้คลาดคลา ดุจรักษาดวงตา ดุจรักษาชีวิต (แห่งเราเองฉะนั้น)

    มาตรว่าชนใดเดินทางเข้าป่า พักแรมโดยลำพัง จักมีเทวาคอยปกปักษ์อารักษ์ ให้พ้นจากสรรพอันตราย มาตรว่าหลงทาง (ให้) เจริญมหามนต์ (นี้) เทวานาคา จักจำแลงเป็นมนุษย์ มาคอยนำทาง มาตรว่าอยู่ในป่า ขาดแคลนน้ำและไฟ ด้วยเหตุที่นาคราชคอยรักษา จะเนรมิตน้ำและไฟ (มาให้)"

    จากนั้น พระอวโลกิเตศวรจึงทรงกล่าวคาถาดับภัย ดังนี้

    ៙ มาตรว่าเข้าพงพนาแลป่าเขา พบพงศ์เผ่าเสือสิงห์และสัตว์ร้าย

    พบบรรดาผีป่าและภูตพราย จงร่ายมนต์แล้วจะพ้นจากภัยพาล

    มาตรสัญจรเดินทางกระแสสินธุ์ พบนาคินทร์มกรแลงูพิษ

    พบยักษารากษสแลกุมภินทร์ จงตั้งจิตเจริญซึ่งมนตรา

    มาตรพบสงครามโจรแวดล้อม คนชั่วห้อมหมายปล้นเอาทรัพย์สิน

    สำรวมจิตสวดมหาธารณินทร์ โจรทั้งสิ้นเปลี่ยนจิตมีเมตตา

    มาตรต้องภัยราชทัณฑ์มากล้ำกลาย ถูกให้ร้ายหมายผิดติดคุมขัง

    ตั้งดวงจิตเจริญมนต์โดยกำลัง ปวงขุนนางทั้งนั้นพลันเมตตา

    มาตรเข้าดงพงไพรใช้ยาสั่ง ฤทธิ์ยายังสั่งจิตหมายจะฆ่า

    สำรวมจิตเจริญซึ่งมนตรา ปวงพิษาเคลื่อนคลาเป็นอัมฤต

    มาตรสตรีมีครรภ์คลอดแสนยาก ต้องลำบากเพราะกระทำแห่งมารสิ้น

    จงเจริญกรุณาธารณินทร์ มารทั้งสิ้นล่าถอยคลอดง่ายพลัน

    การกระทำแห่งฝูงผีแลนาคร้าย ให้กลับกลายเพราะโรคร้ายหมายชีวี

    จงเจริญกรุณาธารณี ปวงโรคีมลายสิ้นชีวินยืน

    ปวงนาคีภูตผีที่มีมีพิษ วิปริตเกิดแผลเชื้อมีฝีหนอง

    สำรวมจิตภาวนามิเป็นรอง สวดแล้วลองเป่าสามทีหายโดยพลัน

    สรรพชีวิตมีจิตไม่สะอาด เวทย์ร้ายอาจมุ่งมาดพรากชีวิน

    จำเริญมนต์กรุณาธารณินทร์ อาคมสิ้นถูกทำลายสลายไป

    ในยุคปลายแห่งกาลพุทธศาสน์ ปวงชนมาตรหลงผิดคิดตกต่ำ

    หมกหมุ่นกามใฝ่ประพฤติคิดเรื่องซ้ำ ทุกเช้าค่ำกามวิตกไม่ผ่อนคลาย

    มาตรเจริญกรุณาธารณี กามบัดสีในดวงจิตสูญสลาย

    อันคุณแห่งธารณีมีมากมาย สาธยายชั่วกัปมิสิ้นความ ๚ะ๛

    ก็ในสมัยนั้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์กล่าวกับพระพรหมราชว่า เจริญมหามนต์นี้ ๕ จบ นำไหมเบญจพรรณ (ไหม ๕ สี) มาถักเป็นเชือก แล้วเจริญมนต์นี้ ๒๑ จบ ผูกยอดปม ๒๑ ปม (หมายถึง สวด ๑ จบ แล้วผูก ๑ ปม) อันธารณีนี้คือ มหามนต์ที่พระตถาคตเจ้าอันล่วงมาแล้วได้ ๙๙ โกฏิเมล็ดทรายในมหาคงคานทีทรงแสดง จักยังให้ผู้บำเพ็ญธรรมในภูมิทั้ง ๖ ที่ยังไม่ถึงความบริบูรณ์ได้บริบูรณ์ ที่ยังไม่ปรารถนาโพธิญาณได้ปรารถนาโพธิญาณ

    มาตรว่าชนผู้บำเพ็ญสาวกยานแต่ยังไม่บรรลุธรรม (มหากรุณาธารณีนี้ จักยัง) ให้บรรลุธรรมในเร็วพลัน

    มาตรว่าทวยเทพเทวาทั้งตรีสหัสโลกธาตุ ที่ยังไม่ปรารถนาโพธิญาณ (มหากรุณาธารณีนี้ จักยัง) ให้ปรารถนาโพธิญาณในเร็วพลัน

    มาตรว่าชนผู้ยังไม่เลื่อมใสในมหายาน อาศัยมหากรุณาธารณีนี้เป็นเหตุ จักยังมหายานธรรมางกูร (หน่อแห่งพระธรรมในจิตใจ) งอกงาม ด้วยอำนาจกุศโลบายเมตากรุณาแห่งเรา จังยังการณ์ทั้งนี้ให้สำเร็จ

    (ทั่วทั้ง) มหาตรีสหัสโลกธาตุ สรรพชีวิตผู้ตกอยู่ในอบายทั้ง ๓ (เดรัจฉาน, เปรต, นรก) ได้สดับมหากรุณามนต์นี้จะพ้นจากปวงทุกข์ (หลุดพ้นจากอบายทั้ง ๓ ในเปรตภูติและนรกภูมิจะหลุดพ้นทันที ส่วนในเดรัจฉานภูมิจะเสวยกำเนิดเดรัจฉานเป็นชาติสุดท้าย ตราบสิ้นอายุขังจึงจะหลุดพ้น)

    มาตรว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ยังมิบรรลุขั้นปฐมวาส (มหากรุณาธารณีนี้ จักยัง) ให้บรรลุขั้นปฐมวาส จนถึงขั้นทศวาส และบรรลุพุทธภูมิ สำเร็จแล้วซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ

    มาตรว่าชนผู้บำเพ็ญสาวกยาน ได้สดับมหากรุณาธารณีนี้ผ่านหูแม้เพียงครั้งเดียว หรือได้เห็นจากหนังสือที่จดจาร อันสมณผล (มรรค ๔ ผล ๔) ย่อมสำเร็จได้โดยพลัน

    มาตรว่าทั่วทั้งตรีสหัสโลกธาตุ ภูเขาแม่น้ำหินผามหาสมุทรทั้ง ๔ ย่อมท่วมท้น สิเนรุราชมหาบรรพตแลจักรวาลมหาบรรพตย่อมหวั่นไหว หรือแม้กระทั่งแหลกทำลายเป็นผงธุลี สรรพชีวิตทั้งนั้นย่อมปรารถนาพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    มาตรว่าสรรพชีวิตปรารถนาในโลกียสมบัติ ให้ถืออุโบสถศีล แล้วสวดเจริญมหากรุณานี้ ๓ วัน หรือ ๗ วัน สิ่งที่ปรารถนาย่อมสมปรารถนาทุกประการ บาปกรรมทั้งปวงตั้งแต่เกิดจนตายจักมลายสิ้น ทั่วตรีสหัสโลกธาตุ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพรหม ท้าวสักกะเทวราช ท้าวจาตุมหาราช ทวยเทพนาคาจักเป็นพยาน

    มาตรว่ามนุษย์และเทวัญทรงจำรักษาสาธยายธารณีนี้ อยู่กลางสายชล สรรพชีวิตทั้งนั้น มีสัตว์น้ำและชนผู้อาศัยน้ำนั้นอุปโภคและบริโภค มีการชำระกายาเป็นต้น บาปกรรมแห่งสรรพชีวิตทั้งนั้น ย่อมสิ้นสลาย กระทั่งย่อมจะอุบัติในวิสุทธิเกษตร บังเกิดในปทุมชาติไม่ต้องเสวยโยนิทั้ง ๓ (หมายถึง ๑. ชลาพุชโยนิ คือ กำเนิดในครรภ์ เช่น ช้าง, ม้า วัว ควาย ๒. อัณฑชโยนิ คือ กำเนิดในไข่ เช่น เป็ด, ไก่, นก ๓. สังเสทชโยนิ คือการเนิดในไคลที่ชื้นแฉะสกปรก เช่น หนอนและแมลงต่างๆ) จักกล่าวไปใยกับชนผู้ทรงจำรักษาสาธยายธารณีนี้เอง

    มาตรว่าชนผู้ทรงจำรักษาสาธยายธารณีนี้ สัญจรไปแห่งใด หากมีลมมากระทบกาย แล้วลมนั้นไปต้องสรรพชีวิตอื่น บาปกรรมแห่งสรรพชีวิตทั้งนั้น ย่อมสิ้นสลาย เกิดครั้งใดจักได้พบพระพุทธเจ้า

    พึงรู้เถิดชนผู้ทรงจำรักษาสาธยายธารณีนี้ เป็นผู้มีบุญกุศลอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

    ชนผู้ทรงจำรักษาสาธยายธารณีนี้ มาตรแม้กล่าววาจาใดๆ ไม่ว่าดีหรือร้าย บรรดามาร เดียรถีย์ เทพ นาค ภูตผีทั้งปวงได้สดับ ดุจได้สดับธรรมโฆษอันวิสุทธิ์ ชนผู้ได้สดับทั้งนั้น ย่อมบังเกิดจิตเคารพ ดุจการได้เคารพพระพุทธเจ้าฉะนั้น

    ชนผู้ทรงจำรักษาสาธยายธารณีนี้

    พึงรู้เถิดชนนั้นคือวรกายครรภ์แห่งพระตถาคตเจ้าทั้ง ๙๙ โกฏิเมล็ดทรายในมหาคงคานที

    พึงรู้เถิดชนนั้นคือประภากาย เพราะมีแสงสว่างจากพระตถาคตเจ้าทั้งหลายคอยสอดส่อง

    พึงรู้เถิดชนนั้นคือเมตตากรุณาครรภ์ เพราะเป็นผู้คอยช่วยเหลือสรรพชีวิตตลอดเวลา

    พึงรู้เถิดชนนั้นคือสัทธรรมครรภ์ เพราะเป็นผู้เข้าถึงแล้วซึ่งมหาธารณีทั้งปวง

    พึงรู้เถิดชนนั้นคือฌานครรภ์ เพราะเป็นผู้ประจักษ์แล้วซึ่งสมาธิทั้งปวง

    พึงรู้เถิดชนนั้นคืออากาศครรภ์ เพราะเป็นผู้มีปกติใช้ปัญญาสอดส่องสรรพชีวิตทั้งปวง

    พึงรู้เถิดชนนั้นคืออภัยครรภ์ เพราะเป็นผู้มีปวงเทวานาคาคอยอารักษ์

    พึงรู้เถิดชนนั้นคือวิเศษวาจาครรภ์ เพราะเป็นผู้ภาวนาธารณีอย่างมิขาดตอน

    พึงรู้เถิดชนนั้นคืออมตะครรภ์ เพราะเป็นผู้ที่ภัยร้ายต่างๆ ทำอันตรายไรๆ มิได้

    พึงรู้เถิดชนนั้นคือวิมุตติครรภ์ เพราะเป็นผู้ที่บรรดามารและเดียรถีย์ต่างๆ ไม่อาจหยุดรั้งไว้ได้

    พึงรู้เถิดชนนั้นคือไภษัชยราชครรภ์ เพราะเป็นผู้มีปกติสาธยายธารณีรักษาสรรพโรคแก่สรรพชีวิต

    พึงรู้เถิดชนนั้นคืออิทธิฤทธิครรภ์ เพราะเป็นผู้ท่องเที่ยวไปในพุทธนครต่างๆ ได้อย่างอิสระ

    บุญกุศลทั้งนี้ พรรณนามิรู้สิ้น

    ดูกร กุลบุตร มาตรชนใดปรารถนาใคร่มีอายุยืนยาวในโลกนี้ พึงหาสถานที่อันสะอาดและสงบ สาธยายมนต์ต่อน้ำ, อาหาร, เครื่องหอม, โอสถ อย่างละ ๑๐๘ จบ เมื่อบริโภคไปแล้ว จักมีอายุวัฒนา มาตรว่ากระทำได้ดังที่กล่าวมานี้ จักสำเร็จทุกประการ

    มาตรว่าจักกระทำธรรมมณฑล ให้นำมีดมาเจริญมหาธารณีนี้ ๒๑ จบ แล้วกรีดลงบนพื้นโดยรอบ หรือนำน้ำบริสุทธิ์มาเจริญกรุณาธารณี ๒๑ จบ แล้วประพรหมทั้ง ๔ ทิศ หริอนำเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาเจริญกรุณาธารณี ๒๑ จบ แล้วสาดไป ๔ ทิศ หรือจินตนาการว่ามีปราการทั้ง ๔ ทิศห้อมล้อมอยู่ แล้วเจริญกรุณาธารณี ๒๑ จบ หรือนำไหมเบญจพรรณมา เจริญกรุณาธารณี ๒๑ จบ แล้วนำมาผูกล้อมไว้ทั้ง ๔ ทิศ

    อันมหากรุณาธารณีนี้ แม้เพียงชื่อก็สามารถสลายบาปกรรมอันล่วงมาแล้วอันนับประมาณไม่ได้ จักกล่าวไปใยกับชนผู้ทรงจำรักษาสาธยายธารณีนี้เอง

    อันชนผู้ทรงจำสาธยายมหากรุณามนต์นี้ พึงรู้เถิดว่าเป็นผู้ที่ได้บูชาพระตถาคตเจ้าอันประมาณมิได้ มาตรว่าสามารถดับทุกข์แห่งสรรพชีวิต (ตามนัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว) พึงรู้เถิดว่าชนนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วซึ่งมหากรุณา มิช้านานจักตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สรรพชีวิตทั้งปวงที่เห็น หากได้เจริญภาวนา หรือได้สดับ หรือได้ปลูกฝังโพธิปัจจัย ชนทั้งนั้นเป็นผู้มีอประไมยกุศลพรรณนาได้มิรู้สิ้น

    มาตรว่ามีจิตเลื่อมใสไม่คลอนคลาย รักษาอุโบสถศีล หมายจักไถ่บาปให้สรรพชีวิต หรือจักไถ่บาปที่ตนได้กระทำไว้ในอนันตกัป สาธยายมหามนต์นี้มิขาดตอน ชนผู้นั้นย่อมสำเร็จมรรคผล (มรรค ๔ ผล ๔) เป็นมั่นคง แม้นว่าปรารถนาโปรดสรรพชีวิต (โพธิญาณ) ย่อมเข้าถึงทศภูมิโพธิสัตว์อย่างไม่ยากลำบาก จักกล่าวไปใยแม้กุศลเพียงเล็กน้อย ทุกสิ่งที่ปรารถนามิมีที่มิสมฤดี

    มาตรว่าปรารถนาเรียกผีมาใช้งาน ให้นำกะโหลกในป่าช้า มาในพิธีต่อเบื้องหน้าพระปฎิมาแห่งพระสหัสเนตรฯ (พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์) แล้วเซ่นสรวงด้วยปริโภคูปโภค กระทำดังนี้ให้ได้ชั่ว ๗ ทิวาวาร ภูตนั้นย่อมสำแดงตนออกมารับบัญชา มาตรว่าต้องการใช้สอยท้าวจาตุมหาราช ให้กระทำมณฑลพีธี เจริญมหาธารณี แล้วกระทำการบูชาด้วยสุคันธชาติ ย่อมจักสมปรารถนา ทั้งนี้เพราะด้วยพระเมตตาปณิธานแห่งพระมหาโพธิสัตว์ และเดชานุภาพแห่งพระมหากรุณาหฤทัยธารณี

    พระพุทธองค์ทรงแสดงกับพระอานนท์ว่า "มาตรว่าแว่นแคว้นเกิดทุพภิกขภัย ให้พระราชา (ผู้ปกครอง) ตั้งอยู่ธรรม ปกครองบ้านเมืองด้วยเมตตากรุณา อภัยโทษแก่นักโทษผู้กระทำผิด แล้วตั้งใจเจริญมหากรุณาธารณีนี้ตลอด ๗ ทิวาแลราตรี จักยังให้ทุพภิกขภัยทั้งนั้นย่อมเสื่อมสลาย ทั่วแคว้นจักอุดมสมบูรณ์ ราษฎรทั้งนั้นต่างพากันเกษมสโมสร

    มาตรว่านครแห่งตนถูกต่างแคว้นมารุกราน กระทำรังควานหมู่ราษฎร์ให้มิเป็นสุข ปวงขุนนางกระทำทุรยศ เกิดน้ำท่วมหรือภัยแล้ง สุริยันจันทราโคจรวิสมคติวิปริตไปด้วยประการต่างๆ หรือเกิดภัยขึ้นนาๆ ประการ ให้กระทำพระรูป พระสหัสภุชสหัสเนตรบ่ายพระพัตร์สู่หนประจิม กระทำการบูชาด้วยสุคันธชาติ สรรพรัตนะ ธวัชฉัตรธง ตลอดจนปวงเครื่องปริโภคูปโภค พระราชานั้นให้วิริยะสาธยายพระมหากรุณาธารณีตลอดชั่ว ๗ ทิวาแลราตรี อุปัทวันตรายทั้งปวงจักสูญสลายไป อริราชจักมาสวามิภักดิ์ บ้านเมืองจักสงบสุข ทวยราษฎร์จักสามัคคีกลมเกลียว ราชโอรส ขุนนาง อำมาตย์ ข้าราชบริพาร จักพากันจงรักภักดี พระสนม พระเทวี พระมเหสี จักยำเกรงพระราชา เทวานาคาจักอภิบาลแว่นแคว้น ฝนจะตกตามฤดูกาล บ้านเมืองจักอุดมสมบูรณ์ ไพร่ฟ้าทั้งนั้นจะมีชีวิตอย่างมีความสุข

    มาตรว่าครอบครัวพบโรคประหลาด มีผี, เทพร้าย, มาร มาคอยกระทำ หรือถูกคนร้ายรังแกด้วยประการต่างๆ หรือภายในกายนอกครอบครัวไม่รักใคร่สามัคคี ให้กระทำแท่นพิธีประดิษฐานพระปฎิมาพระสหัสภุชมหาธารณี แล้วรำลึกถึงคุณพระอวโลกิตเศวรโพธิสัตว์ จากนั้นสาธยายมหากรุณาธารณีมนต์ให้ได้ ๑,๐๐๐ จบ อุปสรรคทั้งนั้นจักสิ้นสลาย ครอบครัวแลบริชนทั้งปวงจักกลับมาบริบูรณ์ดังเดิม

    พระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระโลกเชษฐ์ มนต์นี้มีนามว่ากระไร พระเจ้าข้า?" พระสุคตเจ้าทรงวิสัชนาว่า "ดูกรอานนท์ มนต์นี้มีนามนาๆ ประการ มหาไวปุลย ๑, อนุปสัคคมหากรุณา ๑, นิรทุกขธารณี ๑, อายุวัฒน์ธารณี ๑, ปหานบาปธารณี ๑, สมฤติธารณี ๑, มโนรสอิศวรธารณี ๑, ชวุตตรปถวีธารณี ๑ ดังนี้"

    พระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระโลกเชษฐ์ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้แสดงมนต์นี้ มีนามว่ากระไร พระเจ้าข้า?" พระทศพลทรงวิสัชนาว่า "ดูกรอานนท์ พระโพธิสัตว์องค์นี้มีนามว่า อวโลกิเตศวร ผู้มีพระนามขจรขจายดุจสหัสรังสี ดูกรกุลบุตร พระอวโลกิเตศวรผู้นี้ เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์มหัศจรรย์ยิ่งนัก จำเนียรกาลล่วงได้อประไมยอสงไขยกัป ท้าวเธอได้ตรัสรู้เป็นพระตถาคตพุทธเจ้า อันมีพระนามที่พระธรรมประภาสตถาคตพุทธเจ้า แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ปรารถนาจะอยู่ด้วยปวงพระโพธิสัตวเจ้า และสรรพชีวิตทั้งปวง จึงดำรงเพศเป็นที่พระโพธิสัตว์ เธอและปวงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ท้าวพรหมราช ท้าวสักกเทวราช เทวา นาคา จงกระทำการนอบน้อมอย่าได้ดูเบา อันมนุษย์และทวยเทพทั้งปวง อันมีปกติบูชาและรำลึกนามแห่งพระองค์ ย่อมเพิ่มพูนอประไมยกุศล และทำลายแล้วซึ่งอประไมยอกุศล เมื่อถึงกาลกิริยา ย่อมอุบัติ ณ. พุทธนคร แห่งพระอมิตาภตถาคตพุทธเจ้า"

    มาตรว่าต้องกฤตยาคุณยาสั่ง ให้นำเกล็ดยางยูง (คือผลึกที่ได้จากการกลั่นจากน้ำมันของต้นยางยูง) และกำยาน น้ำหนักเสมอภาค ต้มกับน้ำ ต่อหน้าพระปฏิมาพระสหัสเนตร เจริญมหากรุณาธารณีให้ได้ ๑๐๘ จบ มาตรว่าโดนอสรพิษหรือแมลงร้ายขบกับให้เอาขิงฝน เจริญธารณีนี้ ๑๗ จบ ทาบริเวณบาดแผล

    มาตรว่าถูกคนรังเกียจ ใส่ความให้ร้ายฟ้องอธิกรณ์ ถ้อยคดีความ ให้นำดินบริสุทธิ์ (ในสมัยโบราณ ดินบริสุทธิ์คือการนำดินไปเผาไฟ ดินชนิดนี้จะร่วนเป็นผง และมีสีดำสนิท) มาปั้นร่วมกับขี้ผึ้งเป็นรูปคน ต่อหน้าระปฏิมาพระสหัสเนตร นำมีดมาเจริญกรุณาธารณีให้ได้ ๑๐๘ จบ แล้วสับลงไปบนหุ่นขี้ผึ้งนั้น เมื่อจะสับนั้น สับ ๑ ครั้ง ให้เรียกชื่อผู้นั้น ๑ ครั้ง สับให้ได้ ๑๐๘ ครั้ง นำเศษหุ่นขี้ผึ้งนั้นไปเผาไฟให้สิ้น คนผู้นั้นจักเปลี่ยนใจมามีจิตเมตตารักใคร่เอ็นดูต่อเราแล

    มาตรว่าจักษุพร่ามัว มองไม่เห็น ให้นำตรีผลาอย่างละ ๑ เมล็ด มาบดให้ละเอียด ต้องรักษาความสะอาด และห้ามให้สตรีมีครรภ์อ่อน, สุกร, สุนัข เข้าใกล้หรือมองเห็น รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า แล้วใช้น้ำผึ้งขาวหรือน้ำนมคน มาผสมสมแล้วปิดบริเวณดวงตา ต้องใช้น้ำนมของหญิงที่มีบุตรชายเท่านั้น บุตรีห้ามโดยเด็ดขาด เมื่อปิดดวงตาให้เจริญมหากรุณาธารณี ๑,๐๐๐ จบ ให้ปิดดวงตาไว้ ๗ วัน ให้พักในห้องมืดสงัด ห้ามให้โดนลม ดวงจะค่อยๆ กลับมามองเห็นอีกครั้ง

    มาตรเกิดโรคลม ช่องหูอื้ออึง มือเท้าติดขัด (เป็นอัมพฤกษ์) ให้ใช้น้ำมันงาต้มกับไม้เขียวหอม เจริญธารณีนี้ ๓๗ จบ แล้วนวดตามร่างกาย ....

    ....." (ส่วนที่ไม่ได้แปล เนื่องจาก มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการทำพิธี การเจริญธารณี ร่วมกับยาแผนโบราณชนิดต่างๆ ซึ่งคนสมัยนี้โดยทั่วไปจะไม่รู้จักแล้ว จึงขอข้ามไป)

    พระสุคตทรงแสดงกับพระอานนท์ว่า (ในส่วนนี้จะอธิบายเกี่ยวกับความหมายของๆ วิเศษในพระหัตถ์ต่างๆ ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์)

    "ดูกรอานนท์ มาตรว่าปรารถนาโภคสมบัติ ก็คือ จินดามณีหัตถ์ (ถือแก้วจินดามณี)

    มาตรว่าพบกับเรื่องวุ่นวายต่างๆ ปรารถนาความสงบก็คือ ปาศหัตถ์ (บ่วงบาศ)

    มาตรว่าปรารถนาหายจากโรคร้าย ก็คือ รัตนบาตรหัตถ์ (ถือบาตร)

    มาตรว่าสยบหมู่ภูตก็คือ รัตนขรรค์หัตถ์ (ถือพระขรรค์)

    มาตรว่าสยบหมู่มารก็คือ วัชรหัตถ์ (ถือวัชระ)

    มาตรว่าทำลายแล้วซึ่งความหวาดกลัวก็คือ ประทานอภัยหัตถ์ (กระทำอภัยมุทรา)

    มาตรว่าชนผู้จักษุบอดมัว ปรารถนาแสงสว่างก็คือ สุริยมณีหัตถ์ (ถือพระอาทิตย์)

    มาตรว่าชนผู้ป่วยเพราะพิษร้อน (จากไข้และกิเลสเป็นต้น) ปรารถนาความช่ำเย็นก็คือ จันทรมณีหัตถ์ (ถือพระจันทร์)

    มาตรว่าปรารถนายศศักดิ์ก็คือ คันศรหัตถ์ (ถือคันธนู)

    มาตรปรารถนาได้มิตรดีก็คือ ลูกศรหัตถ์ (ถือลูกธนู)

    มาตรปรารถนาให้หายจากสรรพโรคก็คือ กิ่งหลิวหัตถ์ (ถือกิ่งหลิว)

    มาตรปรารถนาสลายบาปกรรมก็คือ จามรหัตถ์ (ถือแซ่ขนหางจามรี)

    มาตรปรารถนาพบแต่สิ่งประเสริฐก็คือ กุมภหัตถ์ (ถือแจกันหรือคนโทน้ำ)

    มาตรปรารถนาพ้นจากสัตว์ร้ายทั้งปวงก็คือ ลักษณหัตถ์ (ถือป้ายตรา)

    มาตรปรารถนาพ้นจากราชภัยก็คือ ปรศุหัตถ์ (ถือขวาน)

    มาตรปรารถนาข้าทาสชายหญิงก็คือ รัตนกฏกหัตถ์ (ถือกำไลแก้วหรือหยก)

    มาตรปรารถนากุศลทั้งปวงคือ ปุณฑริกหัตถ์ (ถือบัวขาว)

    มาตรปรารถนาอุบัติสุขาวดีโลกธาตุก็คือ นิลุบลหัตถ์ (ถือบัวเขียว)

    มาตรปรารถนาปัญญาอันยิ่งก็คือ รัตนะอาทาสหัตถ์ (ถือกระจก)

    มาตรปรารถนาใคร่เห็นพระตถาคตเจ้าในทศทิศก็คือ นิโลบลหัตถ์ (ถือบัวขาบ)

    มาตรปรารถนาขุมคัมภีร์ไต้พื้นปฐพีก็คือ รัตนคัมภีรหัตถ์ (ถือคัมภีร์)

    มาตรปรารถนาตาปสมรรคก็คือ เบญจพรรณเมฆหัตถ์ (ถือเมฆ ๕ สี)

    มาตรปรารถนาพรหมมรรคก็คือ วยูหทัณฑหัตถ์ (ถือคทานำทัพ)

    มาตรปรารถนาในเทววิมานก็คือ สัตปัณณหัตถ์ (ถือบัวแดง)

    มาตรปรารถนาป้องกันโจรภัยก็คือ รัตนกันตหัตถ์ (ถือง้าว)

    มาตรปรารถนาอัญเชิญทวยเทพเทวาก็คือ รัตนสังขหัตถ์ (ถือสังข์มหาพิชัยยุทธ์)

    มาตรปรารถนาใช้งานปวงภูตผีก็คือ ยมทัณฑหัตถ์ (ถือคทายมทัณฑ์)

    มาตรปรารถนาให้พระตถาคตเจ้าทั้งทศทิศเอื้อพระหัตถ์มารับก็คือ มุตตาคุณหัตถ์ (ถือสร้อยประคำ)

    มาตรปรารถนาให้มีสุรเสียงดังพระพรหมก็คือ รัตนฆัณฏาหัตถ์ (ถือระฆัง)

    มาตรปรารถนาในนิรุตติปฏิสัมภิทาก็คือ รัตนลัญจกรหัตถ์ (ถือตรารัตนลัญจกร)

    มาตรปรารถนาเทวาแลนาคามาคอยอารักษ์ก็คือ สังกุหัตถ์ (ถือตะขอเหล็ก)

    มาตรปรารถนาจักคอยอภิบาลสรรพชีวิตก็คือ คทาหัตถ์ (ถือไม้เท้า)

    มาตรปรารถนาให้สรรพชีวิตเคารพนับถือก็คือ อัญชลีหัตถ์ (กระทำอัญชลี)

    มาตรปรารถนาให้ทุกๆ ชาติ ไม่ห่างกลจากพระตถาคตเจ้าก็คือ พุทธนิรมาณกายหัตถ์ (ถือนิรมาณกายแห่งพระตถาคตเจ้า)

    มาตรปรารถนาทุกๆ ชาติเกิดในวิหาร คือเครื่องอยู่ แห่งพระตถาคตเจ้า มิต้องกำเนิดในครรภ์ในไข่อื่นๆ ก็คือ วิหารหัตถ์ (ถือวิหาร)

    มาตรปรารถนาเป็นพหูสูตก็คือ รัตนคัมภีรหัตถ์ (ถือคัมภีร์)

    มาตรปรารถนาให้นับแต่ชาตินี้จวบจนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่เสื่อมถอยจากพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณก็คือ อปฏิสุวรรณจักรหัตถ์ (ถือสุวรรณจักร)

    มาตรปรารถนาให้พระพุทธเจ้าทั้งทศทิศมาจับกระหม่อมแล้วมีพุทธพยากรณ์ก็คือ ติลกพุทธนิรมาณกายหัตถ์ (ถือนิรมาณกายแห่งพระตถาคตเจ้า)

    มาตรปรารถนาให้บรรดาพืชพรรณติดดอกออกผลก็คือ มธุสาหัตถ์ (ถือองุ่น)

    อันธรรม (ที่จักช่วยเหลือสรรพชีวิต) มีถึงพันประการ บัดนี้ได้แสดงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น"

    พระสุริยประภาโพธิสัตว์เพื่อรักษาชนผู้ทรงจำและสาธยายมหากรุณาธารณีอันรักษาไว้ดีแล้ว ได้แสดงมหามนต์อันรักษาไว้ดีแล้วดังนี้

    ៙ นโม พุทฺธาย โครวิ นโม ธรฺมาย ตยณิ นมฮ์ สมฺฆาย มหา ธิ ตริภุวิ สาธุตํ นมฮ์ ๚ะ๛

    พระจันทรประภาโพธิสัตว์กล่าวเสริม มนต์อันรักษาชนผู้บำเพ็ญ (มหากรุณาธารณี) ธรรมอันรักษาไว้ดีแล้วดังนี้

    ៙ สมฺ ทิเต ทุษฏ อชณา มิถเย อุทฺทู สมฺ จิท ฏล ปรฺติ ยตฺ มิชยา ฏล อุทฺทู ฏล โฆรเต ฏล ชิหม ฏล สวาหา ๚ะ๛

    จากนั้นจึงกล่าวต่อไปว่า "เจริญมนต์ทั้งนี้ ๕ จบ นำไหมเบญจพรรณมาถักเป็นเชือก ผูกไว้บริเวณที่เจ็บปวดตามร่างกาย มนต์นี้คือมนต์อันพระตถาคตเจ้าอันล่วงมาแล้วได้ ๔๐ โกฏิเมล็ดทรายในมหาคงคานทีทรงแสดง บัดนี้เราแสดงไว้ เพื่อรักษาชนผู้บำเพ็ญ (มหากรุณาธารณี) ธรรม เพื่อขจัดเสียซึ่งบาปกรรมทั้งปวง เพื่อขจัดเสียซึ่งโรคาพาธทั้งปวง เพื่อสำเร็จแล้วซึ่งกุศลกรรมทั้งปวง เพื่อความพ้นแล้วจากภัยทั้งปวง"

    พระจอมมุนีทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า "ดูกรอานนท์ เธอจงยังจิตให้บริสุทธิ์แล้วทรงจำรักษามหากรุณาธารณีนี้ไว้ แล้วประกาศไปให้ทั่วทั้งชมพูทวีป ธารณีจักยังประโยชน์แก่กับสรรพชีวิต ทุกข์ทั้งปวงที่กลุ้มรุมกายา ไม่มีทุกข์ใดที่ธารณีนี้ขจัดมิได้ แม้นพฤกษาชาติที่เหี่ยวเฉา ยังสามารถกลับมาผลิดอกออกผลได้ จักกล่าวไปใยกับสรรพชีวิตผู้มีวิญญาณ มิมีโรคาพาธในกายใดๆ ที่มิอาจขจัดได้ ดูกรกุลบุตร อันธารณีนี้มหัศจรรย์มหัศจรรย์ยิ่งนัก มีคุณพรรณนาได้มิรู้สิ้น มาตรว่ามิได้เป็นผู้สั่งสมกุศลในกาลก่อนไว้ดีแล้ว แม้แต่นามยังมิมีโอกาสได้สดับ จักกล่าวไปใยกับการได้พานพบ เธอทั้งหลายมีมนุษย์ เทวา และนาคาเป็นอาทิ ได้สดับเราสรรเสริญคุณเห็นปานนี้ จงตั้งจิตอนุโมทนายินดี มาตรว่าหลบหลู่มหากรุณาหฤทัยธารณีนี้ ก็เท่ากับหลบหลู่ในพระตถาคตเจ้าอันล่วงมาแล้วได้ ๙๙ โกฏิเมล็ดทรายในมหาคงคานที มาตรว่าเกิดจิตสงสัยในธารณีนี้ จักสูญเสียซึ่งประโยชน์มหาศาล จักพบความทุกข์ยากนับอประไมยอสงไขยโกฏิกัป จักไม่ได้พานพบซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์"

    ปวงพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ วัชรคุหยปาทะ พระมหาพรหมราช ท้าวสักกะเทวราช ท้าวจาตุมหาราช ทวยเทพและหมู่นาคทั้งนั้น เมื่อได้สดับพระผู้มีพระภาคสรรเสริญธารณีนี้ ต่างมีจิตอนุโมทนายินดี น้อมรับไปบำเพ็ญต่อไป.

    ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาน
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Piyacheep S.Vatcharobol
    6 ชั่วโมงที่แล้ว ใกล้กับ Bangkok ·
    เพิ่งออกข่าวนะ ทั้งๆที่ ดร.ก้องภพ สอนเรา บอกเรามาเป็นปีๆแล้ว

    ยานอวกาศนาซาสังเกตพบระบบสุริยะของเรามีหาง หลังจากนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานมานานแล้วว่าน่าจะมี ซึ่งนับเป็นการสำรวจพบเป็นครั้งแรก

    ข้อมูลจากเว็บไซต์องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ระบุว่า มีการสันนิษฐานมานานแล้วว่า ระบบสุริยะของเราน่าจะมีหาง เพราะไม่ต่างจากวัตถุอื่นๆ ที่เคลื่อนจากตัวกลางหนึ่งไยังอีกตัวกลางหนึ่ง ทำให้อนุภาคก่อละอองไอไว้เบื้องหลัง

    หากแต่ไม่เคยมีใครสังเกตพบหางของระบบสุริยะหรือสุริยมณฑล (heliosphere) กระทั่งล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลยานอวกาศของนาซาชื่อไอบิกซ์ (Interstellar Boundary Explorer: IBEX) ทำแผนที่กำหนดขอบเขตของสุริยมณฑลและพบสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า คือหางของระบบสุริยมณฑล

    หางดังกล่าวถูกตั้งชื่อเรียกว่า "เฮลิโอเทล" (heliotail) ซึ่งเป็นผลพวงจากการรวบรวมข้อมูลสังเกตการณ์จากการสร้างภาพ 3 ปีแรกของยานไอบิกซ์ และทีมศึกษาได้ภาพหางที่เป็นการรวมกันระหว่่งอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็วและอนุภาคที่เคลื่อนตัวช้า และได้รายงานลงวารสารดิแอสโตรฟิสิคัลเจอร์นัล (The Astrophysical Journal)

    เว็บไซต์นาซายังอธิบายลักษณะหางดังกล่าวว่า อนุภาคที่เคลื่อนตัวช้าเป็นแฉกอยู่ด้านข้างสุริยมณฑล ส่วนอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็วเป็นแฉกอยู่ด้านบนและด้านล่าง และโครงสร้างหมดหมุนเกลียว ไปตามแรงผลักและแรงดึงของสนามแม่เหล็กด้านนอกระบบสุริยะ

    เดวิด แมคโคมาส (David McComas) หัวหน้าทีมวิจัยในรายงานจากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ (Southwest Research Institute) ในซานอันโตนิโอ เท็กซัส และเป็นผู้ตรวจการณ์หลักในโครงการยานไอบิกซ์ กล่าวว่า หลายๆ แบบจำลองชี้ว่าเฮลิโอเทลน่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ แต่ไม่เคยมีใครสังเกตพบ เรามักทำห่างเหล่านั้นหายไปจากหน้ารายงาน ทำให้เราไม่สามารถพิจารณาได้ว่าหน้าตาของหางนั้นจะเป็นอย่างไร

    ขณะที่กล้องโทรทรรศน์จำนวนมากพบหางแบบดังกล่าวรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น แต่กลับเป็นเรื่องยากที่จะมองหาหางแบบเดียวกันนี้ของดาวฤกษ์เราเอง ก่อนหน้านี้ยานไพโอเนียร์ 10 (Pioneer 10) ได้มุ่งไปยังหางดังกล่าวหลังจากผ่านวงโคจรของดาวเนปจูนเมื่อปี 1983 แต่ยานก็หมดพลังงานก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในหาง ทำเราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับหางของระบบสุริยะจากยานโดยตรง

    นาซาระบุว่าการเฝ้าดูหางดังกล่าวจากทีไกลๆ เป็นเรื่องยาก เพราะอนุภาคนหางนั้นที่ทะลุสุริยมณฑลไปนั้นไม่ส่องสว่าง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถมองเห็นได้ง่ายๆ ขณะที่ยานไอบิกซ์ทำแผนที่บริเวณดังกล่าวได้ด้วยการวัดอนุภาคที่เป็นกลาง ซึ่งเกอดจากการชนกันที่ขอบสุริยมณฑล

    เทคนิคดังกล่าเรียกว่าการบันทึกภาพอะตอมเป็นกลางปริมาณมหาศาล โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่าเส้นทางของอนุภาคเป็นกลางนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสนามแม่เหล็กของสุริยมณฑล และอนุภาคดังกล่าวเดินทางเป็นเส้นตรงจากการชนเข้ากับยานไอบิกซ์ ดังนั้น การสังเกตบริเวณที่อนุภาคเป็นกลางเหล่านี้เดินทางมา จะช่วยอธิบายเกิดอะไรขึ้นกับอาณาบริเวณที่อยู่ไกลๆ นั้น

    การเดินทางของอนุภาคเหล่านี้เริ่มต้นหลายปีก่อนจะพุ่งชนเครื่องมือของยานไอบิกซ์ และยังรวมเข้ากับอนุภาคจากดวงอาทิตย์ที่พุ่งออกไปในทุกทิศทาง แม้กระทั่งชะลอตัวและเบนไปตามหางของระบบสุริยะ เนื่องจากแรงดันจากกระแสดูดเข้าของวัตถุระหว่างดวงดาว โดยอนุภาคมหาศาลนั้นจะถอยกลับอยู่ภายในของสุริยมณฑลซึ่งเป็นชั้นบางๆ ที่เรียกว่า "เฮลิโอพอส" (heliopause)

    นาซายังอธิบายอีกว่าเมื่ออนุภาคของอะตอมกลางซึ่งเคลื่อนช้ากว่า ชนเข้ากับอนุภาคมีประจุที่เคลื่อนที่เร็วกว่าจากดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน ส่งผลให้ได้อนุภาคมีประจุที่เคลื่นที่ช้าลงและอะตอมเป็นกลางที่เคลื่อนที่เร็วขึ้น อนุภาคเป็นกลางเหล่านั้นไม่มุ่งตรงไปยังสนามแม่เหล็ก แต่พุ่งตรงไปยังทิศทางทถูกชี้ในชั่วขณะนั้น และบางครั้งใช้เวลาเดินทางหลายปีกว่าจะถูกตรวจจับได้โดยไอบิกซ์


    Science - Manager Online -
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สุริยะจักรวาลของเรามีหาง
    image.jpg
    นักวิทยาศาสตร์สำรวจพบระบบสุริยะของเรามีหางเป็นครั้งแรก หลังคาดเดามานาน (ภาพวาดแสดงหางระบบสุริยะที่น่าจะเป็นตามผลสังเกตของยานจากนาซา/นาซา)

    ยานอวกาศนาซาสังเกตพบระบบสุริยะของเรามีหาง หลังจากนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานมานานแล้วว่าน่าจะมี ซึ่งนับเป็นการสำรวจพบเป็นครั้งแรก

    ข้อมูลจากเว็บไซต์องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ระบุว่า มีการสันนิษฐานมานานแล้วว่า ระบบสุริยะของเราน่าจะมีหาง เพราะไม่ต่างจากวัตถุอื่นๆ ที่เคลื่อนจากตัวกลางหนึ่งไยังอีกตัวกลางหนึ่ง ทำให้อนุภาคก่อละอองไอไว้เบื้องหลัง

    หากแต่ไม่เคยมีใครสังเกตพบหางของระบบสุริยะหรือสุริยมณฑล (heliosphere) กระทั่งล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลยานอวกาศของนาซาชื่อไอบิกซ์ (Interstellar Boundary Explorer: IBEX) ทำแผนที่กำหนดขอบเขตของสุริยมณฑลและพบสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า คือหางของระบบสุริยมณฑล

    หางดังกล่าวถูกตั้งชื่อเรียกว่า "เฮลิโอเทล" (heliotail) ซึ่งเป็นผลพวงจากการรวบรวมข้อมูลสังเกตการณ์จากการสร้างภาพ 3 ปีแรกของยานไอบิกซ์ และทีมศึกษาได้ภาพหางที่เป็นการรวมกันระหว่่งอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็วและอนุภาคที่เคลื่อนตัวช้า และได้รายงานลงวารสารดิแอสโตรฟิสิคัลเจอร์นัล (The Astrophysical Journal)

    เว็บไซต์นาซายังอธิบายลักษณะหางดังกล่าวว่า อนุภาคที่เคลื่อนตัวช้าเป็นแฉกอยู่ด้านข้างสุริยมณฑล ส่วนอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็วเป็นแฉกอยู่ด้านบนและด้านล่าง และโครงสร้างหมดหมุนเกลียว ไปตามแรงผลักและแรงดึงของสนามแม่เหล็กด้านนอกระบบสุริยะ

    เดวิด แมคโคมาส (David McComas) หัวหน้าทีมวิจัยในรายงานจากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ (Southwest Research Institute) ในซานอันโตนิโอ เท็กซัส และเป็นผู้ตรวจการณ์หลักในโครงการยานไอบิกซ์ กล่าวว่า หลายๆ แบบจำลองชี้ว่าเฮลิโอเทลน่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ แต่ไม่เคยมีใครสังเกตพบ เรามักทำห่างเหล่านั้นหายไปจากหน้ารายงาน ทำให้เราไม่สามารถพิจารณาได้ว่าหน้าตาของหางนั้นจะเป็นอย่างไร

    ขณะที่กล้องโทรทรรศน์จำนวนมากพบหางแบบดังกล่าวรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น แต่กลับเป็นเรื่องยากที่จะมองหาหางแบบเดียวกันนี้ของดาวฤกษ์เราเอง ก่อนหน้านี้ยานไพโอเนียร์ 10 (Pioneer 10) ได้มุ่งไปยังหางดังกล่าวหลังจากผ่านวงโคจรของดาวเนปจูนเมื่อปี 1983 แต่ยานก็หมดพลังงานก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในหาง ทำเราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับหางของระบบสุริยะจากยานโดยตรง

    นาซาระบุว่าการเฝ้าดูหางดังกล่าวจากทีไกลๆ เป็นเรื่องยาก เพราะอนุภาคนหางนั้นที่ทะลุสุริยมณฑลไปนั้นไม่ส่องสว่าง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถมองเห็นได้ง่ายๆ ขณะที่ยานไอบิกซ์ทำแผนที่บริเวณดังกล่าวได้ด้วยการวัดอนุภาคที่เป็นกลาง ซึ่งเกอดจากการชนกันที่ขอบสุริยมณฑล

    เทคนิคดังกล่าเรียกว่าการบันทึกภาพอะตอมเป็นกลางปริมาณมหาศาล โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่าเส้นทางของอนุภาคเป็นกลางนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสนามแม่เหล็กของสุริยมณฑล และอนุภาคดังกล่าวเดินทางเป็นเส้นตรงจากการชนเข้ากับยานไอบิกซ์ ดังนั้น การสังเกตบริเวณที่อนุภาคเป็นกลางเหล่านี้เดินทางมา จะช่วยอธิบายเกิดอะไรขึ้นกับอาณาบริเวณที่อยู่ไกลๆ นั้น

    การเดินทางของอนุภาคเหล่านี้เริ่มต้นหลายปีก่อนจะพุ่งชนเครื่องมือของยานไอบิกซ์ และยังรวมเข้ากับอนุภาคจากดวงอาทิตย์ที่พุ่งออกไปในทุกทิศทาง แม้กระทั่งชะลอตัวและเบนไปตามหางของระบบสุริยะ เนื่องจากแรงดันจากกระแสดูดเข้าของวัตถุระหว่างดวงดาว โดยอนุภาคมหาศาลนั้นจะถอยกลับอยู่ภายในของสุริยมณฑลซึ่งเป็นชั้นบางๆ ที่เรียกว่า "เฮลิโอพอส" (heliopause)

    นาซายังอธิบายอีกว่าเมื่ออนุภาคของอะตอมกลางซึ่งเคลื่อนช้ากว่า ชนเข้ากับอนุภาคมีประจุที่เคลื่อนที่เร็วกว่าจากดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน ส่งผลให้ได้อนุภาคมีประจุที่เคลื่นที่ช้าลงและอะตอมเป็นกลางที่เคลื่อนที่เร็วขึ้น อนุภาคเป็นกลางเหล่านั้นไม่มุ่งตรงไปยังสนามแม่เหล็ก แต่พุ่งตรงไปยังทิศทางทถูกชี้ในชั่วขณะนั้น และบางครั้งใช้เวลาเดินทางหลายปีกว่าจะถูกตรวจจับได้โดยไอบิกซ์

    ลักษณะของหางเป็นแฉก โดยอนุภาคเคลื่อนตัวชาจะแยกตัวอยู่ด้านข้าง ส่วนอนุภาคที่เคลื่อนตัวเร็วจะแยกเป็นแฉกอยู่ด้านบนและด้านล่าง (นาซา)

    เราพบดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ มีหางอยู่มากมาย แต่การสังเกตสิ่งเดียวกันนี้ในระบบสุริยะกลับทำได้ยาก
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วิมลเกียรตินิทเทสสูตร(พระสูตรสำคัญที่สุดของมหายาน)....คีตากะ

    Image.jpg

    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับแสดงธรรมโปรดสัตว์อยู่ ณ สวนอัมพปาลีวัน ณ กรุงเวสาลี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๘,๐๐๐ รูป พระโพธิสัตว์(๑)อีก ๓๒,๐๐๐ องค์ ซึ่งแต่ละองค์ล้วนเป็นผู้มีเกียรติคุณอันประชุมชนรู้จักดี ถึงพร้อมแล้วด้วยมหาปรัชญา(๒)และมูลจริยา(๓) มีทาน ศีล ขันติ(๔) วิริยะ(๕) ฌาน(๖) ปัญญา และอุปายะ(๗)พละ(๘) มีความบริสุทธิ์หมดจด หลุดพ้นจากสังโยชนธรรม(๙) เป็นผู้แสดงพระสัทธรรม(๑๐)ต่อสรรพสัตว์ สืบพระพุทธศาสนายุกาลให้ยั่งยืน ฯลฯ พระโพธิสัตว์เหล่านี้ มีอาทิเช่น พระสมาธิอิศวรราชาโพธิสัตว์ พระธรรมอิศวรราชาโพธิสัตว์ พระธรรมลักษณะโพธิสัตว์ พระประภาลักษณะโพธิสัตว์ พระประภาลังการโพธิสัตว์ พระมหาลังการโพธิสัตว์ พระรัตนกูฏโพธิสัตว์ พระรัตนากรโพธิสัตว์ พระปีติอินทรีย์โพธิสัตว์ พระอากาศครรภ์โพธิสัตว์ พระวิทยชาลโพธิสัตว์ พระคันธหัสดินทร์โพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์(ปางหนึ่งของเจ้าแม่กวนอิม) พระมหาสถามปราบต์โพธิสัตว์ พระสุวรรณจุฬาโพธิสัตว์ พระศรีอารยเมตไตรยโพธิสัตว์(พระพุทธเจ้าองค์ต่อไป) และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ผู้ธรรมราชาบุตร(ครูของพระพุทธเจ้าทั้งสิบทิศ) เป็นต้น อนึ่ง ยังมีพระพรหมและทวยเทพ นาค ยักษ์ อสูร ครุฑ กินนร(๑๑) มโหรค(๑๒)อีกจำนวนมาก พร้อมทั้งพุทธบริษัท ๔(๑๓) อีกจำนวนมาก ต่างมาประชุมเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อสดับพระสัทธรรม
    ก็โดยสมัยนั้นแล ณ กรุงเวสาลี มีบุตรคฤหบดี(๑๔)ผู้หนึ่งชื่อรัตนกูฏพร้อมกับบุตรคฤหบดีอื่นๆ อีกจำนวน ๕๐๐ คน ต่างถือเอาฉัตร(๑๕)อันประกอบด้วยสัปตรัตนะ(๑๖) ชวนกันมาเฝ้าพระบรมศาสดา อภิวาทน์(๑๗)พระบาททั้ง ๒ ของพระองค์แล้ว ต่างก็น้อมฉัตรเข้าไปถวาย ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร(๑๘)ให้ฉัตรทั้งปวงรวมกันเข้าเป็นฉัตรคันเดียว แลร่มเงาแห่งฉัตรนั้น ก็ปกคลุมไปทั่วมหาตรีสหัสสโลกธาตุ(๑๙) สิ่งต่างๆ มีภูเขา แม่น้ำ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ตลอดจนพุทธเกษตร(๒๐)ต่างๆ ซึ่งมีพระพุทธเจ้ากำลังแสดงพระสัทธรรมอยู่ ก็มาปรากฏอยู่ในฉัตรดังกล่าวนั้น ประชุมชนซึ่งมาเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้น ต่างเพ่งทัศนากำลังแห่งพุทธปาฏิหาริย์ด้วยความเลื่อมใส ต่างยกกรขึ้นวัทนา แลดูซึ่งพระพุทธลักษณะอยู่โดยมิเคลื่อนคลา และบุตรคฤหบดีผู้ชื่อว่ารัตนกูฏได้กล่าวสดุดีกถา(๒๑)ด้วยถ้อยคำอันพรรณนาพระพุทธคุณ(๒๒)อันเป็นอเนก จบลงแล้วจึงทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุตรคฤหบดีทั้ง ๕๐๐ คนนี้ ล้วนตั้งจิตมุ่งต่ออนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ(๒๓)มาแล้ว ต่างปรารถนาใคร่สดับเรื่องวิสุทธิพุทธเกษตร(๒๔) ขอพระองค์ทรงโปรดแสดงจริยา(๒๕)ของปวงพระโพธิสัตว์เพื่อยังวิสุทธิภูมิ(๒๖)ให้สำเร็จเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคจึงมีพระราชดำรัสว่า “ดีละ รัตนกูฏ ! ในการที่เธอสามารถถามตถาคต(๒๗)ถึงจริยาอันให้สำเร็จซึ่งพุทธเกษตร เพื่อประโยชน์แห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เธอพึงสำเหนียก(๒๘)แลมีโยนิโสมนสิการ(๒๙)ให้ดี เราจักแสดงแก่เธอ ณ บัดนี้”
    ครั้งนั้นแล รัตนกูฏพร้อมทั้งบุตรคฤหบดีอีก ๕๐๐ คน ต่างก็ตั้งจิตหยั่งลงพร้อมที่จักรับพระสัทธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
    “ดูก่อนรัตนกูฏ ในสรรพสัตว์ทั้งปวงนั่นแล ชื่อว่าเป็นวิสุทธิเกษตร(๓๐)แห่งพระโพธิสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา ? ก็เพราะว่าพระโพธิสัตว์ย่อมบำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์(๓๑)โปรดสรรพสัตว์ จึงอาจสามารถให้สำเร็จซึ่งพุทธเกษตรได้ อุปมาดังบุคคลผู้ปรารถนาจักสร้างปราสาทในแผ่นดินที่ว่าง เขาย่อมยังกิจที่ปรารถนาให้สำเร็จได้ แต่ถ้าเขาไม่อาศัยแผ่นดินกลับไปอาศัยอากาศเพื่อสร้างปราสาทไซร้ ย่อมไม่มีหนทางสำเร็จฉันใด พระโพธิสัตว์ก็มีอุปไมยฉันนั้น กล่าวคือในการยังพุทธเกษตรให้สำเร็จบริบูรณ์ ก็เพื่อประโยชน์แห่งสรรพสัตว์นั่นเอง รัตนกูฏ ! เธอพึงสำเหนียกว่าจิตที่ตั้งไว้ถูกตรงนั่นแล ชื่อว่า วิสุทธิภูมิของพระโพธิสัตว์ ในสมัยซึ่งพระโพธิสัตว์นั้นบรรลุพุทธภูมิ(๓๒) เหล่าสัตว์ซึ่งปราศจากมายาความหลอกลวงย่อมมาถืออุบัติในวิสุทธิเกษตรนั้น จิตที่ลึกซึ้งนั่นแลชื่อว่า วิสุทธิภูมิของโพธิสัตว์ ในสมัยซึ่งพระโพธิสัตว์นั้นบรรลุพุทธภูมิ เหล่าสัตว์ซึ่งสมบูรณ์ด้วยกุศลคุณ ย่อมมาถืออุบัติในวิสุทธิเกษตรนั้น โพธิจิต(๓๓) นั่นแลชื่อว่า วิสุทธิภูมิของพระโพธิสัตว์ ในสมัยซึ่งพระโพธิสัตว์นั้นบรรลุพุทธภูมิเหล่าสัตว์ซึ่งเป็นมหายานิกบุคคล(๓๔) ย่อมมาถืออุบัติในวิสุทธิเกษตรนั้น การบำเพ็ญทาน นั่นแล ชื่อว่า วิสุทธิภูมิของพระโพธิสัตว์ ในสมัยซึ่งพระโพธิสัตว์นั้นบรรลุพุทธภูมิ เหล่าสัตว์ซึ่งมีจาคธรรม(๓๕)ย่อมมาถืออุบัติในวิสุทธิภูมิเกษตรนั้น การรักษาศีล นั่นแล ชื่อว่า วิสุทธิภูมิของพระโพธิสัตว์ ในสมัยซึ่งพระโพธิสัตว์นั้นบรรลุพุทธภูมิ เหล่าสัตว์ซึ่งบำเพ็ญกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐(๓๖) ได้สมบูรณ์ไม่บกพร่อง ย่อมมาถืออุบัติในวิสุทธิภูมิเกษตรนั้น ขันติ นั่นแล ชื่อว่า วิสุทธิภูมิของพระโพธิสัตว์ ในสมัยซึ่งพระโพธิสัตว์นั้นบรรลุพุทธภูมิ เหล่าสัตว์ซึ่งรุ่งเรืองด้วยทวัตติงสาลังการ(๓๗)ย่อมมาถืออุบัติในวิสุทธิเกษตรนั้น วิริยะ นั่นแล ชื่อว่าวิสุทธิภูมิของพระโพธิสัตว์ ในสมัยซึ่งพระโพธิสัตว์นั้นบรรลุพุทธภูมิเหล่าสัตว์ผู้มีความบากบั่นพากเพียรในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม ย่อมมาถืออุบัติในวิสุทธิเกษตรนั้น ฌานสมาธิ(๓๘) นั่นแล ชื่อว่าวิสุทธิภูมิของพระโพธิสัตว์ ในสมัยซึ่งพระโพธิสัตว์นั้นบรรลุพุทธภูมิ เหล่าสัตว์ซึ่งสำรวมจิตไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมาถืออุบัติในวิสุทธิเกษตรนั้น ปัญญา นั่นแล ชื่อว่าวิสุทธิภูมิของพระโพธิสัตว์ ในสมัยซึ่งพระโพธิสัตว์นั้นบรรลุพุทธภูมิ เหล่าสัตว์ซึ่งมีอินทรีย์(๓๙)เที่ยงต่อการตรัสรู้ ย่อมมาถืออุบัติในวิสุทธิเกษตรนั้น ฯลฯ”
    ตรัสว่า ในสมัยซึ่งพระโพธิสัตว์สำเร็จพระโพธิญาณ(๔๐)แล้ว โลกธาตุของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ย่อมสุขสมบูรณ์ ปราศจากความมัวหมองและเภทภัยกันดารต่างๆ แลสรรพสัตว์ในโลกธาตุนั้น ก็บริบูรณ์ด้วยกุศลคุณต่างๆ เป็นอเนกประการ(๔๑) แล้วตรัสสรุปว่า
    “เพราะฉะนั้นแล รัตนกูฏ ! พระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาจักบรรลุถึงวิสุทธิเกษตรดังกล่าว ! พึงชำระจิตแห่งตนให้บริสุทธิ์สะอาด เมื่อจิตบริสุทธิ์สะอาดดีแล้ว พุทธเกษตรก็ย่อมบริสุทธิ์สะอาดตามไปด้วย”
    ครั้งนั้นแล พระสารีบุตรเถรเจ้าโดยการบันดาลดลแห่งพุทธานุภาพ(๔๒)ได้บังเกิดปริวิตก(๔๓)อย่างนี้ขึ้นว่า “ถ้าจิตของพระโพธิสัตว์บริสุทธิ์ พุทธเกษตรก็พลอยบริสุทธิ์ด้วยไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้พระผู้มีพระภาคของเรา เมื่อสมัยยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ จักมีจิตไม่บริสุทธิ์กระมังหนอ พุทธเกษตรของพระองค์จึงไม่สะอาดหมดจดดั่งปรากฏอยู่ ณ บัดนี้ ?”
    พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกนั้นแล้ว จึงมีพระดำรัส(๔๔)ว่า
    “สารีบุตร ! เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ? บุคคลผู้มีจักษุบอดมองไม่เห็นความสุกสว่างหมดจดแห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นเป็นความผิดของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ฤาหนอ ?”
    พระสารีบุตรทูลว่า “หามิได้ข้าแต่พระสุคต(๔๕) เป็นความบกพร่องของบุคคลผู้มีจักษุบอดเอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักมีโทษด้วยก็หาไม่”
    ตรัสว่า “ฉันใดก็ฉันนั้นนะสารีบุตร ! เป็นความผิดของสรรพสัตว์เองที่มองไม่เห็นความบริสุทธิ์สะอาดในโลกธาตุเกษตรแห่งเราตถาคต จักเป็นความผิดของตถาคตด้วยก็หาไม่ สารีบุตรเอย ! โลกธาตุของตถาคตนั้นบริสุทธิ์ แต่เธอมองไม่เห็นเอง”
    ก็โดยสมัยนั้นแล ท้าวสนังพรหมกุมาร ได้กล่าวกับพระสารีบุตรว่า
    “ขอท่านผู้เจริญอย่าได้ปริวิตก แลกล่าวว่าพุทธเกษตรนี้ไม่บริสุทธิ์เลย ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? เพราะเรานั้นได้เห็นความบริสุทธิ์หมดจดแห่งพุทธเกษตรของพระศากยมุนีเจ้า เปรียบดุจทิพยมณเฑียร(๔๖)แห่งพระอิศวรเทพ(๔๗)ฉะนั้น”
    พระสารีบุตรกล่าวว่า “แต่เราเห็นโลกธาตุนี้ อุดมไปด้วยขุนเขาหุบเหวสูงต่ำ มีขวากหนามอิฐกรวดดินทราย เต็มไปด้วยความโสมมสกปรก”
    ท้าวสนังพรหมจึงว่า “จิตของท่านผู้เจริญสูงต่ำไม่สม่ำเสมอเองต่างหากเล่า ท่านผู้เจริญ ! มิได้อาศัยพุทธปัญญา(๔๘)ทัศนาโลกนี้ ฉะนั้นจึงเห็นโลกธาตุนี้ว่าไม่สะอาดหมดจด ข้าแต่พระคุณเจ้าสารีบุตร อันพระโพธิสัตว์ย่อมเห็นสรรพสัตว์โดยความเป็นสมภาพ(๔๙) มีจิตอันลึกซึ้งบริสุทธิ์อาศัยพุทธปัญญาเป็นเครื่องอยู่ ฉะนั้น จึงสามารถทัศนาความบริสุทธิ์ของโลกธาตุนี้ได้”
    พระผู้มีพระภาค จึงกดนิ้วพระบาทลง ณ ผืนปฐพี ในทันใดนั้นมหาตรีสหัสสโลกธาตุ ก็มีอันเปลี่ยนแปลง ปรากฏเป็นรัตนอลังการ(๕๐)นับแสนโกฏิ(๕๑)ประดับประดาแล้ว ประชุมชนทั้งปวงพากันอุทานด้วยความมหัศจรรย์ว่า
    “สิ่งที่ไม่เคยมีก็มีขึ้นแล้วหนอ” ต่างเห็นตนของตนเองนั่งอยู่บนปทุมรัตน์(๕๒)อันเป็นทิพย์
    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร ! เธอจงทัศนาวิสุทธิคุณาลังการ(๕๓)แห่งพุทธเกษตรนี้เถิด”
    พระสารีบุตรทูลว่า “อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งซึ่งข้าพระองค์มิเคยได้เห็นมาก่อน มิเคยได้ฟังมาก่อน บัดนี้ได้ปรากฏขึ้นแล้วหนอว่า พุทธเกษตรของพระองค์บริสุทธิ์หมดจดยิ่งนัก”
    พระบรมศาสดาตรัสว่า “โลกธาตุของตถาคต ย่อมบริสุทธิ์เป็นปกติอยู่เป็นนิตย์ แต่เพื่อโปรดบรรดาชนผู้มีอินทรีย์ต่ำ ตถาคตจึงสำแดงให้ปรากฏเห็นเป็นไม่บริสุทธิ์ขึ้น เหมือนดังปวงเทพยดาต่างร่วมเสวยสุทธาโภชน์(๕๔)ในทิพยภาชน์(๕๕)อันเดียว ด้วยอำนาจแห่งบุญสมภาร(๕๖)ของแต่ละองค์ไม่เสมอกัน ทิพยโภชน์(๕๗)จึ่งปรากฏหาคล้ายกันไม่ ฉันใดก็ฉันนั้นนะ สารีบุตร ! ถ้าบุคคลมีจิตบริสุทธิ์ไซร้ เขาย่อมเห็นคุณาลังการ(๕๘)แห่งพุทธเกษตรนี้ได้”
    ในกาลซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงบันดาล สำแดงความบริสุทธิ์แห่งโลกธาตุอยู่นั้น รัตนกูฏพร้อมด้วยบุตรคฤหบดีอีก ๕๐๕ คน ต่างก็บรรลุธรรมกษานติ(๕๙) และมี ๘,๔๐๐ คน ต่างตั้งจิตมุ่งสำเร็จพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วพระผู้มีพระภาคก็ทรงยังฤทธิ์นั้นให้กลับคืน โลกธาตุจึงปรากฏสภาพของมันดุจเก่า อนึ่ง มีผู้ปรารถนาต่อสาวกภูมิ(๖๐) ๓๒,๐๐๐ คน ทวยเทพและมนุษย์ต่างเห็นชัดว่า สังขาร(๖๑)ทั้งปวง มีความทนอยู่มิได้ ต้องแปรผันไปเป็นธรรมดา ในดวงตามีธุลี(๖๒)อันไปปราศจากแล้วได้ธรรมจักษุ(๖๓)อันบริสุทธิ์ ภิกษุ ๘,๐๐๐ รูป หมดอาสวกิเลส(๖๔)ถึงความหลุดพ้นแล้ว
    ในสมัยนั้น ที่กรุงเวสาลี มีคฤหบดีผู้หนึ่ง ชื่อวิมลเกียรติ ณ เบื้องอดีตภาค ท่านได้เคยบูชาสักการะในพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันจักประมาณพระองค์มิได้ ได้บรรลุอนุตปาทธรรมกษานติ(๖๕) มีปฏิภาณ(๖๖)อันปราศจากความขัดข้องแลอภิญญา(๖๗) พร้อมทั้งทรงไว้ซึ่งธรรมอรรถ(๖๘) เป็นผู้แกล้วกล้าปราศจากความหวาดกลัว สามารถบำราบ(๖๙)มารภัยให้สยบ อนึ่ง เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งคัมภีรธรรม(๗๐) มีปรัชญาอันเป็นคุณชาติ(๗๑)ให้ถึงฝั่งแห่งภพอันดียิ่ง อีกทั้งเป็นผู้รอบรู้ในอุปายโกศล(๗๒)วิธี มีมหาปณิธาน(๗๓)อันสำเร็จแล้ว มีญาณ(๗๔)แทงทะลุในอธิมุตติ(๗๕)แห่งปวงสัตว์ พร้อมทั้งความสามารถในอันจักจำแนกอินทรีย์แก่อ่อนในสัตว์เหล่านั้นอีกด้วย คฤหบดีนั้น เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในพุทธภูมิแต่กาลอันนานมาทีเดียว จิตของท่านบริสุทธิ์สะอาด ดำเนินตามมหายานปฏิปทา(๗๖)โดยไม่แปรผัน กับทั้งเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพุทธวัตรสมาจาร(๗๗) มีจิตอันไพศาลดุจมหาสาคร(๗๘) คฤหบดีนี้แหละ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทรงสดุดีอนุโมทนาสาธุการ(๗๙) เขาเป็นที่เคารพนับถือของพระสาวกทั้งหลาย ตลอดจนทวยเทพทั้งปวง มีท้าวศักรินทร์(๘๐)และท้าวมหาพรหมปชาบดี(๘๑)เป็นอาทิและเนื่องด้วยคฤหบดีนั้นมีความจำนงอันจักโปรดสรรพสัตว์ ท่านจึงสำแดงซึ่งอุปายโกศลวิธีด้วยการเข้ามาตั้งเคหสถาน(๘๒)อาศัย ณ กรุงเวสาลี
    ท่านได้บริจาคทรัพย์จำนวนเหลือประมาณ เพื่อประโยชน์แก่ปวงชนทุคตะ(๘๓)เข็ญใจ ท่านแสดงการรักษาศีลบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย ก็เพื่อเป็นตัวอย่างสงเคราะห์ชนผู้ทุศีล(๘๔)จักได้ถือเอาเป็นแบบอย่าง แสดงความอดกลั้นด้วยขันติคุณ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างสงเคราะห์ชนผู้มักโกรธ แสดงความเป็นผู้มีอุตสาหวิริยะ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างสงเคราะห์ชนผู้มีโกสัชชะ(๘๕) แสดงความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นในสมาธิฌาน ก็เพื่อเป็นตัวอย่างสงเคราะห์ชนผู้มีจิตฟุ้งซ่าน และได้ใช้สติปัญญาของท่านสงเคราะห์ชนผู้ปราศจากปัญญาให้มีความรู้แจ้งเห็นจริงด้วย คฤหบดีนั้น แม้จะเป็นอุบาสก(๘๖)ผู้นุ่งขาว แต่ก็ปฏิบัติรักษาวินัยของสมณะ(๘๗) แม้จะเป็นผู้ครองเรือน แต่ก็มีจิตไม่ยึดมั่นในภพทั้ง ๓(๘๘) แม้ท่านจักแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีภริยา(๘๙) แต่ก็รักษาพรหมจรรย์ไว้โดยบริสุทธิ์ แม้จะมีบริวารชน แต่ก็มีจิตยินดีในความสงัดห่างไกลจากบริวารชน แม้ร่างกายของท่านจะประดับด้วยเครื่องรัตนอลังการ ซึ่งเป็นเรื่องภายนอก แต่ภายในจิตของท่านมิได้พอใจผูกพันกับเครื่องประดับเหล่านั้น เพราะท่านมีคุณสมบัติต่างๆ มีปัญญาเป็นต้นเป็นเครื่องประดับใจ และถึงแม้ท่านจะบริโภคอาหารเช่นคนทั้งหลาย แต่อาหารที่แท้จริงของท่านก็คือถือเอารสแห่งปีติ(๙๐)ในฌานเป็นอาหาร และท่านมักจะไปปรากฏตัวในวงการพนัน วงการหมากรุก วงการเสพสุรา วงการละเล่นมหรสพ ตลอดจนกระทั่งสำนักหญิงโสเภณี ก็เพื่ออาศัยสถานที่เหล่านั้นเป็นแหล่งประกาศสัจจธรรม ชี้แจงบาปบุญคุณโทษแก่ชนผู้มัวเมาในอบายมุขทั้งหลาย นอกจากนี้ ท่านยังเที่ยวไปตามสำนักพาหิรลัทธิ(๙๑)ตามสถานสาธารณะต่างๆ ตามถนนหนทาง เพื่อประกาศพระพุทธธรรมให้สำเร็จประโยชน์แก่ประชุมชนทั้งวัยเด็กวัยหนุ่มสาววัยชรา และด้วยเหตุดังกล่าวนี้ เกียรติคุณของท่านวิมลเกียรติ จึงแพร่หลายอุโฆษ(๙๒)ไปทั่ว ท่านเป็นที่เคารพยกย่องของกษัตริย์ สมณพราหมณ์ เสนาอำมาตย์ คฤหบดี ประชาชนพลเมืองทุกชั้นทุกวัย นอกจากท่านวิมลเกียรติจะบำเพ็ญประโยชน์ในหมู่มนุษย์แล้ว ท่านยังบำเพ็ญประโยชน์ในหมู่ทวยเทพด้วย ท่านเป็นที่เคารพของปวงพรหมเทพ ด้วยท่านแสดงธรรมอันประกอบด้วยโลกุตตรปัญญา(๙๓) ให้ฟัง ท่านเป็นที่เคารพของปวงเทพในฉกามาวจร(๙๔)มีท้าววาสวะเป็นต้น ด้วยท่านแสดงธรรมชี้ให้เห็นความเป็นอนิจจัง(๙๕)ของสังขารธรรม(๙๖)ให้ฟัง ท่านเป็นที่เคารพของท้าวจตุโลกบาลราชา(๙๗) ด้วยท่านพร่ำสอนธรรมให้ท้าวเธอและบริวารคุ้มครองรักษาโลก อันท่านคฤหบดีวิมลเกียรติสมบูรณ์ด้วยอุปายโกศลจริยา(๙๘) บำเพ็ญคุณานุคุณ(๙๙) หิตประโยชน์(๑๐๐)ในสรรพสัตว์ ด้วยประการฉะนี้แล
    สมัยหนึ่ง ท่านวิมลเกียรติสำแดงตนว่าบังเกิดอาพาธ(๑๐๑) ด้วยอุบายนี้ จึงเป็นเหตุให้บรรดาราชา อำมาตย์ สมณพราหมณ์ คฤหบดี และชาวชนเป็นจำนวนหลายพันเป็นอเนก ต่างพากันมาเยี่ยมเยือนถามอาการไข้ถึงคฤหาสน์ ท่านจึงถือโอกาสที่ชนเหล่านี้มาเยี่ยมแสดงธรรมว่า
    “ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย อันสรีรกาย(๑๐๒)นี้ไม่แท้เที่ยง ปราศจากความกล้าแข็ง ปราศจากพลัง ปราศจากแก่นสาร เป็นสภาพมีอันเสื่อมโทรมโดยรวดเร็ว ไม่เป็นที่ไว้วางใจได้ สรีรกายนี้เป็นทุกข์ เป็นที่เดือดร้อน เป็นที่ประชุมของโรค ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย สรีรกายดังนี้แล บัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมไม่หลงใหลเพลิดเพลิน สรีระนี้อุปมาดังฟองน้ำจักลูบคลำมิได้ สรีระนี้อุปมาดังต่อมน้ำ เพราะไม่สามารถตั้งมั่นได้นาน สรีระนี้อุปมาดังพยับแดด เพราะเกิดมาแต่ตัณหา(๑๐๓) สรีระนี้อุปมาดังต้นกล้วย เพราะปราศจากแก่นสาร สรีระนี้อุปมาดังภาพมายา เพราะเกิดมาแต่ความวิปลาส(๑๐๔) สรีระนี้อุปมาดังความฝัน เพราะเกิดมาแต่ความหลงผิดให้เห็นไป สรีระนี้อุปมาดังเงา เพราะเกิดมาจากกรรมสมุฏฐาน(๑๐๕) สรีระนี้อุปมาดังเสียง เพราะอาศัยประชุมแห่งปัจจัยจึงมีได้ สรีระนี้อุปมาดังก้อนเมฆ เพราะตั้งอยู่ชั่วคราวก็เปลี่ยนแปร สรีระนี้อุปมาดังสายฟ้าแลบ เพราะตั้งอยู่คงทนมิได้ทุกๆ ขณะ ฯลฯ”
    ท่านวิมลเกียรติได้กล่าวถึงโทษแห่งสรีระไว้เป็นอเนกประการแล้วจึงกล่าวสรุปว่า
    “ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย สรีรกายนี้น่าเบื่อหน่ายเห็นปานฉะนี้ เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงยินดีในพระพุทธสรีระ(๑๐๖) ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา ? ก็เพราะว่า อันพระพุทธสรีรกายนั้น คือพระธรรมกาย(๑๐๗)นั่นเอง ย่อมเกิดมาจากปัญญาและคุณสมบัติเป็นอันมาก จักประมาณมิได้ เกิดจากศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ(๑๐๘) วิมุตติ(๑๐๙)ญาณทัสสนะ เกิดมาจากเมตตา(๑๑๐) กรุณา(๑๑๑) มุทิตา(๑๑๒) อุเบกขา(๑๑๓) เกิดมาจากทาน ศีล ขันติ โสรัจจะ(๑๑๔) วิริยะ ณาน วิมุตติ สมาธิ พหูสูต(๑๑๕) ปัญญาแลปวงบารมีธรรม(๑๑๖) เกิดมาจากอุปายะ เกิดมาจากฉฬภิญญา(๑๑๗) เตวิชชา(๑๑๘)และโพธิปักขิยธรรม ๓๗(๑๑๙) เกิดมาจากสมถวิปัสสนา(๑๒๐) เกิดมาจากทศพลญาณ(๑๒๑) เกิดมาจากจตุเวสารัชชญาณ(๑๒๒)และอเวณิกธรรม ๑๘(๑๒๓) เกิดมาจากสรรพอกุศลสมุจเฉทธรรม(๑๒๔)และจากสรรพกุศลภาวนาธรรม(๑๒๕) เกิดมาจากภูตตัตตวธรรม(๑๒๖) เกิดมาจากอัปปมาทธรรม(๑๒๗)และวิสุทธิธรรม(๑๒๘)เป็นอเนกอนันต์ดังกล่าวมานี้ ยังพระตถาคตกายให้บังเกิดขึ้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใดปรารถนาจักได้พระพุทธสรีรกาย และอาจตัดเสียซึ่งพยาธิโรคันตราย(๑๒๙)ของสรรพสัตว์ได้ขาด ผู้นั้นพึงตั้งจิตปณิธานในพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเถิด”
    ท่านวิมลเกียรติคฤหบดีได้แสดงธรรมกถา(๑๓๐)กับบรรดาผู้มาเยี่ยมเยือนไข้ของท่านด้วยประการดังนี้ ยังบุคคลหลายพันเป็นอเนกให้บังเกิดจิตปณิธาน(๑๓๑)ในพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณโดยถ้วนหน้าแล
    ในสมัยนั้นแล ท่านวิมลเกียรติคฤหบดี บังเกิดความปริวิตกขึ้นว่า เรานอนป่วยอยู่บนเตียงเห็นปานฉะนี้ ไฉนพระผู้มีพระภาคผู้ทรงไว้ซึ่งมหาเมตตาธรรม จึงมิได้ส่งผู้ใดมาเยี่ยมเยือน

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกนั้นแล้ว จึงมีพระพุทธดำรัสกับพระสารีบุตรว่า
    “ดูก่อนพระสารีบุตร เธอจงไปเยี่ยมเยือนไต่ถามอาการป่วยของวิมลเกียรติคฤหบดีเถิด”
    พระสารีบุตรได้กราบทูลสนองพระดำรัสว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ไม่เหมาะสมที่จะไปเป็นผู้เยี่ยมไข้หรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์ยังระลึกได้อยู่ว่า สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์กำลังนั่งคู้สมาธิบัลลังก์(๑๓๒)อยู่ในท่ามกลางวนาสณฑ์(๑๓๓) ครั้งนั้น ท่านวิมลเกียรติได้มาพูดกับข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้าไม่จำต้องมานั่งอาการอย่างนี้โดยสำคัญว่าเป็นการนั่งสมาธิ อันการนั่งสมาธิที่แท้จริงนั้น คือการไม่ปรากฏกายใจในภพทั้ง ๓ ไม่ต้องออกจากนิโรธสมาบัติ(๑๓๔) แต่ก็สามารถแสดงบรรดาอิริยาบถ(๑๓๕)ให้ปรากฏได้ นี้คือการนั่งสมาธิ ไม่ต้องสละมรรคธรรม(๑๓๖) แต่ก็สามารถทำกิจกรรมของปุถุชนได้ นี้ก็คือการนั่งสมาธิ จิตไม่ยึดติดในภายใน หรือยึดติดในภายนอก นี้คือการนั่งสมาธิ ไม่มีความหวั่นไหวกำเริบเพราะเหตุแห่งปวงทิฏฐิ(๑๓๗) แลสามารถอบรมในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ได้ นี้คือการนั่งสมาธิ ไม่ต้องตัดกิเลส แต่สามารถเข้านิพพาน(๑๓๘)ได้ นี้คือการนั่งสมาธิ ถ้าพระคุณเจ้าอาจที่จักนั่งด้วยวิธีอย่างนี้ พระพุทธองค์ย่อมจักรับรอง”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมัยนั้น ข้าพระองค์ได้สดับวาจาดังกล่าวนี้แล้ว ต้องหยุดนิ่งสงบ มิอาจตอบสนองพจน์ไปได้ ด้วยเหตุนี้ข้าพระองค์จึงไม่สมควรเหมาะสมในการไปเป็นผู้เยี่ยมไข้พระพุทธเจ้าข้า”

    พระบรมศาสดาจึงดำรัสให้พระโมคคัลลานะไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ พระโมคคัลลานะกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ไม่เหมาะสมที่จะไปเป็นผู้เยี่ยมไข้หรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน ? ข้าพระองค์ยังระลึกได้อยู่ว่า สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์จาริก(๑๓๙)เข้าไปในเมืองเวสาลี ได้แสดงธรรมโปรดพวกคฤหบดีในตรอกแห่งหนึ่ง ครั้งนั้น วิมลเกียรติคฤหบดีได้มากล่าวกับข้าพระองค์ว่า”
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าโมคคัลลานะ การแสดงธรรมโปรดพวกอุบาสกนุ่งขาวเหล่านี้ ไม่ใช่แสดงอย่างวิธีของพระคุณเจ้าอย่างนี้หรอก อันว่าผู้แสดงธรรมนั้นสมควรจักต้องแสดงให้ถูกกับทำนองคลองธรรม ธรรมนั้นไม่มีสัตว์ เพราะพ้นจากความเศร้าหมองแห่งสัตว์ ธรรมนั้นไม่มีอาตมัน(๑๔๐) เพราะพ้นจากความเศร้าหมองแห่งอาตมัน ธรรมนั้นไม่มีชีวะเพราะพ้นจากชาติมรณะ(๑๔๑) ธรรมนั้นไม่มีบุคคล เพราะขาดจากห้วงแห่งอดีต อนาคต ธรรมนั้นมีสันติ(๑๔๒)เป็นธรรมดา เพราะดับปวงลักษณะเสียได้ ธรรมนั้นห่างไกลจากลักษณะ เพราะปราศจากอารมณ์ ธรรมนั้นไม่มีนามบัญญัติ(๑๔๓) เพราะขาดจากวจนะโวหาร(๑๔๔) ธรรมนั้นไม่มีอะไรจะแสดงได้ เพราะไกลจากความวิตก(๑๔๕)วิจาร(๑๔๖) ธรรมนั้นไม่มีสัณฐานนิมิต(๑๔๗) เพราะว่างเปล่าดุจอากาศ ธรรมนั้นปราศจากปปัญจธรรม(๑๔๘) เพราะมีสุญญตา(๑๔๙)เป็นสภาพ ธรรมนั้นไม่มีมมังการ(๑๕๐) เพราะพ้นจากความยึดถือว่าเป็นของของเรา ธรรมนั้นไม่มีวิกัลปะ(๑๕๑) เพราะไกลจากวิญญาณความรู้ทางอายตนะ(๑๕๒)ทั้งหลาย ธรรมนั้นปราศจากการเปรียบเทียบได้ เพราะพ้นจากความเป็นคู่ ธรรมนั้นไม่สงเคราะห์ว่าเป็นเหตุ เพราะมิได้อยู่ในประชุมของปัจจัย...ฯลฯ.... พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะ เมื่อธรรมลักษณะมีสภาพดั่งนี้แล้วจักนำมาแสดงได้อย่างไรเล่า ? อันการแสดงธรรมนั้น เนื้อแท้ไม่มีการกล่าว ไม่มีการแสดง และผู้สดับธรรมเล่า ก็ไม่มีการฟังหรือการได้อะไรไป อุปมาดุจมายาบุรุษแสดงธรรมให้มายาบุรุษอีกผู้หนึ่งฟังฉะนั้น พึงตั้งจิตของตนให้ได้อย่างนี้แล้วพึงแสดงธรรมเถิด พึงแจ่มแจ้งในอินทรีย์แก่อ่อนคมทู่ของสรรพสัตว์ มีญาณทัสสนะ(๑๕๓)อันเชี่ยวชาญ ปราศจากความขัดข้อง ประกอบด้วยมหากรุณาจิต สดุดีลัทธิมหายาน จิตตั้งอยู่ในอนุสรณ์(๑๕๔)ที่จักบูชาพระคุณของพระพุทธองค์ ไม่ละขาดจากพระไตรรัตน์(๑๕๕) ทำได้เช่นนี้ภายหลังจึงแสดงธรรมเถิด”
    “เมื่อท่านวิมลเกียรติแสดงธรรมกถาจบลง คฤหบดีจำนวน ๘๐๐ คน ต่างก็ตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ข้าพระองค์ไม่มีปฏิภาณเช่นนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงไม่เหมาะสมที่จะไปเป็นผู้เยี่ยมไข้พระพุทธเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพระดำรัสให้พระมหากัสสปะไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ พระมหากัสสปะกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสมที่จักไปเยี่ยมไข้ของอุบาสกนั้นหรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์ยังตามระลึกได้อยู่ว่า สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์เที่ยวจาริกบิณฑบาตตามละแวกบ้านคนยากจน ครั้งนั้น วิมลเกียรติคฤหบดีได้มากล่าวกับข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้ากัสสปะ พระคุณแม้มีจิตกอปรด้วยเมตตากรุณา แต่ก็ไม่ปกแผ่ไพศาลเลย ทังนี้เพราะพระคุณละเลยบ้านของคนร่ำรวย มาบิณฑบาตโปรดเฉพาะคนเข็ญใจเท่านั้น ข้าแต่พระคุณเจ้ากัสสปะ ขอพระคุณเจ้าจงตั้งอยู่ในสมธรรม(๑๕๖) อันเสมอภาพเสียก่อน จึงค่อยมาจาริกบิณฑบาต เพื่อไม่มีความปรารถนาในอาหารเป็นเหตุ จึงสมควรจาริกบิณฑบาต เพื่อทำลายการประชุมแห่งขันธ์(๑๕๗)เป็นเหตุ จึงสมควรถือเอาก้อนภิกษา(๑๕๘)ไปเพื่อไม่ต้องเสวยภพใหม่อีกเป็นเหตุ จึงสมควรรับบิณฑบาตทานของชาวบ้านได้ พึงมีสุญญตสัญญา(๑๕๙)ในการเข้าไปสู่คามนิคม(๑๖๐)ชนบท รับรูปารมณ์(๑๖๑)ดุจผู้มีจักษุมืด รับสัททารมณ์(๑๖๒)ดุจว่าเสียงดัง รับคันธารมณ์(๑๖๓)ดุจสักว่าเป็นวาโย(๑๖๔) รับรสารมณ์(๑๖๕)ก็ไม่มีวิกัลปะ รับโผฏฐัพพารมณ์(๑๖๖)ดุจได้บรรลุญาณทัสสนะ รู้ธรรมารมณ์(๑๖๗)ทั้งปวงว่าเป็นมายา ปราศจากอัตตภาวะ(๑๖๘) หรือปรภาวะ(๑๖๙) เพราะความที่ธรรมทั้งหลายมิได้เกิดขึ้นด้วยภาวะของมันเอง ฉะนั้น จึงไม่มีอะไรที่เรียกว่าแตกดับหักสูญไป ข้าแต่พระคุณเจ้ากัสสปะ ถ้าพระคุณเจ้าจักสามารถไม่ละมิจฉัตตธรรมทั้ง ๘(๑๗๐) แต่ก็บรรลุเข้าถึงวิโมกข์ ๘(๑๗๑)ได้ อาศัยมิจฉาภาวะ(๑๗๒)เข้ากลมกลืนสัมมาธรรม(๑๗๓)ได้ สามารถนำอาหารมื้อหนึ่งบริจาคในสรรพสัตว์ได้ และนำไปกระทำบูชาในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมทั้งพระอริยบริษัท(๑๗๔)ทั้งปวงได้ เมื่อทำได้เช่นนี้แล้ว จึงจักสมควรในการขบฉันอาหารบิณฑบาตต่อภายหลัง ผู้ที่กระทำได้โดยประการดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ขบฉันที่ไม่มีกิเลส ไม่มีความสิ้นไปแห่งกิเลส ชื่อว่ามิได้เข้าสู่สมาธิจิตหรือออกจากสมาธิจิต ไม่มีการยึดมั่นตั้งอยู่ในโลก หรือยึดมั่นตั้งอยู่ในพระนิพพาน ฝ่ายทายกทายิกา(๑๗๕)ผู้บริจาคเล่า ก็ชื่อว่าไม่มีการได้บุญญานิสงส์(๑๗๖)ใหญ่ หรือได้บุญญานิสงส์น้อย ไม่เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหายอย่างไร นี้แลชื่อว่าเป็นวิถีแห่งการเข้าสู่พุทธภูมิ โดยไม่อาศัยสาวกภูมิ พระคุณเจ้ากัสสปะ หากพระคุณตั้งอยู่ในธรรมดังพรรณนามาแล้ว ขบฉันอาหารบิณฑบาตนั้นแล จึงจักได้ชื่อว่าเป็นการขบฉันอาหารของชาวบ้านโดยไม่สูญเปล่า”
    “ข้าแต่พระสุคต เมื่อข้าพระองค์ได้สดับถ้อยคำดั่งนี้แล้ว เกิดความรู้สึกขึ้นว่า สิ่งที่มิได้มีก็ได้มีขึ้นแล้วหนอ ! ข้าพระองค์มีความรู้สึกเคารพนับถือในปวงพระโพธิสัตว์อย่างยิ่ง อนึ่ง ยังมีปริวิตกว่า คฤหบดีผู้นี้เป็นผู้ครองเรือนแท้ๆ ยังมีปฏิภาณปัญญาโกศล(๑๗๗)เห็นปานฉะนี้ ผู้ที่ได้ฟังธรรมของเขาแล้ว ใครเลยที่จักไม่ตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตัวของข้าพระองค์เอง จำเดิมนับแต่นั้นมา ก็ไม่เทศนาสั่งสอนผู้ใดให้ประพฤติสาวกจริยา(๑๗๘) หรือปัจเจกโพธิจริยา(๑๗๙)อีก (คือสอนให้ประพฤติตามพุทธจริยา(๑๘๐)อย่างเดียว) ด้วยเหตุประการดั่งนี้แล ข้าพระองค์จึงไม่เหมาะสมไม่ควรต่อการไปเยี่ยมไข้อุบาสกนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพระดำรัสให้พระสุภูติไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ พระสุภูติกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสมที่จักไปเป็นผู้เยี่ยมไข้หรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์ยังระลึกได้อยู่ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์ได้เข้าไปบิณฑบาต ณ คฤหาสน์ของอุบาสกนั้น ครั้งนั้น วิมลเกียรติคฤหบดีได้เข้ามารับเอาบาตรของข้าพระองค์ไปบรรจุภัตตาหารจนเต็มเปี่ยม แล้วก็ปราศรัยกับข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าสุภูติ ในการขบฉันภัตตาหารนี้ หากพระคุณสามารถแทงทะลุถึงภาวะตามเป็นจริงแห่งธรรมทั้งหลายว่า เป็นสมภาพเสมอกันหมด และสามารถแทงทะลุในธรรมทั้งหลายแต่ละอย่างไซร้ และเที่ยวบิณฑบาตโดยประการดั่งนี้ จึงสมควรที่จักถือเอาภัตตาหาร(๑๘๑)นี้ไปขบฉันได้ พระคุณเจ้าสุภูติ พระคุณมิต้องตัดถอน ราคะ(๑๘๒) โทสะ(๑๘๓) โมหะ(๑๘๔) ให้สมุจเฉท(๑๘๕) แต่ก็ไม่อยู่ร่วมกับกองกิเลสเหล่านี้ ไม่ต้องทำลายสรีรขันธ์(๑๘๖) แต่ก็สามารถเข้าถึงสุญญตาอันเป็นเอกีภาพ(๑๘๗)ได้ อาศัยปัญจานันตริยกรรม(๑๘๘) แต่ก็บรรลุวิมุตติได้ อันที่จริงก็ไม่มีการรอดพ้นและไม่มีการผูกมัดใดๆ ไม่ต้องเห็นแจ้งในจตุราริยสัจ(๑๘๙) และมิได้มีการไม่เห็นแจ้งในจตุราริยสัจ ไม่มีการบรรลุอริยผล(๑๙๐) และมิได้มีการไม่บรรลุอริยะผล ไม่มีปุถุชน และไม่มีการพ้นจากภาวะปุถุชน ไม่มีพระอริยบุคคล(๑๙๑) และมิได้มีอนาริยบุคคล(๑๙๒) ถึงแม้เป็นผู้ยังธรรมทั้งปวงให้สำเร็จเป็นไปอยู่ แต่ก็ไม่มีอุปาทาน(๑๙๓)พ้นจากธรรมเหล่านั้น พระคุณทำได้เช่นนี้ จึงสมควรขบฉันภัตตาหารนี้ ข้าแต่ท่านสุภูติผู้เจริญ พระคุณอย่าไปเฝ้าพระพุทธองค์ อย่าสดับพระสัทธรรม แต่จงถือครูพาหิรลัทธิทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปะ มักขลิโคสาละ สัญชัยเวลัฏฐบุตร อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ และนิครนถ์นาฏบุตรว่าเป็นศาสดา(ชื่อลัทธินอกศาสนา) จงไปบรรพชาในสำนักของครูเหล่านี้ เมื่อครูทั้ง ๖ เขาตกไปสู่อบายภูมิ พระคุณก็ตกตามเขาไปด้วย ทำได้เช่นนี้ จึงสมควรขบฉันภัตตาหารนี้ อนึ่ง ถ้าพระคุณสามารถเข้าถึงมิจฉาทิฏฐิ(๑๙๔)ทั้งปวง อย่าบรรลุถึงฝั่งแห่งภพ ตั้งอยู่ในอัฏฐอันตรายิกธรรม(๑๙๕) อย่าบรรลุถึงความเกษมจากอันตรายดังกล่าวนั้น มีกิเลสเป็นสหธรรม(๑๙๖)อยู่ร่วมกัน ห่างไกลจากวิสุทธิธรรม ตัวของพระคุณไม่ชื่อว่าเป็นบุญเขต(๑๙๗)ของผู้บริจาค ผู้ที่บูชาสักการะทำบุญกับพระคุณ ชื่อว่าเป็นผู้บ่ายหน้าไปสู่อบายภูมิ(๑๙๘) พระคุณจงจูงมือกับบรรดามารทั้งหลาย เป็นสหายร่วมงานกับเหล่ามารนั้น ตัวของพระคุณกับสรรพมารพร้อมทั้งปวงกิเลสไม่มีอะไรแตกต่างกัน มีจิตผูกเวรในสรรพสัตว์ กล่าวจ้วงจาบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กับทั้งทำลายพระธรรม และไม่เข้ากับหมู่สงฆ์ ในที่สุดก็ไม่สำเร็จพระนิพพาน หากพระคุณเป็นได้อย่างนี้ จึงสมควรถือเอาภัตตาหารนี้ไป”
    “ข้าแต่พระสุคต สมัยนั้น เมื่อข้าพระองค์ได้สดับถ้อยคำดังกล่าวแล้วก็ให้งงงันไปหมด ไม่เข้าใจว่าเป็นถ้อยคำอะไร ? ไม่ทราบว่าจะโต้ตอบได้อย่างไร ? ข้าพระองค์จึงวางบาตรไว้จะเดินออกจากคฤหาสน์นั้น วิมลเกียรติอุบาสกก็พูดขึ้นว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าสุภูติ พระคุณจงนำเอาบาตรไปเถอะ อย่าได้มีหวั่นกลัวเลย พระคุณจักมีความคิดเห็นเป็นไฉน ? ในกรณีที่พระตถาคตเจ้า ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาล(ฤทธิ์)ให้เกิดมีมายาบุรุษผู้หนึ่งขึ้นมาแล้วพระองค์นำเอาถ้อยคำดังเช่นที่กระผมกล่าวถามพระคุณนั้น ถามมายาบุรุษอันมายาบุรุษนั้นจักบังเกิดความหวั่นกลัวฤาหนอแล ?”
    ข้าพระองค์ตอบว่า “หามิได้”
    ท่านวิมลเกียรติกล่าว “ธรรมทั้งหลายก็เปรียบดุจมายาลักษณะ พระคุณจึงมิควรมีความหวั่นกลัวอะไร ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? เพราะเหตุที่ธรรมทั้งหลายเป็นสักแต่ว่าบัญญัติโวหาร(๑๙๙) ปราศจากสาระที่มีอยู่ด้วยภาวะของมันเอง ผู้มีปัญญาย่อมไม่ยึดถือในอักขระถ้อยคำ ฉะนั้นจึงปราศจากความหวั่นหวาดใดๆ ด้วยเหตุดังฤา ? ก็เพราะเหตุว่าอักขระถ้อยคำนั้น แท้จริงก็ปราศจากสภาวะ(เป็นสุญญตา) แล้ว นั่นคือ วิมุตติธรรม(๒๐๐) และวิมุตติธรรมนี้เองที่เป็นธรรมทั้งหลายเหล่านั้น”
    “เมื่อวิมลเกียรติคฤหบดีแสดงธรรมกถานี้จบลง ก็มีเทวบุตร ๒๐๐ องค์ ได้ธรรมจักษุอันบริสุทธิ์”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพระดำรัสให้พระปุณณมันตานีไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ พระปุณณมันตานีบุตรกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสมที่จักไปเป็นผู้เยี่ยมไข้หรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์ยังระลึกได้อยู่ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์พักอาศัยในมหาวนาสณฑ์อยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ กำลังแสดงธรรมให้บรรดาพวกภิกษุฟัง ครั้งนั้นวิมลเกียรติคฤหบดีได้ปราศรัยกับข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าปุณณะ ขอพระคุณได้เข้าสมาบัติตรวจดูจิตตัชฒาสัย(๒๐๑)แห่งภิกษุเหล่านี้ก่อนเถิด แล้วจึงค่อยแสดงธรรมโปรดภายหลัง พระคุณโปรดอย่าได้นำโภชนาหารอันหยาบสกปรกใส่ลงไปในรัตนภาชน์(๒๐๒)เลย พระคุณสมควรรู้แจ้งถึงภูมิธรรม(๒๐๓)แห่งจิตของภิกษุเหล่านี้ อย่าได้นำไพฑูรย์(๒๐๔)อันมีค่าไปเสมอกับลูกปัดเลย พระคุณไม่สามารถแทงตลอดในอินทรีย์ของสรรพสัตว์ ก็โปรดอย่าได้ชักจูงให้ภิกษุเหล่านี้ตั้งอยู่ในธรรมฝ่ายหินยาน(๒๐๕)เลย ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้ปราศจากบาดแผลในตัวอยู่แล้ว ขอพระคุณอย่าได้ไปทำให้มีขึ้นเลย อนึ่ง ภิกษุเหล่านี้มีความปรารถนาที่จักประพฤติมหามรรคจริยา(๒๐๖) แต่พระคุณกลับไปชี้ให้เดินตามหินมรรคจริยา(๒๐๗) พระคุณอย่าได้นำมหาสมุทรมาบรรจุใส่ไว้ในรอยเท้าโคเลย และอย่าได้นำแสงทิวากร(๒๐๘)มาเสมอเปรียบเทียบกับแสงหิ่งห้อยเลย ข้าแต่ท่านปุณณะผู้เจริญ บรรดาภิกษุทั้งหมดนี้ ได้ตั้งจิตมุ่งต่อมหายานธรรม(๒๐๙)มาแล้วแต่กาลอันยาวนานทีเดียว ครั้นมาในท่ามกลางก็ละลืมมโนปณิธาน(๒๑๐)นั้นเสีย ไฉนพระคุณจึงจักนำหินยานธรรม(๒๑๑)มาแนะนำสั่งสอนเล่า ? กระผมพิจารณาแล้วเห็นว่า อันบุคคลผู้เป็นฝ่ายหินยานมีปัญญาน้อยตื้น อุปมาดังคนมีจักษุบอด ไม่อาจสามารถจักจำแนกอินทรีย์ละเอียดหยาบของสรรพสัตว์ได้”
    “เมื่อกล่าวเช่นนั้นแล้ว วิมลเกียรติอุบาสกก็เข้าสมาบัติ(๒๑๒) บันดาลด้วยฤทธิ์ให้ภิกษุเหล่านั้นบังเกิดปุพเพนิวาสานุสสติญาณ(๒๑๓)ขึ้น ต่างระลึกได้ว่าในอดีตกาล ต่างได้เคยปลูกฝังกุศลมูล(๒๑๔)ในเฉพาะพระพุทธเจ้า ๕๐๐ พระองค์มาแล้ว โดยต่างตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในทันใดนั้นภิกษุทั้งหมดเหล่านั้น ก็มีจิตกลับขึ้นไปสู่ภูมิธรรมเดิมนั้นอีกและภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ก็พากันอภิวาทน์บาทของวิมลเกียนติอุบาสกด้วยเศียรเกล้า ครั้งนั้น วิมลเกียรติอุบาสกได้กล่าวธรรมกถา ยังจิตของภิกษุเหล่านั้นไม่ให้เสื่อมถอยจากพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณวิถีอีกต่อไป ข้าพระองค์มาตรึกว่า พระสาวกซึ่งไม่พิจารณาอินทรีย์ของสัตว์โลก ก็มิสมควรที่จักแสดงพระสัทธรรม เพราะเหตุนั้นแล ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ไม่สมควรในการไปเยี่ยมไข้ของคฤหบดีผู้นั้น พระพุทธเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพุทธดำรัสให้พระมหากัจจานะไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ พระมหากัจจานะกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสม ควรที่จักไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ของคฤหบดีนั้นหรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์มาตามระลึกได้อยู่ว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระสุคตเจ้าทรงพระสัทธรรมโดยสังเขปนัย(๒๑๕)แก่หมู่ภิกษุสงฆ์ ภายหลังข้าพระองค์ได้ทำหน้าที่อรรถาธิบาย(๒๑๖)ในข้อพระสัทธรรมนั้น อันว่าด้วยเรื่องอนิจจกถา(๒๑๗) ทุกขกถา(๒๑๘) สุญญตกถา(๒๑๙) อนัตตกถา(๒๒๐) นิโรธกถา(๒๒๑) เป็นต้น ครั้งนั้น วิมลเกียรติคฤหบดีได้มากล่าวแก่ข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้ามหากัจจานะ พระคุณโปรดอย่าแสดงภูตสัตยธรรม(๒๒๒)ด้วยจิตจรรยา(๒๒๓)อันเกิดดับนี้เลย พระคุณเจ้ามหากัจจานะ แท้จริงธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่มีความเกิด ไม่มีความดับเป็นสภาพ นี้คือความหมายแห่งอนิจจตา(๒๒๔) การพิจารณาแทงตลอดในปัญจขันธ์(๒๒๕)ทั้ง ๕ ว่าเป็นสภาพว่างเปล่า ปราศจากสาระบังเกิดขึ้น นี้คือความหมายแห่งทุกขตา(๒๒๖) ธรรมทั้งหลายปราศจากสภาวะในที่สุด นี้คือความหมายแห่งสุญญตา อัตตา(๒๒๗)กับอนัตตา(๒๒๘)มิได้เป็นธรรมแตกต่างกัน นี้คือความหมายแห่งอนัตตา(ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน) ตามธรรมดาธรรมทั้งปวง ก็ไม่มีสภาพอุบัติขึ้น ฉะนั้น จึงไม่มีสภาพดับสลายไป นี้คือความหมายแห่งนิโรธ(๒๒๙)”
    “เมื่อคฤหบดีนั้นกล่าวจบลง ภิกษุเหล่านั้น มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ(๒๓๐) เหตุฉะนี้แล ข้าพระองค์จึงไม่เหมาะสมที่จะไปเยี่ยมเขา พระพุทธเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพุทธฎีกา ให้พระอนุรุทธะไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ พระมหาเถระกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้ข้าพระองค์ก็เป็นผู้ไม่เหมาะสม ควรแก่การไปเยี่ยมไข้ของคฤหบดีนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์ยังระลึกได้อยู่ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์เดินจงกรมอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น มีพรหมราชองค์หนึ่ง ทราบนามว่าอลังการวิสุทธิพรหม พร้อมด้วยพรหมบริษัทหนึ่งหมื่นองค์ มีรัศมีโอภาส(๒๓๑)รุ่งเรืองยิ่งนัก เข้ามาหาข้าพระองค์ กระทำการอภิวาทน์โดยความเคารพแล้วถามข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าอนุรุทธ์ ทิพยจักษุ(๒๓๒)ของพระคุณจักมีทัศนวิสัย(๒๓๓)เพียงไรหนอ ?”
    ข้าพระองค์จึงตอบไปว่า “ท่านผู้เจริญ เราทัศนาพุทธเกษตรองค์สมเด็จพระศากยมุนีพุทธเจ้า พร้อมทั้งมหาตรีสหัสสโลกธาตุ ดุจเล็งดูผลมะขามป้อมในฝ่ามือ”
    “สมัยนั้น วิมลเกียรติคฤหบดีได้เข้ามาพูดกับข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าอนุรุทธ์ ทัศนวิสัยแห่งทิพยจักษุของพระคุณนั้น พระคุณแลดูด้วยจิตปรุงแต่งในลักษณะฤาไม่ หรือว่าแลดูด้วยจิตอันปราศจากการปรุงแต่งในลักษณะ ? หากพระคุณแลดูด้วยจิตที่ปรุงแต่งในลักษณะ ก็ชื่อว่าเป็นสังขตธรรม(๒๓๔) ย่อมมีค่าเท่ากับอภิญญา ๕ ของพวกพาหิรลัทธิ หากพระคุณแลดูด้วยจิตไม่ปรุงแต่งในลักษณะ ก็ชื่อว่าเป็นอสังขตธรรม(๒๓๕) ย่อมไม่ควรที่จักมีการเห็นอะไรอีก”
    “ข้าแต่พระสุคต เวลานั้นข้าพระองค์ต้องสงบนิ่งไป มิได้ตอบว่าอย่างไร แต่บรรดาพรหมเทพเหล่านั้น ครั้นได้สดับถ้อยคำนั้นแล้ว ต่างรู้สึกว่าเป็นถ้อยคำที่ตนไม่เคยฟังมาก่อน จึงพากันทำอภิวาทน์วิมลเกียรติคฤหบดี แล้วถามขึ้นว่า
    “ข้าแต่ท่านวิมลเกียรติผู้เจริญ ในสากลโลกนี้ ผู้ใดเล่าที่ได้บรรลุทิพยจักษุอย่างแท้จริง ?”
    คฤหบดีนั้นตอบว่า “มีอยู่ คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้บรรลุทิพยจักษุอย่างแท้จริง ทรงอยู่ในสมาธิโดยมิขาด เล็งแลเห็นสรรพพุทธเกษตรทั้งปวง มิได้เห็นโดยอาศัยจิตปรุงแต่งในลักษณะหรือเห็นโดยจิตไม่ปรุงแต่งในลักษณะ”
    “พรหมราชอลังการวิสุทธิ พร้อมพรหมบริษัทอีก ๕๐๐ องค์ ได้สดับธรรมกถานี้แล้ว ต่างก็ตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วพากันอภิวาทน์บาทของวิมลเกียรติคฤหบดี อันตรธานหายไปในบัดดลนั้น โดยเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงไม่เหมาะสมที่จะไปเยี่ยมไข้คฤหบดีนั้นพระพุทธเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพุทธบรรหารให้พระอุบาลีไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ พระอุบาลีกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสม ควรที่จักไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ของอุบาสกนั้นหรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์มาตามระลึกได้อยู่ว่า สมัยหนึ่ง มีภิกษุสองรูปประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติ(๒๓๖) เธอมีความสำนึกละอายในอาบัติ(๒๓๗)นั้น ไม่กล้าจักกราบทูลไต่ถามโทษแห่งอาบัติกับพระสุคตเจ้าได้ จึงได้มาไต่ถามข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่ท่านอุบาลีผู้เจริญ เราทั้งสองต้องอาบัติล่วงพระวินัยบัญญัติ มิอาจกราบทูลถามพระพุทธองค์ได้ ขอท่านผู้เจริญโปรดได้เมตตาช่วยตัดวิมติกังขา(๒๓๘) เพื่อเราทั้งสองจักได้พ้นอาบัติด้วยเถิด
    “ข้าพระองค์จึงได้ชี้แจงโดยสมควรแก่พระธรรมวินัย ครั้งนั้นวิมลเกียรติคฤหบดี ได้เข้ามากล่าวกับข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าอุบาลี ขอพระคุณอย่าได้เพิ่มโทษผิดให้กับพระภิกษุสองรูปนี้เลย พระคุณควรจะสอนให้ดับโทษที่สมุฏฐาน(๒๓๙)โดยตรงดีกว่า ไม่พึงก่อวิปฏิสารจิต(๒๔๐)แก่ท่านทั้งสองรูป ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ก็เพราะว่าสภาวะแห่งอาบัติโทษนั้น มิได้อยู่ภายใน มิได้อยู่ภายนอก และมิได้อยู่ ณ ท่ามกลาง สมดั่งพระพุทธภาษิตที่ว่า เมื่อจิตเศร้าหมอง สัตว์ก็ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เศร้าหมอง เมื่อจิตผ่องแผ้ว สัตว์ก็ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ผ่องแผ้ว ก็ธรรมชาติแห่งจิตนั้น ไม่ตั้งอยู่ภายใน ไม่ตั้งอยู่ภายนอก และไม่ตั้งอยู่ ณ ท่ามกลาง ธรรมชาติแห่งจิตเป็นอย่างไร ธรรมชาติแห่งอาบัติโทษก็ย่อมมีอุปมาดุจเดียวกัน ธรรมทั้งปวงมีสภาพอย่างเดียวกัน เพราะสิ่งทั้งปวง ย่อมไม่พ้นจากความเป็น “ตถตา(๒๔๑)” เช่นเดียวกับพระคุณท่านอุบาลีเอง เมื่อสมัยที่จิตของพระคุณหลุดพ้นจากอาสวกิเลส จิตในสมัยนั้นจักมีความเศร้าหมองฤาไม่ ?”
    ข้าพระองค์ตอบว่า “หามิได้”
    วิมลเกียรติคฤหบดีจึงว่า “ธรรมชาติจิตของสรรพสัตว์ ก็ปราศจากความเศร้าหมองโดยนัยเดียวกัน
    ข้าแต่พระคุณเจ้าอุบาลี วิกัลปสัญญา(๒๔๒)ชื่อว่าเป็นธรรมเศร้าหมอง ความพ้นจากวิกัลปสัญญาชื่อว่าเป็นธรรมบริสุทธิ์ วิปลาสสัญญา(๒๔๓)ชื่อว่าเป็นธรรมเศร้าหมอง ความพ้นจากวิปลาสสัญญาชื่อว่าเป็นธรรมบริสุทธิ์ ความยึดถือในตัวตนชื่อว่าธรรมเศร้าหมอง ความพ้นจากความยึดถือตัวตนชื่อว่าธรรมบริสุทธิ์ พระคุณท่านอุบาลีผู้เจริญ อันธรรมทั้งปวงนั้นเป็นธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ปราศจากแก่นสาร ความดำรงมั่นเหมือนมายา เหมือนสายฟ้าแลบ ธรรมทั้งปวงไม่เป็นคู่ แม้เพียงชั่วขณะจิตหนึ่งก็ไม่ตั้งมั่นอยู่ได้ ธรรมทั้งปวงสำเร็จมาจากวิกัลปทิฏฐิ(๒๔๔)เหมือนความฝัน เหมือนพยับแดด เหมือนเงาดวงจันทร์ในน้ำ เหมือนเงาในกระจก ล้วยอุบัติมาจากวิกัลปสัญญา ผู้ที่เข้าถึงสถานะความจริงอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติพระวินัย และชื่อว่าเป็นผู้แตกฉานเจนจบในพระวินัยโดยแท้จริง.”
    ภิกษุทั้งสองรูป ได้กล่าวสรรเสริญขึ้นว่า “ท่าน ผู้เจริญเป็นผู้มีปัญญาเยี่ยมยอดโดยแท้หนอ แม้แต่ท่านพระอุบาลีก็ยังไม่อาจเปรียบปานได้ ขนาดเป็นเอตทัคคะ(๒๔๕)ทางพระวินัยก็ยังไม่สามารถจักแสดงถึงเช่นนี้ได้.”
    ข้าพระองค์จึงกล่าวตอบไปว่า “ยกพระผู้มีพระภาคเสียแล้วก็ไม่มีพระสาวกหรือพระโพธิสัตว์ได ๆ ที่จักมีสติปัญญาปฏิภาณโวหารสามารถแหลมลึกเช่นอุบาสกผู้นี้ได้”
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (ต่อครับ)
    สมัยนั้น พระภิกษุสองรูป มีวิมติกังขาไปปราศจากแล้ว ได้ตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พร้อมกับตั้งจิตปฎิธานว่า “ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีสติปัญญา ปฏิภาณสามารถอย่างเดียวกันนี้ทั่วหน้าเถิด.”
    เพราะเหตุฉะนี้แล พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ไม่เหมาะสมควรแก่การไปเยี่ยมไข้ของคฤหบดีนั้น.”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพุทธดำรัสให้พระราหุลเป็นผู้ไปเยี่ยมไข้ พระราหุลกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสมควรไปเป็นผู้เยี่ยมไข้คฤหบดีนั้นหรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน ? ข้าพระองค์ยังระลึกได้อยู่ว่า สมัยหนึ่ง คฤหบดีทั้งหลายชาวเมืองเวสาลีได้เข้ามาหาพระองค์ กระทำอภิวาทน์ แล้วกล่าวขึ้นว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าราหุลผู้เจริญ พระคุณเป็นโอรสผู้ประเสริฐของพระพุทธองค์ แต่พระคุณสละจักรพรรดิสมบัติออกบรรพชา(๒๔๖)บำเพ็ญวิราคธรรม(๒๔๗) ก็การประพฤติเนกขัมมจริยา(๒๔๘)ดังกล่าวนั้น จักมีคุณประโยชน์ประการใดบ้าง ?”
    “ข้าพระองค์จึงได้แจกแจงเนกขัมมานิสงส์(๒๔๙) โดยนัยประการต่าง ๆ ให้ฟัง ครั้งนั้น วิมลเกียรติคฤหบดีได้เข้ามากล่าวกับข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าราหุล ขอพระคุณโปรดอย่าได้แสดงถึงเนกขัมมานิสงส์ได ๆ เลย ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤๅ เพราะเมื่อกล่าวโดยปรมัตถ์(๒๕๐)แล้ว ก็ไม่มีสภาวะใดที่จะพึงเรียกว่าคุณประโยชน์ หรือจักพึงเรียกว่าบุญญานิสงส์นั่นเอง และนั่นจึงเป็นอรรถรส(๒๕๑)อันแท้จริงของการออกบรรพชา โดยนัยแห่งสังขตธรรม จึงกล่าวบัญญัติได้ว่า มีสภาวะที่เป็นคุณประโยชน์ มีสภาวะที่เป็นบุญญานิสงส์ แต่การออกบรรพชาบำเพ็ญเนกขัมมจริยานั้น ก็เพื่อบรรลุถึงธรรมอันเป็นอสังขตะ(๒๕๒) ก็ในอสังขตธรรมนั้น ย่อมปราศจากสภาวะอันจักพึงบัญญัติเรียกได้ว่าเป็นคุณประโยชน์ฤๅเป็นบุญญานิ สงส์ ข้าแต่ท่านราหุลผู้เจริญ ผู้ที่ออกบรรพชาโดยแท้จริงนั้นย่อมไม่ยึดถือว่า มีนั่น มีนี่ หรือยึดถือในท่ามกลาง เขาย่อมห่างไกลจากทิฏฐิ ๖๒(๒๕๓) ตั้งอยู่ในนิพพาน อันเป็นธรรมซึ่งบัณฑิตผู้มีปัญญาจักพึงบรรลุเป็นธรรมซึ่งพระอริยเจ้าทั้ง หลายดำเนินตามอยู่ เขาย่อมอาจสามารถทำลายเหล่ามารทั้งหลาย ข้ามพ้นจากปัญจคติ(๒๕๔) เป็นผู้มีปัญจจักษุ(๒๕๕)อันหมดจด ถึงพร้อมด้วยปัญจพละ(๒๕๖)ตั้งอยู่ในปัญจินทรีย์(๒๕๗) ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายพ้นจากสรรพอกุศลธรรม ข่มรอนพวกพาหิรลัทธิได้ เป็นผู้พ้นจากข่ายแห่งสมมติบัญญัติ(๒๕๘) ดังอุบล(๒๕๙)ซึ่งบานพ้นจากเปือกตม เป็นผู้ปราศจากสังโยชน์เครื่องร้อยรัด ไม่มีอหังการ(๒๖๐)และมมังการ ไม่มีอนุภูตธรรม(๒๖๑) ไม่มีความฟุ้งซ่านวิปฏิสาร(๒๖๒)ใด ๆ ภายในจิต มีแต่ความปีติสุข เป็นผู้แผ่ธรรมคุ้มครองสรรพสัตว์ ให้ได้เข้าถึงสภาพธรรมดุจเดียวกับตนด้วย มีปกติอยู่ในฌานสมาธิ ห่างไกลจากปวงบาปโทษทั้งผองหากผู้ใดทำได้เช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ออกบรรพชาที่แท้จริง.”
    ครั้นแล้ว วิมลเกียรติคฤหบดี จึงหันมากล่าวกับบุตรคฤหบดีทั้งหลายว่า “ท่านผู้เจริญ สมควรจักอุทิศตนพรรพชาในพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน ? ก็เพราะว่าการที่จักได้เกิดร่วมยุคร่วมสมัย มีโอกาสเห็นพระพุทธองค์เป็นการยากยิ่งนัก จึงไม่ควรพลาดโอกาสนี้เสีย.”
    บุตรคฤหบดีทั้งหลายต่างพูดขึ้นว่า “ข้าแต่ท่านคฤหบดี พวกเราได้สดับพระพุทธพจน์ว่า เมื่อบิดามารดาไม่ยินยอมอนุญาต จักออกบรรพชาอุปสมบทมิได้.”
    วิมลเกียรติคฤหบดีกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายพึงตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จักขื่อว่าได้ออกบรรพชาอุปสมบทโดยสมบูรณ์แล้ว.”
    “ครั้งนั้น บุตรคฤหบดี ๓๒ คน ต่างก็ตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ข้าพระองค์จึงไม่เหมาะสม ควรแก่การไปเยี่ยมไข้คฤหบดีนั้น พระพุทธเจ้าข้า.”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพระพุทธฎีกาให้พระอานนท์ไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ พระอานนท์กราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสม ควรแก่การไปเยี่ยมไข้คฤหบดีนั้นหรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์ยังระลึกได้อยู่ว่าสมัยหนึ่ง พระสุคตเจ้าประชวร(๒๖๓)ด้วยอาพาธเล็กน้อยจำต้องใช้น้ำนมโคมาบำบัด ข้าพระองค์ได้ถือบาตรจาริกไปยืนอยู่หน้าบ้านของมหาพราหมณ์ผู้หนึ่ง เพื่อบิณฑบาตน้ำนมโค ครั้งนั้นวิมลเกียรติคฤหบดีได้กล่าวกับข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าอานนท์ผู้เจริญ มาถือบาตรยืนอยู่ ณ ที่นี้แต่เช้าเพื่ออะไรหรือ ?”
    “ข้าพระองค์ตอบไปว่า “ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคประชวร อาพาธเล็กน้อย จำเป็นต้องใช้น้ำนคโคไปบำบัด อาตมภาพจึงมายืนอยู่ ณ ที่นี้ เพื่อสิ่งประสงค์นั้น.”
    “วิมลเกียรติคฤหบดีพูดว่า “หยุดเถอะ ! หยุดเถอะ ! พระคุณเจ้าอานนท์ อย่าได้กล่าววาจาอย่างนี้อีกเลย อันพระวรกาย(๒๖๔)ของพระพุทธองค์นั้น ย่อมสำเร็จเป็นวัชรกายสิทธิ(๒๖๕) มีสรรพบาปโทษละได้ขาดแล้วโดยสิ้นเชิง เป็นที่ประชุมแห่งสรรพกุศลธรรมทั้งปวง ที่ไหนจักมีอาพาธมาเบียดเบียนได้ที่ไหนจักต้องเดือนร้อนเพราะความเบียดเบียนนั้นเล่า ? โปรดเงียบเสียเถิดพระคุณอย่าได้กล่าวจ้วงจาบพระพุทธองค์นักเลย อย่าได้ให้พวกพาหิรชนได้สดับถ้อยคำอันหยาบช้านี้ อย่าได้ให้บรรดาทวยเทพผู้มีมหิทธิฤทธิ์(๒๖๖)กับทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในวิสุทธิพุทธเกษตรต่าง ๆ ซึ่งมาเฝ้าพระพุทธองค์สดับถ้อยคำนี้ได้ ข้าแต่พระคุณเจ้าอานนท์ แม้แต่พระเจ้าจักรพรรดิ(๒๖๗)ซึ่งอาศัยบุญญาธิการ(๒๖๘)แต่เพียงเล็กน้อย ก็ยังเป็นผู้ปราศจากพยาธิภัย(๒๖๙) จักกล่าวไปไยกับพระตถาคตเจ้าซึ่งทรงสมบูรณ์ ประชุมพร้อมด้วยบุญญาธิการอันไม่มีประมาณประเสริฐเลิศกว่าเล่า กลับไปเสียเถิดพระคุณเจ้าอย่ากระทำให้พวกเราต้องได้รับความอับอายเลย พวกพาหิรชนสมณพราหมณ์ภายนอก หากได้สดับถ้อยคำของพระคุณเจ้าแล้ว ก็จักเกิดความตรึกคิดขึ้นว่า ก็นี่จักชื่อว่าพระบรมศาสดาได้อย่างไรกัน เพราะแม้แต่โรคของตนเองยังบำบัดช่วยตนเองไม่ได้ ที่ไหนจักสามารถช่วยบำบัดโรคภัยของผู้อื่นเล่า ? ฉะนั้น พระคุณจงรีบกลับไปเงียบ ๆ อย่ากระโตกกระตากให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้ยินเป็นอันขาดเทียวหนา พระคุณเจ้าอานนท์พึงทราบไว้เถอะว่า พระวรกายที่แท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายก็คือพระธรรมกายนั้นเอง มิได้เป็นกายเกิดจากกิเลสตัณหา พระพุทธองค์เป็นพระผู้ควรบูชา ประเสริฐเลิศกว่าผู้หนึ่งผู้ใดในไตรโลก พระสรีระของพระองค์เป็นอนาสวะ(๒๗๐) มีอาสวธรรม(๒๗๑)เป็นมูลเฉท(๒๗๒)สิ้นเชิงแล้ว พระสรีระของพระองค์เป็นอสังขตะ ปราศจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งได้ ไม่ตกไปในข่ายแห่งการนับประมาณได้ ก็เมื่อพระวรกายของพระองค์มีสภาพดังกล่าวมานี้ จักมีโรคาพาธ(๒๗๓)เกิดขึ้นได้อย่างไรเล่า ?
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมัยนั้น ข้าพระองค์ได้บังเกิดความละอายเกรงกลัวในตนเองขึ้นว่า เราเป็นผู้อุปัฏฐาก(๒๗๔)ใกล้ชิดพระบรมศาสดาจักฟังพระพุทธดำรัส โดยฟังผิดไปกระนั้นฤๅ ? ทันใดนั้น ข้าพระองค์ก็ได้ยินเสียงในอากาศดังขึ้นมาว่า(พระสุรเสียงของพระองค์) ”
    “อานนท์ ! ถูกต้องแล้วตามที่คฤหบดีผู้นั้นกล่าว แต่เนื่องด้วยพระพุทธเจ้าทรงถืออุบัติมาในปัญจสหาโลกธาตุ(๒๗๕) ซึ่งมีความเสื่อม ๕ ประการจึงทรงสำแดงให้เห็นไปต่าง ๆ (มีอาพาธ) เป็นต้น เพื่อเป็นอุบายโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ จงปฏิบัติต่อไปเถิดอานนท์ บิณฑบาตน้ำนมโคต่อไปได้ โดยอย่ามีความหวั่นเกรงเลย.”
    “ข้าแต่พระสุคต ดูเถิด ! สติปัญญาปฏิภาณความสามารถของวิมลเกียรติคฤหบดีมีอยู่เห็นปานฉะนี้ โดยเหตุนั้นแล ข้าพระองค์จึงไม่เหมาะสมควรแก่การไปเยี่ยมไข้เขา พระพุทธเจ้าข้า.”

    ด้วยประการดั่งบรรยายมานี้ พระสาวกทั้ง ๕๐๐ องค์ ต่างก็กราบทูลแถลงยุบล(๒๗๖)ความเป็นมาแห่งเรื่องราวของแต่ละองค์กับพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่างกล่าวสดุดียกย่องชมเชยในพจนาท(๒๗๗)ของวิมลเกียรติคฤหบดี แต่ต่างก็ทูลด้วยเสียงอันเดียวกันว่า ตนเองไม่เหมาะสมแก่การไปเยี่ยมไข้คฤหบดีนั้น

    ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคจึงมีพุทธฎีกา(๒๗๘)ให้พระเมตไตรยโพธิสัตว์ไปเป็นผู้เยี่ยมไข้วิมลเกียรติคฤหบดี พระเมตไตรยโพธิสัตว์กราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสมควรแก่การไปเยี่ยมไข้ของอุบาสกนั้นหรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์ยังระลึกได้อยู่ว่าสมัยหนึ่งข้าพระองค์กำลังแสดงธรรมว่าด้วยปฏิปทาแห่งอนิวรรตนิยภูมิ(๒๗๙)แก่ดุสิตเทวราช(๒๘๐)พร้อมทั้งเทวบริษัทอยู่ ครั้งนั้นวิมลเกียรติคฤหบดีได้เข้ามากล่าวกับข้าพระองค์ว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าเมตไตรยผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์พระคุณว่า พระคุณยังเกี่ยวเนื่องกับชาติอีกชาติเดียว ก็จักได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระคุณจักเอาชาติใดในการรับลัทธยาเทสพุทธพยากรณ์(๒๘๑)เล่า จักเอาอดีตชาติฤๅ ? อนาคตชาติฤๅ ? หรือจักเอาปัจจุบันชาติฤๅ ? ถ้าเป็นอดีตชาติไซร้ อดีตก็ชื่อว่าล่วงลับไปแล้ว หากเป็นอนาคตชาติเล่า อนาคตก็ยังเป็นธรรมที่ยังไม่มาถึง หรือจักเป็นปัจจุบันชาติ ปัจจุบันชาติก็ปราศจากสภาวะความดำรงตั้งมั่นอยู่ได้ สมดังพระพุทธวจนะที่ว่า ดูก่อนภิกษุ ในกาลใดที่ชาติของเธอบังเกิดขึ้นในกาลนั้น ก็ชื่อว่าชรา เป็นภังคะ(๒๘๒)ด้วย ถ้าพระคุณจักเอาอนุตปาทะ(๒๘๓) ความไม่มีชาติรับลัทธยาเทสพุทธพากรณ์ไซร้ ความไม่มีชาติเป็นอนุตปาทธรรม(๒๘๔)นั้น แท้จริงก็คือ ตัตตวสัตยธรรม(๒๘๕) ก็ในตัตตวสัตยธรรมนั้น ย่อมไม่มีการให้พยากรณ์ และไม่มีการบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อเป็นดังนี้พระคุณเจ้าเมตไตรยจักรับพุทธพยากรณ์ว่าพระคุณเป็นเอกชาติปฏิพัทธะ(๒๘๖)ยังเกี่ยวเนื่องกับชาติอีกเพียงชาติเดียว ก็จักตรัสรู้อย่างไรได้เล่า ? หรือจักกล่าวว่าได้รับพุทธพยากรณ์ในความเกิดขึ้นแห่งตถตาฤๅ ? หรือจักกล่าวว่าได้รับพุทธพยากรณ์ในความดับไปแห่งตถตาฤๅ ? ถ้าเป็นการรับพุทธพยากรณ์ในความเกิดขึ้นแห่ง ตถตาไซร้ โดยความจริงแล้ว ตถตา ย่อมไม่มีความเกิดขึ้น ถ้าเป็นการรับพุทธพยากรณ์ในความดับไปแห่ง ตถตาไซร้ โดยความจริงแล้ว ตถตา ย่อมไม่มีความดับไป สรรพสัตว์ย่อมเป็น ตถตา นี้ แม้พระคุณท่านเมตไตรยเองก็เป็น ตถตา นี้ด้วย ฉะนั้น ถ้าพระคุณได้รับพุทธพยากรณ์ สรรพสัตว์ก็สมควรจักได้รับพุทธพยากรณ์ด้วยข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ก็เพราะว่าอันธรรมชาติแห่ง ตถตา นั้น ย่อมไม่มีความเป็นหนึ่งหรือความเป็นสองนั้นเอง หากพระคุณได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ สรรพสัตว์ก็สมควรจะต้องบรรลุ ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ทั้งนี้เพราะธรรมชาติแห่งสรรพสัตว์นั้น โดยเนื้อแท้แล้วก็คือธรรมชาติแห่งโพธินั่นเอง และถ้าพระคุณดับขันธปรินิพพาน(๒๘๗)ลง สรรพสัตว์ก็สมควรจักต้องดับขันธปรินิพพานด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงรู้ชัดว่าธรรมชาติของสรรพสัตว์นั้น มีความดับรอบเป็นสภาพ คือพระนิพพานธาตุนั่นเอง มิจำเป็นต้องมีอะไรมาดับรอบกันอีก เพราะฉะนั้นแล ข้าแต่ะพระคุณเจ้าเมตไตรยผู้เจริญ พระคุณโปรดอย่าได้แสดงธรรมอย่างนี้ (คือแสดงปฏปทาแห่งอนิวรรตรนิยภูมิ) ลวงเทวบริษัทเลย ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า โดยประมัตถ์แล้ว ก็ไม่มีผู้ตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเลย พระคุณควรเทศนาสอนให้เทพยดาเหล่านี้ละวิกัลปทิฏฐิ(ความคิดเห็นจากการชักนำของกิเลส)ในโพธิเสีย ด้วยเหตุเป็นไฉน ? เพราะ ธรรมชาติแห่งโพธินั้น จักบรรลุด้วยกายก็มิได้ ฤๅจักบรรลุด้วยจิตก็หามิได้ ธรรมชาติที่ดับรอบสนิทโดยไม่มีเศษเหลือนั่นแลคือโพธิ(๒๘๘) เพราะดับเสียซึ่งปวงลักษณะเสียได้ ฯลฯ
    “ข้าแต่พระสุคต เมื่อวิมลเกียรติคฤหบดีแสดงธรรมนี้จบลง มีเทพยดา ๒๐๐ องค์ได้บรรลุอนุตปาทธรรมกษานติ ด้วยเหตุประการฉะนี้แล ข้าพระองค์จึงไม่เหมาะสมควรแก่การไปเยี่ยมไข้ของเขา พระพุทธเจ้าข้า.”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพุทธดำรัสให้พระประภาลังการกุมารไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ พระประภาลังการกุมารกราบทูลว่า
    “ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสม ควรแก่การไปเยี่ยมไข้ของเขาพระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน ? ข้า พระองค์ยังระลึกได้อยู่ว่าสมัยหนึ่ง ข้าพระองค์เดินทางออกจากเมืองเวสาลี ครั้งนั้น วิมลเกียรติคฤหบดีก็กำลังเดินทางเข้ามาสู่นครเวสาลี เมื่อพบกัน ข้าพระองค์ได้แสดงคารวะแล้วถามท่านว่า “ท่านคฤหบดีมาแต่ไหนเทียว ?”
    วิมลเกียรติคฤหบดีตอบว่า “ผมมาแต่ธรรมมณฑล(๒๘๙).”
    ข้าพระองค์จึงถามต่อไปว่า “ธรรมมณฑลไหน ?”
    “ท่านตอบว่า จิตที่ตั้งไว้ตรงนั้นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะปราศจากความล่อลวง การปฏิบัติธรรมนั้นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะยังให้ลุแก่ปฏิเวธ(๒๙๐) จิตที่ลึกซึ้งนั้นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งกุศลธรรมอันสมบูรณ์พร้อม โพธิจิตนั้นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะปราศจากความหลงผิดใด ๆ ทานบริจาคนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ สีลสังวรนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะยังปฎิธานให้สำเร็จ ขันตินั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะจิตไม่บังเกิดความเบียดเบียนเป็นอุปสรรคในสรรพสัตว์ วิริยะนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑลเพราะปราศจากโกสัชชะ ฌานสมาธินั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะมีจิตอันฝึกฝนอ่อนโยนเป็นกรรมนียะ(๒๙๑)แล้ว ปัญญานั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะอรรถว่ารู้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวงโดยประจักษ์เมตตานั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะยังความสุขให้เกิดแก่สรรพสัตว์โดยเสมอภาพกรุณานั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะสามารถทำให้อดกลั้นต่อความทุกข์ในการโปรดสัตว์ได้ มุทิตานั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะทำให้ชื่นชมยินดีในธรรม อุเบกขานั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะเป็นธรรมซึ่งยังความชัง ความรักให้สมุจเฉทไป อภินิหาร(๒๙๒)นั่นแลชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะยังฉฬภิญญาให้สำเร็จไพบูลย์(๒๙๓)ได้ วิมุตตินั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑลเพราะสละเสียซึ่งสรรพธรรมได้ อุปายนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะเป็นเหตุให้สั่งสอนโปรดสรรพสัตว์ได้ สังคหวัตถุ ๔(๒๙๔) นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะเป็นธรรมซึ่งสงเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย พหูสูตนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะเป็นเหตุชักจูงให้ปฏิบัติตามที่ได้สดับศึกษามา การควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะนำมาซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะ(๒๙๕)ได้โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะนำให้ปล่อยวางสังขารธรรม(๒๙๖)ได้ จตุราริยสัจนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะเป็นสภาพจริงไม่ล่อลวงโลก ปฏิจจสมุปบาท(๒๙๗)นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑลเพราะอวิชชา(๒๙๘) ฯลฯ ชรามรณะนั้นล้วนเป็นอนัตตธรรม(๒๙๙) กิเลสาสวะ(๓๐๐)ทั้งปวงนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะความรู้แจ้งตามสภาพของมัน* สรรพสัตว์นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะรู้แจ้งในหลักอนัตตา ธรรมทั้งปวงนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะทราบชัดว่าธรรมทั้งปวงนั้นเป็นสุญญตา มารวิชัยนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะทำให้ไม่หวั่นไหวกำเริบ ภพทั้ง ๓ นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะไม่ยึดเอาคติแห่งภพนั้น สิงหนาท(๓๐๑)นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะปราศจากความหวั่นหวาดจากภัย พละ อุภยะ(๓๐๒) อเวณิกธรรมนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะปราศจากอกุศลโทษทั้งหลาย ไตรวิชชา(๓๐๓)นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะไม่มีอาวรณธรรม(๓๐๔)ใด ๆ อื่น ความที่ชั่วขณะจิตเดียวก็สามารถรู้แจ้งสรรพธรรมได้นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล เพราะยังสัพพัญญุตญาณ(๓๐๕)ให้สำเร็จด้วยประการดังที่พรรณนามานี้ ดูก่อนกุลบุตร พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อโปรดสรรพสัตว์ การกระทำของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใด จะเดิน จะเหิน จะไป จะมา ท่านพึงกำหนดรู้ไว้เถอะว่า พระโพธิสัตว์นั่นชื่อว่ามาจากธรรมมณฑลตั้งอยู่ในธรรมของพระพุทธองค์แล.”
    “เมื่อวิมลเกียรติคฤหบดีแสดงธรรมกถานี้จบลง มีเทพยดา ๕๐๐ องค์ตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยเหตุประการฉะนี้แล ข้าพระองค์จึงไม่เหมาะสม ควรแก่การไปเยี่ยมไข้คฤหบดีผู้นั้นพระพุทธเจ้าข้า.”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพระดำรัสให้พระวสุธาธรโพธิสัตว์ไปเป็นผู้เยี่ยมไข้ พระวสุธาธรโพธิสัตว์กราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสมควรแก่การไปเยี่ยมไข้ของคฤหบดีผู้นั้นหรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์ยังตามระลึกได้อยู่ว่า สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อาศัยอยู่ใจเคหะอันสงัดวิเวก ครั้งนั้น พญามารสวัตดีมีทิพยลักษณ์(๓๐๖)ดุจท้าวศักรินทรเทวราช มีนางเทพธิดา ๑๒,๐๐๐ แวดล้อมเป็นบริวาร บำเรอด้วยทิพยสังคีต(๓๐๗) พากันมาอภิวาทน์บาทของข้าพระองค์ กระทำอัญชลีกรรม(๓๐๘)ด้วยความเคารพแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ข้าพระองค์สำคัญผิดว่า เป็นท้าวศักรินทร์เทวราชจริง ๆ จึงได้กล่าวปฏิสันถาร(๓๐๙)ว่า
    “ดูก่อนท้าวโกสีย์ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว พระองค์ได้เสวยวิบาก(๓๑๐)แห่งบุญเห็นปานนี้ ขอพระองค์อย่าได้ประมาทพึงพอใจแต่เพียงเท่านี้เลย พึงพิจารณาเบญจพิธกามคุณ ๕(๓๑๑) ว่าเป็นสิ่งอนิจจัง เพื่อเจริญกุศลธรรมไว้เป็นรากฐานยิ่งขึ้นไปอีก พระองค์พึงอาศัยสรีระ ชีวิต และโภคสมบัตินี้แสวงหาธรรมอันมีสาระเถิด.”
    พญามารได้ตอบข้าพระองค์ว่า “ข้าแต่ท่านมุนี ข้าพเจ้าขอถวายเทพธิดา ๑๒,๐๐๐ นี้แกท่าน เพื่อเอาไว้ใช้งานมีการปัดกวาดเสนาสนะ(๓๑๒)เป็นต้น.”
    ข้าพระองค์ได้ปฏิเสธว่า “ดูก่อนท้าวโกสีย์ พระองค์อย่าได้ปรารถนาให้สิ่งอันไม่ชอบธรรมแก่อาตมภาพ ซึ่งเป็นสมณศากยบุตร(๓๑๓)เลย สิ่งนี้ไม่สมควรแก่สมณวิสัย(๓๑๔).”
    ข้าพระองค์ไม่ทันจะพูดจบ วิมลเกียรติคฤหบดีก็ตรงมากล่าวกับข้าพระองค์ว่า
    “นั่นไม่ใช่ท้าวศักรินทร์หรอก เป็นมารจำแลงมาผจญทำลายตบะ(๓๑๕)ท่านต่างหากเล่า.”
    แล้วคฤหบดีนั้นก็หันมาปราศรัยกับมารว่า “บรรดาเทพธิดาเหล่านี้จงยกให้แก่เราได้ เพราะตัวเรานี้แหละ เป็นผู้เหมาะควรแก่การรับของของท่านนี้.”
    สมัยนั้น พญามารมีความหวาดกลัว เกิดความปริวิตกว่า วิมลเกียรติคฤหบดี จักเล่นงานเราหรืออย่างไร จึงจักอันตรธานหายไปจากที่นั้นแต่ก็ไม่บังเกิดผล แม้จักบันดาลด้วยมหิทธิฤทธิ์นานัปการก็ไปจากที่นั้นหาได้ไม่ ทันใดนั้น มีเสียงนฤโฆษ(๓๑๖)ดังมาจากอากาศว่า(เป็นเสียงของท่านวิมลเกียรติสำแดงขึ้น)
    “วสวัตดีเอ๋ย เจ้าจงมอบเทพธิดาเหล่านี้ให้เขาเสียเถิด แล้วเจ้าจึงกลับไปได้.”
    “พญามารมีความกลัวนัก จึงยอมมอบเทพธิดาบริวารให้แก่วิมลเกียรติคฤหบดีไปตามคำบัญชานั้น.”
    ครั้งนั้นท่านวิมลเกียรติคฤหบดี ได้สอนเทพธิดาทั้งปวงว่า พญามารได้มอบเธอทั้งหลายแก่เราแล้ว บัดนี้เธอทั้งปวงจงตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเทอญ” แล้วพร่ำสอนโอวาทานุศาสน์(๓๑๗)เป็นอันมาก ยังเทพธิดาทั้งนั้นให้มีจิตตั้งมั่นอยู่ใจธรรมานุธรรมปฏิบัติ(๓๑๘) ในที่สุดคฤหบดีนั้นกล่าวว่า
    “บัดนี้ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ก็มีจิตตั้งมั่นอยู่ในธรรมานุธรรมปฏิบัติแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมสุขเป็นที่ยินดีโดยตนเอง ฉะนั้น อย่าพึงยินดีในเบญจพิธกามคุณ ๕ อีกต่อไป”
    เทพธิดาเหล่านั้นจึงถามขึ้นว่า “อะไรชื่อว่ามีธรรมสุขเป็นที่ยินดี ?”
    ท่านวิมลเกียรติคฤหบดีตอบว่า “ยินดี ที่มีศรัทธาปสาทะ(๓๑๙)ในพระพุทธองค์เป็นนิตย์ ยินดีในการสดับพระสัทธรรมเป็นนิตย์ ยินดีในการได้บูชาสักการะพระสงฆเจ้าเป็นนิตย์ ยินดีในการพ้นจากเบญจพิธกามคุณเป็นนิตย์ ยินดีในการพิจารณาเห็นปัญจขันธทั้ง ๕ มีอุปมาดุจโรคร้าย ยินดีในการพิจารณาเห็นมหาภูตรูปทั้ง ๔(๓๒๐) มีอุปมาดุจงูพิษ ยินดีในการพิจารณาเห็นสฬายตนะภายใน(๓๒๑)มีอุปมาดุจเรือนร้าง ยินดีในการคุ้มครองรักษาจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมานุธรรมปฏิบัติ ยินดีในการบำเพ็ญอัตถประโยชน์(๓๒๒)ต่อสรรพสัตว์ ยินดีในการเคารพบูชาคุณครูบาอาจารย์ ยินดีในการบริจาคมหาทาน ยินดีในการมีสีลสังวรเคร่งครัด ยินดีในการมีขันติโสรัจจะ ยินดีในการยังกุศลสโมธาน(๓๒๓)ให้บังเกิดโดยมิย่นย่อ ยินดีในฌานสมาธิอันไม่ฟุ้งซ่าน ยินดีในปัญญาอันบริสุทธิ์สะอาด ยินดีในการมุ่งจิตต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ยินดีในการบำราบเหล่ามาร ยินดีในการยังสรรพกิเลสให้ขาดเป็นสมุจเฉท ยินดีในการยังพุทธเกษตรให้บริสุทธิ์หมดจด ยินดีในการยังมหาปุริสลักษณะ(๓๒๔)ให้สำเร็จจึงสร้างปวงกุศลสมภาร(๓๒๕) ยินดีในกิจอลังการธรรมมณฑล(๓๒๖) ยินดีในการสดับพระสัทธรรมอันเป็นส่วนลึกซึ้ง ก็ไม่พึงบังเกิดความท้อถอยเหนื่อยหน่ายหวั่นเกรง ยินดีในการบรรลุวิโมกข์ ฯลฯ นี้แลชื่อว่าพระโพธิสัตว์มีธรรมสุขเป็นที่ยินดี.”
    ในลำดับนั้น พญามารวสวัตดีได้กล่าวแก่บรรดาเทพธิดาว่า “เราปรารถนาจักกลับคืนสู่เทพมณเฑียร(๓๒๗)พร้อมกับท่านทั้งหลาย.”
    เทพธิดาบริษัทตอบสนองว่า “พวกหม่อมฉันพร้อมด้วยท่านคฤหบดีผู้นี้มีธรรมสุขด้วยกันอยู่ พวกหม่อมฉันได้เสวยสุขอันประณีตอย่างยิ่ง มิได้ยินดีปรารถนาต่อเบญจพิธกามสุขอีกต่อไปแล้ว.”
    พญามารจึงหันมาร้องขอกับวิมลเกียรติคฤหบดีว่า
    “ข้าแต่ท่านคฤหบดี ขอท่านโปรดสละเทพธิดาทั้งปวงนี้เถิดบุคคลผู้อาจจะสละสิ่งที่เห็นปานนี้ได้ ย่อมมีชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์โดยแท้.”
    ท่านวิมลเกียรติกล่าวว่า “เราน่ะสละให้แล้วละท่านจงกลับคืนไปเสียเถอะ จงยังสรรพสัตว์ให้เข้าถึงความสมบูรณ์แห่งธรรมปณิธิ(๓๒๘)โดยทั่วหน้าเทอญ.”
    สำดับนั้นเทพธิดาบริษัทก็ถามขึ้นว่า “ข้าแต่ท่านคฤหบดี พวกเราทั้งหมดนี้ จักพึงอาศัยอยู่ในมารมณเฑียรด้วยฐานะอย่างไรหนอแล ?”
    วิมลเกียรติคฤหบดีจึงอธิบายว่า “ดูก่อนภคินี(๓๒๙)ทั้งหลาย” มีธรรมบทอันหนึ่งเรียกว่า อนันตาประทีป(๓๓๐) ท่านทั้งปวงพึงศึกษากำหนดไว้ ที่ชื่อว่าอนันตประทีปนั้นอุปมาว่า ประทีปดวงหนึ่งสามารถเป็นสมุฏฐานจุดประทีปให้ลุกโพลง ขึ้นอีกหลายร้อยหลายพันดวง ยังผู้ตกอยู่ในความมืดให้ได้รับแสงสว่าง และแสงสว่างนี้ก็มิรู้จักขาดสิ้นไปได้ โดยประการฉะนี้แลภคินี้ทั้งหลาย พระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ๆ ย่อมเป็นผู้กล่าวแนะนำชี้ทางแก่สรรพสัตว์อีกหลายร้อยหลายพัน ยังสัตว์เหล่านั้นให้ตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีจิตที่มุ่งในธรรมานุธรรมปฏิบัติไม่รู้จักขาดสิ้น แสดงพระสัทธรรมตามฐานะอันควร ยังสรรพกุศลสมภารของตนเองให้ทวีไพบูลย์ขึ้น นี้แลชื่อว่า อนันตประทีป ท่านทั้งปวงมาตรว่าจักอาศัยอยู่ในวิมานมาร ก็จงอาศัยอนันตประทีปนี้ ยังเทพยดาเทพธิดาจำนวนมากเป็นอประไมย(๓๓๑)เหล่านี้ ให้เกิดจิตปณิธานในพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณการกระทำดังนี้ ชื่อว่าท่านทั้งหลายได้สนองพระคุณของพระพุทธองค์ กับทั้งชื่อว่าได้บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์สุขให้เกิดแก่สรรพสัตว์ด้วย.”
    “ครั้งนั้น เทพธิดาบริษัท ได้อภิวาทน์บาทของท่านวิมลเกียรติด้วยเศียรเกล้า แล้วติดตามพญามารคืนสู่สรวงสวรรค์ ได้หายไปในบัดดลนั้นเอง ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค วิมลเกียรติคฤหบดีอุดมด้วยมหิทธานุภาพ(๓๓๒)อันเป็นอิสระ ประกอบทั้งปัญญาปฏิภาณโกศลเห็นปานฉะนี้ ข้าพระองค์จึงไม่หมาะสมควรที่จักไปเยี่ยมไข้ของเขา พระพุทธเจ้าข้า.”

    พระผู้มีพระภาคจึงมีพระพุทธบรรหารให้บุตรคฤหบดี ผู้ชื่อว่าสุทัตตะเป็นผู้ไปเยี่ยมไข้ สุทัตตะกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค แม้ข้าพระองค์ก็ไม่เหมาะสม ควรแก่การไปเยี่ยมไข้คฤหบดีนั้นหรอก พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ข้าพระองค์ยังตามระลึกได้อยู่ว่า สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์ได้จัดงานกุศลบำเพ็ญมหาทานบริจาค ณ คฤหาสน์ของท่านบิดา บริจาคทำบุญสักการะในสมณะทั้งหลาย ในพราหมณ์ทั้งหลาย กับทั้งบรรดานักบวชภายนอกศาสนาอื่น ๆ คนทุคตะเข็ญใจ พวกวรรณะต่ำ คนปราศจากญาติมิตรไร้ที่พึ่งและยาจก มีกำหนดครบถ้วน ๗ วัน ครั้งนั้น วิมลเกียรติคฤหบดีได้มาในท่ามกลางงานโอยทานนี้ และกล่าวกะข้าพระองค์ว่า
    “ดูก่อนบุตรคฤหบดี อันมหาทานสันนิบาต(๓๓๓)นี้ เขาไม่จัดทำกันอย่างเช่นที่ท่านทำอยู่นี้หรอก ท่านพึงบำเพ็ญธรรมทานสันนิบาต(๓๓๔)เป็นนิตย์ วัตถุทานเหล่านี้จักทำไปทำไม ?”
    ข้าพระองค์จึงถามว่า “ข้าแต่ท่านคฤหบดี อะไรเล่าชื่อว่าธรรมทานสันนิบาต ?”
    ท่านตอบว่า “อันธรรมทานสันนิบาตนั้น ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ในกาลเดียวบูชาสักการะในสรรพสัตว์ได้ทั่วถึงนี้แลชื่อว่าธรรมทานสันนิบาต.”
    ข้าพระองค์ถามอีกว่า “นั่นคืออะไร ?”
    ท่านตอบว่า “เพราะมีความตรัสรู้เป็นที่ตั้ง พึงยังเมตตาจิตให้เกิดขึ้น เพราะจักโปรดสรรพสัตว์เป็นที่ตั้ง พึงยังพระมหากรุณาจิตให้เกิดขึ้น เพราะจักธำรงพระศาสนาให้ยั่งยืนนาน พึงยังมุทิตาจิตให้เกิดขึ้น เพราะจักสงเคราะห์ปัญญาให้เกิดขึ้น พึงปฏิบัติในอุเบกขา เพราะจักสงเคราะห์ คนมัจฉริยะ(๓๓๕)โลภมาก พึงยังทานบารมีให้เกิดขึ้น เพราะจักสั่งสอนคนทุศีล พึงยังศีลบารมีให้เกิดขึ้น เพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา พึงยังขันติบารมีให้เกิดขึ้น เพราะการหลุดพ้นจากลักษณะแห่งกายและจิต พึงยังวิริยะบารมีให้เกิดขึ้น เพราะการบรรลุความตรัสรู้ พึงยังฌานบารมีให้เกิดขึ้น เพราะการสำเร็จในสัพพัญญุตญาณ พึงยังปัญญาบารมีให้เกิดขึ้น แสดงธรรมสั่งสอนปวงสัตว์ แต่ก็มีสุญญตสัญญาเกิดอยู่เป็นปกติ ไม่ต้องสละสังขตธรรม แต่ก็ยังอนิมิตตธรรม(๓๓๖)ให้เกิดได้ แม้จักแสดงให้เห็นว่าต้องเสวยภพชาติอยู่ แต่ก็ไม่ยึดถือว่าเป็นกรรม เพราะธำรงรักษาพระศาสนา พึงยังอุปายพละให้เกิดขึ้น เพราะทำการโปรดสรรพสัตว์ พึงยังสังคหวัตถุธรรมให้เกิด ฯลฯ ปฏิบัติตามกุศลธรรมานุธรรมวิถี พึงยังอาชีวะให้บริสุทธิ์ มีจิตหมดจด หฤหรรษ์อยู่ พึงเข้าไกล้บัณฑิตแลไม่รังเกียจพาลชน พึงควบคุมรักษาจิตไว้ให้อยู่ในอำนาจ ฯลฯ ละสรรพกิเลสให้เป็นสมุจเฉทพร้อมทั้งสรรพอาวรณธรรมและสรรพอกุศลธรรมให้หมดไป ยังสรรพกุศลธรรมให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุสัพพัญญุตญาณ ยังสรรพกุศลธรรมและโพธิปักขิยธรรม อันเกื้อกูลแก่ความตรัสรู้ให้อุบัติขึ้น ด้วยประการดังนี้แลกุลบุตร ! จึงชื่อว่าธรรมทานสันนิบาต พระโพธิสัตว์องค์ใด ซึ่งสถิตอยู่ในธรรมทานสันนิบาตนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นมหาทานบดี(๓๓๗) และชื่อว่าเป็นบุญเขตอันประเสริฐของโลกทั้งปวงด้วย.”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อวิมลเกียรติคฤหบดีแสดงธรรมจบลงในพราหมณบริษัท มีพราหมณ์ ๒๐๐ คน ต่างมุ่งจิตต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จิตของข้าพระองค์เองในสมัยนั้น ก็หมดจดสะอาด ได้สรรเสริญธรรมของท่านวิมลเกียรติคฤหบดีว่า เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีแล้วได้มีขึ้น ได้กระทำอภิวาทน์บาทของคฤหบดีนั้นด้วยเศียรเกล้าแล้ว ข้าพระองค์จึงแก้เอาสร้อยสังวาล(๓๓๘)เครื่องประดับมีราคามากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ(๓๓๙)ออกจากตัว น้อมไปบูชาท่านวิมลเกียรติ ท่านไม่รับของบูชานั้น ข้าพระองค์จึงกล่าวว่า”
    “ข้าแต่ท่านคฤหบดี โปรดรับสิ่งบูชานี้เถิด สิ่งนี้สุดแล้วแต่ท่านจักจัดการ.”
    “ลำดับนั้น วิมลเกียรติคฤหบดี จึงรับสร้อยสังวาลเครื่องประดับดังกล่าว แล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน นำส่วนหนึ่งไปบริจาคให้แก่ยาจกผู้มีวรรณะต่ำที่สุดในสมาคมนั้น อีกส่วนหนึ่งนำไปน้อมถวายบูชาพระอปราชิตถาคตเจ้า(๓๔๐) ซึ่งประทับอยู่ในรัศมีประภาพุทธเกษตร(๓๔๑).”
    ครั้งนั้น บริษัทชนทั้งปวงต่างก็ได้ยลเห็นพระอปราชิตตถาคตเจ้าพระองค์ผู้ประทับอยู่ ณ รัศมีประภาโลกธาตุนั้น ท่านวิมลเกียรติคฤหบดีกล่าวว่า
    “หากผู้บริจาคทานมีจิตสม่ำเสมอ ไม่แบ่งแยกบริจาคให้แก่ยาจกผู้อยู่ในวรรณะต่ำที่สุด ดุจเดียวกับว่าได้ถวายแก่พระตถาคตเจ้าอันเป็นบุญเขตที่เลิศ มีจิตกอปรด้วยมหากรุณา ไม่หวังปรารถนาต่อผลตอบแทนใด ๆ ไซร้ การบริจาคนั้นถึงได้ชื่อว่าเป็นธรรมทานอันสมบูรณ์.”
    “ครั้งนั้น ในนครมียาจกผู้อยู่ในวรรณะต่ำที่สุด ได้ทัศนาอิทธิปาฏิหาริย์อันมหัสจรรย์ และได้สดับธรรมกถาของคฤหบดีผู้นั้น ก็ตั้งจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะเหตุฉะนี้แลข้าพระองค์จึงไม่เหมาะสมควรแก่การไปเยี่ยมไข้คฤหบดีนั้น พระพุทธเจ้าข้า.”
    ด้วยประการดังกล่าวมานี้ บรรดาพระโพธิสัตว์ต่างก็กราบทูลเล่ายุบลถึงสาเหตุของตน และต่างสดุดีความเป็นไปของวิมลเกียรติคฤหบดีพร้อมทั้งทูลเป็นเสียงเดียวกัน ว่า ตนเองไม่เหมาะสมควรแก่การไปเยี่ยมไข้คฤหบดีนั้น.
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีพุทธบรรหาร(๓๔๒)ให้พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ไปเป็นผู้เยี่ยมไข้วิมลเกียรติคฤหบดี พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ จึงกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระสุคตเจ้า อันอุดมบุรุษ(๓๔๓)ผู้นั้นหนอ ยากที่จักมีใครโต้ตอบปุจฉาวิสัชนา(๓๔๔)ด้วย เหตุด้วยท่านเป็นผู้เป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงในยถาภูตสัตยธรรม(๓๔๕)มีความเชี่ยวชาญเจนจบในการแสดงธรรม มีปฏิภาณโกศลปราศจากที่ขัดข้อง อีกทั้งปรัชญาญาณอันแหลมลึกทะลุปรุโปร่งไม่มีที่กีดขวาง และเป็นผู้แตกฉานรู้รอบในสรรพโพธิสัตว์ธรรม ทั้งยังเป็นผู้เข้าถึงระหัสยครรภ์(๓๔๖)อันสุขุมลุ่มลึก แห่งปวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกโสดหนึ่ง คฤหบดีนั้น เป็นผู้ชนะมาร บริบูรณ์ด้วยอภิญญากรีฑา(๓๔๗) มีปรัชญาอุบายให้สำเร็จกิจในการโปรดสรรพสัตว์ แต่ถึงแม้กระนั้น ข้าพระองค์ก็ขอรับพระพุทธบัญชา จักไปเยี่ยมไต่ถามอาการไข้ของคฤหบดีนั้น พระพุทธเจ้าข้า.”

    ครั้งนั้นแล ในธรรมมหาสันนิบาต(๓๔๘) อันมีปวงพระโพธิสัตว์ พระมหาสาวก ท้าวพรหมราช ท้าวศักรินทร์ ท้าวจาตุมมหาราช ต่างก็เกิดมนสิการ(๓๔๙)ในใจว่า บัดนี้มหาบุรุษทั้งสองคือพระมัญชุศรีโพธิสัตว์กับท่านวิมลเกียรติคฤหบดีจักร่วมสนทนาปราศรัยกัน จักต้องมีการแสดงคัมภีรธรรมอันลึกซึ้งต่อกันเป็นแม่นมั่น ครั้นแล้วจึงพระโพธิสัตว์ ๘,๐๐๐ องค์ พระอรหันตสาวก ๕๐๐ องค์ และเทวบริษัทนับด้วยร้อยเป็นอเนกนับด้วยพันเป็นอเนก ต่างพากันมีสมานฉันท์(๓๕๐)ในอันจักติดตามไปด้วย ลำดับนั้นแล พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พร้อมด้วยหมู่แห่งพระโพธิสัตว์ พระมหาสาวกและทวยเทพนิกร(๓๕๑)แวดล้อมติดตามแล้วก็พากันยาตรา(๓๕๒)เข้าไปสู่นครเวสาลี.
     

แชร์หน้านี้

Loading...