ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “เอลนีโญ” ทำสถานการณ์น้ำดิบภาคตะวันออกน่าเป็นห่วง วอนปี 63 ใช้น้ำประหยัด

    คลิก>> https://mgronline.com/local/detail/9620000121601

    #MGROnline #เอลนีโญ

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แล้งเร็ว! ชาวนา-เกษตรกรเมืองแปดริ้วเดือดร้อนหนัก องค์กรท้องถิ่นต้องเร่งผันน้ำช่วย

    อบจ.ฉะเชิงเทรา เร่งนำรถแบคโฮแขนยาว ขุดลอกคูคลองในพื้นที่ อ.เมือง และบางน้ำเปรี้ยว หวังผันน้ำดิบต้นทุนสู่คลองสาขาช่วยเกษตรกรและชาวนาให้มีน้ำใช้ตลอดฤดูเก็บเกี่ยว หลังภัยแล้งมาเยือนเร็วกว่าทุกปี

    คลิก>> https://mgronline.com/local/detail/9620000121665

    #MGROnline #ภัยแล้ง

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รมช.กระทรวงเกษตรฯลงพื้นที่ตรวจดูวิกฤตแม่น้ำสะแกกรัง หลังปริมาณน้ำลดต่ำลงอย่างหนัก จนส่งผลให้เรือนแพที่อยู่อาศัยในลำน้ำเกยตื้น เร่งประสานชลประทานปล่อยน้ำ 2 เขื่อนใหญ่ช่วยด่วน

    คลิก>>https://mgronline.com/local/detail/9620000121643

    #MGROnline #ภัยแล้ง

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มท.1 เตรียมพร้อมรับมือภัยแล้ง ถึง ก.ค.2563 ร่วมมือทุกภาคส่วนส่งน้ำให้ประชาชนมีใช้

    คลิก>>https://mgronline.com/politics/detail/9620000121624

    #MGROnline #ภัยแล้ง

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    สเปน ภาพที่น่าตกใจของ Reinosa หลังจากคืนที่ฝนตกยาวนาน พวกเขาบอกว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นทุก ๆ 300 ปีเท่านั้น


     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ ม.2 บ้านจางา และ ม.2 บ้านปะกาฮะรัง อ.เมืองปัตตานี กว่า 150 หลังคาเรือน ชาวบ้านต่างเริ่มขนข้าวของอยู่บนที่สูง

    คลิก>>https://mgronline.com/south/detail/9620000121616

    #MGROnline #น้ำท่วม #ปัตตานี

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    F74805F9-14C5-41D9-A96B-E313F8D1AC3B.jpeg
    (Dec 21) แบบอย่างของเมืองอาคิตะ ต้นแบบเศรษฐกิจผู้สูงอายุญี่ปุ่น และโลกในอนาคต : แบบอย่างของเมืองอาคิตะ ต้นแบบเศรษฐกิจผู้สูงอายุญี่ปุ่น และโลกในอนาคต สถานการณ์การสูงอายุของประชาชนกลายเป็นลู่ทางและโอกาส ทั้งในการดำเนินชีวิตและทางธุรกิจ ที่จะทำให้ชีวิตที่สูงวัยกลายเป็นเรื่องสนุกสนาน เกิดพลานามัยที่แข็งแรง และเกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ


    โลกเรากำลังเคลื่อนย้ายไปสู่สิ่งที่นักวิเคราะห์เรียกว่า “สังคมสูงอายุมาก” (hyper-aged society) ปัจจัยแรกที่ทำให้เกิดพัฒนาการนี้คือ ประชาชนมีอายุยืนมากขึ้น อย่างเช่น ในปี 1963 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทำบันทึกเป็นครั้งแรกของจำนวนประชาชนที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไป ปรากฏว่ามีอยู่ 153 คน ในปี 2016 จำนวนเพิ่มเป็น 65,000 คน และญี่ปุ่นคาดว่า ในปี 2040 จะมีเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 คน


    ปัจจัยที่ 2 คือ อัตราการเกิดของประชากรที่ลดน้อยลง ในปี 1900 ญี่ปุ่นมีประชากร 44 ล้านคน ครอบครัวหนึ่งมีลูก 5 คน ถือเป็นเรื่องปกติ และมีเด็กเกิดใหม่ 1.4 ล้านคน ในปี 2015 ญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เพิ่ม 3 เท่า แต่มีเด็กเกิดใหม่ 1 ล้านคน เพราะเหตุนี้ เมื่ออัตราการเกิดน้อยลง ประเทศก็จะมีผู้อายุสูงมากขึ้น


    หลายประเทศกำลังเป็นแบบอาคิตะ


    Richard Davies อดีต Economics Editor ของ The Economist เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Extreme Economies (2019) ว่า คนญี่ปุ่นมองว่า เมืองอาคิตะ (Akita) ที่อยู่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น เป็นจังหวัดชายขอบที่อยู่โดดเดี่ยว แต่ก็เป็นท้องถิ่นที่มีคนสูงอายุมากที่สุดของญี่ปุ่น อายุเฉลี่ยของคนในเมืองนี้คือ 53 ปี และเป็นท้องถิ่นแรกของญี่ปุ่น ที่ประชากรกว่า 50% มีอายุมากกว่า 50 ปี และ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งจังหวัดมีอายุมากกว่า 65 ปี


    สถิติข้อมูลดังกล่าวนี้ไม่ผิดพลาด คนที่ไปเยือนเมืองอาคิตะจะรู้สึกได้ทันทีว่าเป็นเมืองของคนสูงอายุ คนขับรถไฟ คนเก็บค่าโดยสารรถประจำทาง เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว คนขับแท็กซี่ คนงานก่อสร้าง คนมาทานอาหารที่ภัตตาคาร หรือพ่อครัว ล้วนเป็นคนสูงอายุทั้งสิ้น


    แต่มองในแง่สถิติของประชากร อาคิตะไม่ใช่เมืองที่ล้าหลัง แต่กำลังกลายเป็นเมืองที่เป็นแบบอย่างในอนาคตสำหรับโลกเศรษฐกิจของผู้สูงวัย โลกเรากำลังสูงอายุมากขึ้นอย่างรวดเร็ว หลายประเทศกำลังเดินตามเส้นทางของเมืองอาคิตะ เกาหลีใต้กำลังเดินตามหลังญี่ปุ่น โดยจะกลายเป็นประเทศที่สูงอายุอย่างรวดเร็ว


    ในปี 2050 ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้โดยรวมทั้งประเทศ จะมีสภาพคล้ายกับเมืองอาคิตะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือประชากรมีอายุเฉลี่ยมีที่ 53 ปี และประชากรมากกว่า 1 ใน 3 มีอายุมากกว่า 65 ปี ส่วนสเปน โปรตุเกส และอิตาลี จะมีสภาพเดียวกับอาคิตะในอีก 30 ปีข้างหน้า บราซิล ไทย และตุรกีก็กำลังเป็นประเทศที่สูงอายุอย่างรวดเร็วเช่นกัน


    สภาพการณ์ที่ประเทศต่างๆ กำลังมุ่งหน้าไปสู่โลกแบบเมืองอาคิตะ ทำให้เกิดความวิตกกังวล ความต้องการของคนสูงอายุทำให้เกิดค่าใช้จ่ายส่วนรวมเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายด้านเงินบำนาญ และการรักษาพยาบาล จุดนี้ทำให้ IMF เคยกล่าวเตือนประเทศต่างๆ ในเรื่องนี้ไว้ว่า “ประเทศเสี่ยงที่จะแก่ ก่อนจะมั่งคั่ง”


    ความแก่ที่มาเยือนฉับพลัน


    ในการไปเยือนเมืองอาคิตะ Richard Davies ผู้เขียนได้พูดคุยกับสตรีสูงอายุชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งชื่อ Kiyoto Ishii ที่พาชม “ศูนย์ชุมชน” ของอาคิตะ ศูนย์นี้มีกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับคนสูงอายุ เช่น การเต้นรำ การอ่านบทกวี หรือการทำอาหาร เธอบอกว่า “ปัญหาใหญ่ของเรา คือเราไม่มีตัวอย่างสำหรับทำเลียนแบบ เราไม่ได้เตรียมตัวที่จะมีชีวิตยืนนานขึ้น เพราะพ่อแม่เราเสียชีวิตเมื่ออายุน้อยกว่านี้”


    หนังสือ Extreme Economies กล่าวว่า คนญี่ปุ่นที่สูงอายุล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สิ่งที่ส่งผลกระทบฉับพลันแก่ตัวเอง คือการมีอายุยืนยาวกว่าที่คาดคิดไว้ ในปีทศวรรษ 1940 นักเศรษฐศาสตร์อิตาลีชื่อ Franco Modigliani เคยเสนอแนวคิดแนวโน้มการเก็บออมของคนเรา ที่เป็นไปตามวงจรชีวิตไว้ว่า ในช่วงการ “พึ่งพาทางเศรษฐกิจ” (dependency) ของวัยหนุ่มสาว ที่ยังศึกษา หรือเริ่มทำงานด้วยค่าแรงต่ำ ต้องการอาศัยเงินกู้มาสนองความต้องการ


    ส่วนชีวิตในช่วงการทำงาน (maturity) รายได้จะสูงกว่ารายจ่าย จึงมีเงินเก็บออมในแต่ละเดือน ในช่วงการเกษียณ (retirement) รายได้ลดหายไปมาก แต่ยังสามารถรักษามาตรฐานชีวิตที่เป็นอยู่ได้ เพราะอาศัยเงินทุนที่เก็บสะสมไว้ แนวคิดนี้อาจดูเป็นความคิดแบบธรรมดาๆ แต่เมื่อมองว่าคนนับล้านๆ คนมีพฤติกรรมแบบนี้ ทำให้เป็นแนวคิดที่มีพลังในการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ


    อย่างเช่นประเทศที่ประชาชนวางแผนสำหรับการเกษียณ ที่คิดว่าเป็นเวลายาวนาน จะเป็นประเทศที่ร่ำรวย คือ มีอัตราการออมสูง เศรษฐกิจมีความมั่งคั่ง และประชากรมีการเตรียมตัวสำหรับช่วงสุดท้ายของชีวิต ส่วนประเทศที่การเกษียณของประชาชนยาวนานเกินกว่าที่คาดหมายไว้ จะมีความมั่งคั่งที่ต่ำเกินไป แนวคิดวงจรชีวิตนี้ช่วยให้เข้าใจว่า ทำไมชีวิตที่ยืนนานเกินการคาดหมายจึงส่งผลกระทบฉับพลัน (shock) ต่อประชาชนและต่อประเทศ


    หนังสือ Extreme Economies กล่าวว่า คนญี่ปุ่นจำนวนมากเห็นว่า ช่วงเกษียณของตัวเองมีระยะเวลายาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทุกวันนี้ คนญี่ปุ่นเกษียณเมื่ออายุ 65 ปี ในทศวรรษ 1940 เมื่อญี่ปุ่นมีระบบบำนาญของรัฐ คนญี่ปุ่นจะเกษียณจากงานเมื่ออายุ 55 ปี ซึ่งสูงกว่าอายุเฉลี่ยของผู้ชายในเวลานั้น ดังนั้น คนทั่วไปจะเสียชีวิตก่อนเกษียณ แต่ทุกวันนี้ คนญี่ปุ่นจำนวนมากมีอายุถึง 90 หรือ 100 ปี ช่วงเกษียณจะนานเป็นเวลา 35-45 ปี เฉพาะฉะนั้น จึงมีคนญี่ปุ่นเพียงไม่กี่คนที่ได้วางแผนรับมือในเรื่องนี้


    แรงกดดันจากสังคมสูงอายุ


    คนญี่ปุ่นสูงอายุได้รับเงินบำนาญเฉลี่ยเดือนละ 1,700 ดอลลาร์ (51,000 บาท) แต่ที่ได้จริงๆ จะขึ้นกับเงินสมทบในช่วงการทำงาน ทำให้คนจำนวนมากได้เงินบำนาญที่ต่ำกว่าเดือนละ 1,000 ดอลลาร์ เนื่องจากค่าครองชีพสูง ทำให้คนรับบำนาญต้องไปพึ่งสวัสดิการรัฐ คนสูงอายุหลายล้านคนมีชีวิตอยู่อย่างยากจน คนญี่ปุ่นสูงอายุ 17% ไม่มีเงินเก็บ คนแก่หลายคนในเมืองอาคิตะต้องหันไปปลูกผักเพื่อให้มีรายได้พิเศษ


    สังคมสูงอายุสร้างแรงกดดันต่อฐานะการคลังของรัฐบาลญี่ปุ่น ในปี 1975 ค่าใช้จ่ายประกันสังคมและสาธารณสุขมีสัดส่วน 22% ของรายได้จากการเก็บภาษี ในปี 2020 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% หมายความว่า ในปี 1975 บริการสาธารณะ เช่น การศึกษา การขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อม ฯลฯ สามารถอาศัยเงิน 80% ของรายได้จากภาษี แต่ในปี 2020 มีสัดส่วนเพียงแค่ 40% ในแง่งบประมาณ สังคมสูงอายุกำลังกลืนกินญี่ปุ่น


    ผลกระทบจากประชากรลดลง


    ส่วนอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง ก็มีผลทำให้ทั้งประเทศหดตัวเล็กลง ญี่ปุ่นมีประชากรจำนวนสูงสุด 128 ล้านคนในปี 2010 แต่ในปี 2019 ลดลงเหลือ 126 ล้านคน เมืองอาคิตะเองมีประชากรลดลงตลอด 25 ปีที่ผ่านมา อาคิตะจึงเป็นภาพสะท้อนเป็นอย่างดีว่า ชุมชนที่ประชากรลดลง จะมีลักษณะอย่างไร


    หนังสือ Extreme Economies เขียนถึงสภาพเมืองชื่อ ฟูจิซาโตะ (Fujisato) ที่อยู่ทางเหนือของอาคิตะขึ้นไป 90 กิโลเมตร ว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้วมีประชากร 5,000 คน ปัจจุบันเหลืออยู่ 3,500 คน ทำให้ฟูจิซาโตะกลายเป็นเมืองเล็กๆ ในญี่ปุ่นที่กำลังสูญหายไปอย่างรวดเร็ว ร้านค้าแทบทุกร้านในเมืองปิดกิจการ เพราะมีลูกค้าเหลืออยู่ไม่กี่ราย มีรายงานศึกษาระบุว่า หากแนวโน้มประชากรที่ลดลงยังดำเนินต่อไป เทศบาล 869 แห่งของญี่ปุ่นอาจจะสูญหายไปใน 21 ปีข้างหน้า


    การลดลงของประชากรในหมู่บ้านอย่างฟูจิซาโตะ ยังทำให้บริการสาธารณประโยชน์ของรัฐไม่อาจจะดำเนินการต่อไปได้ เช่น สถานพยาบาลและโรงเรียน ทำให้การรวมหมู่บ้านในชนบทญี่ปุ่นกลายเป็นประเด็นร้อนที่มีการถกเถียงกันอย่างมากขึ้นมา เพราะการรวมท้องถิ่นอาจเป็นโอกาสเดียวที่จะรักษาการบริการของรถประจำทาง โรงเรียน หรือห้องสมุด ให้ดำเนินการต่อไปได้


    การสูญหายของหมู่บ้านคนสูงอายุในญี่ปุ่น ยังทำให้โครงสร้างการเมืองและเศรษฐกิจเกิดความล้มเหลว โดยเฉพาะระบบประชาธิปไตยในท้องถิ่น การเลือกตั้งท้องถิ่นในปี 2015 จำนวนตำแหน่ง 1 ใน 5 ไม่มีการแข่งขัน เพราะขาดผู้ลงสมัคร กลไกตลาดเรื่องราคาก็ไม่สามารถทำงานได้ในธุรกิจที่กำลังตาย เช่น บ้านพักอาศัยในชนบทจำนวนมากในญี่ปุ่น กลายเป็นบ้านร้าง เมื่อไม่มีคนอาศัยก็ขายไม่ได้ ไม่ว่าจะราคาต่ำอย่างไร ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นบางส่วนจึงถูกแช่แข็ง


    บทเรียนจากอาคิตะ


    หนังสือ Extreme Economies กล่าวว่า บทเรียนข้อแรกจากอาคิตะ คือ เศรษฐกิจสูงอายุเป็นภาวะที่ย้อนแย้ง คนเราสามารถมองเห็นว่าสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้น แต่ก็สร้างภาวะตกตะลึงแก่คนเรา เยอรมันมีเวลาเหลืออีก 1-2 ปี ก่อนที่จะประสบปัญหาแบบเมืองอาคิตะ


    ประการต่อมา เศรษฐกิจสูงอายุเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นแบบช้าๆ แต่จะส่งกระทบต่อคนที่ไม่ได้มีการเตรียมตัว การสูงอายุที่ไม่มีการเตรียมตัว ทำให้ทรัพย์สินที่สร้างขึ้นมาในช่วงการทำงาน ไม่พอใช้สำหรับการเกษียณที่ยาวนานขึ้น นอกเหนือจากแรงกดดันของสังคมสูงอายุ ที่มีต่อคนต่างวัย คือ ระหว่างคนเกษียณกับคนวัยทำงาน ที่ต้องแบกรับภาระมากขึ้น


    แต่สังคมสูงวัยก็สร้างเศรษฐกิจที่เป็นแบบแผนทางการใหม่ขึ้นมาเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดการจ้างงานใหม่หลายล้านงาน การที่ประชากรญี่ปุ่นมีชีวิตยืนนานมากขึ้น หมายความว่าพลเมืองอาวุโสเหล่านี้ต้องการสมาร์ทโฟน หรือหน้าจอ ATM ที่ออกแบบสำหรับคนสูงอายุ เป็นต้น


    ญี่ปุ่นยังเป็นแบบอย่างที่ว่า สถานการณ์การสูงอายุของประชาชนกลายเป็นลู่ทางและโอกาส ทั้งในการดำเนินชีวิตและทางธุรกิจ ที่จะทำให้ชีวิตที่สูงวัยกลายเป็นเรื่องสนุกสนาน เกิดพลานามัยที่แข็งแรง และเกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ


    Source: ThaiPublica

    https://thaipublica.org/2019/12/pridi173/
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จังหวัดตากส่อเจอภัยแล้งรุนแรง เขื่อนภูมิพล มีน้ำเหลือราว 41% แม่น้ำปิงท้ายเขื่อนก็มีสภาพแห้งขอดจนเกือบจะเดินข้ามได้ ในเวลาที่เขื่อนไม่ได้เปิดระบายน้ำ

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    'สภาการพยาบาล' ออกประกาศ ห้ามพยาบาลฉีดยา ‘ไดโคลฟีแนค’

    สภาการพยาบาลออกประกาศ ห้ามพยาบาลฉีดยา ไดโคลฟีแนค แต่ให้ทำหน้าเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือแพทย์ในการดูแลผู้รับบริการก่อนและหลังการฉีดยา Diclofenac ตามมาตรฐานวิชาชีพเท่านั้น ระบุเป็นไปตาม คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ที่แนะนำให้จำกัดการใช้ยาฉีดไดโคลฟีแนค เฉพาะโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขึ้นไป โดยให้แพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ให้บริการแก่ผู้รับบริการ

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กฟผ. เดินหน้าโซลาร์ลอยน้ำโครงการเขื่อนอุบลรัตน์ กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบปี 2566

    กฟผ.เตรียมพร้อมเดินหน้าต่อโครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ขนาด 24 เมกะวัตต์ เป็นโครงการที่สองต่อเนื่องจากเขื่อนสิรินธร โดยมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2566 ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นคงไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดียิ่งขึ้น

    https://www.tcijthai.com/news/2019/12/current/9672

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan


    น้ำท่วมที่ Samail, ประเทศโอมาน วันที่ 19 ธันวาคม 2019


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan


    แอฟริกาใต้ก่อนและหลังฝนตก


    พื้นที่สีเขียวขึ้นมากในส่วนตะวันออกของแอฟริกาใต้เนื่องจากฝนที่ตกล่าสุด

    IMG_5773.JPG

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan


    นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา วันที่ 19 ธันวาคม 2019


     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan


    ที่ Riópar, Albacete, ประเทศสเปน วันที่ 21 ธันวาคม 2019


     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan


    การจัดตำแหน่งของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อค เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หรือไม่?


    ในขณะที่ตัวสุริยุปราคาเองไม่น่าจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวได้ แต่ความเครียดจากกระแสน้ำที่เพิ่มขึ้นระหว่างดวงจันทร์ใหม่ ซึ่งจำเป็นสำหรับสุริยุปราคาอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย


    ในบทความที่ตีพิมพ์ใน Nature Geoscience มีการสร้างกระแสน้ำ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเพื่อแสดงให้เห็นว่าโซนมุดตัวขนาดใหญ่มีความไวสูงต่อการเปลี่ยนแปลงจากแรงตึงของคลื่น


    โดยการวิเคราะห์และจำลองกระแสน้ำในสองสัปดาห์ก่อนเกิดเหตุการณ์ขนาดใหญ่ (เช่นสุมาตรา 2004 ชิลี 2010 และญี่ปุ่น 2011 (โทโฮกุ) พวกเขาพบว่าแผ่นดินไหวมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในเวลาที่มีความเครียดมากที่สุด (ในช่วงพระจันทร์เต็มดวงหรือใหม่)


    ทีมญี่ปุ่นนำโดยดร. Satoshi Ide ไม่คาดการณ์ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อใด อย่างไรก็ตามพวกเขาแนะนำว่าเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเล็กน้อย


    พวกเขาชี้ให้เห็นอย่างรวดเร็วว่าการศึกษาครั้งนี้ใช้กับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เท่านั้นและความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากกระแสน้ำและแผ่นดินไหวขนาดเล็กยังคงเป็น "เข้าใจยาก"


    อย่างไรก็ตามแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ตรวจสอบนั้นก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงและส่งผลให้สูญเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ


    ในขณะที่อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงต่อแผ่นดินไหวได้ถูกถกเถียงกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจ


    นี่คือสาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากความยากลำบากในการผลิตข้อมูลที่เชื่อถือได้เช่นเดียวกับความจริงที่ว่ากระแสน้ำบอกเช่นความเครียดเล็กน้อยเมื่อเทียบกับแรงแปรสัณฐาน


    อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่แสดงลิงค์เชิงสถิติและหันหัว


    ในการสัมภาษณ์กับ USA Today ดร. จอห์น วิเดล นักสำรวจแผ่นดินไหวแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันกล่าวว่า“ นักวิทยาศาสตร์จะค้นพบผลลัพธ์นี้ หากได้รับการยืนยันว่าน่าสนใจทีเดียว”


    อย่างไรก็ตามเพียงเพราะนักวิทยาศาสตร์พบสิ่งที่น่าสนใจไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะกระโดดขึ้นไปบนเกวียน


    ยิ่งไปกว่านั้น Vidale ยังชี้ให้เห็นว่าเนื่องจากความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรงทุกสัปดาห์นั้นมีน้อยมากการศึกษาครั้งนี้จึงไม่ได้ช่วยทำนาย


    นอกจากนี้แม้ว่าจะพบความสัมพันธ์ที่ชัดเจน แต่ก็ไม่น่าเป็นไปได้ที่ข้อมูลจะสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้


    Mark Quigley มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น รองศาสตราจารย์ด้านเปลือกโลกและธรณีสัณฐานวิทยาและอดีตหัวหน้างานของผู้เขียนกล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่าเขาไม่เห็นการใช้งานจริง "ในบริบทของอันตรายจากแผ่นดินไหวชายฝั่งทะเลและความปลอดภัยสาธารณะ" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รหัสอาคารและแผนการอพยพของสึนามิ


    เรื่องนี้น่าจะเป็นจริงเนื่องจากการอพยพออกจากบริเวณชายฝั่งในช่วงเวลาที่เกิดความเครียดจากน้ำขึ้นน้ำลงไม่น่าจะเกิดขึ้น


    แม้จะมีข้อแม้นี้การศึกษานี้ ให้ยืมไปสู่การเปิดประตูในการกำหนดเวลาและวิธีการเกิดแผ่นดินไหวโซนมุดตัว


    เป็นไปได้ว่าจากงานนี้จะได้รับความสนใจมากขึ้นต่อความเครียดจากกระแสน้ำเมื่อประเมินว่าเกิดแผ่นดินไหวเมื่อใด


    อย่างไรก็ตามหากคุณโชคดีพอที่จะอยู่ในเส้นทางของจำนวนทั้งสิ้นในช่วงสุริยุปราคาในวันนี้อย่าคิดเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวเพียงแค่สนุกกับประสบการณ์ที่เหนือจริงที่ถูกจมดิ่งลงสู่ความมืดในระหว่างวัน


    #sources:

    ธรณีศาสตร์ ธรรมชาติ: ศักยภาพของแผ่นดินไหวที่เปิดเผยโดยอิทธิพลของคลื่นที่มีต่อสถิติขนาดแผ่นดินไหว - ความถี่

    https://www.nature.com/articles/ngeo2796


    สไตน์อาร์เอส., Tidal เรียกจับในการกระทำ วิทยาศาสตร์, 2004, 305: 1248–1249 ลิงก์

    ธรรมชาติ: แรงดึงจากดวงจันทร์สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่

    https://www.nature.com/news/moon-s-pull-can-trigger-big-earthquakes-1.20551


    สหรัฐอเมริกาวันนี้

    https://www.usatoday.com/story/tech...12/full-moon-high-tides-earthquakes/90259216/


    Stuff.co.nz

    https://i.stuff.co.nz/science/84148...nked-to-large-magnitude-quakes-japanese-study

    IMG_5774.JPG IMG_5775.JPG IMG_5776.JPG

    Could the alignment of Sun & the Moon really be a key to unlocking when large earthquakes will occur?


    While the eclipse itself is unlikely to cause an earthquake, the increased tidal stresses during a new moon, which is required for a solar eclipse, could slightly increase the likelihood of a large earthquake.


    In an article published in Nature Geoscience, tidal reconstructions done by a team of Japanese scientists appear to show that large subduction zones are highly sensitive to changes from tidal stresses.


    By analyzing and simulating tides in the two weeks prior to large events (e.g. 2004 Sumatra, 2010 Chile, and 2011 Japan (Tohoku), they found that the earthquakes tended to occur at times of maximum stress (During full or new moons).


    The Japanese team, led by Dr. Satoshi Ide, is not predicting when earthquakes will occur. However they are suggesting when large magnitude earthquakes are slightly more likely to occur.


    They are quick to point out though that this study only applies to large magnitude earthquakes and that a relationship between tidal stress and smaller magnitude earthquakes remains “elusive.”


    Nonetheless, the large earthquakes they examined caused huge damage and resulted in significant loss of life.


    While tidal influence on earthquakes has been debated since the 19th century, most scientists remain unconvinced.


    This is largely due to the difficulty in producing reliable data, as well as the fact that tides impart such as small amount of stress when compared to tectonic forces.


    However, this study is one of the few to show a statistical link, and turned heads.


    In an interview with USA Today, University of Washington seismologist Dr. John Vidale said, “Scientists will find this result, if confirmed, quite interesting.”


    However, just because scientists find something interesting does not mean they will jump on the bandwagon.


    Additionally, Vidale pointed out that because the likelihood of deadly earthquakes occurring on a weekly basis is so infinitesimal, this study won’t help with predictions.


    Furthermore, even if a clear correlation is found, it is unlikely the information will be able to be used in a practical sense.


    Mark Quigley, University of Melbourne associate professor in active tectonics and geomorphology, and this author’s former supervisor, said in an interview that he doesn’t see any practical use “in the context of coastal seismic hazard and public safety,” especially when compared to building codes and tsunami evacuation plans.


    This is likely true as evacuating coastal regions during times of increased tidal stress is unlikely to catch on.


    Despite this caveat, this study does lend itself towards potentially opening a door in determining when and how subduction zone earthquakes occur.


    It is likely that from this work, greater attention will be given to tidal stresses when assessing when earthquakes occur.


    However, if you are lucky enough to be in the path of totality during today’s solar eclipse, do not think about earthquakes, just enjoy the surreal experience of being plunged into darkness during the middle of the day.


    #Sources:

    Nature Geoscience: Earthquake potential revealed by tidal influence on earthquake size–frequency statistics

    https://www.nature.com/articles/ngeo2796


    Stein R. S., Tidal triggering caught in the act. Science, 2004, 305: 1248–1249 Link

    Nature: Moon’s pull can trigger big earthquakes

    https://www.nature.com/news/moon-s-pull-can-trigger-big-earthquakes-1.20551


    USA Today

    https://www.usatoday.com/story/tech...12/full-moon-high-tides-earthquakes/90259216/


    Stuff.co.nz

    https://i.stuff.co.nz/science/84148...nked-to-large-magnitude-quakes-japanese-study


     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    โปรดอธิษฐานให้กับผู้ที่สูญเสียชีวิตของพวกเขา บ้าน และทรัพย์สิน และทุกคนที่ได้รับความเดือดร้อนในที่ภัยพิบัติใน นิวเซาท์ เวลส์ nsw และควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra


    การก่อตัวของพายุทอร์นาโด ความเสียหายอย่างรุนแรงใน chertsey, สหราชอาณาจักร #21 ธ. ค.


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,698
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra


    พายุ fabian กระทบหลายเมืองของฝรั่งเศส #21 ธ. ค.


     

แชร์หน้านี้

Loading...