ติลักขณาคาถา พระธรรมเทศนาหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 22 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



    ๕. สรภังเถรคาถา
    คาถาสุภาษิตของพระสรภังคเถระ
    [๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อ
    โดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง
    สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
    เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ
    อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น
    โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ
    ดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
    พระวิปัสสี
    พระสิขี
    พระเวสสภู
    พระกกุสันโธ
    พระโกนาคม
    พระกัสสป ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
    ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น
    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้
    ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส
    เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์
    สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์
    เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง
    ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และ
    เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น
    ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.
    -----------------------------------------------------
    พระเถระ ๕ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละ ๗ คาถา รวมเป็น ๓๕ คาถาคือ
    ๑. พระสุนทรสมุททเถระ ๒. พระลกุณฏภัททิยเถระ
    ๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ
    ๕. พระสรภังคเถระ.
    จบ สัตตกนิบาต.
    -----------------------------------------------------
    Quote Tipitaka:
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๗๘๐ - ๖๘๐๕. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน นันทวรรคที่ ๓ โกลิตสูตร</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>


    <CENTER>อรรถกถาโกลิตสูตร </CENTER>

    บทว่า ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พระนิพพานอันเป็นอสังขตธาตุนำมาซึ่งความสุขอย่างแท้จริง โดยเป็นอารมณ์อันดีเยี่ยมแก่มรรคญาณและผลญาณ ซึ่งได้บัญญัติว่า อัตตา เพราะไม่เป็นอารมณ์ของปุถุชนอื่น แม้โดยที่สุดความฝัน แต่เพราะเป็นแผนกหนึ่งแห่งมรรคญาณและผลญาณนั้นๆ ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และเพราะเป็นเช่นกับอัตตาจึงเรียกว่า อตฺตโน ของตน
    พึงรู้ คือพึงทราบพระนิพพานนั้น อธิบายว่า พึงรู้แจ้ง คือพึงทำให้แจ้งด้วยมรรคญาณและผลญาณทั้งหลาย. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึงความที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตน้อมไปในพระนิพพาน.
    จริงอยู่ พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมอยู่ แม้ในเวลาที่อธิจิตเป็นไป ก็อยู่โดยภาวะที่น้อมโน้มโอนไปในพระนิพพานโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ก็ในที่นี้ สติเป็นไปใน<WBR>กาย<WBR>ปรากฏ<WBR>แก่<WBR>ภิกษุ<WBR>ใด ภิกษุ<WBR>นั้นสำรวม<WBR>แล้วในผัสสายตนะ ๖ ต่อแต่นั้น ก็มีจิตตั้งมั่นเนืองๆ พึงรู้พระนิพพานของตน ด้วยการกระทำให้ประจักษ์แก่ตน พึงทราบการเชื่อมบทแห่งคาถาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.



    ที่มา...
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=77
     
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก</BIG> <CENTER class=D>สโมธานกถา</CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๒ / ๗.











    อีกอย่างหนึ่ง
    บารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบคุณวิเศษ.

    หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส.

    หรือบารมีย่อมถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ.

    หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่นดุจรู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษคือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว.

    หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง.

    หรือบารมีย่อมทำลาปฏิปักษ์อื่นจากธรรมกาย อันเป็นอัตตา

    หรือหมู่โจรคือกิเลสอันทำความพินาศแก่ตนนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปรมะ.


    สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่ามหาสัตว์.



    คำเป็นต้นว่า ปรมสฺส อยํ ดังนี้ก็พึงประกอบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว.

    หรือบารมีย่อมขัดเกลาคือย่อมบริสุทธิ์ ในฝั่งคือพระนิพพาน และยังสัตว์ทั้งหลายให้หมดจด.
    หรือบารมีย่อมผูกย่อมประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น.
    หรือบารมีย่อมไปย่อมถึงย่อมบรรลุถึงพระนิพพานนั้น.
    หรือบารมีย่อมกำหนดรู้ซึ่งพระนิพพานนั้นตามความเป็นจริง.
    หรือบารมีย่อมตักตวงซัดสัตว์ไว้ในพระนิพพานนั้น.
    หรือบารมีย่อมกำจัดข้าศึกคือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น. ฉะนั้นจึงชื่อว่าบารมี.


    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=244

    (หมายเหตุ; ไม่ใช่ว่า บารมี จะไปทำลายธรรมกาย บารมีทำลายปฏิปักษ์อื่น ออกจาก ธรรมกาย อันเป็นอัตตา)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...