ธรรมะที่ผู้คนมักอยากทราบ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 31 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>นิมิต การเห็นสิ่งต่างๆ ในขณะนั่งสมาธิ นั่งสมาธิแล้วเป็นบ้าจริงหรือไม่ ฯลฯ </CENTER>
    นิมิต
    (๑)
    เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิต มี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ
    (๒)
    (ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย ขอเขาโดยวิธี ให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ
    (๓)
    เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน ภาพที่เห็น ในใจของผู้เจริญกรรมฐาน ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ
    (ก)
    บริกรรมนิมิต
    นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือกำหนดนึก เป็นอารมณ์กรรมฐาน
    (ข)
    อุคคหนิมิต
    นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น
    (ค)
    ปฏิภาคนิมิต
    นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่อุคคหนิมตินั้น เจนใจจนกลาย เป็นภาพที่เกิดจากสัญญา (ความจำได้หมายรู้- deedi) เป็นของ บริสุทธิ์ จะนึกขยายหรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา
    (๔)
    สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง
    (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตโต)

    + + + + + + + + + + + + + + +
    โดยทั่วๆ ไปในทางธรรม เวลาพูดกันถึงคำว่า 'นิมิต' เรามักหมายถึง นิมิตในการปฏิบัติธรรม (จากข้อ ๓ ข้างบน ส่วนที่พูดว่า 'ภาพที่เห็น ในใจของผุ้เจริญกรรมฐาน') คือสิ่งที่ผู้เจริญกรรมฐานมักจะเห็นหรือ สัมผัสในขณะที่กำลังปฏิบัติกรรมฐาน เช่นเห็นสิ่งต่างๆ ขณะกำลัง หลับตานั่งสมาธิ
    นิมิตเหล่านี้ ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่าเห็นจริงๆ คือบุคคลที่กำลังทำ กรรมฐานเห็นสิ่งเหล่านั้นจริงๆ แต่สิ่งที่เห็นนั้นมักจะไม่จริง ไม่ใช่ เป็นของจริง อาทิ เห็นต้นไม้ ป่าเขา เทวดา ผีปีศาจน่ากลัว ฯลฯ
    ผู้ที่เห็นนิมิตเหล่านี้ หากเป็นผู้มีจิตอ่อน กลัวง่าย ตกใจง่ายประกอบกับ ความไม่รู้คืออาจไม่มีผู้ที่รู้ตรงรู้ถูกต้องมาคอยชี้แนะ หากเจอหรือเห็น สิ่งที่น่ากลัวก็อาจขาดสติไปได้จริง หรือบางครั้งก็เห็นแสงสีเสียงต่างๆ ทำให้เข้าใจผิดเอาว่าตนเองบรรลุธรรม สำเร็จแล้ว เป็นต้น อันนี้ก็ ทำให้ขาดสติ เข้าใจผิด เหมาเอาผิดๆ สำคัญผิดไปได้ก็มี
    เหล่านี้เป็นอีกเหตุผลว่า เหตุใดผู้ปฏิบัติจึงควรมีครู จึงควรแสวงหาครู ที่รู้ดีรู้ตรงรู้ถูกต้องตามแนวทางที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็เพื่อจะได้มีครูเหล่านี้ คอยประคับประคองชี้แนะแนวทางเมื่อถึงทางแพร่งทางแยกหรือถึง จุดที่อาจมีอันตรายหรืออาจทำให้ไขว้เขวเข้าใจผิด สำคัญผิดไปได้ ในการปฏิบัติ (ซึ่งมีอยู่หลายจุด หลายตอน)
    เหล่านี้ เป็นอีกเหตุผลว่า เหตุใดพระพุทธองค์จึงทรงแนะแนวทางแห่ง ปัญญาและสัมมาทิฏฐิเอาไว้ว่า จะต้องประกอบไปด้วยศีล-สมาธิ-ปัญญา กล่าวคือ บุคคลควรเริ่มด้วยการมีศีลก่อน เมื่อเรามีศีลที่มั่นพอสมควรแล้ว อยู่ในศีลแล้ว พร้อมกับมีครูดีมีเมตตาและรู้จริงมาคอยประคับประคองชี้แนะ อยู่ด้วย ก็จะเหมือนมีเกราะป้องกันภัยอันตรายใดๆ จากการปฏิบัติ โดย ศีล จะเป็นเครื่องสร้างความมั่นใจ สร้างความอุ่นใจให้กับผู้ปฏิบัติ ว่าตนเป็นผู้อยู่ในคุณความดี ไม่ได้คิด-พูดหรือทำร้ายล่วงเกินชีวิตอื่นใด ไม่ว่าทางกาย วาจาหรือใจ เมื่อศีลบริสุทธิ์ก็ไม่เกรงกลัวไม่หวั่นเกรง ภัยอันตรายใดๆ จิตใจอบอุ่นมั่นคง พร้อมต่อการมุ่งเดินหน้าปฏิบัติธรรม ปฏิบัติกรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญาขจัดทุกข์โทษภัยในวัฏฏสงสารได้ยิ่งๆ ขึ้นไป
    การรับมือกับนิมิต
    ในโฮมเพจนี้เน้นเรื่องการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ตามแนววิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้น วิธีรับมือกับนิมิตนี้ เป็นวิธีรับมือกับนิมิตสำหรับการปฏิบัติธรรม (เดินจงกรม นั่งสมาธิและมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมในอาการของกายและใจ) ตามแนววิปัสสนา กรรมฐานและสติปัฏฐานสี่เท่านั้น ไม่ใช่สำหรับการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อมุ่งเอาสิ่งอื่น อาทิ มุ่งเอาฌาน (การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิหรือสมาธิ ที่ลึกดิ่งมาก) การมุ่งเอาอิทธิฤทธิ์ใดๆ เช่นหูทิพย์ ตาทิพย์ แสดงฤทธิ์ได้ ฯลฯ
    วิธีรับมือกับนิมิต
    ขณะที่ทำกรรมฐานอย่างมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่นั้น หากเกิดนิมิตทางตา จะแบ่งออกได้ เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ เห็นสิ่งมีชีวิต (๑) หรือเห็นสิ่งไม่มีชีวิต (๑)
    ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตใดๆ อาทิเห็นต้นไม้ ภูเขา ลำธาร ตึก บ้าน ฯลฯ ก็กำหนดรู้ว่ามีรูป มาสัมผัสกับตา กำหนดรู้อาการเห็นนั้น ประมาณไม่เกิน ๗-๘ ครั้ง ไม่ควรอยากรู้ ไม่ควรตามไปดู ไม่ควรเพลิดเพลินไปกับสิ่งนั้น กำหนดรู้ว่าเห็นแล้วก็วางการเห็นนั้นลง กลับมาเอาใจจรดจ่อตามดูอาการของอารมณ์กรรมฐานต่อไป อาทิ กำหนดรู้ลมหายใจ กำหนดรู้อาการพองยุบที่ท้อง ฯลฯ
    ถ้าหากเห็นสัตว์ สิ่งมีชีวิต เห็นคน เห็นสิ่งที่เรียกกันว่าผี หรือเห็นเทวดา ฯลฯ ที่ล้วน เป็นสิ่งมีชีวิตในอัตภาพใดอัตภาพหนึ่ง ก็กำหนดสติรู้ว่ากำลังเห็น แล้วกำหนดรู้อาการ เห็นนั้นไป ถ้าอยากรู้หรือสงสัยว่าเป็นอะไร หรือเกิดความกลัวสิ่งที่เห็น กลัวอันตราย ฯลฯ ก็กำหนดรู้ไปตามความเป็นจริง เช่น กำหนดรู้ใจที่อยากรู้ กำหนดรู้ใจที่สงสัย กำหนดรู้ ใจที่กลัว แล้วแผ่หรืออุทิศส่วนกุศลไปให้ อาทิ
    "เห็นหนอ ข้าพเจ้าเคยทำกรรมไว้กับท่านผู้ใดไว้เมื่อไหร่ ข้าพเจ้าไม่ทราบ ข้าพเจ้าขอแผ่ (กรณีสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งยังมีชีวิต) และอุทิศ (กรณีสิ่งที่เห็นเราคิดว่าไม่มีชีวิต คือไม่ใช่คนนั่นเอง) ส่วนกุศลของข้าพเจ้าไปยังท่านด้วย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กับท่าน (หรือ ท่านทั้งหลาย - กรณีที่เห็นเกิน ๑) ด้วย""
    ฯลฯ ต่อจากนั้นไม่ ควรอยากรู้ต่อ ควรวางความสงสัยลง วางความอยากรู้ลง ไม่ควรตามไปดู (บางครั้งจะ เหมือนภาพยนตร์ฉายที่เราจะตามไปดูเรื่องราวต่อไปได้ ฯลฯ) แต่หากกำหนดรู้ว่าเห็น เช่นกำหนด 'เห็นหนอ' หลายๆ ครั้งแล้ว ภาพนั้นหรือสิ่งที่เห็นนั้นๆ ยังไม่หายไป ยังไม่ดับไป ก็อาจค่อยๆ ลืมตาอย่างมีสติ แล้วกะพริบถี่ๆ หลายๆ ครั้ง เมื่อหลับตาลงอีกครั้งภาพนั้นควรหายไปแล้ว ก็สามารถกำหนดรู้อารมณ์กรรมฐาน ต่อไป
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>นรก สวรรค์ ภพภูมิ </CENTER>
    พุทธศาสนาพูดเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร พูดถึงเรื่องภพภูมิ เอาไว้ ว่าสรรพสัตว์เวียนว่ายตายเกิดมายาวนานเพราะมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุให้เวียนเกิด เวียนตาย เวียนทุกข์ เวียนโลภ โกรธ หลง เวียนไม่รู้ ฯลฯ อยู่ในสังสารวัฏหรือวัฏสงสาร (Wheel of Birth/ Wheel of Rebirth)

    สังสารวัฏหรือธรรมฝ่ายทุกข์ ธรรมฝ่ายโลก (โลกียธรรม) ในคติพุทธพูดเอาไว้ ว่ามีอยู่แบ่งอย่างย่อยๆ ได้ ๓๑ ภพภูมิ หรือแบ่งหยาบๆ ได้ ๖ ภพภูมิ คือ
    ก.
    ทุคติภูมิ
    มี ๓ คือ
    นรก (๑) เปรตและอสุรกาย (๑) สัตว์เดรัจฉาน (๑)
    ข.
    สุคติภูมิ
    มี ๓ คือ
    มนุษย์ (๑) สวรรค์ (๑) พรหม (๑)
    ทั้ง ๖ ภพภูมินี้จัดเป็น 'ทาง ๖ สาย' ในสังสารวัฏหรือในโลกียภูมิ แต่ยังมีทางอีกสายหนึ่งที่เรียกว่าเป็นทางสายที่ ๗ อันนี้เป็นสิ่งที่อยู่นอกสังสารวัฏ นอกวัฏฏสงสาร เป็นทางสายประเสริฐ อันพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เป็นโลกุตตรธรรม เป็นโลกุตตรภูมิ
    นั่นก็คือ พระนิพพาน (หรือการดับกิเลสได้หมดสิ้น หรือการสิ้นกิเลส) นั่นเอง
    อย่างย่อๆ สำหรับเรื่องภพภูมิต่างๆ ในสังสารวัฏ ก็คือ ทำไม่ดี มากไปด้วยไฟโกรธ มากไปด้วยโทสะ หรือผิดศีลแต่ละข้อ อย่างร้ายแรงก็ไปสู่นรก ทำไม่ดี มากไปด้วยโลภะ ความห่วงหวงสิ่งของทรัพย์สิน ความตระหนี่ ก็ไปสู่เปรตหรืออสุรกาย ทำไม่ดี มากไปด้วยโมหะ ก็ไปสู่สัตว์เดรึจฉาน (ย่อหน้านี้เขียนเอาตามที่พอจะจำได้ หากผิดพลาดประการใดในรายละเอียด โปรดอภัยให้ด้วยนะคะ)
    อยากจะเชิญชวนว่าหากสนใจจะลองอ่านให้พอได้ภาพทั้งหมดของทั้ง ๓๑ หรือทั้ง ๖ ภพภูมิสำคัญที่มีอยู่ในวัฏฏสงสารนี้ รวมทั้งทางสายที่ ๗ คือ พระนิพพาน นี้ อยากจะเชิญชวนให้อ่านไฟล์ ภูมิวิลาสินี ดิฉันย่อมาจาก หนังสือเรื่อง 'ภูมิวิลาสินี' ของพระพรหมโมลี ซึ่งมีรายละเอียดและข้อมูลจาก พระไตรปิฎก มีที่อ้างอิงและเป็นเนื้อหาที่ฟังมีเหตุมีผล น่านำมาคิดพิจารณา ต่อไป เพื่อให้เข้าใจภาพรวมอีกภาพหนึ่งของสังสารวัฏอันน่ากลัว มีแต่โทษ มีแต่ทุกข์ภัยนี้ (เรื่องภูมิวิลาสินีนี้ยาวมาก ขนาดย่อมาแล้ว แต่หากอ่านได้ สักรอบ ก็จะนับว่าได้อ่านผ่านๆ ตาเอาไว้นะคะ ชวนให้ลองอ่านกันดูค่ะ)
    กดอ่านภูมิวิลาสินี ตรงนี้ค่ะ
    + + + + + + + + + + + + + + +
    การนำเรื่องของนรก-สวรรค์ สวรรค์ในอกนรกในใจ หรือเรื่องภพภูมิต่างๆ มาสนทนากันในโฮมเพจนี้ เป็นเพราะว่า หากจะเข้าใจหรือเข้าถึงแก่นของธรรมะ ได้ ก็ควรต้องเห็นภาพหรือเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องของ วัฏฏสงสารหรือสังสารวัฏ การศึกษาเรื่องภพภูมิต่างๆ จะช่วยให้พอเห็นรูปแบบ แนวทางในการสร้างกรรม (กรรมมีทั้งกรรมดี กรรมชั่วและกรรมกลางๆ คือ ไม่ดีไม่ชั่ว) ทั้งนี้ ตามที่คติพุทธเน้นเสมอถึงเรื่องของ 'ปัจจุบัน'
    'ปัจจุบัน' เกี่ยวโยงกับ อดีตและอนาคต
    กล่าวคือ อดีตนั้น กระทำไปแล้ว ก็ให้ผลเป็นปัจจุบัน จะกลับไปแก้อดีตเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ แต่ปัจจุบันต่างหากที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นโอกาสในการสร้างเหตุ กล่าวคือ หากใครอยากไปดี ไปทางสว่าง ไปทางที่สบาย เป็นสุข ก็ให้หมั่นเป็นคนดี ทำความดีในปัจจุบัน (ความดีก็มีให้ศึกษาอีก ว่าจะทำความดีแบบโลกๆ ความดีแบบยังเวียนว่ายตายเกิด ยังมีความสุขกับการเวียนว่ายตายเกิด คือ เกิดให้ดี เกิดให้มีความสุข ฯลฯ ก็ได้ หรือจะเลือกทำความดีแบบที่มุ่งออกจากทุกข์ พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ในสังสารวัฏ ก็ได้อีก มีบอกมีแนะนำไว้หมดในพระธรรม)
    เหล่านี้เป็นเหตุผลทั้งปวงที่นำเรื่องนรก-สวรรค์และภพภูมิต่างๆ มานำเสนอไว้ในโฮมเพจนี้
    + + + + +
    ส่วนเกร็ดข้อคิดแนวคิดย่อยๆ ต่างๆ เกี่ยวกับนรก สวรรค์ หรือที่มักจะพูดกันว่า สวรรค์ในอกนรกในใจ ฯลฯ นั้น เคยสนทนาธรรมโดยเฉพาะเรื่อง นรก-สวรรค์ เรื่อง สวรรค์ในอก-นรกในใจ ไว้กับเพื่อนๆ ผู้สนใจในธรรมในหลายๆ ที่ หลายครั้ง และได้เก็บรวบรวม คำสนทนาเหล่านั้นเอาไว้ ขอนำมาใส่ไว้ในนี้พอเป็นอีกแนวคิด อ่านกันพอผ่านๆ ตานะคะ
    สวรรค์ในอก นรกในใจ หรือมีนรกสวรรค์จริงๆ
    คำตอบจากประสบการณ์ส่วนตัว
    เวลาที่ดิฉันพูดว่าเชื่อในสวรรค์นรก นั้น ไม่เคยพูดว่าเคยเห็นสวรรค์หรือนรกด้วยตัวเองจริงๆ เลยค่ะ และถ้าใครถามก็คงจะขอไม่ตอบว่าเคยเห็นไหม เพราะนิมิตต่างๆ นั้น "เห็นจริงๆ แต่สิ่งที่เห็นอาจจริง หรือไม่จริงก็ได้" (ส่วนมากจะไม่จริงเสียด้วย เพราะมักเป็น การปรุงแต่งของจิต) ที่ไม่ตอบเพราะไม่มีประโยชน์ที่จะตอบ เพราะยังไม่รู้จริงชัดแจ้ง
    แต่ที่มักจะบอกว่าเชื่อทั้ง "สวรรค์ในอก นรกในใจ" และเชื่อใน "นรก สวรรค์" ตามคติพุทธ นั้น เห็นหรือไม่เห็นด้วยตา (ที่เปิดหรือปิดอยู่ก็ตาม) ไม่สำคัญ แต่สามารถเห็นได้จากธรรมะที่ปฏิบัติ เมื่อได้ธรรมะจากการปฏิบัติเป็นประสบการณ์อันพระพุทธองค์ ทรงกล่าวไว้แล้วว่า เป็น "ปัจจัตตัง" คือ รู้ได้เฉพาะตัวแล้ว ก็จะค่อยๆ เข้าใจตัว เข้าใจกายและใจ เข้าใจใน "โลก" (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เข้าใจเรื่องกรรม เมื่อเข้าใจเรื่องกรรมก็จะ พลอยเข้าใจเรื่องเวียนว่ายตายเกิด เมื่อเข้าใจเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด ก็จะเห็นสวรรค์นรกตอนนั้นแหละค่ะ เห็นได้ด้วยใจ ด้วยความเข้าใจ
    ดังนั้นที่พูดอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นการเชื่อด้วยใจ เชื่อจากเหตุผลที่ใจสัมผัสได้ ไม่ได้เห็นเป็นรูปธรรมเลยค่ะ นามธรรมล้วนๆ ที่เชื่อ
    นี่ตอบตามคติพุทธนะคะ
    +++++
    (ช่วงนี้สนทนาเรื่องประมาณว่า ถ้าหากว่าความดีความชั่วเป็นสากล
    นรกสวรรค์เป็นสากล ฯลฯ แล้วฝรั่งหรือชาติอื่นที่ตายแล้วฟื้นนั้น เห็นสวรรค์และนรกแบบเดียวกับชาวพุทธเห็นหรือเปล่า หากเป็นสากลจริง)
    คงต้องแจกแจงคำว่า สากล เสียก่อน
    อย่างเช่น อัตภาพมนุษย์ เป็นสากล เช่นไร ก็คือมีประกอบไปด้วยกายและใจ มีสองแขน สองขา มีศีรษะ มีหน้าตา มีหู มีอวัยวะภายใน ๓๒ ไม่ว่าเราจะใช้บัญญัติ (คือ การตั้งชื่อ) อย่างไร จะเรียก 'มนุษย์' 'man' 'human-beings' ก็รู้กันว่าหมายถึงอะไร
    'ต้นไม้' หรือ 'tree' หรือภาษาใดจะเรียกอะไร ก็ เป็นต้นไม้
    อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ก็เช่นกัน ความสุข หรือ 'happiness' ความทุกข์ ความเจ็บปวดทางกาย ความริษยา ความโกรธ ความสงสาร ความเมตตา ความดีใจ เป็นต้น เป็นเรื่องที่ผู้เป็นมนุษย์ก็ย่อมรับรู้ได้ มีอารมณ์ต่างๆ อันเป็นสากลนี้เหมือนๆ กัน ไม่ว่าจะทราบบัญญัติหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าจะเรียกชื่อถูกหรือไม่ก็ตาม
    นั่นเป็นเรื่องหนึ่ง ในหมู่มนุษย์ด้วยกัน
    ...
    ที่นี้ ลองกลับมาดูกันที่ภาษาหรือความรู้สึกสากลระหว่างสรรพสิ่ง อันนี้พูดยาก ต้องอ้างอิงสิ่งที่ได้ยินได้ฟังได้ศึกษามาเพราะยังไม่รู้เอง อย่างที่ท่านว่า จริงๆ สรรพสิ่งสามารถสื่อกันด้วยจิต เป็นภาษาของใจ เป็นคลื่น ขอพูดสั้นๆ นะคะ เดี๋ยวจะนอกเรื่องไป อย่างเช่น จริงๆ เราสามารถสัมผัสความรู้สึกของสัตว์ต่างๆ หรือที่เค้าทดลองกันว่า ต้นไม้ก็ชอบฟังเพลง ชอบให้ดูแลเอาใจใส่ ชอบคำพูดเพราะๆ อ่อนโยน (คลื่นที่ดีๆ พลังที่ดีๆ - หรือเปล่า) หรืออย่างเช่นได้ยินกันบ่อยๆ ว่าพระที่มีอภิญญา ท่านสามารถพูดคุยกับสัตว์ต่างๆ หรือสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่นๆ ที่คนธรรมดาสัมผัสไม่ได้ ก็น่าจะคุยด้วยภาษาใจนี่แหละนะคะ
    อย่างวิชาทางจิตหลายๆ วิชา คนไทยหรือชาติไหนเรียน ก็เห็นใช้ได้เหมือนๆ กัน แม้จะเรียกต่างกัน เช่น คนฝรั่งเรียก universal energy คนไทยเรียก พลังจักรวาล อะไรทำนองนี้เป็นต้น
    ...
    ทั้งสองส่วนนี้มารวมกันละค่ะ ที่ดิฉันว่าเป็นสากล สรุป เมื่อความเกิดเป็นสากล เอามนุษย์แล้วกัน ก็ล้วนต้องคุณแม่ตั้งท้อง คุณแม่คลอดออกมา คราวนี้แหละ บางชาติ ก็ได้ยิน ว่า อุแว้ๆ ชาติอื่นๆ เค้าก็ได้ยินเป็นภาษาของเค้าไป (เริ่มแตะบัญญัติ)
    ดังนั้น ความตายก็เป็นสากล อาการตายมันน่าจะเหมือนๆ กันนะ เพียงแต่ว่า สัญญา (คือความจำได้หมายรู้) และบัญญัติ (ชื่อ ที่เรียกสิ่งต่างๆ อาการต่างๆ) ไม่เหมือนกัน เพราะสั่งสมกันมา ยาวนานตลอดชีวิต ดังนั้น คนฝรั่งสิ้นชีวิตแล้วกลับมาเล่า ก็จะเล่าถึงสวรรค์ขาวๆ สว่างๆ นางฟ้า เทพบุตรมีปีก
    ถ้าเป็นคนไทย ชาวพุทธไปแล้วกลับมาเล่า ก็มักเป็นสวรรค์สว่างๆ มีปราสาทสีทองๆ มีนางฟ้าเทพยดาใส่ชฎา อะไรประมาณนั้น แต่ที่จริง ก็ สวรรค์ เหมือนกัน จะพูดอะไรออกไปเยอะ ก็ยังพิสูจน์ด้วยตัวเองไม่ได้
    ส่วนบางทีฝรั่งที่มีประสบการณ์ตายแล้วกลับมาเล่า มักเล่าถึงอุโมงค์ที่ยาวๆ และแสงสว่าง มักเป็นสีขาวๆ แต่ของคนไทย มักพูดถึงสวรรค์เลย อันนี้ ดิฉันก็ไม่ทราบเหมือนกัน
    แต่ถ้าเป็นนรก มักเล่าเหมือนๆ กันนะ แปลกมั้ยคะ คนไทยก็มีนรกแบบปีนต้นงิ้ว ของฝรั่งก็รู้สึกจะมีนะ (ไม่แน่ใจเหมือนกัน) ถึงแม้ยมพบาล หรือ พญายม จะเป็นแบบไทยกับฝรั่งต่างกันอีกแล้ว ก็เพราะคนกลับมาเล่ายังไม่ตาย เล่าแบบมนุษย์ ซึ่งต้องไปรู้ ไปเห็น ไปสัมผัส ด้วยทวารทั้ง ๖ และเท่าที่ ความสามารถของทวารทั้งหก มีให้ รวมทั้งสัมผัสด้วย สัญญา สังขาร และ วิญญาณ แบบมนุษย์ๆ แล้วก็กลับมาเล่าด้วยสัญญา สังขาร และ วิญญาณ แบบมนุษย์ๆ อีก
    แต่ประสบการณ์ส่วนตัวนั้นพอมี พอที่จะยันว่าตัวเองเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองพูดไป
    +++++
    กระทู้สนทนาเกี่ยวกับเรื่องนรกสวรรค์หรือสวรรค์ในอกนรกในใจ เพิ่งมีในห้องสมุดนี้เมื่อเดือนก่อน ดิฉันก็เลยขอยกเอาที่ตัวเองตอบไว้เมื่อเดือนก่อน มาปรับแต่งเล็กน้อยให้เข้ากับคำถามในกระทู้นี้มาตอบใหม่เลยค่ะ :>
    ***************************
    เริ่มด้วยเห็นแบบ "สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ" ก่อนก็ได้ค่ะ
    ทำดีได้ดีจริงมั้ย ลองดูตัวเองเวลาได้ช่วยคนที่ตาบอด ข้ามถนนสิคะ ว่าสุขใจแค่ไหน
    ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือไม่ ลองดูว่าถ้าโกหกคุณแม่ว่าสอบได้ทั้งที่สอบตก (ขออภัย อยากยกอะไรที่เห็นชัดๆ น่ะค่ะ) จะมีความสุขไหม ใจจะอิ่มเอิบหรือจะร้อนรน
    ที่แน่ๆ ทำดีได้ดี - ได้สร้างกุศลกรรมจริงๆ ทำชั่วได้ชั่วแน่ - ได้เพิ่มอกุศลกรรมให้กับตัวเอง
    ***************************
    ถาม
    ผมขอถามว่า ฝรั่ง หรือชาติอื่นที่ตายแล้วฟื้นนั้น เห็นสวรรค์และนรก แบบเดียวกับชาวพุทธเห็นหรือเปล่าครับ หากเป็นสากลจริง
    ตอบ
    ที่ยก "สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ" ขึ้นมานั้น เป็นเพราะเป็นระดับความคิด ความรู้สึกและความจริง ในระดับที่ใครที่เกิดเป็นมนุษย์ ก็รู้สึก รับรู้ได้เสมอกัน เป็นสากล
    โดยส่วนตัวดิฉันนั้นสมัครเป็นนักเรียนวิชา ของพระพุทธองค์อย่างไม่มีเงื่อนไขแล้ว ไม่มีกังขาแล้ว เพราะศึกษามาพอควร ปฏิบัติมาจนคิดว่า พอได้คำตอบที่ตัวเองเชื่อได้ว่าจริงแล้ว
    รวมทั้งจากประสบการณ์หลายๆ อย่าง พบว่า มีหลายอย่าง ที่ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยตา แต่ก็มีอยู่จริง หลายอย่างที่ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยหู จมูก ลิ้น กาย ก็มีอยู่จริง
    สำหรับดิฉัน "สวรรค์ นรก มีจริงค่ะ" ทางทั้งเจ็ดสายคือ นรก เปรตอสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ สวรรค์และพรหมโลก มีจริง และทางแห่งการพ้นทุกข์หรือการถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน ล้วนมีจริง (ถ้าอยากอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับภพภูมิทั้งเจ็ด ดิฉันมีข้อมูลที่พิมพ์ไว้แล้วนะคะ ยาวมาก แต่ถ้าอยากอ่านก็ บอกมาได้ในกระทู้นี้ ดิฉันจะได้พยายามหาวิธีให้ได้อ่านกันค่ะ)
    "ดีชั่ว มีจริง" "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นจริง" ค่ะ
    +++++
    สาธุค่ะ
    ดิฉันเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเต็มร้อย จะมาบอกว่าดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ ถือเอาพระไตรปิฎกเป็นสรณะ เป็นหลัก อย่างมั่นคงทั้งพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ถึงแม้จะยังอ่านและศึกษา ไปได้นิดเดียวค่ะ (นี่คือหลังจากศึกษา สงสัย หาเหตุผล มาจนแน่ใจแล้วว่าจะเชื่อ ไม่ได้เชื่อแบบงมงาย)
    เห็นด้วยกับที่กล่าวเรื่องแก่นของพระพุทธศาสนา ขอเสริมกระทู้นี้นิดว่า นรก-สวรรค์ เป็นเรื่องดีควรศึกษา แต่ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด คือวิชาอันประเสริฐที่ พระพุทธองค์ทรงค้นพบ เพื่อนำมาโปรดเหล่าสัตว์ ให้พ้นทุกข์ก็คือวิชาสติปัฏฐานสี่ อันต้องลงมือปฏิบัติเองด้วยตน จึงจะได้ ให้มีสติรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม ในปัจจุบันขณะ เมื่อมีสติรู้ เมื่อสติคมชัดเข้า ก็จะรู้จักกายนี้ใจนี้ (โลก คือ ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ) เห็นพระไตรลักษณ์ เห็นทุกข์ เห็นโทษภัย ในวัฏสงสาร แล้วก็จะเห็นคำตอบเรื่องนรกสวรรค์ ได้เองโดยไม่ต้องคิด ไม่ต้องค้นหาเลยค่ะ เห็นได้แบบรู้แจ้งด้วยปัญญาที่ไม่ใช่ปัญญาแบบโลกๆ เพียงมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะของกายนี้ใจนี้ให้มากที่สุด พระพุทธศาสนาใกล้จะหมดลงแล้ว พระธรรมแท้มีแต่จะเลือนลางไป ปนเปไป ตอนนี้ทางแท้ๆ ชัดๆ ยังอยู่ ขอเชิญพวกเรามาเร่งปฏิบัติตนกันดีกว่า เพราะเมื่อเราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ผลนั้นจะแผ่ออกไปถึงคนใกล้ชิดและขยายกว้าง ออกไปเรื่อยๆ แน่นอน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์ - พระศรีอาริย์ (พระศรีอริยเมตไตรย)</CENTER>

    <CENTER>+ + + + + + + + + +</CENTER>
    พระพุทธเจ้า - พุทธวงศ์
    (คำแปล มาจากบทสวดมนต์ "อุปปาตะสันติ")
    ในภัททกัปป์นี้ ๕ พระองค์ (ผ่านไปแล้ว ๓ พระองค์) คือ
    ๑.
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ทรงมีพระวรกายสูง สี่สิบศอก พระรัศมีจากพระวรกายแผ่ซ่านไปสิบสองโยชน์ ทรงมี พระชนมายุสี่หมื่นปี
    ๒.
    พระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระวรกายสูงสามสิบศอก ทรงมีพระชนมายุสามหมื่นปี
    ๓.
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ทรงมีพระรัศมี ทรงมี พระวรกายสูงยี่สิบศอก ทรงมีพระชนมายุสองหมื่นปี
    ๔.
    พระพุทธเจ้าของเรา พระโคตมะ ทรงมีพระวรกายสูงสิบแปดศอก (ในพุทธวงศ์บาลีทรงแสดงไว้ว่า ทรงมีพระวรกายสูง ๑๖ ศอก)
    ๕.
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า เมตเตยยะ ทรงมีฤทธิ์มาก
    (ข้อความต่อจากนี้ คัดจากหนังสือรู้สึกจะชื่อ "พระมาลัยโปรดสัตว์" โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ์ ป.ธ. ๙)
    ___________________________________
    ครั้งเมื่อพระมาลัยเทวเถระผู้มีบุญญาธิการมาก มีปรีชาญาณ เฉลียวฉลาดหลักแหลมมาก มียศมาก มีจิตสงบระงับจากราคาทิ กิเลสเป็นสมุทเฉทประหารปรากฏด้วยอิทธิฤทธิศักดาเดช ได้เสด็จ ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและสนทนา ธรรมกับเทพยดาผู้จะทรงมาตรัสรู้เป็นพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ในอนาคตกาลซึ่ง ณ บัดนี้ทรงเสวยสุขสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต วันนั้นทรงเสด็จลงมาสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อถวายความเคารพ พระบรมธาตุที่ประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ ในวันปัณณรสี อุโบสถ หลังจากได้สนทนาอยู่นานสมควรแก่เวลา ก่อนจบพระ มาลัยเทวเถระจึงกราบถามคำถามสุดท้าย ดังนี้
    "สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ขอถวายพระพร อาตมภาพได้สั่งสนทนา กับมหาบพิตรมาก็เป็นเวลาอันนานพอสมควรแล้ว มหาบพิตร ประสงค์จะฝากหลักธรรมคำสั่งสอนอันเป็นข้อวัตรปฏิบัติ ซึ่งเป็น ประโยชน์เกื้อกูลอันยิ่งใหญ่ไพศาล แก่มหาชนชาวชมพูทวีป ก็ ขอถวายพระพร ณ โอกาสบัดนี้"
    "ภันเต ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อพระคุณเจ้ากลับลงไปสู่ มนุสสโลกแล้ว ขอพระคุณเจ้าได้โปรดบอกแก่มหาชนชาว ชมพูทวีป (หมายถึงโลก- deedi) ด้วยว่า ถ้ามหาชนชาวชมพู ทวีปอยากจะพบโยม พบศาสนาของโยม ขอให้พากันปฏิบัติ อย่างนี้
    ๑.
    อย่าพากันทำปัญจเวรทั้ง ๕ ประการ คือ ปาณาติปาตา เวรมณี ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่ มีชีวิตให้ตกล่วงไป
    อทินนาทานา เวรมณี ให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้โดยอาการแห่งขโมย กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี ให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม มุสาวาทา เวรมณี ให้งดเว้นการการพูดปด คือไม่ เจรจาล่อลวงโกหกผู้อื่น
    สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี ให้งดเว้นจาก การดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท สรุปใจความแล้ว ก็ได้แก่ให้พากันตั้งอยู่ในศีล ๕ ให้พากัน รักษาศีล ๕ ให้เคร่งครัด เพราะศีล ๕ นี้เป็นมนุษยธรรม เป็นธรรมะที่ทำให้คนเป็นคน ให้ดีกว่าคน ให้เด่นกว่าคน ให้เลิศกว่าคน ให้ประเสริฐกว่าคน นิยมเรียกว่า "อริยธรรม" แปลว่า ธรรมะที่ประเสริฐ ธรรมะของพระอริยเจ้า ๒.
    ให้พากันสมาทานอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ ๓.
    ให้งดเว้นเด็ดขาดจากอนันตริยกรรมทั้ง ๕ (ไม่ฆ่าพ่อ ไม่ฆ่าแม่ ไม่ทำร้ายพระอรหันต์ ไม่ทำร้ายพระพุทธเจ้า ไม่ทำให้สงฆ์แตกกัน - deedi)
    ๔.
    ให้พากันก่อสร้างกองการกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา อย่าให้ขาด อย่าได้ประมาท
    ๕.
    ให้ยึดมั่นอยู่ในกตเวทิตาธรรม
    ถ้ามหาชนชาวชมพูทวีปพากันประพฤติปฏิบัติได้ดังนี้ ก็จะได้ประสบพบกับโยมเป็นแน่ๆ เมื่อโยมได้ตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมดังความปรารถนา ยถากถิตัง ขอพระคุณเจ้าจงบอกเล่าประพฤติเหตุแก่ มหาชนชาวชมพูทวีปตามถ้อยคำของโยมสั่งจงทุกประการเถิด"
    ****************************
    ครั้งเมื่อพระมาลัยเทวเถระผู้มีบุญญาธิการมาก มีปรีชาญาณ เฉลียวฉลาดหลักแหลมมาก มียศมาก มีจิตสงบระงับจากราคาทิ กิเลสเป็นสมุทเฉทประหารปรากฏด้วยอิทธิฤทธิศักดาเดช ได้เสด็จ ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและสนทนา ธรรมกับเทพยดาผู้จะทรงมาตรัสรู้เป็นพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ในอนาคตกาลซึ่ง ณ บัดนี้ทรงเสวยสุขสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต วันนั้นทรงเสด็จลงมาสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อถวายความเคารพ พระบรมธาตุที่ประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ ในวันปัณณรสี อุโบสถ พระมาลัยเทวเถระได้กราบทูลถามดังนี้
    "ดูกรมหาบพิตร สำหรับมหาบพิตร ทั้งเทวดาและมนุษย์ย่อม พากันเรียกว่า พระโพธิสัตว์ทั้งนั้น อาตมภาพสงสัยว่า พระโพธิสัตว์นั้น มีอยู่กี่จำพวกมหาบพิตร"
    "มีอยู่ ๓ จำพวกเท่านั้น พระคุณเจ้าผู้เจริญ นั้นคือ
    ๑.
    ปัญญาธิกโพธิสัตว์
    ๒.
    สัทธาธิกโพธิสัตว์
    ๓.
    วิริยาธิกโพธิสัตว์
    ปัญญาธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยปัญญา อธิบายว่ามี ปัญญายิ่งกว่าคุณธรรมอย่างอื่นทั้งสิ้น ส่วนคุณธรรมอย่างอื่น เช่น สัทธา หรือวิริยะเป็นต้นก็มีอยู่พร้อมแต่น้อยกว่า หรืออ่อน กว่าปัญญา
    สัทธาธิกะ แปลว่า ยิ่งด้วยศรัทธา คือมีศรัทธาแก่ กล้าแข็งกว่าคุณธรรมอย่างอื่นๆ เช่น ปัญญา หรือ วิริยะ ก็มี อยู่พร้อมมูล แต่อ่อนกว่าหรือน้อยกว่าศรัทธา
    วิริยาธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยวิริยะ คือ ยิ่งด้วยความ เพียร ความกล้าหาญ พระโพธิสัตว์ประเภทนี้มีวิริยะมากกว่า หรือ เข้มแข็งกว่าคุณธรรมหรือคุณสมบัติอย่างอื่นทั้งหมด ส่วนคุณสมบัติอย่างอื่นๆ เช่น ปัญญาและสัทธาก็มีอยู่แต่ น้อยกว่า หรืออ่อนกว่าฯ หมายความต่างกันอย่างนี้แหละ พระคุณเจ้าผู้เจริญฯ"
    "พระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกนี้ จะได้ตรัสรู้หมดทุกจำพวกไหม มหาบพิตร"
    "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ไม่ได้ ต้องย่น ๓ ลงเป็น ๒ ก่อนคือ
    เป็นนิยตะ แปลว่า แน่ ๑ เป็น อนิยตะ แปลว่า ไม่แน่ ๑
    พระโพธิสัตว์ทั้ง ๓ ประเภทนั้น ถ้าได้รับพยากรณ์แล้วเรียกว่า นิยตโพธิสัตว์ แปลว่า แน่ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ถ้า ไม่ได้รับพยากรณ์คือคำยืนยันหรือรับรองจากพระพุทธเจ้าว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าเรียกว่า อนิยตโพธิสัตว์ เพราะยังไม่แน่ ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ อาจกลับกลายเป็นพระปัจเจก หรือเป็นพระสาวกไปก็ได้ ขอพระคุณเจ้าจงเข้าพระทัยโดยนัย ดังโยมได้วิสัชนาถวายมานี้"
    "ต่อเมื่อไรเล่าจึงจะได้พยากรณ์ มหาบพิตร"
    "ต่อเมื่อพร้อมด้วยธรรมสโมธาน ๘ ประการ จึงจะได้รับ พยากรณ์ พระคุณเจ้า ธรรมสโมธาน แปลว่า ธรรมที่ ประชุมกัน หรือ ธรรมที่รวมกัน คือประชุมกัน ครบองค์ หรือ รวมกันครบองค์ ถ้าถือตามคำแปลหรือคำ อธิบายนี้ต้องเห็นว่าเป็นกลางๆ ไม่จำกัดธรรมชนิดไร และไม่ จำกัดองค์เท่าไร โดยเหตุนี้ท่านจึงจำกัดลงไปเพื่อตัดความ เห็นต่างๆ เสีย คือมีหลักธรรมอยู่ว่า ผู้จะได้รับตัดสินหรือ ชี้ขาดจากผู้อื่นว่า จะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องมีอะไร สักอย่างหรือหลายอย่างเป็นเครื่องวินิจฉัย ต้องมีองค์คุณ ๘ เต็มที่ไม่ขาดวิ่นแม้แต่ข้อเดียว
    ธรรมสโมธาน ๘ ประการนั้น คือ
    ๑.
    มนุสสัตตัง
    ต้องเป็นมนุษย์ เป็นอย่างอื่นไม่นับเข้าในข้อนี้
    ๒.
    สิงคสัมปัตติ
    ต้องสมบูรณ์ด้วยเพศ คือเป็นบุรุษ
    พร้อมทุกส่วน จะเป็นเพศหญิง หรือบุรุษที่ไม่สมประกอบ เช่น เป็นกะเทย หรือเป็นคน ๒ เพศ ไม่นับเข้าในข้อนี้
    ๓.
    เหตุ
    ต้องมีอุปนิสัยสามารถสำเร็จพระอรหันต์ ได้ เช่น สุเมธดาบส (พระพุทธเจ้าของเราปัจจุบัน- deedi) เป็นตัวอย่าง คือถ้าต้องการเป็นพระอรหันต์เมื่อใด ก็เป็นได้ เมื่อนั้น
    ๔.
    สัตถารทัสสน
    ต้องได้พบพระพุทธเจ้าองค์ใด องค์หนึ่ง และได้ทำความดีถวายแด่พระพุทธเจ้าองค์นั้น เช่น สุเมธดาบส ที่ได้ทอดตัวอย่างสะพานถวายแด่พระทีปังกร พุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง
    ๕.
    ปัพพัชชา
    ต้องเป็นบรรพชิตประเภทใดๆ ก็ตาม แต่ให้เป็นประเภทถือถูก จะเป็นดาบสหรือปริพพาชิกก็ได้ ไม่ขัดกับข้อนี้
    ๖.
    คุณสัมปัตติ
    ต้องสมบูรณ์ด้วยคุณ คือ อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘
    ๗.
    อธิกาโร
    ต้องได้ทำความดียิ่ง คือได้ให้ชีวิตและ ลูกเมียเป็นทาน โดยเจตนาหวังโพธิญาณมาแล้ว
    ๘.
    ฉันทตา
    ต้องมีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการ เป็นพระพุทธเจ้าอย่างเต็มที่ คือ ไม่ต้องการสิ่งอื่น และถึงจะ ต้องทนเหนื่อยยากลำบากเท่าไร ในการที่จะต้องสร้างบารมี อยู่นานก็ตาม เป็นไม่ต้องกลัว ไม่ต้องเปลี่ยนความคิดไป ทางอื่นเป็นอันขาด
    เมื่อองค์คุณเหล่านี้ครบทั้ง ๘ ในชาติใดแล้ว ชาตินั้นแหละจึง ได้รับพยากรณ์ว่า เป็นนิตยโพธิสัตว์คือเป็นผู้แน่ที่จะได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า
    รวมองค์ ๘ หรือ ธรรมสโมทาน ๘
    มนุสสัตตัง สิงคสัมปัตติ เหตุ สัตถารทัสสนัง ปัพพัชชา คุณสัมปัตติ อธิกาโร ฉันทตา
    ๑.
    ต้องเป็นมนุษย์ เป็นอย่างอื่นไม่นับเข้าในข้อนี้
    ๒.
    สมบูรณ์ด้วยเพศ คือเป็นบุรุษพร้อมทุกส่วน
    ๓.
    ต้องมีอุปนิสัยสำเร็จพระอรหันต์ได้
    ๔.
    ต้องได้พบพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
    ๕.
    ต้องเป็นบรรพชิตประเภทที่ถือถูก
    ๖.
    ต้องสมบูรณ์ด้วยคุณคืออภิญญา-สมาบัติ
    ๗.
    ต้องได้ทำความดียิ่งเช่นได้ให้ชีวิต ลูกเมียเป็นทานเป็นต้น
    ๘.
    ต้องมีความพอใจอย่างแรงกล้าอย่างเต็มที่ในการเป็น พระพุทธเจ้า
    ธรรมสโมธาน ๘ ประการ มีอรรถาธิบายเป็นอย่างนี้แหละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ"
    ****************************
    พระศรีอริยเมตไตรย
    (ความต่อจากข้างบนที่เล่ากันถึงเรื่องพระมาลัยเถระผู้ทรงเป็น พระอรหันต์ ขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและ สนทนาธรรมกับเทพบุตรผู้ต่อไปจะลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า นามว่า พระศรีอริยเมตไตรย ขณะนี้ทรงสถิตย์อยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต แต่เสด็จ ลงมากราบพระจุฬามณีเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นนี้ ความต่อไปนี้เป็นการ สนทนากันระหว่างพระมาลัยเถรเจ้ากับพระศรีอาริยเมตไตรย)
    ********************************************
    สาธุ สาธุ ดีแล้วๆ มหาบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ เมื่อไรพระองค์ จึงจะเสด็จลงไปบังเกิดในมนุสสโลก โปรดเวไนยสัตว์ ตรัสเป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเล่า มหาบพิตร
    ภันเต ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ในเมื่อครบถ้วน ๕๐๐๐ พระวรรษา สิ้นศาสนาแห่งพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลใด ในกาลนั้นหมู่สัตว์ ทั้งหลายก็จะพากันมืดมนนัก ไม่รู้จักทำบุญทำกุศล มีแต่จะพากันทำบาป หยาบช้าทารุณ หาหิริโอตตัปปะมิได้ ดุจหนึ่งว่าไก่ แพะ แกะและสุนัข ทั้งหลาย ลูกกับแม่ก็จะอยู่กินเป็นสามีภรรยากัน พี่สาวน้องชาย พี่ชาย น้องหญิง ตลอดถึงพี่ป้าน้าอาว์ ลุงกับหลานต่างก็พากันสมัครสังวาสอยู่ ด้วยกัน กิเลส คือโลภะ โทสะ โมหะ ของหมู่สรรพสัตว์ก็จะหนาแน่นขึ้น ทุกเวลา อายุก็จะน้อยถอยลงไปตราบเท่าอายุไขย์ได้ ๑๐ ปี แม้ทารกมี อายุเพียง ๕ ปีก็จะทำการวิวาหะอยู่กินด้วยกัน ในกาลนั้นคนทั้งหลาย เห็นกันก็จะสำคัญว่าเป็นเนื้อเป็นปลา จับสิ่งใดได้เป็นต้นว่า กิ่งไม้ก็กลาย เป็นศาสตราวุธ ครั้นแล้วต่างก็จะไล่ฆ่าฟันทิ่มแทงกันและกัน ให้ถึงแก่ ความตายสุดที่จะประมาณได้ ฝ่ายชนทั้งหลาย ผู้มีบุญวาสนา มีปัญญา ครั้นทราบเหตุการณ์ว่า ถึงคืนนั้น วันนั้นจะเกิดฆ่าฟันกันวุ่นวายเป็นหนัก หนา ก็พากันหนีไปซุกซ่อนอยู่ตามซอกห้วยและภูเขาตามเหว ตามถ้ำ แต่ผู้เดียว เมื่อคนทั้งหลายฆ่าฟันกันล้มตามภายใน ๘ วันแล้ว ผู้มีบุญ วาสนาก็ออกจากที่ซ่อนเร้นเมื่อเห็นกันพบกัน ต่างก็สวมกอดซึ่งกันและกัน สมัครสมานปรึกษากันว่า มาริสา ดูกรชาวเราทั้งหลายเอ๋ย ความพินาศ เกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นเหตุด้วยคนทั้งหลายมัวเมาประมาท ประกอบแต่ กรรมอันหยาบช้า หาเมตตาปราณีต่อกันมิได้
    อิโต ปัฏฐายะ จำเดิมแต่นี้ไป ชาวเราทั้งหลายจงหมั่นประกอบการกุศล งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม กล่าวมุสาวาท ดื่ม สุราเมรัย และงดเว้นจากอภิชฌา-พยาบาท-มิจฉาทิฏฐิเถิด เมื่อปรึกษา กัน ฉะนี้แล้ว ต่างก็ตั้งหน้าอุตส่าห์บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญเมตตา ภาวนา เมื่อคนเหล่านั้นมีลูก ลูกก็มีอายุยืนไป ๒๐ ปี หลานอายุยืนขึ้นไป ๓๐ ปี เหลนอายุยืนขึ้นไป ๔๐ ปี โดยนัยนี้ เจริญขึ้นไปจนตราบเท่าถึง อสงไขยหนึ่ง กาลครั้งนั้น ความไข้ ความตายดูเหมือนจะไม่ปรากฏแก่ สัตว์ทั้งหลาย ต่อแต่นั้น คนทั้งหลายก็เกิดความประมาท เมื่อเกิดความ ประมาทแล้ว อายุก็พลันน้อยถอยลงมาตั้งอยู่ ๘ หมื่นปี สมัยนั้น ฝนตกทุกกึ่งเดือน ถึง ๑๕ วัน ตกคราวหนึ่ง เมื่อจะตกก็ตกในมัชฌิมยาม ยังพื้นแผ่นดินให้ชุ่มชื่นน่ารื่นรมย์ ประชาชนต่างก็พากันมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำใหญ่ไหลขึ้นทางฟากหนึ่ง ไหลลงทางฟากหนึ่ง มีน้ำอันเต็มเปี่ยม เสมอฝั่งตั้งอยู่เป็นนิตยกาล บรรดาพฤกษาชาติใหญ่น้อยก็ผลิดอกออกผล ตามฤดูกาลเสมอเป็นนิรันดร์ ทั้งบ้านเรือนนิคมนั้นก็มิไกลกัน ตั้งอยู่เพียง ระยะไก่บินถึง อันตรายซึ่งจะกวน เช่น โจรผู้ร้ายก็ไม่มี สมบูรณ์พูลสุข เป็นอย่างดีด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดทั้งแก้วแหวนเงินทอง สามี และภรรยาต่างก็ประคับประคองทนุถนอมน้ำใจกัน มิได้ทะเลาะวิวาท ทำร้ายกันเลย หญิงชายทั้งหลาย ต่างก็จะพากันเสวยโภคสมบัติอัน เป็นทิพย์ ไม่ต้องทำสวน ทำไร่ ทำนา ค้าขาย หญิงทั้งหลายมิต้องทอหูก ปั่นฝ้าย จะนุ่งห่มผ้าผ่อนสะไปแต่ล้วนเป็นของทิพย์ เหล่าเสนาราชอำมาตย์ ก็ย่อมตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมประเพณี มิได้เบียดเบียนบีฑาประชาราษฎร์ ให้เดือดร้อน มีความเอ็นดูกรุณาเป็นอย่างดี สัตว์ทั้งหลาย เช่น กากับนกเค้า แมวกับหนู งูกับพังพอน เสือกับเนื้อต่างก็มีไมตรีจิตสนิทสนมมิได้ประทุษร้าย กัน คนในยุคนั้นแต่ล้วนตั้งอยู่ในศีลธรรม เลี้ยงชนม์ชีพด้วยอาหารอันเป็น ทิพย์ มั่งมีศรีสุขสนุกสำราญ พื้นแผ่นดินก็ราบเรียบดูจหนึ่งหน้ากลองชัยเภรี ปราศจากตอเสี้ยนหนามอันจะทำให้เป็นบาดแผลและคนทั้งหลายก็จะ งดงามสะอาด คนวิกล วิกาล ใบ้บ้า บอด หนวก เสียขา หรือเตี้ยค่อม ชนิดใดชนิดหนึ่งมิได้มี เมื่อชนทั้งหลายแลเห็นกันแล้วก็มีแต่ความเมตตา ปราณีรักใคร่กัน พลันแต่ประสบสุข นิราศทุกข์ นิราศโรค นิราศโศก นิราศภัย
    ภันเต ข้าแต่พระมาลัยผู้เจริญ ในยุคนั้นนั่นแล โยมจักไปอุบัติบังเกิดใน มนุสสโลก ตรัสเป็นองค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วและเทศน์ โปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย คนสมัยนั้น ก็ล้วนแต่พื้นมีสันโดษ ชายจะพอใจ อยู่แต่ในภรรยาของตน มิได้ร่วมประเวณีหญิงซึ่งเป็นภรรยาของคนอื่น แม้ฝ่ายหญิงเล่าก็มิได้เอาใจออกห่างจากสามีของตน คนทุกคนล้วนแต่ ประสบสุขสำราญ มิต้องประกอบการอาชีพ เช่น ทำนา ทำสวน เมื่อ บริโภคของอันเป็นทิพย์แล้ว ก็มีแต่จะนั่งนอนเล่น ฟังเสียงทิพยดนตรี ตามความปรารถนาของตน กษัตริย์ พราหมณ์ เศรษฐี คฤหบดี ไพร่กุดุมพี นั้นมิได้มี แต่ล้วนมีทรัพย์สินเสมอเหมือนกัน อันจะหาคนเข็ญใจยากไร้ นั้นมิได้มี การวิวาทกันด้วยแย่งชิงที่บ้านเรือน เรือกสวน ไร่นา และทาส ทาษี และสัตว์ ช้าง ม้า โค กระบือ ของกันและกันนั้นย่อมไม่มี ครั้งนั้น พืชข้าวสาลีแม้แต่เมล็ดเดียว ถ้าตกลงบนแผ่นดินแล้ว ก็จะงอกขึ้นแตก ออกไปได้ร้อยส่วนพันส่วนทวีคูณขึ้นไปทีเดียวละพระคุณท่านผู้เจริญ
    ********************************************
    ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร ศาสนาของพระองค์ หาคนเป็นใบ้บ้า เป็นต้นมิได้นั้น เป็นเพราะเหตุผลแห่งอะไร ขอถวายพระพร
    ศาสนาของโยมหาคนใบ้บ้ามิได้นั้น เป็นเพราะเหตุที่โยมมิได้เจรจามุสา ล่อลวงคนทั้งหลายฯ หาคนตาบอดมิได้นั้น เป็นเพราะเหตุที่โยมเหลียว แลดูสมณะพราหมณาจารย์ ผู้มีศีลมีสัตย์ทั้งปวงด้วยตาอันเป็นที่รักฯ หาคนเตี้ยค่อมิได้นั้น ด้วยเหตุที่โยมทำกายให้ตรง คือว่าประพฤติสุจริต รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนาฯ หาคนเป็นโรคภัยไข้เจ็บมิได้ เพราะเหตุที่ โยมให้ยาเป็นทาน และช่วยกันบรรเทาทุกข์ภัยของสัตว์ทั้งปวงฯ คนใน ศาสนาของโยมมีความสุขสบายดีเสมอกันนั้น ด้วยว่าโยมให้ข้าวน้ำ ผ้าผ่อนท่อนสะไบ เรือแพนาวา ของหอม เป็นทานฯ ศาสนาของโยมไม่มี มารมาผจญ ด้วยเหตุที่โยมมิได้ทำสัตว์ให้สดุ้งตกใจกลัวฯ คนในศาสนา ของโยมล้วนแต่มีรูปร่างงามๆ นั้น เป็นผลที่โยมให้ของรักเป็นทานแก่ สมณพราหมณาจารย์และยาจกวณิพกคนกำพร้าอนาถาฯ คนในศาสนา ของโยมนั้น ได้ไปสวรรค์ทั้งสิ้น คือได้ไปหมดทุกคน ด้วยเหตุที่โยมให้ช้าง ม้า ราชรถ ยวดยาน คานหาม เป็นทานฯ ศาสนาของโยม มีพื้นแผ่นดิน เรียบราบเสมอกันนั้น เป็นผลที่โยมแผ่เมตตาจิตไปในสัตว์ทั้งหลาย เสมอหน้ากันฯ คนในศาสนาของโยมที่มั่งคั่งสมบูรณ์มีความสุขร่าเริงนั้น เป็นด้วยเหตุที่โยมยังจิตยาจก ให้ชุ่มชื่นด้วยทรัพย์สิ่งของเงินทองตามความ ปรารถนาตามชอบใจ ขอท่านอรหันตมาลัยจงเข้าพระทัยโดยนัยดังที่โยม ได้เล่าถวายมานี้เถิดฯ
    ********************************************
    ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภารพระองค์ มหาบพิตรทรงบำเพ็ญบารมีมา กี่อสงไขย์และจะลงไปเกิดในตระกูลไหน พระชนกชนนี สาวกสาวิกา ตลอดจนไม้ที่จะได้ไปตรัสรู้ชื่อว่าอย่างไร ขอจงได้กรุณาบอกไป ณ บัดนี้เถิด ขอถวายพระพร
    ข้าแต่พระคุณเจ้าอรหันตมาลัย โยมได้บำเพ็ญบารมีมาช้านานถึง ๑๖ อสงไขย์แสนมหากัลป์ สมตึงสบารมี ๓๐ ทัศนั้น โยมก็ได้ลำเพ็ญมาเป็น อย่างดี ถ้าโยมให้ทานแล้วโยมจะได้ระวังหน้าระวังหลังนั้นหามิได้ฯ โยมจะลงไปเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล มั่งมีทรัพย์สมบัติพร้อม ทุกสิ่งฯ พระชนกนามว่า สุพรหมพราหมณ์ เป็นปุโรหิตของพระเจ้า สังขจักรพรรดิ์ฯ พระชนนีนั้นนามว่า นางพรหมวดีพราหมณีฯ พระอัคร สาวกเบื้องขวานามว่า อโสกเถระฯ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายนามว่า สุพรหมเทวเถรฯ พระสีหเถระ เป็นพุทธอุปฐากฯ อัครสาวิกา ชื่อว่า สุมนาภิกษุณี ปทุมาภิกษุณีฯ อุบาสกพุทธอุปฐาก ๒ คน คือ สุทัตตคฤหบดีคน ๑ สังฆคฤหบดีคน ๑ฯ และอุบาสิกาเป็นพุทธอุปฐาก อีก ๒ คน คือ สวดีอุบาสิกาคน๑ สังฆอุบาสิกาคน ๑ฯ อัครมเหษีชื่อ นางจันทมุขีฯ โอรสชื่อ พรหมวดีกุมารฯ จะได้ตรัสรู้ที่ ไม้กากะทิง แต่พื้นดิน ถึงค่าคบ ๑๒๐ ศอก แต่คาคบถึงยอด ๑๒๐ มีกิ่งใหญ่ ๔ กิ่ง ทอดออกไป ในทิศทั้ง ๔ ยาวได้ ๑๒๐ ศอก ดอกโตเท่ากงจักรรถ แต่ละดอกมีเกษรได้ ทะนาน ๑ มีกลิ่นหอมขจรไปในทิศานุทิศได้ ๑๐๐ โยชน์ฯ ส่วนโยมนั้น มีกายสูง ๘๘ ศอก แต่พระนาภีถึงพระรากขวัญ ๒๒ ศอก แต่พื้นพระบาท ถึงพระชานุ ๒๒ ศอก แต่พื้นพระชานุถึงพื้นพระนาภี ๒๒ ศอก แต่พระ รากขวัญถึคงพระอุณหิส ๒๒ ศอก พระชนมายุยืนได้ ๘๐๐๐๐ ปี (แปด หมื่นปี- deedi) ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญโปรดทราบตามนี้เถิด
    ********************************************
    ดูกรมหาบพิตร นิยตโพธิสัตว์ ที่ว่าต้องประกอบด้วย "พุทธภูมิ" นั้น อยาก ทราบว่า คำว่า "พุทธภูมิ" แปลและหมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร อะไรบ้าง ขอถวายพระพร
    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นักปราชญ์นิยมเรียกกันว่า "พุทธภูมิธรรม" คำว่า "พุทธภูมิธรรม" แปลว่าธรรมอันเป็นชั้นของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ธรรมซึ่งจัดเป็นชั้นของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้า อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จำเป็นต้องมีภูมิชั้นเชิงดีกว่า คนอื่นๆ มาก เพื่อเป็นเครื่องส่อให้เห็นว่า แปลกจากคนอื่นๆ อย่างไร และธรรมซึ่งเป็นภูมิ หรือ เป็นชั้นเชิงของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พุทธภูมิธรรม มีอยู่ ๔ ประการ คือ
    ๑.
    อุสสาโห
    ความองอาจกล้าหาญในการทำดี ไม่ยอ่ท้อต่อสิ่งอะไรทั้งหมด เป็นต้นว่า การงานที่ทำ ความเมื่อยล้า หิวกระหาย ใกล้ ไกล
    ๒.
    อุมมัคโค
    มีปัญญาแก่กล้าเชี่ยวชาญ ความรู้อันแก่กล้า ได้แก่ความรู้ใน เหตุผลของการกระทำ นิยตโพธิสัตว์ต้องมีความรู้ในเหตุผลต้นปลายของ การกระทำต่างๆ ว่าอย่างไหนจะมีเหตุผลดีชั่วอย่างไร แล้วเลือกไม่ทำสิ่งที่ มีผลชั่ว เลือกทำแต่สิ่งที่มีผลดี
    ๓.
    วะวัตถานัง
    มีอธิษฐานมั่นคง คือมีใจคอหนักแน่นมั่นคง มีความมั่นใจ นิยตโพธิสัตว์ย่อมมีใจคอมั่นคง หนักแน่น ไม่เหลาะแหละเหลวไหล เมื่อทำ สิ่งใดต้องทำให้สำเร็จ เป็นอันไม่ทอดทิ้ง
    ๔.
    หิตจริยา
    ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ นิยตโพธิสัตว์ย่อมทำแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น
    ในคุณธรรม ๔ ข้อนี้ ถ้าลำดับตามวิธีใช้ ต้องลำดับอย่างนี้ คือ
    อุมมัคคะ- หิตจริยา-อวัตถานะ-อุสสาหะ
    อธิบายว่า ก่อนจะทำสิ่งใดลงไป ต้องใช้อุมมัคคะ คือ ปัญญาพิจารณาดู เสียก่อน แล้วจึงใช้หิตจริยา คือทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ใช้วัตถานะ คือ ความมั่นใจเป็นที่ ๓ ใช้อุตสาหะคือความไม่ย่อท้อเป็นที่ ๔
    ส่วนพวกเราที่ไม่ใช่โพธิสัตว์ประเภทนิยตโพธิสัตว์ หรือสักว่าโพธิสัตว์ ก็ควรพยายามทำตนให้ตั้งอยู่ในภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เมื่อสามารถ เลื่อนตนไปถึงภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว จึงจะเรียกว่า "ปณีตบุคคล" คือ บุคคลชั้นดี และได้ชื่อว่า เป็นผู้มีภูมิดี
    ********************************************
    ดูกร มหาบพิตรพระราชสมภาร คำว่า "อัชฌาสัย" ซึ่งเป็นธรรมประจำ นิยตโพธิสัตว์นั้น แปลและหมายความว่าอย่างไร
    แปลว่า "สิ่งที่นอนทับ" หมายความว่า สิ่งที่มีประจำใจ เรียกตามโวหาร ในทางภาษาไทยว่านิสสัยใจคอ หรือน้ำใจ มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ส่วนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ล้วนแต่เป็นฝ่ายดีทั้งนั้น เพราะเป็นคุณสมบัติ ของนิยตโพธิสัตว์
    ตามธรรมดานิยตโพธิสัตว์ ย่อมมีอัชฌาสัย หรือ อัธยาศัย ได้แก่ นิสสัยใจคอ หรือน้ำใจดี น้ำใจมีคุณธรรมสูง
    อัชฌาสัยของนิยตโพธิสัตว์มีอยู่ ๖ ประการ คือ
    ๑.
    อโลภัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยไม่โลภ คือ มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว เหลียวแลถึงประโยชน์ของคนอื่นด้วย
    ๒.
    อโทสัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยไม่โกรธ คือ เป็นคนไม่ดุร้าย ไม่หยาบคาย มีความยั้งใจ รั้งใจไม่ให้ฉุนเฉียว ไม่ให้หุนหันพลันแล่น ไม่ทะลุดุดัน ในเวลาที่กระทบกับอนิฏฐารมณ์หรือในเวลาที่มีความโกรธเกิดขึ้น ก็รีบระงับเสียโดยอุบายอันดีอันชอบเสมอ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของ ความโกรธ คือ มีเมตตา กรุณาประจำใจ
    ๓.
    อโมหัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยไม่หลง คือ ไม่งมงาย ไม่โง่เขลา มีปัญญา มีวิจารณญาณ มีปรัชญาประจำใจ ไม่ยอมเชื่อง่ายๆ ไม่ยอมเชื่ออย่าง งมงาย ต้องเห็นเหตุผล รู้เหตุรู้ผลดีเสียก่อนจึงเชื่อ ครั้นเชื่อแล้วก็ได้ ดำเนินชีวิตไปโดยมีหลักการ วิธีการ ปฏิบัติการและสิทธิการอันถูกต้อง เช่นไม่หลงทางเดินแห่งชีวิต พยายามเว้นทางไปอบายภูมิทั้ง ๔ (นรก เปรต อสุรกายและสัตว์เดรัจฉาน- deedi) แล้วเดินทางไปสุคติภูมิ คือทางไปมนุษย์ สวรรค์ พรหมและนิพพาน เป็นวิถีทางแห่งชีวิตอันตรง อันถูกต้องโดยแท้
    ๔.
    เนกขัมมัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยออกบวช ออกจากกิเลสตัณหา เมื่อมี โอกาสก็ปลีกตัวออกบวชบำเพ็ญสมณธรรม ทำตนให้ห่างจากความ หมกมุ่นอยู่กับกามคุณ ๕ หรือเมื่อไม่สามารถออกบวชก็เจริญสมถ กรรมฐานอยู่กับบ้านเรือนได้ ๕.
    ปวิเวกัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยชอบเงียบ ชอบสงบ ชอบสงัด คือ ชอบ ความสงบวิเวกได้แก่กายวิเวก สงัดกาย ๑ จิตตวิเวก สงัดจิต ๑ และ อุปธิวิเวก สงัดกิเลส ๑ อธิบายว่า ชอบความสงัดจากหมู่ ไม่ชอบคลุกคลี ด้วยหมู่ คณะ หรือกับใครๆ ชอบทำใจให้สงัดจากความรัก คือไม่อยาก ให้มีความรักรุมสุมอยู่ในใจ ชอบสงัดจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นอัธยาศัย
    ๖.
    นิสสรณัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยสลัดออกจากภพ จากชาติ จากกิเลส ตัณหา จากบาปจากกรรม คือ ชอบแสวงหาหนทางออกไปจากโลก ชอบแสวงหาหนทางออกจากกิเลสตัณหา แสวงหาหนทางออกจาก กองทุกข์นานาประการบรรดามีอยู่ในโลก
    ********************************************
    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ คำว่า "อัจฉริยธรรม" นั้นแปลว่า ธรรมะที่น่า อัศจรรย์ คำว่า "อัศจรรย์" แปลว่า ควรปรบมือให้ ควรยกนิ้วให้ว่าดี เลิศ ประเสริฐ ยอดเยี่ยม อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์นั้น มีธรรมควรที่เทวดา มนุษย์จะยกนิ้วให้ ปรบมือให้ว่ายอดเยี่ยมที่สุด
    อัจฉริยธรรมนั้น มีอยู่ ๗ ประการ คือ ๑.
    ปาปะปะฏิกุฏจิตโต
    มีจิตหดหู่จากบาป คือ จิตของนิยตโพธิสัตว์นั้น ไม่สู้กับความชั่ว ไม่สู้กับบาปอกุศล มีแต่ละอายบาป กลัวบาป ละอายชั่ว กลัวชั่ว เกลียดความบาป เกลียดความชั่ว
    ๒.
    ปะสาระณะจิตโต
    มีจิตแผ่ออกแต่ความดี คือ เป็นจิตที่เบิกบานต่อ ความดีอยู่เป็นนิจ คอยรับแต่ความดีอยู่เสมอ มีอาการแผ่ออก ไม่ถอย จากความดี ถ้ายังไม่ถึงจุดมุ่งหมาย เป็นอันไม่หยุดความเพียร ไม่ละเลิก ความเพียรเป็นอันขาด
    ๓.
    อธิมุตตะกาละกิริยา
    น้อมใจตาย คือ เมื่อได้เกิดในสวรรค์ที่มีอายุ ยืนนาน ท่านกลัวเสียเวลาสร้างบารมีไปนาน (เพราะในสวรรค์เป็นที่ เสวยสุขเป็นส่วนมาก โอกาสที่จะได้บำเพ็ญบุญบารมีต่างๆ มีน้อย ไม่เหมือนเกิดเป็นมนุษย์- deedi) จึงอธิษฐานขอให้สิ้นชีวิต คำอธิษฐานนั้นว่า "ขออย่าให้ชีวิตของข้าพเจ้ามีอยู่ต่อไปเลย" พออธิษฐานเสร็จก็จุติทันที
    ข้อนี้ถ้าไม่ใช่นิยตโพธิสัตว์ทำไม่ได้
    ๔.
    วิเสสะชะนัตตัง
    ความเป็นคนวิเศษ คือ เป็นคนแปลกไม่เหมือนคนอื่นๆ เมื่อนิยตโพธิสัตว์อยู่ในครรภ์มารดาในชาติที่สุด (คือ ชาติสุดท้าย ชาติที่ จะได้ตรัสรู้- deedi) จะไม่เหมือนคนทั้งหลายคือ คนธรรมดาเรานั้น เมื่ออยู่ในครรภ์มารดานั่งทับอาหารเก่า ทูนอาหารใหม่ของมารดาไว้ ๑ ผินหน้าเข้า ข้างหลังมารดา ๑ ผินหลังออกไปข้างหน้ามารดา ๑ นั่งยองๆ เอามือทั้งสอง ค้ำคางไว้ ๑ ส่วนนิยตโพธิสัตว์ตรงกันข้ามคือ นั่งอยู่ในที่สะอาด ไม่เปื้อน อะไร ๑ ผินหน้าออกทางหน้ามารดา ๑ นั่งพับพะแนงเชิงเหมือนพระนั่งเทศน์ บนธรรมาสน์ ๑
    ๕.
    ติกาลัญญู
    รู้กาล ๓ นิยตโพธิสัตว์ในชาติที่สุดนั้น รู้พระองค์ใน ๓ กาล คือ เมื่อจะจุติจากสวรรค์ลงสู่พระครรภ์ ก็รู้ว่าจะจุติลงสู่พระครรภ์ ๑ เวลาที่ อยู่ในพระครรภ์ ๑๐ เดือน ก็รู้ว่าอยู่ในพระครรภ์ ๑ เวลาประสูติจากพระ ครรภ์ก็รู้ว่าประสูติจากพระครรภ์ ๑ ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แต่ไม่ได้ออกสั่งสอนเวไนยสัตว์ ไม่สามารถรื้อถอนสัตว์ออกจากสังสารวัฏได้- deedi) กับพระอัครสาวกทั้ง สอง เป็น ทวิกาลัญญู รู้กาล ๒ คือ เวลาจุติลงสู่ครรภ์ ๑ เวลาที่อยู่ในครรภ์ ๑ อสีติมหาสาวกใหญ่ทั้ง ๘๐ เป็น เอกาลัญญู รู้กาลเดียว คือ เวลาจะถือ ปฏิสนธิเท่านั้น
    นอกจากบุคคล ๓ ประเภทนี้ เป็น อกาลัญญู คือ ไม่รู้กาลทั้งหมดฯ
    ๖.
    ปสูติกาโล
    กาลประสูติ เวลาประสูติ หมายความว่า ในชาติที่สุดนั้น นิยตโพธิสัตว์มีการประสูติดังนี้ คือ เวลาจะประสูติ พระมารดายืน ส่วน พระองค์ท่านที่อยู่ในครรภ์ ก็ยืนขึ้นและทรงเหยียดพระหัตถ์ทั้งสองลงไป ตามลำขา มีอาการเหมือนพระเทศน์ลงจากธรรมาสน์ ไม่รู้สึกลำบาก พระองค์และพระมารดาเลย หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหวใหญ่ ๗.
    มะนุสสะชาติโย
    เกิดเป็นมนุษย์ หมายความว่า การที่นิยตโพธิสัตว์ ผู้มีบุญญาภินิหารเต็มที่สามารถเลือกเกิดได้ตามชอบใจในชาติที่สุด แต่ต้องเกิดเป็นมนุษย์นั้น ก็นับเป็นข้อควรอัศจรรย์อย่างหนึ่ง ท่านอ้างเหตุ ไว้ ๓ อย่าง คือ
    ๑.
    มนุษยโลก
    สมควรเป็นที่ตั้งศาสนพรหมจรรย์ คือ การบรรพชาอุปสมบท ซึ่งทรงคำสั่งสอนไว้
    ๒.
    เป็นที่อัศจรรย์ในพุทธานุภาพ
    ๓.
    เป็นที่มีโอกาสไว้พระสารีริกธาตุในเวลาพระองค์นิพพาน
    ********************************************
    ส่วนต่อไปนี้นับว่าเป็นส่วนเพิ่มเติมเพราะส่วนข้างบนทั้งหมดเป็นคำสนทนา โดยตรงระหว่างพระศรีอริยเมตไตรยกับพระอรหันต์พระนามพระมาลัยเถระ แต่ส่วนที่จะยกมาตรงนี้เป็นบทสนทนาระหว่างสมเด็จพระอมรินทราธิราช (คิดว่าท่านเป็น ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นะคะ- deedi) กับพระมาลัยเถระ เกี่ยวกับ พระศรีอาริย์ก่อนที่พระมาลัยจะได้มีโอกาสกราบเข้าเฝ้าและทูลถามความ ต่างๆ ดังที่นำมาให้อ่านแล้ว
    ______________________
    ดูกรมหาบพิตร สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยนั้น พระองค์ท่านได้ทรงบำเพ็ญ กุศลธรรมเป็นประการใด จึงประกอบไปด้วยรัศมีเครื่องประดับประดา อาภรณ์วิภูสิตงดงามยิ่งกว่าเทพยดาองค์ไหนๆ ทั้งมีเทพบุตรเทพธิดาเป็น บริวารถึงแสนโกฏิปานนี้ มหาบพิตร
    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ อันกุศลกรรมของพระศรีอริยเมตไตรยหน่อพระ- พุทธางกูร พระองค์ทรงก่อสร้างกุศลสมภารมา ก็ด้วยความปรารถนาจะ ปลดเปลื้องซึ่งหมู่สัตว์อันขัดข้องอยู่ด้วยเครื่องจองจำคือกิเลสมาร ทรงตั้ง พระทัยจะโปรดปรานมนุสสมบัติแก่หมู่สรรพสัตว์ จึงได้อุตส่าห์บำเพ็ญ เนกขัมมบารมีเป็นหลายแสนโกฏิแห่งกัปป์ฯ
    หวังจะโปรดประทานพระโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผล แก่บุคคลผู้เห็นทุกข์ จึงอุตส่าห์บำเพ็ญปัญญาบารมีฯ
    หวังจะโปรดประทานพระสกทาคามิมรรค แก่นรชนผู้เห็นประจักษ์ในทาง อนิจจัง จึงทรงบำเพ็ญวิริยบารมี
    หวังจะโปรดประทานพระอนาคามิผล (ตรงนี้หนังสือเขียนว่าพระสกทาคา- มิผล ดิฉันสงสัยว่าจะพิมพ์ผิดเลยแก้มาตามนี้ ผิดถูกประการใด ขออภัย ด้วยนะคะ- deedi) แก่นรชนผู้เห็นแจ้งโดยทางอนัตตา จึงอุตส่าห์บำเพ็ญ ขันติบารมีฯ
    หวังจะโปรดประทานพระอรหัตตมรรคอรหัตตผล แก่บุคคลผู้เห็นแจ้ง ประจักษ์ในพระไตรลักษณะทั้ง ๓ ประการ จึงอุตส่าห์บำเพ็ญสัจจบารมีฯ
    หวังจะโปรดประทานพระอัฏฐังคิกมรรค แก่บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต จึงหมั่นบำเพ็ญอธิษฐานบารมีฯ
    หวังจะโปรดประทานนิพพานสมบัติ แก่สัตว์ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร จึงอุตส่าห์บำเพ็ญเมตตาบารมีและอุเบกขาบารมีฯ
    สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยบรมพุทธางกูรนี้ ได้ทรงสร้างบารมีมาหลาย แสนกัปป์ ก็เพื่อจะโปรดประทานศีล สมาธิ ปัญญา แก่เวไนยสัตว์ให้ล่วงพ้น จากวัฏฏสงสาร บรรลุถึงฟากฝั่งพระนิพพาน เห็นสภาวะปานฉะนี้ ขอพระคุณเจ้าจงรอคอยพระองค์ก่อน เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงเมื่อใด ขอพระคุณเจ้าจงได้ไต่ถามพุทธการกภูมิให้พิสดารกว้างขวาง ตามอัธยาศัยของพระคุณเจ้าเมื่อนั้นเถิดฯ
    จาก "พระมาลัยโปรดสัตว์นรก" รจนาโดย พระเทพสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ. ๙) พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    ********************************************
    จบ
    ********************************************
    หมายเหตุจากผู้จัดทำโฮมเพจ เรื่องพระศรีอาริย์นั้น เคยนำมาพูดคุยกันหลายครั้งหลาย เป็นความรู้และเป็นความหวัง ว่าในทางข้างหน้าเมื่อหมดพระพุทธศาสนาปัจจุบันแล้ว เรายังมีที่พึ่ง ยังมี พระศาสนารอคอยอยู่อีก มีพระพุทธองค์ที่จะเปิดและชี้ทางไปสู่ความดับทุกข์ อย่างไรก็ตาม เพื่อนทางธรรมท่านหนึ่งเคยเตือนมาและดิฉันเห็นด้วย ว่าเราทุกคนที่ต้องการพ้นทุกข์ ควรเร่งทำความเพียรกันเข้าไว้ เราไม่ทราบจริงๆ ว่าเมื่อไหร่เวลานั้น (คือยุคพระศรีอาริย์) จะมาถึง เราไม่ทราบด้วยซ้ำว่าถ้าเวลานั้นมาถึงจริง เราจะได้มาพบพระศาสนาอีกหรือไม่ เพราะเราอาจกำลังไปเสวยทุกข์หรือเสวยสุข อยู่ข้างล่างอันมืดมิดหรือข้างบนอันสุกสว่าง เอารอบนี้ที่แน่ๆ ดีกว่า เกิดเป็นคนก็แล้ว ได้มาพบพระศาสนา ได้ฟังธรรม ได้ปฏิบัติ ก็แล้ว เชิญชวนมารีบ "สร้างเหตุ" แห่งการออกจากทุกข์ ด้วยการเจริญ ทาน ศีล ภาวนา เจริญสติตามองค์ของมรรคแปด ตั้งแต่วันนี้ กันดีกว่า
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>พิ ธี ก ร ร ม ต่ า ง ๆ - ศ า ส น พิ ธี </CENTER>
    แก่นของพุทธศาสนา คือเรื่อง ความทุกข์-เหตุแห่งทุกข์-วิธีการออกจากความทุกข์- และการออกจากทุกข์ได้ในที่สุด หากจะลองมองหาว่าอะไรคือแก่นของพุทธศาสนา ก็คงจะสามารถมองย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของพระศาสนา เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงออกผนวช วิธีการผนวชก็เป็นไปแบบเรียบง่ายที่สุด ครั้นเมื่อทรงตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว วิธีการที่ทรงนำหมู่สงฆ์และพุทธบริษัทในทุกๆ เรื่อง ก็เป็นไป แบบเรียบง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่มีพิธีรีตอง พระธรรมวินัยทั้งปวง ก็เป็นไป เพื่อความสุข ความสงบ ความสงัดจากกิเลสทั้งปวงให้ยิ่งๆ เป็นไปเพื่อความ ไม่เอา เป็นไปเพื่อการออกจากความวุ่นวายและความซับซ้อนทั้งปวงแบบโลกๆ ไปสู่ความเรียบง่าย

    ดังนั้น ในฐานะผู้มุ่งเดินตามแนวทางของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง กล่าวคือ มุ่งมองและตั้งใจไปที่แก่นแห่งพระธรรมนี้ นั่นคือว่าด้วยทุกข์-เหตุแห่งทุกข์- วิธีการปฏิบัติตนให้ออกจากทุกข์ได้-และพ้นทุกข์ได้ในที่สุด แล้ว อะไรๆ ก็จะ เป็นไปอย่างเรียบง่าย
    อาทิ การมุ่งเป็นผู้อยู่ในศีล ก็สามารถทำได้อย่างเรียบง่าย ด้วยการตั้งใจมั่นที่จะอยู่ในศีล ถือเอาความตั้งใจเป็นสำคัญ และให้ความสำคัญกับการลงมือกระทำตนจริงๆ คือมุ่งทำตน ให้ไม่พลั้งเผลอผิดหรือพร่องในศีลทุกข้อที่ตั้งใจจะถือเป็นสำคัญ (แล้วแต่ว่าจะตั้งใจ ถือศีลอะไรก็ตาม) หรืออาจสมาทานศีลหน้าพระพุทธรูปด้วยตนเอง เท่านั้น ครูบาอาจารย์ก็บอกว่าพอแล้ว ดีด้วยเพราะว่าถือว่าเป็นการตั้งใจออกมาจาก ใจของบุคคลนั้นๆ เอง ไม่ต้องมีใครมาบอก มาชี้แนะ มาสั่งหรือบังคับหรือ ไม่ต้องสมาทานศีลแค่พอเป็นพิธี แต่มีความตั้งใจจริงเป็นหลักสำคัญ ท่านเรียกว่า 'สัมปัตตวิรัติ' คืองดเว้นเอาเอง (งดเว้นจากการทำบาปทั้งปวง ตามที่ศีลนั้นๆ ระบุ อาทิ ศีลห้า)
    ดังนี้ จะเห็นว่าที่แท้จริงแล้ว ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจและการกระทำหรือ การวางตัวของเราเองเป็นสำคัญ เป็นเอก เป็นเรื่องหลัก เป็นแก่น อย่างไรก็ตาม ในฐานะสมาชิกส่วนหนึ่งของตัวบุคคล ครูบาอาจารย์ก็สอน เอาไว้ว่า ศาสนานั้นมีทั้งเปลือกทั้งแก่นและกระพี้ เปรียบดังต้นไม้ ถ้ามีแต่ แก่นต้นไม้ก็อยู่ไม่ได้ ก็ต้องมีเปลือกด้วย เป็นต้น ดังนี้บางครั้งเรื่องของ พิธีการ พิธีกรรมต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ต้องมีบ้างอย่างพอดี อย่างพอเหมาะพอดี ไม่มากจนเกินไป ไม่รกรุงรังจนเกินไป อาจเพื่อเป็นการจัดระเบียบสังคม ในคนหมู่มาก หรืออาจเป็นไปเพื่อเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่สมควรแก่ธรรม เรื่องนั้นๆ ประเด็นนั้นๆ ดังนั้นเพียงให้ทราบว่าอะไรเป็นเปลือก อะไรเป็นแก่น อะไรเป็นกระพี้ แล้วมุ่งประเด็นไปที่แก่น ตระหนักรู้ว่าแก่นอยู่ตรงไหน มั่นใจและเดินไปตามแก่นแกนที่มุ่งหมายแล้ว ส่วนส่วนประกอบอื่นๆ จะมีบ้าง ก็รับและเข้าใจได้ เพราะทราบดีอยู่แล้วว่าอะไรเป็นอะไร และปฏิบัติตรงส่วนไหนเพื่ออะไร เช่น รักษาทั้งเปลือกแก่นและกระพี้เอาไว้ เพื่อรักษาชีวิตต้นไม้ทั้งต้นโดยรวมให้อยู่รอดปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อถนอมรักษาแก่นเอาไว้ให้มั่นคงถาวรสืบไป
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>วิ ปั ส ส น า ก ร ร ม ฐ า น แ ล ะ ส ม ถ ก ร ร ม ฐ า น </CENTER>
    การเจริญกรรมฐาน มีอยู่ ๒ ประการ คือ การเจริญสมถกรรมฐานประการหนึ่ง และการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อีกประการหนึ่ง

    การเจริญสมถกรรมฐานนั้น มีการเจริญกันแม้ในสมัยที่พระพุทธศาสนายังไม่ได้ อุบัติขึ้นในโลก แต่เมื่อถึงสมัยที่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกแล้ว การเจริญ สมถกรรมฐานก็หย่อนความนิยมลง ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อบุคคลทั้งหลายได้รู้จัก คุณค่าของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ก็ได้หันมาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน กันเป็นส่วนมาก
    แท้จริงการเจริญสมถกรรมฐานก็นับว่าเป็นภาวนามยกุศลอันประเสริฐอยู่ประการ หนึ่ง แต่ไม่มีคุณภาพพิเศษเท่าเทียมกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพราะการ เจริญสมถกรรมฐานนี้ ย่อมมีอยู่ทั้งสมัยนอกพุทธกาลและในพุทธกาล ซึ่งบรรดา บุคคลผู้ใฝ่ใจทั้งหลายอาจเจริญได้เสมอ
    เราท่านทั้งหลายก็ได้เคยเจริญสมถรรมฐานกันมาแล้วด้วยกันทุกท่าน ถึงแม้ บางท่านจะไม่เคยเจริญในปัจจุบันชาตินี้ แต่ในอดีตชาติย่อมเคยเจริญมา ด้วยกันแล้วทั้งสิ้น และได้เคยเจริญกันมาจนนับครั้งไม่ถ้วนแล้วด้วย นี้ประการหนึ่ง
    อีกประการหนึ่ง อานิสงส์ของการเจริญสมถกรรมฐานนี้ จะได้ผลอย่างมาก เพียงไปเกิดใน พรหมโลก ภูมิใดภูมิหนึ่งตามกำลังที่ตนปฏิบัติได้ เมื่อสิ้น อานิสงส์ของกุศลนั้นแล้วก็ต้องกลับมาเกิดในกามสุคติภูมิ และต่อจากนั้น ก็อาจไปเกิดในภูมิใดๆ ตลอดลงไปจนถึงอบายภูมิก็ได้ แล้วแต่กรรมที่ แต่ละบุคคลได้กระทำไว้
    จึงเป็นอันเห็นได้ว่า การเจริญสมถกรรมฐานนั้น ไม่สามารถจะนำสัตว์ ให้พ้นไปจากสังสารวัฏฏทุกข์ได้อย่างจริงจังประการใด ต่างกับการเจริญ วิปัสสนากรรมฐาน เพราะการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะมีได้แต่ใน สมัยพุทธกาลเท่านั้น สมัยนอกพุทธกาลไม่อาจมีขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะว่า การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะบังเกิดมีขึ้นได้ก็โดยเฉพาะ พระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะเท่านั้น ฉะนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก การเจริญวิปัสสนากรรมฐานย่อมมีขึ้นไม่ได้
    บุคคลใดๆ แม้จะมีความใฝ่ใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ หากในสมัย พุทธกาลไม่ได้เกิดในภูมิประเทศอันเหมาะสมแล้ว ก็ไม่มีโอกาสจะได้เจริญ วิปัสสนากรรมฐานได้ เป็นอันเกิดมาเสียเวลาเปล่าไปชาติหนึ่ง การเกิดมา เสียเวลาเปล่าดังกล่าวนี้ของแต่ละบุคคลนั้น มีปริมาณมากมายเหลือที่จะคณนา ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนี้เป็นภาวนามยกุศลอันมีอยู่เฉพาะกาลดังนี้ จึงนับว่าเป็นคุณภาพพิเศษประการหนึ่ง
    อีกประการหนึ่ง อานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สามารถนำบุคคล ผู้เจริญให้พ้นไปจากสังสารวัฏฏทุกข์ได้อย่างจริงจัง ผู้ใดปฏิบัติจนถึงมรรคผล เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ย่อมตัดภพชาติให้น้อยลง อย่างมากจะเหลืออีกเพียง ๗ ชาติ และถ้าสามารถเจริญจนอรหัตตมัคคอรหัตตผลจิตเกิดขึ้นแล้ว ย่อมตัดภพชาติ ให้สิ้นไปไม่มีเหลือ ไม่จำต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป การเจริญวิปัสสนา กรรมฐานนี้จึงนับว่ามีคุณภาพเป็นพิเศษอีกประการหนึ่ง ซึ่งเราท่านทั้งหลาย ยังไม่เคยได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานกันมาแต่ก่อน หรือจะได้เคยเจริญกันมา บ้างก็แต่เพียงเล็กน้อย ยังไม่ถึงขนาดที่มรรคผลเกิดขึ้นแก่ตน จึงยังไม่พ้น ไปจากสังสารวัฏฏทุกข์
    การที่กล่าวว่าเราท่านทั้งหลายเคยเจริญสมถกรรมฐานกันมาแต่อดีตชาติ มากมายหนักหนาจนนับครั้งไม่ถ้วนนั้น ก็โดยอาศัยหลักฐานอันเป็น พุทธวจนะตรัสเทศนาไว้ว่า มหากัปป์คือโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ ได้ถูกทำลาย ด้วยไฟ ด้วยน้ำ ด้วยลมมามากมาย จนไม่สามารถจะนับจะประมาณได้ว่า เป็นจำนวนกี่ครั้งกี่หน เมื่อโลกจะถูกทำลายแต่ละครั้งนั้น บรรดาสัตว์ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในโลกก็ต้องไปเกิดในพรหมภูมิด้วยกันทั้งสิ้น และการ ที่สัตว์จะไปเกิดในพรหมภูมิได้ก็ต้องอาศัยอานิสงส์ของฌาน ฉะนั้น จึงเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า เราท่านทั้งหลายนี้ได้เคยปฏิบัติสมถรรมฐาน กันมาจนถึงได้ฌานนั้น มากมายหลายชาติจนไม่สามารถจะนับ จะประมาณได้เช่นกัน
    เหตุที่เราท่านทั้งหลายได้เจริญสมถกรรมฐานจนถึงได้ฌานและได้ไปเกิด ในพรหมภูมินั้นก็คือ ก่อนที่โลกจะถูกทำลายแต่ละครั้งย้อนถอยหลังไป ประมาณ ๑ แสนปี มีเทพยดาองค์หนึ่งมีนามว่า โลกพยุหะ ได้มาประกาศ ก้องไปทั่วท้องจักรวาล เพื่อให้ปวงสัตว์ทั้งหลายได้สำนึกตนว่า อีก ๑ แสนปี โลกนี้จะถึงซึ่งความพินาศ และเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายได้พ้นไปจากโลกนี้ ก่อนที่โลกจะถูกทำลาย จึงเชิญชวนให้บรรสัตว์ทั้งหลายได้เจริญ พรหมวิหารธรรม ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมื่อโลกพยุหเทพเจ้าได้ประกาศไปเช่นนี้แล้ว สัตว์ทั้งหลายจะรู้สึก ตระหนกตกใจ ต่างก็จะละซึ่งอกุศลที่ตนกระทำอยู่โดยฉับพลัน และหัน มาเจริญพรหมวิหารธรรมกันทันที เมื่อสัตว์ทั้งหลายได้ละอกุศลกรรม และมั่นอยู่ในพรหมวิหารธรรมโดยทั่วกันเช่นนี้ อปราปริยเวทนิยกรรม ฝ่ายกุศลก็มีโอกาสสนับสนุน จนกระทำให้สัตว์ทั้งหลายสามารถเจริญ สมถกรรมฐานจนได้บรรลุฌาน อันมีอานิสงส์ให้สัตว์ทั้งหลายได้ไป บังเกิดในพรหมภูมิโดยทั่วกัน ดังที่สาธกหลักฐานกล่าวไว้ใน วิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า
    อปราปริยเวทนิยกมฺม รพิโต สํสาเรสํสรนฺโต สตฺโต นาม นตฺถิ
    ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ไม่มีสัตว์ใดเลยที่จะพ้นไปจากอปราปริยเวทนิยกรรม
    อันการที่สัตว์ทั้งหลายจะได้ไปบังเกิดในพรหมภูมินั้น ย่อมแล้วแต่ความ สามารถในการเจริญสมถกรรมฐานของตนๆ แต่อย่างน้อยที่สุด ก็จะต้อง พ้นไปจากเขตการทำลายของโลก คือ
    ถ้าสมัยใดโลกถูกทำลายด้วยไฟ ก็ทำลายถึงปฐมฌานภูมิ สมัยนั้นสัตว์ ทั้งหลายจะต้องเจริญสมถกรรมฐานให้ได้ผลถึงทุติยฌานกุศล เพื่อไป บังเกิดในทุติยฌานภูมิ
    สมัยใดโลกถูกทำลายด้วยน้ำ ก็ทำลายถึงทุติยฌานภูมิ สมัยนั้นสัตว์ ทั้งหลายจะต้องเจริญสมถกรรมฐานให้ได้ผลถึงตติยฌานกุศล เพื่อไป บังเกิดในตติยฌานภูมิ
    สมัยใดโลกถูกทำลายด้วยลม ก็ทำลายถึงตติยฌานภูมิ สมัยนั้นสัตว์ ทั้งหลายจะต้องเจริญสมถกรรมฐานให้ได้ผลถึงจตุตถฌานกุศล เพื่อไป บังเกิดในจตุตถฌานภูมิ (ฌานกุศลที่ได้กล่าวมานี้ หมายถึงฌานกุศล ที่นับตามจตุถนัย)
    สำหรับผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้าอาจเจริญสมถกรรมฐานให้ได้ผลสูงยิ่งขึ้นไป จนถึงได้ไปเกิดในภวัคคภูมิ อันจะมีอายุยืนอยู่ในภูมินั้นนานถึง ๘๔๐๐๐ มหากัปป์ก็ได้
    การปฏิบัติสมถกรรมฐานได้ อันมีผลให้เกิดในพรหมภูมิอันมีอายุยืนนานนั้น ไม่ใช่เป็นการพ้นทุกข์อย่างจริงจังประการใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ ทรงสรรเสริญเพราะเป็นการเสียเวลาเปล่า เมื่อสิ้นอานิสงส์แห่งกุศลนั้นแล้ว ก็ย่อมต้องกลับมาเกิดในกามสุคติภูมิ และต่อไปถ้าขาดความสำรวมระวัง ให้ดีแล้ว ก็อาจจะไปสู่อบายภูมิ อันเป็นที่เกิดของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และดิรัจฉานได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
    อันหลักฐานที่พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญการไปเกิดในพรหมภูมินั้น อาจสันนิษฐานได้จากเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ได้ทรงระลึกถึงท่าน อาฬารดาบสและท่านอุทกดาบสทั้งสอง ก็ปรากฏในพระญาน (ต้นฉบับ ตรงนี้สะกดคำว่าฌานนี้ไว้เช่นนี้ค่ะ - deedi) ว่าท่านทั้งสองนี้ได้ไปปฏิสนธิ ในอรูปพรหมเสียแล้วทั้งสองท่าน จึงทรงพระอุทานว่า "เสียเวลาเสียแล้ว" ดังนี้ เป็นต้น นอกจากนั้น ในสมัยพุทธกาลได้มีพรหมองค์หนึ่งพิจารณา เห็นความเดือดร้อนของบุคคลทั้งหลาย ได้มากราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า บุคคลทั้งหลายเหล่านี้มีความเดือดร้อนเสมือนมีศรปักอยู่ที่ทรวงอก และมีไฟสุมอยู่เบื้องต่ำ ขอให้พระพุทธองค์ทรงหาอุบายที่จะให้บุคคล ทั้งหลายได้พยายามศึกษาสมาธิธรรมเพื่อว่าเมื่อตายแล้วจักได้ไปเกิด ในพรหมภูมิ จะได้เสวยความสุข พ้นจากทุกข์ทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า การเจริญสมาธิธรรมอาจให้ผลดังกล่าวนั้น แต่ว่าไม่ใช่การ พ้นทุกข์อย่างแน่นอน เพราะในพรหมภูมินั้นยังไม่สิ้นโมหะ บุคคลทั้งหลาย ที่มีทุกข์อยู่ก็โดยที่มีสักกายทิฏฐิอยู่ในสันดาน อันอุปมาเท่ากับมีศรเสียบ อยุ่ที่อุระประเทศ มีไฟสุมอยู่เบื้องล่าง บุคคลที่จะถอนออกซึ่งศรที่เสียบ อยู่พร้อมกับรักษาพิษของมันนั้น จะต้องใช้ปัญญาประกอบกับความ พยายาม ถึงพร้อมด้วยสติเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงจะสามารถ ถอนสักกายทิฏฐิออกจากสันดานได้ อันนี้จึงจะเป็นการพ้นทุกข์ ได้แน่นอน
    ส่วนที่ว่าเมื่อสิ้นอานิสงส์แห่งการเจริญสมถกรรมฐานแล้ว จะต้องกลับมา เกิดในกามสุคติภูมิ และถ้าขาดการสังวรที่ดีแล้ว ก็อาจต้องไปเกิดใน อบายภูมินั้น ตัวอย่างที่จะชี้ให้เห็นง่ายๆ ในขณะนี้ก็คือ การที่ได้ไปเกิดใน พรหมภูมิดังกล่าวมาแล้วนั้น มิใช่เฉพาะเราท่านทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ ณ ที่นี้เท่านั้น แม้บุคคลที่อยู่ในที่อื่นตลอดจนสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย มีจิ้งจก ตุ๊กแก นก หนู ที่เห็นๆ อยู่เหล่านี้เป็นต้น ก็ล้วนแต่ได้เคยไปเกิด ในพรหมภูมิจนนับครั้งไม่ถ้วนมาด้วยกันแล้วทั้งนั้น และเมื่อหมดอานิสงส์ แห่งกุศลนั้นแล้วก็ปรากฏให้เห็นๆ อยู่ดังนี้ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าการเจริญ สมถกรรมฐานนั้นไม่สามารถจะนำสัตว์ให้พ้นไปจากสังสารวัฏฏทุกข์ได้ อย่างแท้จริงประการใด
    ส่วนการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งได้กล่าวว่าเราท่านทั้งหลายไม่เคยได้ ปฏิบัติกันหรือหากจะได้ปฏิบัติมาบ้างก็ยังไมถึงขนาดที่มรรคผลเกิดขึ้น แก่ตนนั้น ก็เพราะการเจริญวิปัสสนากรรมฐานก่อนที่จะถึงซึ่งความสำเร็จ คือ การที่มัคคผลจตจะเกิดขึ้นนั้น จะต้องประกอบพร้อมด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น ย่อมมี สัมมัปปธานเป็นองค์ประกอบด้วยประการหนึ่ง และองค์หนึ่งแห่ง สัมมัปธาน ๔ นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า
    อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ อุปฺปาทาย วายาโม
    ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ความเพียรเพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เคยเกิดให้ เกิดขึ้น อันเราท่านทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารนี้ ย่อมมีชาติความเกิดนับถอยหลังไปไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น กุศลใดๆ ที่นอกจากโลกุตตรกุศลแล้ว ที่ยังไม่เคยเกิดในสันดานของแต่ละบุคคล นั้น ย่อมไม่มี บรรดาโลกียกุศลทั้งหลายย่อมเคยเกิดมาแล้วทั้งนั้น ฉะนั้น คำว่ากุศลที่ยังไม่เคยเกิดในพุทธวจนะนี้ ย่อมหมายเอา โลกุตตรกุศล เพราะ โลกุตตรกุศลจะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยการเจริญ วิปัสสนากรรมฐานโดยเฉพาะเท่านั้น ถึงแม้ว่าชาติคือความเกิด ของแต่ละบุคคล เมื่อนับถอยหลังไปไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี แต่โอกาสที่จะ ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ย่อมหาได้ยาก เพราะการเจริญ วิปัสสนากรรมฐานนั้นมีอยู่แต่ในสมัยพุทธกาลอันเป็นเฉพาะกาล ไม่ได้มีอยู่เสมอไป โอกาสที่บุคคลแต่ละคนจะได้ปฏิบัติจึงหาได้ยาก ดังกล่าวแล้วประการหนึ่ง และถ้าเราท่านทั้งหลายได้เคยปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานกันมาจนถึงขั้นมรรคผลเกิดแล้ว เราท่านทั้งหลาย ก็คงจะได้พ้นไปจากสังสารวัฏฏทุกข์นี้แล้ว ไม่จำต้องเวียนว่ายตายเกิด ตลอดมาจนบัดนี้ นี้ก็เป็นข้อยืนยันอีกประการหนึ่ง
    การเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่วามีอยู่แต่ในสมัยพุทธกาล นอกสมัยพุทธกาล ไม่อาจเกิดมีขึ้นได้นั้น ถาจะกล่าวอย่างรวบรัดก็อาจกล่าวได้ว่า เพราะการ เจริญวิปัสสนากรรมฐานั้น ต้องมีรูปนามขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ และรูปนามขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นปรมัตถสภาวะนั้น ย่อมมีพระไตรลักษณ์ปรากฏอยู่ เมื่อใช้สติกำหนด รูปนามอยู่อย่างไม่ขาดสายแล้ว พระไตรลักษณ์ ก็ย่อมจะปรากฏ แต่อย่างไร ก็ดี พระไตรลักษณ์ที่จะเป็นอารมณืของวิปัสสนากรรมฐานได้นั้น จะต้อง เกิดจากสัพพัญญุตฌาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ นอกจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีใครจะสามารถนำมาสั่งสอนได้ เว้นแต่จะได้ ฟังคำสั่งสอนมาจากพระพุทธองค์ก่อน ดังปรากฏหลักฐานในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาว่า
    อนฺตลกฺขณํ ปญฺญาปนสฺส อญฺญสฺส กสฺสจิ อวิสโย สพฺพญฺญุพุทฺธานเมว วิสโย เอวเมตํ อนตฺตลกฺขณํ อปากฏฺํ ตสฺมา สตฺถา อนฺตตลกฺขณํ ทสฺเสนฺโต อนิจฺเจน วา ทสฺเสติ ทุกฺเขน วา อนิจฺจทุกเขหิ วา
    ซึ่งแปลเป็นใจความว่า อนัตตลักขณะเป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระองค์เดียว ผู้อื่นไม่สามารถสอนได้ เพราะว่าอนัตตลักขณะนั้นสุขุม คัมภีรภาพยิ่งนัก ไม่อาจจะเห็นได้ชัดโดยง่าย ในการเทศนาของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงเทศนาอนิจจังทุกขังก่อน แล้วจังเทศนาอนัตตา ต่อภายหลัง ดังมีเรื่องกล่าวว่า สมัยนอกพุทธกาล มีพระดาบสองค์หนึ่ง นามว่า สรภังคดาบส ก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่เสวยพระชาติ เป็นพระบรมโพธิสัตว์กำลังสร้างพระบารมีอยู่นั้นเอง ได้ทรงสอนให้สัตว์ ทั้งหลายรู้จักอนิจจังและทุกขัง ส่วนอนัตตานั้นไม่สามารถจะสอนได้ และแท้จริงอนิจจังทุกขังที่ท่านสรภังคดาบสสอนนั้นก็ไม่ใช่อนิจจังทุกขัง แท้ เป็นเพียงอนิจจังทุกขังเทียม เพราะอนิจจังทุกขังที่ท่านสรภังคดาบส สอนนั้น ถือสมมติบัญญัติเป็นอารมณ์ หาใช่ปรมัตถอารมณ์ไม่ เช่น ถ้วยโถโอชามแตกก็สอนว่าเป็นอนิจจัง หรือแม้ที่สุดเมื่อมีสัตว์หรือ บุคคลใดถึงแก่ความตาย ก็สอนว่าลักษณะเช่นนั้นแหละเป็นอนิจจัง ส่วนทุกขังนั้นก็เมื่อบุคคลใดได้รับความลำบาก มีการเจ็บป่วยหรือ ถูกภัยใดๆ เบียดเบียน ก็กล่าวว่านี้แหละเป็นทุกขัง ส่วนอนัตตานั้น ท่านไม่อาจสอนได้
    นี้จะเห็นได้ว่า แม้แต่พระบรมโพธิสัตว์ ก่อนแต่การตรัสรู้ซึ่งสัพพัญญุตญาณนั้น ก็ไม่อาจจะสอนพระไตรลักษณ์ให้สมบูรณ์ได้ ถึงแม้การสอนเพียงอนิจจังทุกขัง ก็ถือสมมติบัญญัติเป็นอารมณ์หาใช่ปรมัตถอารมณ์ไม่ อนิจจังทุกขังดังกล่าว นั้นจึงยังหาใช่อารมณ์วิปัสสนากรรมฐานไม่ และการพิจารณาโดยถือสมมติ บัญญัติเป็นอารมณ์เช่นนั้น ไม่อาจเป็นเหตุให้อนัตตาปรากฏเกิดขึ้นได้เลย จึงไม่สามารถอน สักกายทิฏฐิ อันอุปมาเหมือนศรเสียบอยู่ที่อุระประเทศ ออกได้เลย อนัตตาลักขณะจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณา อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะอันเกิดจากปรมัตถอารมณ์ และได้เห็น ลักษณะทั้งสองนั้นอย่างแจ่มชัดแล้ว เมื่อนั้นแหละอนัตตลักษณะ จึงจะปรากฏเกิดขึ้นได้
    (จาก 'วิปัสสนาธุระ'
    โดย ดร. ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหกัมมัฏฐานจริยะ
    พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์
    สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
    หน้า ๑๐๗ ถึง ๑๑๓) + + + + + + + + + + + + + + +
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน
    (๑)
    สมถะ
    คือธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต ธรรมยังจิตให้สงบระงับ การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ
    วิปัสสนา
    คือ ความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสรรพสิ่ง ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง- ความไม่เที่ยง ทุกขัง- ความ เป็นทุกข์ อนัตตา- ความไม่เป็นของใคร ไม่อยู่ในบังคับบัญชา ของใครทั้งสิ้น) อันสามารถค่อยๆ ช่วยถอนความหลงผิดรู้ผิดใน สรรพสิ่งเสียได้ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัด ภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่เค้าเป็นของเค้าเอง)
    (๒)
    สมถะ
    สมถกรรมฐาน ใช้ 'สมาธิ' ล้วนๆ
    วิปัสสนา
    วิปัสสนากรรมฐาน ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ ๕ ตัว คือ ศรัทธา (๑) วิริยะ (๑) สติ (๑) สมาธิ (๑) ปัญญา (๑) โดยศรัทธานั้นมาคู่กับปัญญา ต้องสมดุลย์ได้ดุลย์กัน และสมาธิกับวิริยะก็คู่กัน คือต้องได้ดุลย์กัน พอดีกัน ส่วนสตินั้น ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งดี
    (๓)
    สมถะ
    สมถกรรมฐานใช้อะไรหลายๆ อย่างกำหนด เช่น บางคนเพ่งสีขาว บางคนเพ่งไฟ บางคนเพ่งสีแดง ฯลฯ (กรรมฐาน ๔๐ = อุปกรณ์
    ในการฝึกอบรมจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา ที่ตั้ง แห่งการทำงานของจิต มี กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อัปมัญญา ๔ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา; จตุธาตุววัฏฐาน; อรูป ๔) ซึ่งเป็นสิ่งภายนอก (นอกกายและใจของผู้ปฏิบัติสมาธินั้นๆ)
    วิปัสสนา
    วิปัสสนากรรมฐาน ใช้การดูเข้ามาที่ 'กายและใจ' ของผู้ปฏิบัติ แต่ละคนเอง ไม่ส่งออกนอก (คือ ไม่มีการส่งออกนอกของกาย
    และใจของตัวผู้ปฏิบัติเลย) เพราะเหตุว่าต้องมาดู มา มารู้ มามีสติอยู่ ที่สภาวะต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นกับกายและใจของเรา ณ ขณะปัจจุบัน นี้เอง บุคคลจึงจะสามารถเข้าไปรู้จัก กายและใจของตนนี้ตามความเป็นจริงได้
    (๔)
    สมถะ
    สมถกรรมฐาน - ฝึกให้มากแล้วได้ 'ฌาน' (อ่านว่า 'ชาน' - ฌาน คือ การเพ่งอารมณ์ จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็น องค์ธรรมหลัก)
    วิปัสสนา
    วิปัสสนากรรมฐาน - ฝึกให้มากแล้วได้ 'ญาณ' (อ่านว่า 'ยาน' - ญาณ คือ ความรู้ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้) เกิด 'ปัญญา' ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา เข้าไปรู้ความเป็นจริงของโลกตามที่เป็นความจริงแท้ๆ
    (๕)
    สมถะ
    เมื่อฝึกสมถะกรรมฐาน จิตจะมีพลังมาก สงบมาก มักเกิดความสุขยิ่ง (ความสุขอื่นใดเหนือความสงบไม่มี) สมถกรรมฐานนี้ แต่ไม่เกิดปัญญา ได้แต่ความสงบ ความสุขอันประณีตในฌาน ได้อภิญญา อาจมีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้ แต่ไม่พาไปพ้นทุกข์ (เพราะการไปพ้นทุกข์ได้ต้องอาศัยสิ่งเดียวคือการสร้างสมให้เกิด
    ปัญญารู้แจ้ง รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง)
    วิปัสสนา
    วิปัสสนากรรมฐาน เมื่อฝึกให้มาก ปฏิบัติกายและใจให้มาก
    ก็จะยิ่งเกิด 'ปัญญา' เมื่อปัญญาเกิดมากเข้าๆ ก็จะค่อยๆ รู้เท่าทัน ในความเป็นจริงของสรรพสิ่ง รู้เท่าทันกิเลส เมื่อเริ่มรู้ก็จะเริ่ม เกิดความเบื่อ (ไม่ใช่ความเบื่อแบบโลกๆ) เมื่อเกิดความเบื่อ ก็จะเกิดความหน่าย เมื่อหน่ายก็จะคลาย เมื่อคลายก็จะหลุด เมื่อหลุด (จากกิเลส คือ ประหารกิเลสได้หมด) ก็พ้น (คือพ้นทุกข์ พ้นจาก กิเลส พ้นจากอวิชชา พ้นจากสังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิด)
    **********************
    วิปัสสนากรรมฐาน (ตามแนวสติปัฏฐานสี่) อันเป็น เอกายนมรรค (คือ พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า สติปัฏฐานสี่ เป็นเอกายนมรรค คือ ทางสายเอก ทางสายเดียว สู่การพ้นทุกข์ - ก็คือทางแห่งปัญญา นี้เอง) นี้ สามารถทำให้ 'ปัญญา' ตัวดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริงก็ด้วย การปฏิบัติตัวปฏิบัติใจของเราแต่ละคนด้วยตัวเอง ดังพระพุทธเจ้า ทรงกล่าวไว้ว่า "ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้ทางเท่านั้น แต่เธอทั้งหลาย ต้องทำเอาเอง"
    ดังนั้น ด้วยการฝึกสติปัฏฐานสี่ (คือ พยายามฝึกสติให้มีสติรู้ตัว ทั่วพร้อมในกายและใจของเราเอง) และวิปัสสนากรรมฐานนี้เอง ที่จะพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปสู่การเกิดปัญญา และไปสู่การ พ้นทุกข์ได้จริงในที่สุด
    -สรุปสั้นๆ อีกทีว่า-
    วิปัสสนาและสติปัฏฐานสี่ เป็นเรื่องของการฝึกฝนกายและใจ เจริญทาน-ศีล-ภาวนา ไปพร้อมๆ กัน กับการเจริญสติการเจริญ วิปัสสนา และด้วยการค่อยๆ ฝึกฝนสั่งสมอบรมเหตุปัจจัยนี้เอง บุคคลก็จะค่อยๆ เข้าไปเกิดปัญญารู้ เป็นการค่อยๆ รู้ ค่อยๆ ลด ค่อยๆ ละและค่อยๆ เลิกจากการตกเป็นทาสของกิเลส เป็นทาสของอวิชชา ซึ่งต้องทำกันข้ามภพข้ามชาติ เรียกว่าเป็นการค่อยๆ สั่งสมอบรมบารมี (บารมีก็คือคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุ
    จุดหมายอันสูงยิ่ง) เพื้อเป้าหมายอันสูงสุด เลิศสุด คือ การพ้นทุกข์ การหมดสิ้นกิเลส อันเป็นความสุขที่สุด ประเสริฐที่สุด นั่นเอง
    วิปัสสนาจะดูสิ่งที่เคลื่อน คือกายและใจ ที่ทำโน่นทำนี่ มีอาการโน่นนี่ เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ และ ดับไป อยู่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรนิ่งอยู่กับที่ เช่นยืน ขยับ เดิน นั่ง นอน เปลี่ยนท่า เปิด คิด หงุดหงิด พอใจ สุข ไม่พอใจ สบาย ร้อน หนาว ฯลฯ
    ส่วนใจก็มีธรรมชาติของเค้าคือ 'การคิด' เค้ามักคิดโน่นคิดนี่ซัดส่ายไม่เคยได้หยุด ไม่ได้พัก กายก็เช่นกัน จะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด -ยืนแล้วก็เดิน -เดินเมื่อยก็นั่ง -นั่งเมื่อยก็นอน -นอนเมื่อยก็ลุกมาเดิน จะเห็นว่า จะมีเหตุและปัจจัยให้กายและใจ เคลื่อนอยู่เสมอ
    และด้วยการมาตามดู ตามรู้ ตามสังเกตความ เคลื่อนไป ความแปรเปลี่ยนไป ของกายและใจ ของเราแต่ละคนเองนี่เอง โดยตามรู้ ตามมีสติ ดูเค้าไปเรื่อยๆ ตามที่เค้าเป็นของเค้าจริงๆ ตามที่เค้าเคลื่อนและเลื่อนไหลไปเรื่อยๆ นี่เอง ที่จะทำให้บุคคล สามารถพบความเป็นจริงจริงๆ ในกายและใจของตน
    สำหรับคำถามว่าควรปฏิบัติอะไรก่อน ก็อยากจะแนะนำ (ตามความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ) ว่าเราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้มาพบพระพุทธศาสนาแล้ว (ท่านว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยากนักหนา แล้วก็การได้มีโอกาสมาพบพระพุทธศาสนาเช่นนี้ ยิ่งยากเข้าไปใหญ) อยากแนะว่าน่าจะฝึกวิปัสสนา กรรมฐานไปเลย โดยที่ในการทำวิปัสสนาก็จะต้องมี สมาธิร่วมด้วยอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ใช่สมาธิที่ลึกมาก เหมือนการฝึกสมาธิอย่างเดียว
    ที่แนะนำเช่นนี้ เพราะแก่นของพระพุทธศาสนา คือการมุ่งพ้นทุกข์ และตัวที่จะสามารถเป็นบาทเป็นฐานให้บุคคล สามารถพ้นทุกข์ได้จริงๆ ก็คือ วิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐานสี่ นี้ละค่ะ เป็นเอกายนมรรค
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>ส ติ ปั ฏ ฐ า น</CENTER>
    พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า
    ทางสายนี้เป็นทางสายเอก เป็นทางสายเดียว เป็นเอกายนมรรค
    ที่จะพาสัตว์ทั้งหลายก้าวล่วงไปสู่การพ้นทุกข์
    ทางสายนี้ ชื่อว่า สติปัฏฐาน
    + + + + + + + + + + + + + + +
    สติปัฏฐาน
    ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน การตั้งสติกำหนด พิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง การมีสติกำกับ ดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่าง คือ
    (๑)
    กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและ เรื่องทางกาย
    (๒)
    เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา
    (๓)
    จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิต
    หรือสภาพและอาการของจิต
    (๔)
    ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน
    การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม;
    เรียกสั้นๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
    (จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต))
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>ส า ย ก า ร ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม
    (แบ่งกันเป็นสายด้วยหรือ-อย่างไร)
    </CENTER>
    ท่านเปรียบพระนิพพานหรือการดับทุกข์ การสิ้นกิเลส เป็นอีกฝั่งที่อยู่ไกลโพ้น จะไปถึงฝั่งโน้นได้ก็ต้องข้ามมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลที่มีทางแยกทางอื่น มากมาย อย่างไรก็ตามก็มีเส้นทางที่ใช่ เส้นทางที่ตรงแน่วแน่ต่อการไปจนถึง ฝั่งโน้นอันสุขสันติ

    -มีทางสัมมาทิฏฐิทางเดียวเท่านั้น-
    เส้นทางนี้เป็นเส้นทางแห่งสัมมาทิฏฐิเดินตามแนวมรรคมีองค์ ๘ พระพุทธองค์ ทรงบำเพ็ญเพียรมายาวนานก็เพื่อจะบรรลุความรู้ ได้หยั่งรู้หรือรู้แจ้งแทงตลอด เส้นทางแห่งการออกจากทุกข์นี้และได้ทรงนำเส้นทางนี้มาเปิดแสดงเอาไว้
    -แม้รายละเอียดจะต่างกันไปบ้างแต่แก่นเดียวกัน-
    -หลักการเดียวกันทั้งหมด-
    อย่างไรก็ตามเส้นทางสัมมาทิฏฐิสู่ฝั่งแห่งการพ้นทุกข์หรือฝั่งพระนิพพานนี้ เป็นผืนน้ำอันกว้างใหญ่ไพศาล สรรพสัตว์ผู้มีจริตหรืออัธยาศัยหรือการอบรม บ่มเพาะหรือประสบการณ์ในการสร้างบารมี (คือคุณความดีเพื่อการพ้นทุกข์) มาต่างกัน (คือ ต่างกันในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อาทิ วิธีการโดยละเอียด) ก็ล้วนกำลังมุ่งเดินทางไปในสายน้ำนั้น เพื่อไปสู่ฝั่งที่ต้องการ
    ทว่า ด้วยบารมีที่สร้างมาต่างกัน มีอุปนิสัยปัจจัยต่างๆ กัน สรรพสัตว์ก็จึงมี รายละเอียดในวิธีการไปที่ไม่เหมือนกัน เปรียบเช่น บ้างก็ชอบค่อยๆ ว่ายน้ำ ข้ามไปเอง บ้างก็ว่ายท่ากบ บ้างก็ว่ายท่าฟรีสไตล์ บ้างก็ชอบเรือพายพายไป กับมือสบายๆ บ้างก็ชอบเรือใบ เรือสำเภา เรือเฟอร์รี่ เรือเดินสมุทร บ้างก็ ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ขึ้นเครื่องบินเจ็ทไป ฯลฯ
    ดังนี้ ก็คือ ไม่ว่าจะปฏิบัติในรายละเอียดต่างกันไปบ้างอย่างไร หากถูกต้องเป็น สัมมาทิฏฐิตามแนวสติปัฏฐานสี่กับวิปัสสนากรรมฐานที่ใช้มรรคมีองค์ ๘ เป็น แนวทางแล้ว ก็ล้วนเข้าทาง คือตรงทางทั้งสิ้น เปรียบเช่นจะพายเรือไป จะว่ายท่ากบ จะว่ายท่าผีเสื้อ จะบินไป หรือจะนั่งเรือเดินสมุทรไป ถ้าไปถูกทางตรงทางแล้ว ก็นับว่าเหมือนกัน เป็นเส้นทางเดียวกัน เป็นเส้นทางเพียงเส้นทางเดียว
    สรุปได้ว่า สายการปฏิบัติธรรมนั้น หากเป็นอันที่แท้และตรงทางแล้ว ก็สายเดียวกันหมด คือสายสัมมาทิฏฐิ สายสติปัฏฐานสี่ ล้วนเป็น สายพระพุทธเจ้า ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น มีเพียงครูเดียว เดินไปตาม ทางเดียวกัน อันเป็นทางเพียงสายเดียวที่ครูคือพระพุทธเจ้า บอกเอาไว้ -ต่าง 'จริต' ต่าง 'อัธยาศัย' กัน-
    -แต่ล้วนเป็น 'สายพระพุทธเจ้า' เหมือนๆ กันหมด-
    ส่วนรายละเอียดในการปฏิบัตินั้น ท่านเรียกว่าเพียงมี 'จริต' หรืออุปนิสัย บารมีที่สร้างสมมาในรายละเอียดที่ต่างกัน จริต จึงเป็นเรื่องของรสนิยม ที่ต่างกัน คล่องตัวหรือถนัดกับรายละเอียดวิธีการที่ไม่เหมือนกัน เหมือนคนหิว จะรับประทานอะไรก็อิ่มเหมือนกันหมด เพราะยาแก้ ความหิวคืออาหาร จะทานข้าว ดื่มนม รับประทานขนมปังหรือ ข้าวเหนียว อาหารอะไรไม่สำคัญเพราะก็อิ่มได้ทั้งนั้น ขอให้เป็น อาหารก็พอ เหมือนพระนิพพานต้องใช้สติปัฏฐานสี่จึงจะไปถึงได้ เมื่อปฏิบัติสติปัฏฐานสี่อยู่ ใช้รูปนาม (กาย เวทนา จิต ธรรม - อันใด อันหนึ่งหรือทั้งหมด) เป็นอารมณ์ในการกำหนดสติรู้ตัวทั่วพร้อม ก็สามารถไปถึงพระนิพพานได้เช่นเดียวกันหมด และมีเพียงสายเดียวเท่านั้น คือ สายพระพุทธเจ้า
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>อ ธิ ษ ฐ า น จิ ต - ค ว า ม ตั้ ง ใ จ - จุ ด มุ่ ง ห ม า ย ใ น ใ จ </CENTER>
    การอธิษฐาน ก็คือการตั้งจิต การตั้งใจมั่น การตั้งจุดมุ่งหมาย ตั้งเป้าหมาย ในใจ เหมือนเป็นการตั้งเข็มทิศของชีวิต เขียนแผนที่ทางเดินที่มุ่งมั่น

    หากว่ากันโดยแก่นธรรมแล้ว เมื่อสรรพสัตว์เห็นทุกข์โทษภัยในวัฏฏสงสาร ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย หวาดกลัวต่อทุกข์ ต่อการเวียนว่ายตายเกิด
    ผู้ที่มุ่งออกจากทุกข์ จึงมักมุ่งตั้งจิต ตั้งใจมั่นหรือเรียกว่าอธิษฐานก็ได้ ว่าขอให้ได้พ้นทุกข์ เป็นสำคัญ
    การอธิษฐานหรือตั้งจิต จะทำเมื่อไหร่ก็ได้ ตั้งใจให้มั่น ระลึกถึงอยู่ เนืองๆ ก็ได้ ท่านว่าเหมือนเป็นการสั่งซ้ำย้ำเตือนจิต ตอกตะปูความ ตั้งใจและความมุ่งมั่นให้ลึกลงๆ หนักแน่นขึ้นๆ เรื่อยๆ ไปตามกาล อย่างเช่น ในการจบทานทุกครั้ง หลังการเดินจงกรมนั่งสมาธิทุกครั้ง ในการสวดมนต์ไหว้พระทุกครั้ง และตลอดเวลาเมื่อไหร่ก็ตามที่นึก ถึงเรื่องนี้
    คำอธิษฐาน สำหรับผู้ที่มุ่งพ้นทุกข์ ก็อาจเป็นอะไรสั้นๆ ประโยคเดียว ว่าขอให้ … เหล่านี้ (แล้วแต่ว่าเรากำลังทำอะไร) เช่น ขอให้ผลบุญ เหล่านี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้สิ้นทุกข์โดยเร็ว ฯลฯ
    ถ้าจะเอาให้ละเอียดปลอดภัย ก็อาจเป็นประมาณนี้ว่า ขอให้ข้าพเจ้า เป็นผู้เที่ยงต่อความเป็นสัมมาทิฏฐิ ตราบเท่าที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ก็ขอให้เป็นผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ ได้เกิดและอยู่ในแวดล้อมของผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีผู้มีสัมมาทิฏฐิเป็นกัลยาณมิตร ขอให้ได้เกิดดี ได้มีโอกาสมาพบพระพุทธศาสนา เข้าถึงแก่นแห่งพระธรรม ได้มีโอกาสปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ และวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางที่ตรงและถูกต้องต่อเนื่องกันไป จวบจบได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ฯลฯ
    สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ตั้งจิตจะต้องปฏิบัติตนคือปฏิบัติกายและใจ โดยเพียรพยายามฝึกฝนตนเองให้เกิดปัญญารู้แจ้ง เพื่อให้ได้รู้เท่าทันโลก และสรรพสิ่งตามความเป็นจริง รู้เท่าทันทุกข์ รู้เท่าทันพระไตรลักษณ์ รู้เท่ากันกิเลสตัณหา อุปาทาน ให้ยิ่งๆ ด้วยการเจริญสติ (สติปัฏฐานสี่) และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ให้เนืองๆ รวมทั้งหมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาธรรม เจริญพรหมวิหารสี่ มีชีวิตอยู่ในบุญในกุศลและ มีสติอยู่เป็นนิจ

    ----------------------------------------------------

    คัดลอกมาจาก

    http://www.geocities.com/easydharma/dm005008.html

    ---------------------------------------------------
     
  10. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะศาลาการเปรียญวัดย่านยาว<O:p></O:p>
    http://palungjit.org/showthread.php?t=153325<O:p</O:p
     
  11. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    หัวข้อธรรมจากวิสุทธิมรรค

    ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงกับคุณ vanco ที่นำสาระธรรมดีๆ มาให้อ่านกันครับ

    "อันทุกข์มีอยู่แท้ แต่ใครๆ ผู้รับทุกข์ไม่มี
    ผู้ทำไม่มีแต่การกระทำมีอยู่แท้
    ความดับมีอยู่ แต่คนผู้ดับไม่มี..."
     
  12. humanbeing

    humanbeing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +214
    ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาด้วยนะคะ

    วันนี้อ่านคร่าวๆ เดี๋ยวว่างๆค่อยมาอ่านใหม่ค่ะ เนื้อหาเยอะดีค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...