***วัตถุมงคลหลวงพ่อไพบูลย์ วัดอนาลโย ดอยมังกร-ครูบาวงค์ และเกจิอาจารย์ทั่วไทย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย siwa1968, 24 สิงหาคม 2010.

  1. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต ศิษย์เอกสาย"หลวงปู่สิงห์"<!-- google_ad_section_end -->



    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->"หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต" เป็นพระสุปฏิปันโนที่มีความเคร่งครัดในหลักพระธรรมวินัย เป็นพระที่เรียบง่าย แต่ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างจริงจัง

    ทำให้ท่านรู้แจ้งเห็นจริงในธรรม เป็นพระเถระที่พุทธศาสนิกชน ให้ความเลื่อมใสศรัทธา

    อัตโนประวัติ เกิดในสกุล เดชภูมี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2424 ณ บ้านปลาโหล ต.ปลาโหล อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร โยมบิดา ชื่อขุนเดช ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม เป็นบุตรคนที่ 6 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 9 คน

    ในวัยเยาว์ ท่านเป็นคนที่เฉลียวฉลาด มีสติปัญญาดี เมื่ออายุ 16 ปี โยมบิดาเสียชีวิตลง โยมมารดาให้บุตรชายบวช อุทิศส่วนกุศลให้โยมบิดา จึงได้นำไปฝากไว้กับเจ้าอาวาสวัดบ้านปลาโหล วัดประจำหมู่บ้าน

    ภายหลังบรรพชา มุ่งมั่นเอาใจใส่ในการศึกษาพระปริยัติธรรม สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน หนังสือเทศน์จากสมุดข่อยใบลาน อักษรธรรม ภาษาขอม โดยใช้เรื่องปัญญาบารมี อุณหัสสวิชัย ทิพย์มนต์ และมหาชาติเวสสันดรชาดก

    ส่วนการเรียนปาติโมกข์ ท่านเรียนแบบปากต่อปาก

    ครั้นอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ สามเณรคำได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดบ้านปลาโหล ต.ปลาโหล อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร

    พ.ศ.2473 หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล สองขุนพลแห่งกองทัพธรรม ศิษย์เอกของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต บูรพาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้ออกจาริกธุดงค์ผ่านมาที่ป่าช้าบ้านปลาโหล (ปัจจุบันเป็นวัดป่ารัตนโสภณ บ้านปลาโหล)

    หลวงปู่คำได้เห็นข้อวัตรปฏิบัติของครูบาอาจารย์ทั้งสอง เกิดความเลื่อมใส จึงได้เข้าไปขอฝากตัวเป็นศิษย์

    จากนั้น หลวงปู่สิงห์ ได้นำหลวงปู่คำ เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูประสาทศาสนกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ยสกุลปุตฺโต"

    ภายหลังจากอุปสมบท ได้เดินทางมาอยู่จำพรรษา ณ วัดศรีโพนเมือง อ.เมือง จ.สกลนคร

    ครั้นออกพรรษา ท่านได้เดินธุดงค์ไปภูลังการ่วมกับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร และเดินทางเข้าไปอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร รวมทั้งได้จำพรรษากับองค์ท่านด้วย

    ขณะจำพรรษา ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่มั่น ได้รับฟังธรรมะ อุบายธรรมในการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน

    ครั้นได้ทราบแนวทางการปฏิบัติธรรม ข้อวัตรต่างๆ แล้ว ท่านได้กราบลาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ออกเดินธุดงค์ไปตามเทือกเขาภูพาน

    ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อหาความสงบวิเวกในการบำเพ็ญธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา

    สำหรับครูบาอาจารย์ สหธรรมิกที่เคยร่วมเดินธุดงค์ กับหลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต มีมากมายด้วยกัน อาทิ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดนิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย, หลวงปูหลุย จนฺทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย เป็นต้น

    พ.ศ.2483 ขุนศรีปทุมวงศ์ เจ้าเมืองสกลนคร และนางหล้า ศรีปทุมวงศ์ ซึ่งเป็นน้องเขยและน้องสาวของท่าน มีจิตศรัทธาอยากจะบริจาคที่ดินบ้านพังโคน ต.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร เพื่อสร้างวัด จึงได้พากันเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่คำ ยสกุลปตฺโต

    พ.ศ.2483 หลวงปู่คำ ได้เริ่มก่อสร้างเป็นสำนักปฏิบัติธรรม ต่อมา ได้ขออนุญาตสร้างให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยตั้งชื่อ

    "วัดศรีจำปาชนบท"

    หลวงปู่คำ ได้ทำการอบรมสั่งสอนชาวบ้านในท้องถิ่น ให้รู้จักศีลธรรม ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา

    สอนให้ชาวบ้านเลิกนับถือสิ่งที่ผิดๆ สอนให้นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และให้สมาทานศีลห้า ศีลแปด ไหว้พระสวดมนต์ ก่อนหลับนอน อีกทั้ง ให้รักษาศีล ปฏิบัติธรรมภายในวัดทุกวันพระด้วย

    วันที่ 5 สิงหาคม 2520 หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ณ วัดศรีจำปาชนบท ต.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร สิริอายุได้ 96 พรรษา 42 พรรษา

    วันที่ 27 มีนาคม 2542 คณะศิษยานุศิษย์ได้พร้อมใจกันก่อสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิธาตุ อัฐบริขาร

    รวมทั้ง แสดงชีวประวัติปฏิปทาที่งดงามของหลวงปู่คำ
    เหรียญรุ่น 2 ปี 19 บูชา 350 บาท
    เลขบัญชี ออมทัพย์ 209-2-51303-6 ธนาคารกสิกรไทยสาขาพะเยา ชื่อบัญชี ปริศนา บัวเทศ
    ขอบคุณครับ
    <!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1609.jpg
      DSCF1609.jpg
      ขนาดไฟล์:
      301.3 KB
      เปิดดู:
      197
    • DSCF1608.jpg
      DSCF1608.jpg
      ขนาดไฟล์:
      235 KB
      เปิดดู:
      176
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  2. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    ขออภัยครับผมไม่ใช่เซียนไม่กล้าฟันธง แค่สะสมพระเครื่องบางเท่านั้น

    ถ้าเป็นปรกเนื้อขมิ้น ผมไม่ชอบนะ รอยจารดูแปลกๆ ถ้าจารเปียกมันจะเป็นขุยๆ
    ส่วนเบี้ยแก้ อันนี้ดูไม่ออก แต่รักดูแห้งเก่าอยู่
     
  3. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ขอบคุณครับเบี้ยแก้ได้มานานครับแต่ไม่รู้ที่เช่นกัน ส่วนขมิ้นไม่เป็นเลยครับเพิ่งได้มา
     
  4. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระไพรีพินาศเนื้อนวะ หลังสก.พิธีใหญ่ปี35 บูชา 650 บาท
    พระไพรีพินาศ เป็นพระนามของพระพุทธรูป ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ เก๋งบนชั้นสองด้านทิศเหนือของพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    เมื่อราว พ.ศ. 2391 มีผู้นำมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งขณะนั้นยังทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และอยู่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอเจ้าอยู่หัว พระไพรีพินาศองค์นี้ทรงแสดงอภินิหารให้ปรากฏอริราช ศัตรูที่คิดปองร้าย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่างมีอันเป็นไป และพ่ายแพ้ภัยตนเอง พระองค์จึงโปรดให้ถวาย พระนามของพระพุทธ รูปองค์สำคัญนี้ว่า "พระไพรีพินาศ" โดยมีหลักฐานเป็นกระดาษพับสอดไว้ใต้ฐานมีอักษรเขียนว่า "พระสถูปเจดีย์ศิลาบัลลังก์องค์ จงมีนามว่าพระไพรีพินาศ ตตเทอญ" และอีกด้านเขียนว่า "เพราะตั้งแต่ทำมาแล้ว คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ" หลักฐานดังกล่าวได้ค้นพบเมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ระหว่างซ่อมแซมพระเจดีย์ 96 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร
    พระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งที่วัดเปิดโอกาสให้ขึ้นไปสักการบูชาไม่บ่อยครั้งนัก ท่านที่ไม่เคยไปกราบไหว้ หากมีโอกาสควรอย่างยิ่งที่จะได้ไปชมพุทธลักษณะของพระองค์จริงสักครั้งหนึ่ง จะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หากใครคิดร้ายต่อเราก็จะได้เปลี่ยนใจมาเป็นมิตร เพราะ พระไพรีพินาศ ไม่ใช่แต่จะทำให้ ไพรีพินาศ แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่มีพุทธคุณทางด้าน เมตตามหานิยม อีกด้วย
    เป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดย่อม หน้าตักกว้าง 33 ซม. และมีความสูงถึงปลายรัศมี 53 ซม. สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงมีพระวินิจฉัยในสาสน์สมเด็จว่า"พระไพรีพินาศเป็นพระพุทธรูปแบบมหายานปางประทับ นั่งประทานอภัย กล่าวคือ มีพระพุทธลักษณะเหมือนพระปางมารวิชัยหัตถ์ขวาที่วางอยู่บนพระชานุขี้น"
    "พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ" อีกหน้าหนึ่งเขียนว่า "เพระตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ"
    คาถาบูชาพระไพรีพินาศ
    อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ สุจิรํ ปรินิพฺพุโต
    คุเณหิ ธรมาโนทานิ ปารมีหิ จทิสฺสติ
    ยาวชีวํ อหํ พุทธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คโต
    ปูเชมิ รตนตฺตยํ ธมฺมํ จรามิโสตฺถินา.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1562.JPG
      DSCF1562.JPG
      ขนาดไฟล์:
      123 KB
      เปิดดู:
      87
    • DSCF1563.JPG
      DSCF1563.JPG
      ขนาดไฟล์:
      124.4 KB
      เปิดดู:
      66
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2010
  5. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระเจ้าตากสิน บูชา199 บาท
    ทรงเป็นวีรกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ได้รับการเทิดทูนและเคารพบูชา
    จากประชาชนชาวไทยมาโดยตลอด พระองค์ยังเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ
    เด็ดเดี่ยว มีความกตัญญูและเสียสละต่อผืนแผ่นดินไทยอย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมือนเหมือน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1559.jpg
      DSCF1559.jpg
      ขนาดไฟล์:
      205.3 KB
      เปิดดู:
      72
    • DSCF1560.jpg
      DSCF1560.jpg
      ขนาดไฟล์:
      166.5 KB
      เปิดดู:
      69
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2010
  6. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระกริ่งขวานฟ้าโลกอุดร
    สร้างและอธฐานจิตเมื่อปี 2538...
    ..สร้างจากชนวน ขวานฟ้า (เนื้อโลหะ) แผ่นจาร (ที่ได้รับมอบมาสร้างพระ) ลงอักขระโดย หลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงปู่นิล จังหวัดนครราชสีมา หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท ชนวนอื่น ๆ (ที่ได้รับมอบสร้างพระ) อธิษฐานจิตโด หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงพ่อเกษม เขมโก เหรียญหลวงปู่เทพโลกอุดร วัดถ้ำวัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า หลวงปู่หล้า หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภัทโท หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี แผ่นยันต์ชินบัญชร – แผ่นยันต์ 121 พระคาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์โต แผ่นยันต์มหาลาภ หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ข้าวตอกร่วง เหล็กน้ำพี้ ขี้เหล็กไหล สังฆวานร จากวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เงินโบราณจากกรุสุพรรณบุรี
    ผงพุทธคุณ ผงหลวงปู่เทพโลกอุดร เพชรน้ำค้างจากถ้ำศักดิ์สิทธิ์จังหวัดชัยภูมิ แร่วิเศษจากจังหวัดเลย แร่วิเศษจากภูเขาควายขี้เหล็กไหลจากถ้ำศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดชัยภูมิ เพชรหน้าทั่ง ผงอิทธิเจ จากถ้ำพระอรหันต์ 8 ศอก หรือพระอรหันต์ 1,000 ปี จังหวัดชัยภูมิ


    ...พระกริ่งขวานฟ้าโลกอุดร สร้างเนื้อเดียว มีด้วยกัน 3แบบดังต่อไปนี้...

    1.แบบแช่น้ำมนต์ อุดผงขวานฟ้า ผงหลวงปู่เทพโลกอุดร ผงพระธาตุ 500อรหันต์ พระธาตุพระสีวลี แช่นำมนต์ในพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคลครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน และน้ำทิพย์ จากบ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม.

    2.แบบไม่แช่น้ำมนต์ อุดผงขวานฟ้า หลวงปู่เทพโลกอุดร พระธาตุข้าว

    3.อุดกริ่ง ไม่แช่น้ำมนต์ สวย สมบูรณ์ หายากบูชา 1999 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1615.jpg
      DSCF1615.jpg
      ขนาดไฟล์:
      288 KB
      เปิดดู:
      75
    • DSCF1616.jpg
      DSCF1616.jpg
      ขนาดไฟล์:
      379.5 KB
      เปิดดู:
      70
    • DSCF1617.jpg
      DSCF1617.jpg
      ขนาดไฟล์:
      309.3 KB
      เปิดดู:
      104
    • DSCF1618.jpg
      DSCF1618.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.9 KB
      เปิดดู:
      78
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2010
  7. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระรอดชานหมากหลวงปู่ครูบาวงค์บูชา 550 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1605.jpg
      DSCF1605.jpg
      ขนาดไฟล์:
      133.3 KB
      เปิดดู:
      71
    • DSCF1606.jpg
      DSCF1606.jpg
      ขนาดไฟล์:
      140.9 KB
      เปิดดู:
      67
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  8. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ล๊อคเก็ตหลวงปู่ครูบาวงค์ บูชาองค์ละ 850 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1621.jpg
      DSCF1621.jpg
      ขนาดไฟล์:
      553.9 KB
      เปิดดู:
      63
    • DSCF1624.jpg
      DSCF1624.jpg
      ขนาดไฟล์:
      579.8 KB
      เปิดดู:
      70
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  9. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระปิดตาสองหน้าเนื้อว่าน108 ฝังพลอยแดงหลวงปู่ครูบาวงค์
    บูชา 350 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1646.jpg
      DSCF1646.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.2 KB
      เปิดดู:
      62
    • DSCF1647.jpg
      DSCF1647.jpg
      ขนาดไฟล์:
      112.1 KB
      เปิดดู:
      120
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  10. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระรอดหยกหลวงปู่ครูบาวงค์ บูชา 1999 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1607.jpg
      DSCF1607.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.1 KB
      เปิดดู:
      88
    • DSCF1608.jpg
      DSCF1608.jpg
      ขนาดไฟล์:
      64.7 KB
      เปิดดู:
      111
  11. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระผงหลวงปู่ปราบมาร บูชา 350 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1613.jpg
      DSCF1613.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.3 KB
      เปิดดู:
      78
    • DSCF1614.jpg
      DSCF1614.jpg
      ขนาดไฟล์:
      211.1 KB
      เปิดดู:
      68
  12. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    รูปหล่อลอยองค์หลวงปู๋ครูบาวงค์บูชา 999 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1665.jpg
      DSCF1665.jpg
      ขนาดไฟล์:
      332.5 KB
      เปิดดู:
      63
    • DSCF1666.jpg
      DSCF1666.jpg
      ขนาดไฟล์:
      293.1 KB
      เปิดดู:
      73
    • DSCF1667.jpg
      DSCF1667.jpg
      ขนาดไฟล์:
      281.8 KB
      เปิดดู:
      70
    • DSCF1668.jpg
      DSCF1668.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.6 KB
      เปิดดู:
      74
  13. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ
    (หลวงปู่แว่น ธนปาโล)
    วัดถ้ำพระสบาย
    อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
    จากหนังสือ บูรพาจารย์
    จัดพิมพ์โดย มูลนิธิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    [​IMG]
    <TABLE style="BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; WIDTH: 100%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px" id=table1 class=MsoTableGrid border=0 cellPadding=0 width="96%"><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" width=91>นามเดิม


    </TD><TD>แว่น ทุมกิจจะ เป็นบุดรของนายวันดี และนางคำไพ ทุมกิจจะ


    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" width=91>เกิด


    </TD><TD>วันเสาร์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เดือน ๔ ปีจอ ณ บ้านบัว อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร


    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" vAlign=top width=91>บรรพชา


    </TD><TD>เมื่ออายุ ๑๘ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ณ วัดศรีรัตนาราม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์สีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้พบหลวงปู่สิม พฺทธาจาโร (เป็นญาติลูกผู้พี่ผู้น้องใกล้ชิดท่าน) เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก จึงสนใจการปฏิบัติทางสายธุดงค์กัมมัฏฐาน


    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" vAlign=top width=91>อุปสมบท


    </TD><TD>สายธรรมยุต เมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสารภาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ เคยรับการอบรมธรรมกับท่านพ่อลี ธมฺมธโร) ที่วัดป่าคลองกุ้ง จังหวัดจันทบุรี ก่อนที่จะเข้ามาเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาสอยู่ ๖ ปี จึงได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำพระสบาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง กระทั่งมรณภาพ


    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" width=91>สมณศักดิ์


    </TD><TD>เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ


    </TD></TR><TR><TD style="WIDTH: 68.4pt" width=91>มรณภาพ


    </TD><TD>วันอังคารที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ สิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี ๘ เดือน ๒๑ วัน พรรษา ๖๘


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อาจาริยธรรม
    ในพรรษาที่ ๑๒ ของหลวงปู่แว่น ธนปาโล นั้น พระอาจารย์เกิ่งได้ชวนหลวงปู่ไปกราบนมัสการศพท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลเถระ ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี หลวงปู่แว่นได้มีโอกาสกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ซึ่งท่านมีความเลื่อมใสศรัทธาท่านพระอาจารย์มั่นอยู่แล้ว เมื่อได้กราบไหว้องค์จริงและเห็นจริยาวัตรอันงดงาม ก็ยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสุดจิตสุดใจ จึงได้กราบถวายตัวเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนั้น
    หลวงปู่ได้รับความเมตตากรุณาจากท่านพระอาจารย์มั่น ด้วยการที่ท่านรินน้ำร้อนแล้วยื่นให้หลวงปู่ฉัน โดยใช้ถ้วยของท่านพระอาจารย์มั่นนั่นเอง ด้วยความเคารพครูบาอาจารย์ หลวงปู่รู้สึกว่าเป็นการไม่สมควรที่จะใช้ถ้วยน้ำร้อนใบเดียวกันท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจึงลังเล อิดเอื้อน ถือถ้วยน้ำร้อนไว้เฉย ๆ พร้อมทั้งมองหาถ้วยใบอื่นมาเปลี่ยน
    ท่านพระอาจารย์มั่นเห็นอาการลังเลของศิษย์ จึงกล่าวกำชับให้ฉันอีก และให้ฉันให้หมด หลวงปู่จึงจำเป็นต้องฉัน เพราะไม่อยากขัดความเมตตาจากครูบาอาจารย์
    โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตมหาเถระ
    ต่อจากนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเทศน์เชิงเปรียบเทียบให้หลวงปู่แว่นฟังว่า
    “มีชายคนหนึ่งชำนาญในการตกเบ็ด เอากบน้อยไปเกี่ยวเบ็ดเป็นเหยื่อตกปลา เมื่อหย่อนเบ็ดลงในน้ำ กบก็ตีน้ำอยู่ไปมา ปลาเห็นเข้าก็ฮุบกบเป็นอาหาร ยังคงเหลือหนังกบติดอยู่กับเบ็ด ชายคนนั้นจึงนำเอาสิ่งที่พบเห็นไปเป็นอุบายเจริญภาวนา จนเห็นร่างกายตนชัดเจน”
    ท่านพระอาจารย์มั่นย้ำต่อไปว่า
    “การดูตัวเองจนเห็นชัด ดีกว่าไปพิจารณาคนอื่น เห็นคนอื่นมีแต่น่าตำหนิทั้งหมด สู้ดูตัวเองไมได้เน๊าะ”
    พอท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์เสร็จ ท่านก็ลุกขึ้นเดินลงจากกุฏิไปท่าน้ำเพื่อลงเรือข้ามฟาก หลวงปู่เดินตามไปพร้อมกับกำหนดดูอิริยาบถท่านพระอาจารย์มั่นไปด้วย และคิดในใจว่า ท่านพระอาจารย์มั่นช่างมีจิตใจที่มั่นคงสมชื่อจริง ๆ
    เมื่อไปถึงท่าน้ำ ท่านพูดว่า “ท่านลงเรือลำนี้ ผมจะลงลำนั้น” คือชี้ให้ลงเรือคนละลำกัน หลวงปู่ยืนนิ่งอยู่เพราะตั้งใจจะขอลงเรือลำเดียวกันกับท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านได้พูดย้ำคำพูดเดิมอีกถึง ๒ ครั้ง หลวงปู่จึงลงเรือคนละลำกับท่านพระอาจารย์มั่น พระเณรที่ติดตามมาต่างก็ลงเรือจนเต็มทั้งสองลำแล้วข้ามฝั่งไป
    จากอุบายธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์สอนหลวงปู่นั้น แสดงว่าท่านกำหนดรู้ถึงการปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่เมื่อครั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี (คือหลวงปู่ได้พิจารณาซากศพก่อนเผา เกิดนิมิตศพโยมเป็นร่างกายของหลวงปู่ขึ้นมาแทน จนปรากฏเห็นไตรลักษณ์ชัดเจน ซึ่งท่านพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีก จนรู้สึกถึงความจริงในอัตภาพร่างกายคนเราได้) หลวงปู่จึงได้นำไปเป็นอุบายในการกำหนดพิจารณาธาตุขันธ์ร่างกายเป็นอารมณ์ ตามจริตของหลวงปู่เอง
    การนำอุบายจากท่านพระอาจารย์มั่นไปกำหนดการภาวนา นับว่าเป็นประโยชน์มหาศาลแก่หลวงปู่ โดยถือเป็นทางดำเนินที่เข้ามรรคผลได้อย่างดียิ่ง การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่ในระยะต่อมาได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว กำลังสติ กำลังปัญญา มีความแจ่มใสมากขึ้นโดยลำดับ จนสามารถเอาตัวรอดได้ สมความตั้งใจของท่านที่มุ่งปฏิบัติชอบตามครูบาอาจารย์ เจริญรอยตามเยี่ยงพระอริยสาวกทั้งหลาย
    ในงานศพท่านพระอาจารย์เสาร์ มีหลายสิ่งที่หลวงปู่รู้สึกประทับใจในวิธีการของท่านพระอาจารย์มั่น และนำมาเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังบ่อย ๆ
    มีอยู่คืนหนึ่ง พวกชาวบ้านได้พากันหามเสื่อไปจนถึงกุฏิที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ ท่านพระอาจารย์มั่นถามว่า
    “จะเอาไปทำอะไร”
    ชาวบ้านตอบว่า จะเอาไปปูนั่งเพื่อฝึกหัดร้องสรภัญญะ เพื่อจะไปร้องแข่งในงานศพ ท่านพระอาจารย์เสาร์
    ท่านพระอาจารย์มั่นได้เรียกประชุมสงฆ์ เมื่อคณะสงฆ์มาพร้อมจึงพูดขึ้นว่า
    “สรภัญญะนี้ ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ท่านไม่ได้สอน ผมก็ไม่ได้สอน ใครเป็นผู้สอนหือ?”
    ความจริงท่านพระอาจารย์มั่นท่านก็รู้ว่าใครเป็นคนสอน แต่ท่านไม่ออกชื่อ ทั้ง ๆ ที่ผู้สอนก็นั่งอยู่ใกล้ ๆ (คงจะหมายถึงหลวงปู่แว่นเองก็ได้ เพราะท่านเคยเป็นครูสอนสรภัญญะในพรรษาที่ ๖ เมื่อครั้งไปพำนักที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา) ตั้งแต่คืนนั้น ไม่มีใครกล้าฝึกร้องสรภัญญะอีกเลย แต่เอาเวลาส่วนใหญ่ไปปฏิบัติสมาธิภาวนา ต่างคนต่างปฏิบัติ ดูจิตดูใจของตนเอง
    เกี่ยวกับข้อปฏิบัติของท่านพระอาจารย์มั่นอีกเรื่องหนึ่ง ในงานศพท่านพระอาจารย์เสาร์ คือ เขานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นไปชักบังสุกุลศพท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นเดินไปที่ศพท่านพระอาจารย์เสาร์ กราบลง แล้วเดินกลับ ไม่ยอมชักบังสุกุล
    เมื่อออกพรรษาที่ ๑๓ แล้ว หลวงปู่ออกเดินทางจากวัดโนนนิเวศน์ อุดรธานี ธุดงค์ไปยังจังหวัดสกลนครบ้านเกิด แล้วเข้ากราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น พอท่านเห็นก็ถามขึ้นว่า
    “ท่านแว่น ท่านภาวนาอย่างไร”
    หลวงปู่กราบนมัสการว่า
    “กระผมพิจารณาดูกาย จนกระทั่งจิตพลิกเห็นความสว่างไสวแล้วเข้าสู่ตัวรู้นั้น”
    ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้อธิบายอีกครั้งว่า
    “การที่ท่านแว่นพิจารณากายจนจิตพลิกไปสู่ความรู้ แล้วก็เข้าไปอยู่ในความรู้นั้น จะเป็นการทำให้ท่านติดอยู่ในความสุขอยู่อย่างนั้น ครั้นออกจากความรู้เข้ามาในกาย มันก็ทุกข์ ๆ สุข ๆ อยู่อย่างนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด”
    หลวงปู่กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นว่า
    “หลวงปู่ ทำอย่างไรจึงได้คุณงามความดี”
    ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า
    “แต่ก่อนผมก็ยังเดือดร้อนอยู่ ภาวนาปักจิตลงในกายทั้งวันทั้งคืนไม่ถอน มันจึงระเบิดออกให้เห็น ตั้งแต่นั้นความรู้เกิดขึ้นไม่รู้จักหมด”
    หลังจากได้รับอุบายธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนั้นแล้ว หลวงปู่รู้สึกอิ่มเอิบในความเมตตาจากท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างมาก มีกำลังใจในการค้นหาสัจธรรมด้วยใจเด็ดเดี่ยวยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปรารถนาที่จะอยู่ใกล้ชิดเพื่อรับการฝึกอบรมจากท่านพระอาจารย์มั่นให้มากขึ้นจึงกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นว่า
    “กระผมจะขอนิสัย” (หมายความว่า ขออยู่รับใช้ใกล้ชิด เพื่อให้ครูบาอาจารย์ช่วยแนะนำอบรมบ่มนิสัยให้)
    ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า
    “ท่านแว่นพรรษา ๑๓ ก็พ้นนิสัยแล้ว”
    หลวงปู่จึงกราบเรียนถวาย
    “พรรษาตามพระวินัยผมก็รู้จัก แต่ผมไม่ต้องการ ผมต้องการนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่ต้องกลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่ในโลกนี้อีก”
    ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้นิสัย แล้วหลวงปู่ก็เร่งความเพียรมากขึ้น เมื่อมีสิ่งใดติดขัด ก็เข้าเรียนถามท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องข้อนั้น ๆ การปฏิบัติบังเกิดผลดี จิตปลอดโปร่ง มีกำลังสมาธิเพิ่มขึ้น ล่วงมาจนใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่จึงกราบลาท่านพระอาจารย์มั่น เดินทางไปจำพรรษาที่อำเภอพรรณานิคม
    ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่ได้รับข่าวมรณภาพของท่านพระอาจารย์มั่น หลวงปู่คิดจะเดินทางไปเคารพศพของท่านพระอาจารย์มั่นที่จังหวัดสกลนคร บังเอิญหลวงปู่สิมได้แวะมาเยี่ยมหลวงปู่ในช่วงนั้น ได้กล่าวทัดทานไว้ โดยให้ข้อคิดว่า
    “ท่านพระอาจารย์มั่นของเรา ท่านมิได้ปรารถนาให้เดินทางไปเคารพศพท่าน แต่ท่านพระอาจารย์มั่นประสงค์ให้ลูกศิษย์ลูกหาตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติรักษาจิตใจให้มั่นคง”


    หลวงปู่แว่นจึงไม่ได้เดินทางไปยังวัดป่าสุทธาวาส แต่มุ่งมั่นในการปฏิบัติภาวนาเพื่อค้นหาสัจธรรมให้ยิ่งยวดขึ้นไปตามแนวทางที่ได้รับการอบรมธรรมมาจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
    • จากหนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ (หลวงปู่แว่น ธนปาโล) วัดถ้ำพระสบาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยคณะศิษยานุศิษย์
    ï®ï®ï®ï®ï®ï®ï®ï®ï®ï®ï


    ข้อความต่อจากนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระทู้ที่โพสท์ใน ลานธรรมเสวนา
    โดย : นายประสงค์ กระทู้ที่ 000223
    จากหนังสืออนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ของหลวงปู่แว่น ธนปาโร
    *หลวงปู่แว่น พระผู้มีกาย วาจา ใจบริสุทธิ์
    หลวงปู่แว่น ธนปาโล แห่งถ้ำพระสบาย ต.นาครัว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เป็นพระวิปัสนาจารย์ ที่เป็นที่เคารพนับถือของผู้ปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน
    ท่านเป็นเป็นศิษย์อาวุโสองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ผู้เขียน (อ.ปฐม) ได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่แว่นหลายครั้ง ทั้ง ที่ กทม.และที่วัดถ้ำพระสบาย แทบทุกครั้งท่านจะทักผู้เขียนเสมอว่า "เมื่อไรจะบวช"
    ใจจริงผู้เขียนก็ปรารถนาที่จะบวช และมอบกายถวายชีวิต เพื่อตามรอยองค์พระศาสดา แต่ก็ยังหาโอกาสนั้นไม่ได้ เพราะหลงโลกมาเป็นเวลานาน การจะถอดจะถอนจากโลก ที่เราสร้างไม่ใช้ทำได้ง่าย จึงกราบเรียนหลวงปู่ไปว่า "ผมอยากจะบวช แต่ยังมีเมียมีลูกจะต้องดูแล"
    หลวงปู่ตอบว่า "เอาเมียมาบวชด้วย"
    ผมก็ตอบว่า "ทำไม่ได้ครับ ลูกยังเรียนหนังสืออยู่"
    หลวงปู่ก็รุกว่า "เอาลูกมาบวชเณรด้วยก็ได้"
    ผู้เขียนก็จนแต้ม ได้แต่หัวเราะแก้เก้อไป
    ผู้เขียนถูกรุกด้วยคำถามข้างต้นอยู่เสมอ ซึ่งแสดงว่าในน้ำจิต น้ำใจของหลวงปู่ ท่านมีศรัทธายิ่งต่อการบวชเป็นพระภิกษุ ท่านปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด ระมัดระวังทุกอิริยาบถ
    ผู้มีโอกาสได้กราบไหว้และใกล้ชิดหลวงปู่ ย่อมรู้ว่าท่านเป็นพระ ดีองค์หนึ่งในปัจจุบัน
    พระดีจะมีพลังดึงดูดให้ผู้ปฎิบัติธรรมเข้าหา เข้าใกล้ ด้วยความซาบซึ้งใจ กราบแล้วก็ยังไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ
    คุณดำรงค์ ภู่ระย้า นักเขียนธรรมแห่งนิตยสารโลกทิพย์ได้เขียนถึงหลวงปู่แว่นว่า
    "หลายครั้งแล้วที่ผู้เขียนเดินทางไปกราบพระดีที่ควรกราบไหว้แห่ง จ.ลำปาง เมื่อไปพบท่านเป็นครั้งแรก แม้ท่านจะเป็นพระที่พูดน้อย ชนิดที่ถามคำแล้วก็ตอบคำ แต่ทว่าในส่วนลึกของจิตใจนั้นเกิดความ ศรัทธาในปฏิปทาของท่านเป็นอย่างมาก
    ตลอดเวลาในการนั่งสนทนากับท่าน ท่านจะนั่งตัวตรงนิ่งด้วย อาการสำรวม อย่างหาที่ติไม่ได้เลย ไม่ว่าญาติโยมนั้นจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม กิริยาจะสำรวมอย่างนี้ตลอด"
    อีกตอนหนึ่งผู้เขียนคนเดียวกัน ก็สรุปถึงคุณลักษณะของหลวงปู่แว่น โดยรวมว่า
    "...จึงจะเห็นได้ว่า ท่านพระอาจารย์แว่น ธนปาโล มีกายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์อย่างแท้จริง"
    ท่านเป็นพระอริยะเจ้าที่มีกาย วาจาใจ บริสุทธิ์ เป็นองค์หนึ่งในยุคปัจจุบัน ในยุคที่พระดีค่อนข้างที่จะหายากอย่างงยิ่ง
    หลวงปู่แว่น ใช้ชีวิตเป็นพระภิกษุยาวนานต่อเนื่องกันถึง 68 ปี ท่านผ่านการธุดงค์ มาอย่างโชกโชน และน่าจะยึดถือเป็นแบบอย่าง ในการปฏิบัติอย่างไม่น่าเคลือบแคลงสงสัยใดๆเลย
    ท่านเป็นพระที่เรากราบไหว้ได้ด้วยความสนิทใจ ไม่สงสัยเคลือบแคลงใดๆ ทั้งสิ้น
    *นิสัยใฝ่ธรรมตามโยมมารดา
    ในชีวิตเยาว์วัย เด็กชายแว่นมักจะตามมารดาไปยังที่ต่างๆ เสมอเรียกว่าติดแม่อย่างมาก จากการติดแม่นี้เอง ทำให้หลวงปู่ได้นิสัยใฝ่ธรรมมาตั้งแต่เล็กๆ โดยเฉพาะวันโกนวันพระ เด็กชายแว่นจะมีโอกาสไปวัด คุ้นเคยกับกับวัด คุ้นเคยกับพระสงฆ์องคเจ้า มาตั้งแต่เยาว์วัย ท่านมีศรัทธาต่อการบวช ได้รับการโน้มน้าวจิตใจ คิดอยากจะบวชตามพระเณร ตามที่ท่านได้เคยเห็นมา
    *ตัวตนไม่ใช่ของเรา
    สมัยหลวงปู่เข้าสู่วัยรุ่น ท่านเคยล้อเลียนให้โยมแม่ตกอกตกใจเหมือนกัน
    หลวงปู่เล่าว่า วันหนึ่งโยมมารดากลับจากไปฟังเทศน์กรรมฐานจากวัด ก็เอาคำพระมาสอนลูกว่า "ตัวตนไม่ใช่ของตน” หลวงปู่กำลังถือมีดโต้อยู่พอดี นึกสนุกคว้ามีดโต้จะฟันลงที่โยมมารดา เพื่อจะลองคำพูดที่ว่า "ตัวตนไม่ใช่ของเรา”
    โยมมารดาตกใจนึกว่าจะฟันจริงๆ ร้องลั่นว่า “อย่า มึงอย่ามาฟันกู”
    ทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้นต่างหัวเราะขบขันกัน ที่เห็นหลวงปู่ล้อมารดาคราวนั้น
    หลวงปู่ได้พูดถึงเรื่องนี้ภายหลังว่า
    "พอมาบวชแล้วถึงได้รู้จักคำสอนในตัวเรา กว่าจะอ่านจิตใจออก”
    พร้อมทั้งลากเสียงสูงตามเอกลักษณ์ของหลวงปู่ว่า
    "พุทโธ้! มันไม่ใช่ของง่ายเลย”
    หมายความว่าการที่จะเข้าใจในเรื่องตัวเรา-ของเรา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
    *ผู้สหชาติกับหลวงปู่สิม
    ในหนังสือที่ระลึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จผูกพัทธสีมาวัดถ้ำพระสบายวันที่ 23 ม.ค.40 ได้บันทึกในเชิงเปรียบเทียบไว้ว่า
    “ในครั้งพุทธกาล พระอานนท์ เป็นพุทธอนุชา ผู้เป็นสหชาติเกื้อกูลพระพุทธองค์ ในกึ่งพุทธกาลนี้ พุทธสาวกผู้สัมมาปฏิบัติเช่นหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ก็มี หลวงปู่แว่น ธนปาโล ผู้มีศักดิ์เป็นน้องชายคอยช่วยเกื้อกูลกันและกัน”
    หลวงปู่สิม เป็นพระวิปัสนาจารย์ที่เป็นที่เคารพรัก และศรัทธา ของเหล่าพุทธศาสนิกชน ผู้ปฎิบัติธรรม แห่งถ้ำผาปล่อง อ. เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ท่านมรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2535 สิริรวมอายุได้ 82 ปี 9 เดือน 19 วัน อายุพรรษา 63 พรรษา
    หลวงปู่สิม กับหลวงปู่แว่น เป็นญาติใกล้ชิดกัน ในตระกูล โยมพ่อของหลวงปู่สิม เป็นพี่ชายแท้ๆ ของโยมแม่ ของหลวงปู่แว่น จึงถือว่าหลวงปู่สิมเป็นญาติผู้พี่ และหลวงปู่แว่น เป็นญาติผู้น้อง ที่สำคัญก็คือ ท่านทั้งสองมีอายุไล่เลี่ยกัน สนิทสนมกันตั้งแต่เด็ก และอุปถัมภ์ เกื้อกูล กันมาตลอด
    หลวงปู่แว่นเล่าให้ฟังว่า สมัยยังหนุ่ม หลวงปู่ทั้งสองมักเที่ยวในหมู่บ้านต่างๆ ด้วยกันตามประสาคนหนุ่ม ก่อนบวช หลวงปู่สิมนั้นเป็นหมอลำ ส่วนหลวงปู่แว่นนั้น เป็นหมอแคนคู่กันไป ความสนิทสนมของหลวงปู่ทั้งสอง จึงมีความลึกซึ้งแนบแน่น เป็นอย่างมาก หลวงปู่สิมบวชเป็นพระก่อน และเมื่อสมัยหลวงปู่แว่นจะออกบวช หลวงปู่สิม ได้ให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูล และก็ได้เกื้อกูลกันมาต่อเนื่อง ในระหว่างบรรพชิตจนปัจฉิมวัย
    นอกจากหลวงปู่สิมแล้ว ทั้งสององค์ ยังมีญาติผู้หลาน ที่เป็นพระอริยเจ้าซื่อดังแห่งลำปาง อีกองค์หนึ่งคือ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ แห่งวัดป่าสำราญนิวาส อ.เกาะคา จ.ลำปาง ใกล้ชิดของหลวงปู่ทั้ง 3 องค์
    *บรรพชาเป็นสามเณร
    หลวงปู่บวชเณรเมื่ออายุ 18 ปีเมื่อปี พ.ศ.2472 ที่วัดศรีรัตนาราม จ. สกลนคร มีพระอาจารย์สีธร เป็นพระอุปัชฌาย์
    *ติดตามหลวงปู่สิม
    หลังจากที่หลวงปู่แว่นบวชเณรแล้ว พระภิกษุสิม ญาติผู้พี่ ซึ่งบวชเป็นพระธรรมยุติ และผึกปฎิบัติอยู่กับหลวงปูมั่น ได้เดินทางกลับบ้านเพื่อเกณฑ์ทหารเพราะอายุครบ 20 ปี
    หลวงปู่แว่นเล่าถึงหลวงปู่สิมในสมัยนั้นว่า
    "เมื่อเห็นจริยาวัตรอันงดงามทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่งยืนเดินของพระภิกษุสิมจึงนำความมาเล่าให้พี่ชายฟังว่า เห็นครูบาสิมน่าเลื่อมใส จะขออกกรรมฐานด้วย"
    พระพี่ชายจึงบอกว่า
    "ดีหละเณร ถ้าจะออกกรรมฐาน เราจะหามุ้งกลดให้"
    เณรแว่นได้ลาโยมบิดามารดา ออกธุดงค์เมื่อหลวงปู่สิมไม่ถูกเกณฑ์ทหาร และท่านได้พาเณรแว่นไปขอนแก่น ระหว่างทางได้พักที่ป่าช้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร พระภิกษุสิมได้ทำเพิงพัก ส่วนเณรแว่นนอนบนพื้นดิน โดยหักไม้มาแทนที่หมอนและที่นอน
    เวลากลางคืนพระภิกษุสิมได้สอนเณรแว่นให้ภาวนา และเดินจงกรม ตามแบบหลวงปู่มั่น
    หลวงปู่เล่าว่า ถูกพระภิกษุสิมตีหลังเสียหลายที เวลากราบพระ เพราะเวลากราบพระ เพราะท่านกราบหลังโก่ง ดูไม่งดงาม ท่านต้องไปฝึกกราบ จนถูกต้องแล้ว จึงมากราบพร้อมกับพระภิกษุสิม
    นอกจากนั้นพระภิกษุสิมยังสอนวิธีการครองผ้า และข้อวัตรต่างๆ ตามสมควร
    เหรียญหลวงปู่แว่นวัดถ้ำพระสบาย - วัดป่าสุทธาวาส 2 เหรียญ บูชา 450 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1628.jpg
      DSCF1628.jpg
      ขนาดไฟล์:
      357.1 KB
      เปิดดู:
      83
    • DSCF1629.jpg
      DSCF1629.jpg
      ขนาดไฟล์:
      408.2 KB
      เปิดดู:
      100
    • DSCF1630.jpg
      DSCF1630.jpg
      ขนาดไฟล์:
      163.2 KB
      เปิดดู:
      77
    • DSCF1631.jpg
      DSCF1631.jpg
      ขนาดไฟล์:
      212.3 KB
      เปิดดู:
      88
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  14. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ศิวนาฏราช (Nataraja) เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นบรมครูของศิลปะการร่ายรำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ความเชื่อว่าการเต้นรำของพระศิวะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการสร้างโลกและมนุษย์ ศิวนาฏราชจะปรากฏในท่าย่างสามขุม (ตรีวิกรม) ซึ่งเป็น 1 ใน 108 ท่าที่ออกแบบโดยพระศิวะ โดยมีสัญลักษณ์ที่พระกรขวาถือกลองคือการสร้างโลก พระกรซ้ายมีเปลวเพลิงล้อมเป็นกรอบคือการสิ้นสุดที่ไฟจะเผาผลาญโลก พระศิวะได้ทรงพนันกับพระอุมาว่าโลกที่สร้างใหม่แข็งแรงหรือไม่ โดยพระศิวะทรงยืนขาเดียวบนก้อนหินโดยที่ขาต้องไม่ตก ในขณะที่พญานาคแกว่งลำตัววิดน้ำในมหาสมุทรให้สะเทือน พระศิวะทรงชนะ พระองค์ทรงสร้างโลกใหม่ด้วยการเต้นรำบนก้อนหินนั้น ในระหว่างที่ทรงเต้นรำเกิดเปลวไฟและน้ำหลั่งไหลจากพระวรกายกลายเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต
    นาฏราช (Nataraja) หรือพระศิวะในฐานะของบรมครูองค์แรกแห่งการร่ายรำ พระหัตถ์ขวาด้านบน ทรงถือกลองรูปร่างคล้ายๆ นาฬิกาทราย (เอวคอด) กลองเล็กๆ ใบนี้ให้จังหวะประกอบการฟ้อนรำของพระศิวะ และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เสียงกลองเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในจักรวาล นั่นคือ กลองเป็นสัญลักษณ์แห่งการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ทั้งมวล
    พระหัตถ์ซ้ายด้านบน ถืออัคนี อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการทำลายล้าง โดยคำว่า ทำลายล้าง ในที่นี้ หมายถึง ล้างความชั่ว ล้างอวิชชา ให้หมดไป เพื่อเปิดทางการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ พระกรและพระหัตถ์คู่ซ้าย-ขวา ซึ่งแทนการสร้างสรรค์และการทำลายล้างนี้ กางออกไปในระดับเสมอกัน อันบ่งบอกถึงความหมายที่ว่า "มีเกิด ก็ย่อมมีดับ" นั่นเอง
    พระหัตถ์ขวาด้านล่างแบออก เรียกว่า ปางอภัย (abhaya pose) ซึ่งมีความหมายว่า "จงอย่าได้กลัวเลย" (do not fear) เพราะไม่มีภัยใดๆ จะมากล้ำกลาย ท่านี้บ่งว่าพระศิวะเป็นผู้ปกป้องอีกด้วย
    ส่วนพระกรซ้ายด้านล่างพาดขวางลำตัวระดับอก ในลักษณะคล้ายๆ งวงช้าง ซึ่งบางคนตีความว่า เป็นงวงของพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ และเป็นบุตรของพระศิวะอีกต่างหาก ปลายนิ้วของพระกรที่เป็นงวงช้างนี้ชี้ไปที่พระบาทซ้ายที่ยกขึ้น มาจากพื้น ก็ตีความกันว่า พระบาทที่ยกขึ้นมานี้บ่งถึงการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
    ส่วนพระบาทขวานั้นเหยียบอยู่บนอสูรมูลาคนี ซึ่งเป็นตัวแทนของอวิชชา เมื่ออวิชชาถูก 'เหยียบ' ไม่ให้โผล่ขึ้นมาบดบังความจริง ความรู้แจ้ง (วิชชา) ก็จะปรากฏขึ้นนั่นเอง
    วงกลมๆ ที่ล้อมพระศิวะอยู่ก็คือ ขอบเขตแห่งการร่ายรำ อันเป็นตัวแทนของจักรวาลทั้งมวล โดยมีขอบด้านนอกเป็นเปลวไฟ และมีขอบด้านในเป็นน้ำในมหาสมุทร พระศิวะในปางนาฏราชนี้ยังแสดงคู่ตรงกันข้ามกันเช่น กลอง = สร้าง vs ไฟ = ทำลาย แม้พระศิวะจะร่ายรำ ขยับมือ ขยับเท้าและแขนขาอย่างต่อเนื่อง แต่พระพักตร์กลับสงบนิ่งเฉย เหมือนไร้ความรู้สึก ซึ่งเป็นเสมือนการสอนว่า การเกิด-ดับของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่โดยตลอด พระเกศาของพระศิวะยาวสยาย ปลิวสะบัดยื่jนออกไปทั้งซ้ายขวา เป็นสัญลักษณ์แทนผู้ละทิ้งชีวิตทางโลก แต่ก็มีพระคงคาและพระจันทร์เสี้ยวอนเป็นสัญญลักษณ์แห่งเทพสตรีประดับอยู่ด้วย
    ศิวนาฏราชในศิลปขอม
    ปราสาทหินในศิลปขอม ทับหน้าของปรางค์ประธานจะแกะสลักเป็นรูปพระศิวนาฏราช หรือ พระอิศวรทรงฟ้อนรำ ซึ่งจัดเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ในศิลปขอมนั้นภาพพระศิวนาฏราชจะเป็นภาพสลักนูนต่ำทั้งสิ้น ไม่เป็นประติมากรรมชนิดลอยตัว ส่วนทับหลังของปราสาทจะเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธิ์

    ศิวนาฏราชกับศิลปการแสดงนาฏศิลป์

    ภาพการร่ายรำของพระศิวะนับว่ามีบทบาทสำคัญในคติความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ตามตำนานระบุว่าการร่ายรำของพระศิวะเป็นที่เลื่องลือและยกย่องของเหล่าเทพทั้งมวลถึงความสวยงามและน่ายำเกรงในที ในจังหวะลีลาอันเป็นสัญลักษณ์แห่งการเนรมิตสร้างสรรค์ ( Symbolizing Rhythm of Creation ) การร่ายรำนี้ภายหลังพระภรตมุนีได้ทราบ จึงขอร้องให้พระพิฆคเณศไปกราบบังคมทูลให้พระศิวะซึ่งเป็นพระราชบิดาร่ายรำอีกครั้งเพื่อจะได้จารึกท่าการร่ายรำนี้เป็นบทนาฎยศาสตร์สืบไป พระศิวะท่านจึงได้ร่ายรำให้ชมอีกและได้เรียกเหล่าเทพเทวดาทั้งปวงมาชมพระองค์ร่ายรำอีกครั้ง
    บางตำนานกล่าวว่าพระยาอนันตนาคราชได้ชมการร่ายรำนี้เมื่อองค์พระอิศวรท่านร่ายรำหลังจากปราบฤๅษีผู้ฝ่าฝืนเทวบัญญ้ติ และปรารถนาจะได้ชมอีก อองค์พระนารายณ์ได้ประทานคำแนะนำให้ไปบำเพ็ญตบะที่เชิงเขาไกรลาสเพื่อบูชาองค์พระศิวะ ด้วยอำนาจแห่งการบูชานี้ องค์พระศิวะจึงโปรดประทานพรให้ และถามในสิ่งที่พระยานันตนาคราชปรารถนา พระยานาคราชจึงกราบทูลว่าอยากจะได้เห็นองค์พระศิวะร่ายรำอีกสักครั้ง พระศิวะก็โปรดประทานดังปรารถนา และได้เสด็จลงมาร่ายรำยังมนุษยโลก ซึ่งเชื่อกันว่าสถานที่นั้นคือ วิหาร จิทัมพรัม ในรัฐทมิฬนาดู ประเทศอินเดีย
    ท่าฟ้อนรำทั้ง 108 ท่าขององค์พระศิวะนี้เป็นท่าพื้นฐานสำหรับวิชานาฎยศาสตร์ อันเป็นท่ารำต้นแบบของชาวอินเดีย และแพร่หลายมาถึงเขมร และไทย ผู้รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมของอินเดียสืบต่อมา ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูนั้นเชื่อว่าจังหวะการร่ายรำของพระศิวะอาจบันดาลให้เกิดผลดีและผลร้ายแก่โลกได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องอ้อนวอนให้พระองค์ฟ้อนรำในจังหวะที่พอดี โลกจึงจะร่มเย็นเป็นสุข หากพระองค์โกรธกริ้วด้วยการร่ายรำในจังหวะที่รุนแรงแล้วก็ย่อมจะนำมาซึ่งภัยพิบัติแก่โลกนานัปการ

    ดุริยางคศิลป์

    กลองในพระหัตถ์ของพระศิวะในปางศิวะนาฏราชนี้ เป็นกลองสองหน้า เอวตรงกลางคอด มีลูกตุ้มยึดกับสายสำหรับใช้กระทบหน้ากลองทั้ง 2 ข้าง กลองนี้เรียกว่ากลอง ทมรุ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวที่องค์พระศิวะท่านเลือกใช้ประกอบการร่ายรำอันยิ่งใหญ่นี้ ผู้ประกอบพิธีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้นำเอากลองนี้มาใช้ในการประกอบพิธีมงคล และพัฒนามาเป็นเครื่องดนตรีที่เรียกว่า"บัณเฑาะว์"ในปัจจุบัน คำว่าบัณเฑาะว์มาจากคำบาลีว่า "ปณวะ" หรือ "ตาณฑวะ" ในภาษาสันสกฤต


    ศิวนาฏราช เป็นปางที่พระศิวะ(อิศวร)ทรงมีชัยเหนือยักษ์มุละยะกะ
    จะเห็นว่าที่พระบาท ได้ทรงเหยียบยักษ์มุละยะกะอยู่
    แสดงถึงพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือสิ่งชั่วร้ายของพระศิวเทพ
    พระกรด้านหน้าซ้ายทรงชี้ลงไปยังตัวของยักษ์มุละยะกะ
    พระกรด้านหน้าขวาทรงผายออกเพื่อแสดงความไม่เกรงกลัวต่อความชั่วร้าย
    พระกรด้านขวาหลังทรงแกว่งปัณเฑาะว์
    พระกรด้านซ้ายหลังทรงถือเปลวไฟ

    ชาวฮินดูบูชาพระศิวะปางนี้เพื่อขอชัยชนะต่อศัตรู

    ผู้ศรัทธา ย่อมได้พร

    โอม นะมะ(หะ) ชีวาย(ยา)

    ศิวนาฏราช ชุบทองพร้อมกรอบเงินบูชา 1250 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  15. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระสยามเทวาธิราช วัดอรุณ รุ่นแก้วสารพัดนึก บูชา 250 บาท
    คาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช
    สยามะเทวาธิราชา เทวาติเทวา มหิทธิกา
    เทยยรัฏฐัง อนุรักขันตุ อาโรคะเยเนะ สุเขนะ จะ
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา
    สยามะเทวานุภาเวนะ สยามะเทวะเตชะสา
    ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัททะวา
    อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต
    ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตถิภาคะยัง สุขัง พะลัง
    สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา
    สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เม

    คำแปล คาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช
    พระสยามเทวาธิราช เป็นจอมเทวดา ยิ่งใญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย ทรงมี มหิทธิฤทธิ์
    ขอจงอภิบาลรักษาประเทศไทยโดยให้ปราศจากโรคาพาธ อุปะทวะอันตราย ความพินาศทั้ง หลาย
    ขอให้ประเทศไทยมีความร่มเย็นเป็นสุข โดยประการทั้งปวง
    ด้วยอำนาจสัจจะวาจาที่อ้างถึงพระสยามเทวาธิราชนี้
    ขอจงประทานความสุขสวัสดี จงบังเกิดแก่ประเทศไทยด้วยประการทั้งปวง
    ด้วยอานุภาพพระสยามเทวาธิราชและเดชพระสยามเทวาธิราช
    ขอจงขจัดทุกข์ โรคภัย ความโศก ศัตรู อุปัทวะ และอันตรายมิใช่น้อย ให้พินาศไปโดยไม่เหลือ
    ขอชัยชนะความสำเร็จแห่งกิจการ ทรัพย์ ลาภ ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข
    กำลัง ศรี อายุ วรรณะ โภคสมบัติ ความเจริญ และยศ มีอายุยืนตลอดหนึ่งร้อยปีขึ้นไป
    ความสำเร็จแห่งกิจก่รงานในความเป็นอยู่จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ ฯ
    คาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช ผู้ที่สวดบูชาพระสยามเทวาธิราช เป็นประจำจะเป็นสิริมงคล แก่ตนเองและครอบครัว มีความร่มเย็นเป็นสุขเจริญในหน้าที่การงาน
    พระสยามเทวาธิราช เป็นเทวรูป หล่อด้วยทองคำสูง ๘ นิ้ว ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์ มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ องค์พระสยามเทวาธิราชประดิษฐานอยู่ในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ ลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน มีคำจารึกเป็นภาษาจีนที่ผนังเบื้องหลัง แปลว่า "ที่สถิตย์แห่งพระสยามเทวาธิราช" เรือนแก้วเก๋งจีนนี้ประดิษฐานอยู่ในมุขกลางของพระวิมานไม้แกะสลักปิดทอง ตั้งอยู่เหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ตอนกลางพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง
    พระวิมานไม้แกะสลักปิดทองนี้ เรียกว่า พระวิมานไม้แกะสลักปิดทองสามมุข ด้านหน้าขององค์พระสยามเทวาธิราชตั้งรูปพระสุรัสสวดี หรือพระพราหมี เทพเจ้าแห่งการดนตรีและขับร้อง มุขตะวันออกของพระวิมาน ตั้งรูปพระอิศวรและพระอุมา มุขตะวันตกของพระวิมาน ตั้งรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ
    <SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-1590357468802909";/* 300x250, ถูกสร้างขึ้นแล้ว 10/31/08 */google_ad_slot = "6005317840";google_ad_width = 300;google_ad_height = 250;//--></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
    หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการศึกษาประวัติศาสตร์ ทรงมีพระราชดำริว่าประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการปั้นหล่อเทวรูปสมมุติขึ้น ถวายพระนามว่าพระสยามเทวาธิราช ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรมในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร ในพระอภิเนาว์นิเวศน์


    หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า
    "...ตอนมหาอำนาจทางตะวันตกทำการเปิดประตูค้ากับพวกตะวันออก ในระยะเวลาต้นๆศตวรรษที่ ๑๙ ของคริสต์ศักราชนั้น พวกเมืองข้างเคียงไม่รู้ทันเหตุการณ์ภายนอกว่า ทางตะวันตกมีอำนาจปืนเรือพอที่จะเอาชนะได้อย่างง่ายดาย จึงพากันไม่ยอมทำสัญญาด้วย ซ้ำยังขับไล่ ใช้อำนาจจนเกิดเป็นสงครามขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่คนมีแต่มีดจะต้องแพ้ผู้มีปืน แล้วถูกเป็นเมืองขึ้นไปโดยสะดวก ฝ่ายทางเมืองไทยเรานั้นมหาอำนาจตกลงกันให้อังกฤษมาเป็นผู้เปิดประตูทำสัญญาค้าขาย ซึ่งตามที่จริงก็เคยมีไมตรีกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่เมื่อบ้านเมืองมีเหตุการณ์ศึกสงครามเกิดขึ้นชาวต่างประเทศไปมาค้าขายไม่สะดวกได้ ก็จำต้องหยุดการติดต่อกันไปเป็นพัก ๆ การเป็นเช่นนี้แก่ทุกบ้านทุกเมือง ฉะนั้น เมื่อเสร็จศึกกับพม่าในรัชกาลที่ ๑ แล้ว ถึงรัชกาลที่ ๒ ชาวโปรตุเกสก็เข้ามาจากเมืองมาเก๊า เพื่อขอทำสัญญาค้าขายใน พ.ศ. ๒๓๖๓ โปรดเกล้าฯ ให้รับสัญญาเพราะเรายังต้องการซื้อปืนไฟจากชาวตะวันตกอยู่ ต่อมาอีก ๒ ปี มิสเตอร์ จอน ครอเฟิด (John Grawford) ทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญาจากผู้สำเร็จราชการอินเดียใน พ.ศ. ๒๓๖๕
    ถึงรัชกาลที่ ๓ อังกฤษเกิดรบกันขึ้นกับพม่าเป็นครั้งแรก ครั้นชนะแล้วจึงให้กัปตันเฮนรี่ เบอร์เนย์ (Henry Burney) เข้ามาทำสัญญาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ ทูตอเมริกัน มิสเตอร์ เอ็ดมอนด์ โรเบิต (Edmond Robert) เข้ามาทำสัญญาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ มิสเตอร์ริดชัน (Ridson) ทูตอังกฤษเข้ามาทำสัญญาขอซื้อช้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑ และเซอร์เจมส์ บรู้ค (Sir Jame Brooks) ผู้เคยเป็นรายา (White Raja) ผู้ครองเกาะซาราวัค (Sarawak) เข้ามาขอทำสัญญาอีกเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๓ ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต รวมทูตอังกฤษที่เข้ามาทำสัญญากับเมืองไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ก็ได้ทำแต่เรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นเรื่องผ่านแดนไทยกับพม่า และสัญญาซื้อขายช้าง ม้า และแลกเปลี่ยนสินค้าบางอย่าง ไม่ได้ทำสัญญากับเมืองไทยโดยตรงอย่างเมืองอื่น ๆ ส่วนทางเมืองไทยก็ยังไม่มีใครเชื่อว่าจะมีผู้ใดจะเกะกะทางนี้ได้ บางคนนึกเลยไปว่าเหล็กจะลอยน้ำได้อย่างไร ในเมื่อมีใครมาเล่าว่าทางมหาอำนาจตะวันตกนั้นมีเรือรบที่ทำด้วยเหล็ก ไทยจึงไม่เต็มใจจะเปิดประตูค้ากับผู้ใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นแต่รับข้อที่จำเป็นในเวลานั้นเท่านั้น แต่ในที่สุดเราก็ได้พบรายงานของเซอร์เจมส์ บรู๊ค ผู้ซึ่งเข้ามาครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ ๓ ว่า
    ‘..พระเจ้าแผ่นดินกำลังเสด็จอยู่บนพระแท่นสวรรคต และพระองค์ที่จะทรงเสวยราชย์ใหม่ก็มีหวังจะพูดกันได้เรียบร้อย ฉะนั้น จึงขอรอการใช้กำลังบังคับไว้ก่อน...’
    ตามรายงานนี้เห็นได้ชัดว่า เขาเตรียมจะใช้กำลังกับเราอยู่แล้ว เผอิญให้เกิดมีการสวรรคตและเปลี่ยนแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นมาเสวยราชย์ในเวลาที่ทรงทราบเหตุการณ์นอกประเทศดีอยู่แล้ว เพราะทรงมีเวลาศึกษาเพียงพอ ในเวลาที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุถึง ๒๗ ปี พอเสวยราชย์ได้ ๔ ปี เซอร์จอน โบว์ริง (Sir John Bowring) เจ้าเมืองฮ่องกง ก็มีจดหมายส่วนตัวเข้ามากราบทูลว่า คราวนี้ตัวเขาจะเข้ามาเป็นราชทูตแทนพระองค์ควีน วิคตอเรีย ไม่ใช่เป็นแต่เพียงทูตมาจากผู้สำเร็จราชการอินเดียเช่นคนก่อน ๆ เพราะฉะนั้นจึงหวังว่าจะไม่มีเรื่องเดือดร้อนถึงต้องขัดใจกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข้อไขอันนี้ดี จึงเปิดประตูรับในฐานะมิตร และเป็นผลให้เราได้พ้นภัยมาได้แต่ผู้เดียวในทางตะวันออกประเทศนี้
    เมื่อเหตุการณ์เรียบร้อยแล้ว ทรงพระราชดำริว่า เมืองไทยเรานี้มีเหตุการณ์หวิด ๆ จะต้องเสียอิสรภาพมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นได้เสมอมา ชะรอยจะมีเทพยดาองค์ใดองค์หนึ่งที่คอยพิทักษ์รักษาอยู่ จึงสมควรจะทำรูปเทพพระองค์นั้นขึ้น ไว้สักการบูชา แล้วโปรดให้พระองค์เจ้าดิษฐวรการ (หม่อมเจ้ารัชกาลที่ ๑) นายช่างเอกทรงปั้นรูปเทพพระองค์นั้น เป็นรูปทรงต้นยืนถือพระขรรค์ในพระหัตถ์ขวา ขนาด ๘ นิ้วฟุตงดงามได้สัดส่วนแล้วหล่อด้วยทองคำแท่งทั้งพระองค์ ทรงถวายพระนาม "พระสยามเทวาธิราช" แล้วประดิษฐานไว้ในพระวิมานกลางพระที่นั่งไพศาลทักษิณจนทุกวันนี้ ท่านผู้ใหญ่ชั้นคุณย่าของข้าพเจ้าเล่าว่า ในรัชกาลที่ ๔ ทรงถวายเครื่องสังเวยเป็นราชสักการะทุกวัน และเป็นที่นับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก บัดนี้เนื่องแต่ทางพระราชสำนักต้องตัดทอนรายจ่ายมากมายมาแต่ในรัชกาลที่ ๗ จึงคงยังมีเครื่องสังเวยถวายแต่เฉพาะวันอังคาร และวันเสาร์ อาทิตย์ละ ๒ ครั้ง และในเวลาปีใหม่ก็มีการบวงสรวงสังเวยเป็นพิธีใหม่ มีละครรำของกรมศิลปากรในเวลาเช้าวันสังเวยนั้น..
    ..อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ต่าง ๆ ดังเราท่านได้ประสบมาด้วยตนเอง ยิ่งนานวันก็ยิ่งเห็นว่าพระสยามเทวาธิราชนั้นมีจริง เราจงพร้อมใจกันอธิษฐานด้วยกุศลผลบุญที่เราได้ทำมาแล้วด้วยดี ขอให้เทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้ จงได้ทรงคุ้มครองป้องกันภัย และโปรดประสิทธิ์ประสาทความสมบูรณ์พูนสุขให้แก่ประชาชนชาวสยามทั่วกันเทอญ.."
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเครื่องสังเวยเป็นราชสักการะเป็นประจำวัน เครื่องสังเวยที่ถวายเป็นประจำนั้น จะถวายเฉพาะวันอังคาร และวันเสาร์ก่อนเวลาเพล โดยจะมีพนักงานฝ่ายพระราชฐานชั้นใน เป็นผู้เชิญเครื่องตั้งสังเวยบูชา เครื่องสังเวยประกอบด้วย ข้าวสุกหนึ่งถ้วยเชิง หมูนึ่งหนึ่งชิ้น พร้อมด้วยน้ำพริกเผา ปลานึ่งหนึ่งชิ้นพร้อมด้วยน้ำจิ้ม ขนมต้มแดงและขนมต้มขาว กล้วยน้ำว้า มะพร้าวอ่อนหนึ่งผล ผลไม้ตามฤดูกาลสองอย่าง และน้ำสะอาดอีกหนึ่งถ้วย ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีสังเวยเทวดา ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี
    ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า พระอภิเนาว์นิเวศน์พระพุทธมณเฑียร และพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งเป็นโครงสร้างเสาไม้หุ้มปูน ที่ได้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก ยากที่จะบูรณะให้คงสภาพเดิมไว้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อลงทั้งหมด และอัญเชิญพระสยามเทวาธิราชไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิมานทองสามมุขเหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ตราบจนถึงทุกวันนี้
    พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่พระสยามเทวาธิราช ตามประเพณีกำหนดไว้ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จแทนพระองค์มาทรงถวายเครื่องสังเวยเป็นราชสักการะพระสยามเทวาธิราช และมีละครในจากกรมศิลปากรรำถวาย
    ระหว่างวันที่ ๗ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ เมื่อครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระสยามเทวาธิราชจากพระวิมานในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ขึ้นเสลี่ยงโดยประทับบนพานทอง ๒ ชั้น สู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐาน ณ บุษบกมุขเด็จ เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวง ในวันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๒๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สาธุชนเข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชหลังเสด็จฯ กลับ จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๕ นับเป็นครั้งแรกที่ประชาชนมีโอกาสได้เข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชเฉพาะพระพักต์
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1661.jpg
      DSCF1661.jpg
      ขนาดไฟล์:
      336.1 KB
      เปิดดู:
      86
    • DSCF1662.jpg
      DSCF1662.jpg
      ขนาดไฟล์:
      285 KB
      เปิดดู:
      62
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  16. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    บ่วงนาคบาศ กินบ่เสี้ยง หลวงพ่อไพบูลย์ 350 บาท
    เป็นที่สุดแห่งโชคลาภ กินเท่าไหร่ก็ไม่จักหมดไม่จักสิ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1637.jpg
      DSCF1637.jpg
      ขนาดไฟล์:
      220.6 KB
      เปิดดู:
      147
    • DSCF1638.jpg
      DSCF1638.jpg
      ขนาดไฟล์:
      191.3 KB
      เปิดดู:
      126
    • DSCF1639.jpg
      DSCF1639.jpg
      ขนาดไฟล์:
      175.4 KB
      เปิดดู:
      172
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  17. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    หลวงพ่อผลวัดเทียนดัด หลังหลวงพ่อเงิน ปี 19 เนื้อเงินกะไหล่ทอง
    หายากสุดๆ 999 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1659.jpg
      DSCF1659.jpg
      ขนาดไฟล์:
      408.9 KB
      เปิดดู:
      70
    • DSCF1660.jpg
      DSCF1660.jpg
      ขนาดไฟล์:
      340 KB
      เปิดดู:
      121
  18. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    หลวงพ่อเกษม รุ่น นะหน้าทอง 750 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1649.jpg
      DSCF1649.jpg
      ขนาดไฟล์:
      202.5 KB
      เปิดดู:
      69
    • DSCF1650.jpg
      DSCF1650.jpg
      ขนาดไฟล์:
      191.5 KB
      เปิดดู:
      116
  19. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญเทวบดีบรมครู 9เศียรรุ่นนพเก้า หลวงพ่ออิฐ วัดจุฬามณี จังวัดสมุทรสงคราม เนื้อทองแดงรมดำด้านหลังมีพระฤาษีนาคปรกประทับอยู่ พระครูโสภิตวิริยากรณ์ "หลวงพ่ออิฎฐ์" วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ท่านเป็นศิษย์เอก หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี พระเกจิอาจารย์นามกระเดื่องในอดีต แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง นอกจากนี้หลวงพ่ออิฏฐ์ก็ยังได้เคยศึกษาร่ำเรียนเพิ่มเติมจากพระเกจิชื่อดังผู้แก่กล้าพระเวทย์วิทยาคมอีกหลายองค์อาทิ หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ และหลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ เป็นต้น ขออธิบายด้านหน้าเหรียญเทวบดี ได้นำพระยันต์พระลักษณ์หน้าทอง ประทับไว้กึ่งกลางเหรียญ และล้อมรอบด้วย เศียรของมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ 9 พระองค์ ซึ่งแต่ละพระองค์มีรายละเอียดและความสำคัญดังนี้ - พระอิศวรเทพเจ้าผู้สร้างโลก กายสีขาว มงกุฎน้ำเต้า ทรงตรีศูลเป็นเจ้าฟ้า พระอุมาภควดี เป็นพระมเหสี - พระพรหมธาตา เทพเจ้าแห่งพรหมวิหาร กายสีขาว 4 พักตร์ 8 กร มงกุฎน้ำเต้า 5 ยอด ทรงซ้อน ลูกประคำ คนโท คัมภีร์พระเวทย์ มีธนู - พระนารายณ์ เทพเจ้าผู้รักษาความดี กายสีดอกตะแบก มงกุฎเดินบน มงกุฎชัยห้ายอด ทรงตรี คฑาทอง จักร และสังข์ - พระวิษณุ เทพเจ้าแห่งครูช่างทุกชนิด กายสีเขียว มงกุฎน้ำเต้าทรงลูกดิ่ง และฉาก - พระคเณศ เทพเจ้าแห่งศิลปะ และวรรณคดี กายสีสัมฤทธิ์ พระเศียรเป็นช้าง สี่กร มงกุฎน้ำเต้ามะเฟือง ทรงวชิระ มีงาข้างเดียว กะโหลกใส่น้ำมนต์ มีเชือกบ่วงบาศก์ - พระปัญจสีขร เทพเจ้าแห่งวิชาการดนตรี กายสีขาว หนึ่งหน้า สี่มือมงกุฎน้ำเต้าสี่ยอด - พระประโคนธรรพ เทพคนธรรพ์ กายสีหงเสน หรือสีแดงเสน 1 หน้า 2 มือ มงกุฎน้ำเต้า มีวงทักษิณาวรรต ทั้งตัว - พระพิราพ อสูรเทพบุตร หัวโล้น (พิราพป่า) มีกายเป็นวงทักษิณาวรรต หรือ กายม่วงแก่ หนึ่งพักตร์ สองกร สวมกระบังหน้าปากแสยะ ตาจระเข้ อาวุธหอกอยู่เชิงเขาอัคกรรณ มีสวนสำหรับเที่ยวเล่น ปลูกพวาทอง - พระฤาษี (พระพรตมุณี) พฤฒาจารย์แห่งสรรพวิทยา
    เหรียญชุบเงิน บูชา 599 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1635.jpg
      DSCF1635.jpg
      ขนาดไฟล์:
      345.9 KB
      เปิดดู:
      88
    • DSCF1636.jpg
      DSCF1636.jpg
      ขนาดไฟล์:
      335.3 KB
      เปิดดู:
      97
  20. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลอันดามัน หลวงพ่อจำเนียรวัดถ้ำเสือ
    บูชา 250 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1655.jpg
      DSCF1655.jpg
      ขนาดไฟล์:
      288.3 KB
      เปิดดู:
      63
    • DSCF1656.jpg
      DSCF1656.jpg
      ขนาดไฟล์:
      302.4 KB
      เปิดดู:
      60

แชร์หน้านี้

Loading...