***วัตถุมงคลหลวงพ่อไพบูลย์ วัดอนาลโย ดอยมังกร-ครูบาวงค์ และเกจิอาจารย์ทั่วไทย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย siwa1968, 24 สิงหาคม 2010.

  1. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ครูบาศรีวิชัยแดนดินถิ่นเหนือ
    พะเยา เจียงฮาย เจียงใหม่ หละปูน

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=765 align=center height=406><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD height=370 vAlign=top width="97%" align=left>
    [FONT=AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC, DilleniaUPC, EucrosiaUPC]ครูบาศรีวิชัย [/FONT]



    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ครูบาศรีวิชัย[/SIZE][/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1] ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน"ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือนหรืออินท์เฟือนบ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง" ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย) ๔. นางแว่น ๕. นายทา [/SIZE][/FONT]
    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]เมื่ออุปสมบทแล้ว สิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย และอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่งเป็นพระอุปฌาย์ของท่าน [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละวัดดอยแตเป็นเวลา ๑ พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔) ครูบาขัติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป(บางท่านว่ามรณภาพ) ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง, วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ, วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง), วันเสาร์ ไม่ฉันบอน นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..." และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนาคือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันใน ระยะแรกนั้นเกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิมของล้านนานั้นให้ความสำคัญแก่ระบบหมวดอุโบสถ หรือ ระบบหัวหมวดวัด มากกว่า และการปกครองก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์ ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ในการดูแลจำนวนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหมวดอุโบสถ โดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือและได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูบา ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูง ดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์ โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมาก และลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯ เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ส่วนสงฆ์ในล้านนาเองก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลาย เนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่นออกเป็นถึง ๑๘ นิกาย และในแต่ละนิกายนี้ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตนโดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์ และนอกจากนี้นิกายต่าง ๆ นั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย เช่น นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน) นิกายยอง (จากเมืองยอง) เป็นต้น สำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่น ๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก แขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแตโดยอ้างว่า สืบวิธีการนี้มาจากลังกา การที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น ทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑(พ.ศ.๒๔๔๖) เพราะในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้ ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น" โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯเพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไป การจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯนี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผล องค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงที่ละน้อยเพราะอย่างน้อยความขัดแย้งต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณี ความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นต้น [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้นเกิดขึ้นเพราะครูบาศรีวิชัยถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนา ส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้ จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เองและเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้กับหนานบุญเติง นายอำเภอลี้ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติ การจับกุมครูบาศรีวิชัยสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ ช่วงเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ ๓๐ ปีและแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]อธิกรณ์ระยะแรก (ช่วง พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๓) [/SIZE][/FONT]
    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]การต้องอธิกรณ์ช่วงแรกของครูบาศรีวิชัยเป็นผลมาจากการเริ่มทดลองใช้กฎหมายของคณะสงฆ์ฉบับแรก(พ.ศ.๒๔๔๖)และเป็นการเริ่มให้อำนาจกับสงฆ์สายกลุ่มผู้ปกครองในช่วงพ.ศ.๒๔๕๓ นั้น บทบาทของครูบาศรีวิชัยในหมู่ชาวบ้านและชาวเขามีลักษณะโดดเด่นเกินกว่าตำแหน่งสงฆ์ผู้ปกครอง ดังจะเห็นว่าชาวบ้านมักนำเอาบุตรหลานมาฝากฝังให้ครูบาศรีวิชัยบวชเณรและอุปสมบท เมื่อความทราบถึงเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้ ทางการก็เห็นว่าครูบาศรีวิชัยล่วงเกินอำนาจของตน เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอได้พาตำรวจควบคุมครูบาศรีวิชัยไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้ได้ ๔ คืน จากนั้นก็ส่งครูบาศรีวิชัยไปให้พระครูบ้านยู้ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเพื่อรับการไต่สวน ซี่งผลก็ไม่ปรากฏครูบาศรีวิชัยมีความผิด หลังจากถูกไต่สวนครั้งแรกไม่นานนัก ครูบาศรีวิชัยก็ถูกเรียกตัวสอบอีกครั้งโดยพระครู มหาอินทร์ เจ้าคณะแขวงลี้ เนื่องจากมีหมายเรียกให้ครูบาศรีวิชัยนำลูกวัดไปประชุมเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่จากนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงลี้ แต่ครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไปตามหมายเรียกนั้น ซึ่งส่งผลทำให้เจ้าอธิการหัววัดที่อยู่ในหมวดอุโบสถของครูบาศรีวิชัยไม่ไปประชุมเช่นกัน เพราะเห็นว่าเจ้าหัวหมวดไม่ไปประชุม ลูกวัดก็ไม่ควรไป พระครูเจ้าคณะแขวงลี้จึงสั่งให้นายสิบตำรวจเมืองลำพูนไปควบคุมครูบาศรีวิชัยส่งให้พระครูญาณมงคลเจ้าคณะจังหวัดลำพูนจัดการไต่สวน ครั้งนั้น ครูบา ศรีวิชัยถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดชัยเมืองลำพูนถึง ๒๓ วัน จึงได้รับการปล่อยตัว [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ส่วนครั้งที่๓ ใน พ.ศ.เดียวกันนี้ พระครูเจ้าคณะแขวงลี้ได้สั่งให้ครูบาศรีวิชัยนำเอาลูกวัดเจ้าอธิการหัววัดตำบลบ้านปาง ซึ่งอยู่ในหมวดอุโบสถไปประชุมที่วัดเจ้าคณะแขวงตามพระราชบัญญัติที่จะเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าครูบาศรีวิชัยมิได้เข้าประชุมอีก มีผลให้บรรดาหัววัดไม่ไปประชุมเช่นกัน เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้จึงมีหนังสือฟ้องถึงพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยเมืองลำพูนนานถึงหนึ่งปี พระครูญาณมงคลจึงได้เรียกประชุมพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมก็ได้ตัดสินให้ครูบาศรีวิชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหมวดวัดหรือหมวดอุโบสถและมิให้เป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่อไป พร้อมทั้งถูกควบคุมตัวต่อไปอีกหนึ่งปี [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]อธิกรณ์ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๔) [/SIZE][/FONT]​

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]อธิกรณ์พระศรีวิชัยครั้งที่สองนี้มีความเข้มข้นและรุนแรงขึ้นเนื่องจากเป็นผลมาจากการต้องอธิกรณ์ครั้งแรกถึง ๓ ครั้ง แต่การต้องอธิกรณ์กลับเป็นการเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อครูบาศรีวิชัยมากยิ่งขึ้น เสียงที่เล่าลือเกี่ยวกับครูบาสรีวิชัยจึงขยายออกไป นับตั้งแต่เป็นผู้วิเศษเดินตากฝนไม่เปียกและได้รับดาบสรีกัญไชย(พระขรรค์ชัยศรี)จากพระอินทร์ ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาใน ตัวครูบาศรีวิชัยยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง คำเล่าลือดังกล่าวเมื่อทราบถึงเจ้าคณะแขวงลี้และนายอำเภอแขวงลี้ ทั้งสองจึงได้เข้าแจ้งต่อพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน โดยกล่าวหาว่า "ครูบาศรีวิชัยเกลี้ยกล่อมส้องสุมคนคฤหัสถ์นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่า และใช้ผีและเวทมนต์" พระครูญาณมงคลจึงออกหนังสือลงวันที่ ๑๒มกราคม ๒๔๖๒ สั่งครูบาศรีวิชัยให้ออกไปพ้นเขตจังหวัดลำพูน ภายใน ๑๕ วัน พร้อมทั้งมีหนังสือห้ามพระในจังหวัดลำพูนรับครูบาศรีวิชัยไว้ในวัด เมื่อครูบาศรีวิชัยโต้แย้งและทางการไม่สามารถเอาผิดครูบาศรีวิชัยได้ ความดังกล่าวก็เลิกราไประยะหนึ่ง แต่ต่อมา ก็มีหนังสือของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองนครลำพูน เรียกครูบาศรีวิชัยพร้อมกับลูกวัดเข้าเมืองลำพูน ครั้งนั้นพวกลูกศิษย์ได้จัดขบวนแห่ครูบาศรีวิชัยเข้าสู่เมืองอย่างใหญ่โต การณ์ดังกล่าวคงจะทำให้ทางคณะสงฆ์ผู้ปกครองลำพูนตกใจอยู่มิใช่น้อย ดังจะพบว่าเมื่อครูบาศรีวิชัยพักอยู่ที่วัดมหาวันได้คืนหนึ่ง อุปราชเทศามณฑลพายัพจึงได้สั่งย้ายครูบาศรีวิชัยขึ้นไปยังเชียงใหม่ โดยให้พักกับพระครูเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ที่วัดเชตวัน เสร็จแล้วจึงมอบตัวให้พระครูสุคันธศีล รองเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ ที่วัดป่ากล้วย (ศรีดอนไชย) [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ในระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมอยู่ที่วัดป่ากล้วย ก็ได้มีพ่อค้าใหญ่เข้ามารับเป็นผู้อุปฐากครูบาศรีวิชัยคือหลวงอนุสารสุนทร (ซุ่นฮี้ ชัวย่งเส็ง)และพญาคำ แห่งบ้านประตูท่าแพ ตลอดจนผู้คนทั้งในเชียงใหม่และใกล้เคียงต่างก็เดินทางมานมัสการครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก ทางฝ่ายผู้ดูแลต่างเกรงว่าเรื่องจะลุกลามไปกันใหญ่เนื่องจากแรงศรัทธาของชาวเมืองเหล่านี้ เจ้าคณะเมืองเชียงใหม่และเจ้าคณะมณฑลพายัพจึงส่งครูบาศรีวิชัยไปรับการไต่สวนพิจารณาที่กรุงเทพฯ ซึ่งผลการพิจารณาไม่พบว่าครูบาศรีวิชัยมีความผิด และให้ครูบาศรีวิชัยเลือกเป็นเจ้าอาวาสหรืออาศัยอยู่ในวัดอื่นก็ได้ เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับจากกรุงเทพฯแล้ว ชนทุกกลุ่มของล้านนาก็ได้เพิ่มความเคารพยกย่องในตัวครูบา ดังจะเห็นได้จากความสนับสนุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ทั่วไปในล้านนาซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและแรงงานอย่างมหาศาล[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]อธิกรณ์ระยะที่สาม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙) [/SIZE][/FONT]​

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]การต้องอธิกรณ์ช่วงที่สามของครูบาศรีวิชัยเกิดขึ้นในช่วงที่ได้มีการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอย สุเทพเพราะขณะก่อสร้างทางอยู่นั้นเอง ปรากฏว่ามีพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่รวม ๑๐ แขวง ๕๐ วัด ขอลาออกจากการปกครองคณะสงฆ์ไปขึ้นอยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทน เมื่อเห็นการที่วัดขอแยกตัวไปขึ้นกับครูบาศรีวิชัยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนั้น ทางคณะสงฆ์จึงสั่งให้กลุ่มพระสงฆ์ในวัดที่ขอแยกตัวออกดังกล่าวเข้ามอบตัวและพระสงฆ์ที่ครูบาศรีวิชัยเคยบวชให้ก็ถูกสั่งให้สึก อธิกรณ์ครั้งที่ ๓ นี้ได้ดำเนินมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙ ครูบาศรีวิชัยได้ให้คำรับรองต่อคณะสงฆ์ว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ทุกประการ ท่านจึงได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ รวมเวลาที่ต้องสอบสวนและอบรมอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลาถึง ๖ เดือน ๑๗ วัน [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]กรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ เป็นต้นมา ตราบกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตของครูบาศรีวิชัย แต่ในช่วงเวลานั้น ครูบาศรีวิชัยก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พึ่งทางใจและดำเนินการบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนสาธารณะประโยชน์ตามคำอาราธนาอยู่เรื่อยมา[/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]การปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนากับการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ [/SIZE][/FONT]​

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ครูบาศรีวิชัยได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือปฏิบัติเคร่งมาตั้งแต่เป็นสามเณร ดังเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มักน้อย ถือสันโดษ และเว้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เจือปน ตลอดจนงดกระทั่งหมาก เมี่ยง และบุหรี่ ทำให้คนทั่วไปเห็นว่าครูบาเป็นผู้บริสุทธิ์ที่มีลักษณะเป็น"ตนบุญ" คนทั้งปวงต่างก็ประสงค์จะทำบุญกับครูบาเพราะเชื่อว่าการถวายทานกับภิกษุผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นจะทำให้ผู้ถวายทานได้รับอานิสงส์มาก เงินที่ประชาชนนำมาทำบุญก็นำไปใช้ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์และบูรณะศาสนสถานและศาสนวัตถุ งานก่อสร้างดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี ฉลู พ.ศ.๒๔๔๒ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำ ครูบาได้แจ้งข่าวสารไปยังศรัทธาทั้งหลายรวมทั้งชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ว่าจะวัดบ้านปางขึ้นใหม่ ซึ่งก็สร้างเสร็จภายในเวลาไม่นานนัก ให้ชื่อวัดใหม่นั้นว่า "วัดศรีดอยไชยทรายมูล" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดบ้านปาง" [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ขั้นตอนปฏิบัติในการไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดมีว่า เมื่อครูบาได้รับนิมนต์ให้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใดแล้ว ทางวัดเจ้าภาพก็จะสร้างที่พักของครูบากับศิษย์และปลูกปะรำสำหรับเป็นที่พักของผู้ที่มาทำบุญกับครูบา คืนแรกที่ครูบาไปถึงก็จะอธิษฐานจิตดูว่าการก่อสร้างครั้งนั้นจะสำเร็จหรือไม่ ซึ่งมีน้อยครั้งที่จะไม่สำเร็จเช่นการสร้างสะพานศรีวิชัยซึ่งเชื่อมระหว่าง อำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมือง ลำพูน จากนั้นครูบาก็จะ "นั่งหนัก" คือเป็นประธานอยู่ประจำในงานนั้น คอยให้พรแก่ศรัทธาที่มาทำบุญโดยไม่สนใจเรื่องเงิน แต่มีคณะกรรมการช่วยกันรวบรวมเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครูบาไป "นั่งหนัก" ที่ไหน ประชาชนจะหลั่งไหลกันไปทำบุญที่นั่นถึงวันละ ๒๐๐-๓๐๐ ราย คับคั่งจนที่นั้นกลายเป็นตลาดเป็นชุมชนขึ้น เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะมีงาน "พอยหลวง-ปอยหลวง" คืองานฉลอง บางแห่งมีงานฉลองถึงสิบห้าวัน และในช่วงเวลาดังกล่าวก็มักจะมีคนมาทำบุญกับครูบามากกว่าปกติ เมื่อเสร็จงาน"พอยหลวง-ปอยหลวง" ในที่หนึ่งแล้ว ครูบาและศิษย์ก็จะย้ายไปก่อสร้างที่อื่นตามที่มีผู้มานิมนต์ไว้ โดยที่ท่านจะไม่นำทรัพย์สินอื่นใดจากแหล่งก่อนไปด้วยเลย ช่วงที่ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ครั้งที่สองและถูกควบคุมไว้ที่วัดศรีดอนชัย เชียงใหม่ เป็นเวลา ๓ เดือนกับ ๘ วันนั้น ผู้คนหลั่งไหลไปทำบุญกับครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ ๒๐๐ ราย เมื่อครูบาได้ผ่านการพิจารณาอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาอีก ๒ เดือนกับ ๔ วันแล้วครูบาก็เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๓ หลังจากนั้นผู้คนก็มีความศรัทธาในตัวครูบามากขึ้น ครูบาศรีวิชัยเริ่มต้นการบูรณะวัดขณะที่ท่านอายุ ๔๒ ปี โดยเริ่มจากการบูรณะพระเจดีย์บ่อนไก้แจ้ จังหวัดลำปาง ถัดจากนั้นได้บูรณะเจดีย์และวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัย ต่อมาได้ไปบูรณะเจดีย์ดอยเกิ้ง ในเขตอำเภอฮอด เชียงใหม่ จากนั้นไปบูรณะวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา กล่าวกันมาว่าในวันที่ท่านถึงพะเยานั้น มีประชาชนนำเงินมาบริจาคร่วมทำบุญใส่ปีบได้ถึง ๒ ปีบ หลังจากนั้นมาบูรณะวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ เป็นอาทิ รวมแล้วพบว่างานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัยมีประมาณ ๒๐๐ แห่ง [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ในขณะที่ครูบาศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๔๗๕ อยู่นั้น หลวงศรีประกาศได้หารือกับครูบาศรีวิชัยว่าอยากจะนำไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพ แต่ครูบาศรีวิชัยว่าหากทำถนนขึ้นไปจะง่ายกว่าและจะได้ไฟฟ้าในภายหลัง ทั้งนี้ทางการเคยคำนวณไว้ในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐ ว่าหากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้นจะต้องใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่ครูบาศรีวิชัยได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลย ครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้ว ครูบาศรีวิชัยก็ถูกนำตัวไปสอบอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯอีกเป็นครั้งที่สอง และงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือสะพานศรีวิชัยอนุสรณ์ ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อมอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ในการก่อสร้างต่าง ๆ นับแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ ถึง ๒๔๗๑ มีผู้ได้บริจาคเงินทำบุญกับท่าน ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูปี คิดเป็นเงินไม่น้อยกว่าสามหมื่นห้าพันบาท รวมค่าก่อสร้างชั่วชีวิตของท่านประมาณสองล้านบาท นอกจากนั้นท่านยังได้สร้างคัมภีร์ต่าง ๆ อีกไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐ ผูก คิดค่าจารเป็นเงิน ๔,๓๒๑ รูปี(รูปีละ ๘๐ สตางค์) ทั้งนี้ แม้ครูบาศรีวิชัยจะมีงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่และมากมาย แต่บิดามารดาคือนายควายและนางอุสาก็ยังคงอยู่ในกระท่อมอย่างเดิมสืบมาตราบจนสิ้นอายุ[/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรง แม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงาน แต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้น ท่านจะต้อง"นั่งหนัก"อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อสร้างบูรณะวัดในเขตล้านนา และการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี บางท่านก็ว่า ๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี ลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนอันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น [/SIZE][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย [/SIZE][/FONT]​

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้น ผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญกับท่านเท่านั้น ส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรก พวกลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้ายพระรอดหรือพระคงของลำพูน โดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกน ก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลงในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย์ กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์ [/SIZE][/FONT]

    <DD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ส่วนเหรียญโลหะรูปครูบาศรีวิชัยนั้น พระครูวิมลญาณประยุต (สุดใจ วิกสิตฺโต) ชาวจังหวัดอ่างทองได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนสร้างขึ้นให้เช่าเพื่อนำเงินมาช่วยในการปลงศพครูบาศรีวิชัย โดยให้เช่าในราคาเหรียญละ ๕ สตางค์ ทั้งนี้ สิงฆะ วรรณสัย ยืนยันจากประสบการณ์ที่ท่านรู้จักครูบาดีและได้คลุกคลีกับเรื่องพระเครื่องมาตั้งแต่ครูบายังไม่มรณภาพนั้นระบุว่าไม่มีเหรียญรุ่นดอยสุเทพ ไม่มีเหรียญที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง หรือวัตถุมงคลอื่นใดที่ครูบาจะสร้างขึ้น นอกจากการให้พรและความอิ่มใจในการทำบุญกับท่านเท่านั้น แต่ในระยะหลังก็พบว่ามีการสร้างวัตถุมงคลของครูบาอยู่เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในความดีของ "ตนบุญ"เป็นสำคัญ[/SIZE][/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อุดม รุ่งเรืองศรี [/FONT]​

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](เรียบเรียงจากงานของ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ของ ส.สุภาภา ๑๐ พค.๒๕๑๘, สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ของสิงฆะ วรรณสัย ศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒, และ ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวน-ดอก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗)[/FONT]

    </DD>​




    </TD><TD height=370 width="1%"></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD height=2 vAlign=bottom width="2%" align=left>[​IMG]</TD><TD height=2 width="97%"></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1576.jpg
      DSCF1576.jpg
      ขนาดไฟล์:
      134.4 KB
      เปิดดู:
      79
    • DSCF1577.jpg
      DSCF1577.jpg
      ขนาดไฟล์:
      157.9 KB
      เปิดดู:
      66
    • svchai.jpg
      svchai.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      62
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2010
  2. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ปิดแล้ว1ครับ มีเหลืออีก1องค์
    เต่าสำลีชุบเทียนของหลวงปู่ครูบาวงค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1564.jpg
      DSCF1564.jpg
      ขนาดไฟล์:
      86.5 KB
      เปิดดู:
      60
    • DSCF1565.jpg
      DSCF1565.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.4 KB
      เปิดดู:
      57
    • DSCF1567.jpg
      DSCF1567.jpg
      ขนาดไฟล์:
      85 KB
      เปิดดู:
      56
    • DSCF1568.jpg
      DSCF1568.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.9 KB
      เปิดดู:
      66
    • DSCF1571.jpg
      DSCF1571.jpg
      ขนาดไฟล์:
      129.7 KB
      เปิดดู:
      51
    • DSCF1573.jpg
      DSCF1573.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.5 KB
      เปิดดู:
      54
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2010
  3. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ชุดพระเจ้าตนหลวงพะเยา เนื้อหยก เงิน ทองเหลือง ทองแดง เนื้อผง และครูบาศรีวิชัย
    ****พระเจ้าพระตนหลวง มิ่งดวงมณี ศรีโคมคำ****
    “วัดศรีโคมคำ” เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา
    เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และวัดพัฒนาตัวอย่าง
    ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง”
    ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “พระเจ้าตนหลวง”
    โดยสร้างขึ้นในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๐๓๔-๒๐๖๗

    “พระเจ้าตนหลวง” เป็นพระประธานเก่าแก่ในพระวิหารหลวง
    ศิลปะเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา
    มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร และสูง ๑๖ เมตร
    สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว
    ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
    เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง


    ตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๓๔
    โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่
    และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น

    มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล
    แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมือง
    ที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอาราม รกร้างว่างเปล่าไป
    ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี
    วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำ
    ชะตาพระเจ้าตนหลวงตามตำนาน กล่าวได้ว่า
    “พระโมลีใหญ่ ๒๐ กำมือ สูง ๓ ศอก พระเศียรกลม ๖ วา
    พระเกศามี ๑,๕๐๐ เส้น ขนาดใหญ่ ๔ กำมือ ขนาดกลาง ๓ กำมือ
    ขนาดเล็ก ๒ กำมือ ขนาดจิ๋ว ๑ กำมือ พระพักตร์หน้ายาว ๒ วา กว้าง ๒ วา
    พระขนง (คิ้ว) ๓ ศอก ระหว่างพระขนงกว้าง ๑ ศอก
    ยาว ๓ ศอก กว้าง ๑ คืบ ดั้งพระนาสิก ๓ ศอก ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ

    พระโอษฐ์ (ปาก) ยาว ๔ ศอก กว้าง ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ
    พระกรรณ (หู) ยาว ๖ ศอก กว้างศอกคืบ
    พระศอยาว ๒ ศอก กลม ๓ วา พระอังสา (บ่า) ยาว ๓ คืบ
    กระดูกด้ามมีดยาว ๔ วา ตั้งแต่พระอุระ (อก) ถึงพระชานุ (คาง) ๒ วา
    ตั้งแต่พระถัน (นม) ถึงพระอังสา (ไหล่) ๒ วา
    ตั้งแต่พระนาภี (สะดือ) ถึงพระอุระ (อก) ๒ วา ระหว่างพระอุระ (อก) กว้าง ๒ วา

    พระพาหา (แขน) ยาว ๔ วา กลม ๒๙ กำมือ นิ้วพระหัตถ์ใหญ่ ๙ กำมือ
    ยาว ๑ วา พระกฏิ (สะเอว) กลม ๗ วา ฝ่าพระบาทยาว ๒ วา
    กว้าง ๓ ศอก ระหว่างพระชานุกว้าง ๗ วา พระหทัยใหญ่ ๖ กำมือ
    ตั้งแต่ที่ประทับนั่งถึงพระโมลี สูง ๘ วา ๒ ศอก”
    “พระเจ้าตนหลวง” หรือ “พระเจ้าองค์หลวง”
    มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น
    แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย


    ในช่วงเดือนหกของทุกปี ประมาณเดือนพฤษภาคม ตรงกับวันวิสาขบูชา
    จะมี งานนมัสการพระเจ้าตนหลวง หรือ เทศกาล “แปดเป็ง”
    จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

    เนื่องจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง
    เมื่อครั้งสมัยที่ยุคทองทางพระพุทธศาสนาของล้านนา
    ประชาชนจึงเชื่อว่าพระเจ้าตนหลวง คือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้า
    ใครที่ได้มากราบสักการะแล้ว จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลอยู่ดีมีสุขตลอดไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1581.jpg
      DSCF1581.jpg
      ขนาดไฟล์:
      115 KB
      เปิดดู:
      54
    • DSCF1580.jpg
      DSCF1580.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.5 KB
      เปิดดู:
      46
    • DSCF1586.jpg
      DSCF1586.jpg
      ขนาดไฟล์:
      107.4 KB
      เปิดดู:
      66
    • DSCF1587.jpg
      DSCF1587.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.5 KB
      เปิดดู:
      49
    • DSCF1593.jpg
      DSCF1593.jpg
      ขนาดไฟล์:
      115.6 KB
      เปิดดู:
      43
    • DSCF1592.jpg
      DSCF1592.jpg
      ขนาดไฟล์:
      114.4 KB
      เปิดดู:
      46
    • __5_840.jpg
      __5_840.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.8 KB
      เปิดดู:
      72
    • __6_155.jpg
      __6_155.jpg
      ขนาดไฟล์:
      114.4 KB
      เปิดดู:
      76
    • __15_223.jpg
      __15_223.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.3 KB
      เปิดดู:
      61
    • __9_155.jpg
      __9_155.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103 KB
      เปิดดู:
      55
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2010
  4. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    หลวงพ่อเงินองค์เล็กๆ ไม่รู้วัดสร้าง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1597.jpg
      DSCF1597.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.2 KB
      เปิดดู:
      44
    • DSCF1598.jpg
      DSCF1598.jpg
      ขนาดไฟล์:
      131.1 KB
      เปิดดู:
      59
    • DSCF1596.jpg
      DSCF1596.jpg
      ขนาดไฟล์:
      85.2 KB
      เปิดดู:
      49
    • DSCF1606.jpg
      DSCF1606.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.6 KB
      เปิดดู:
      57
    • DSCF1603.jpg
      DSCF1603.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.7 KB
      เปิดดู:
      61
  5. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ชุดเหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1610.jpg
      DSCF1610.jpg
      ขนาดไฟล์:
      110.3 KB
      เปิดดู:
      113
    • DSCF1609.jpg
      DSCF1609.jpg
      ขนาดไฟล์:
      129.9 KB
      เปิดดู:
      50
    • DSCF1552.JPG
      DSCF1552.JPG
      ขนาดไฟล์:
      705.5 KB
      เปิดดู:
      49
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2010
  6. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่สร้างมีตกผลึกใสที่หลายคนบอกว่าพระธาตุเสด็จครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1510.jpg
      DSCF1510.jpg
      ขนาดไฟล์:
      133.3 KB
      เปิดดู:
      61
    • DSCF1512.jpg
      DSCF1512.jpg
      ขนาดไฟล์:
      141.4 KB
      เปิดดู:
      66
  7. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ชุดเหรียญหน้าตรงหลวงพ่อไพบูลย์หลังมังกรปี 44
    เหรียญละ 650 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  8. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระเกจินครสวรรค์
    หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_126 class=t_msgfont>ประวัติ หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ นครสวรรค์ *** พระครูนิมิตรนวกรรม นามเดิม สมควร สุริยประภา กำเหนิดเมื่อวันเสาร์ แรม 1 ค่ำเดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 17 กันยายน 2459 ณ หมู่บ้านโพนโด่ง จังหวัดตรา ( tavin ) ไซ่ง่อน ( ปัจจุบันคือเมือง โฮจิมินท์ซิตี้ ) เวียดนาม เป็นบุตร นายเชิงแน - นางสุพันธ์ สุริยประภา ( เซ็งหงก ) มีพี่น้องร่วม บิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 8 คน เป็นชาย 7 คน หญิง 1 คน... *** อุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปี ณ วัดจงโกรม จังหวัด ตาวิน ไซง่อน เวียดนาม เมื่อปี 2479 แล้วได้มาจำพรรษา ณ วัดโพนโด่ง จังหวัด ตาวิน ไซง่อน เวียดนาม ซึ่งเป็นบ้านเกิด จนกระทั่งปี พ.ศ 2480 ได้เดินทางเข้ามาที่ประเทศ กัมพูชา และได้จำพรรษา ณ วัดลำดวน ต. ในเมือง อ. พระตะบอง จ. พระตะบอง ได้ศึกษาธรรมและปฏิบัติกรรมฐาน จากพระอาจารย์ซิว และ พระธรรมจริยาพฤติ เจ้าคณะจังหวัดพระตะบอง อยู่ 1 พรรษา พอออกพรรษา จึงได้ขอลาพระอาจารย์ออกรุกขมูลธุดงค์วัตร ตามรอยพระอาจารย์ โดยไปปฏิบัติตามทิวเขา เช่นพนมสำเภา พนมกระเปอ ( จระเข้ ) จนถึงปี 2486 จึงได้เดินธุดงค์กลับวัดลำดวน หลังจากนั้นจึงขออณุญาติพระอาจารย์ซิวเดินธุดงค์เข้าสู่ประเทศไทย ในเดือนเมษายน ปี 2487 ได้เข้าพักวัดแรกคือ วัดเกาะเข็ด อ. เมือง จ.ปราจีนบุรี ปี 2492 ได้เป็นเจ้าอาวาส วัดสาลวัน ต. ศาลายา อ.นครชัยศรี จ. นครปฐม หลังจากนั้นในปี พ.ศ 2507 ได้เป็นเจ้าอาวาส วัดศรีสวรรค์สังฆาราม ( วัดถือน้ำ ) อ.เมือง จ.นครสวรรค์...พระอาจารย์ที่หลวงพ่อได้รำเรียนพุทธาคมพอจะสรุปได้ดังนี้.. 1. พระอุปัชฌาย์คิมออม วัดโพนโด่ง เวียดนาม 2. พระอาจารย์ถึงฮาย วัดจงโกรม เวียดนาม 3. พระครูแลน วัดมะถัก เจ้าคณะตำบลสิริโสภณ ( ศรีโสภณ ) พระตะบอง กัมพูชา ทางด้าน วิทยาคมและอาคมต่างๆ 4. พระอาจารย์จวน วัดพนมสำเภา ศึกษาทางด้านวิปัสนากรรมฐาน 5. พระอาจารย์โสย วัดโออันโดง มงคลบุรี 6. พระอาจารย์ประสิทธิ์ ที่จังหวัด พิบูลสงคราม เป็นฆราวาส 7. อาจารย์เสือ ที่จังหวัดเสียมราษฎร์ 8. อาจารย์ดวง ที่พระตะบอง 9. เจ้าคุณทิม เจ้าคณะจังหวัดเสียมราษฎร์ เรียนวิชาทางด้าคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยม 10. อาจารย์ซิว วัดลำดวน เรียนทางด้านการทำน้ำมนต์ 11. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม สมัยที่ท่านดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูทักษิณานุกิจ.. ต่อมาในปี พ.ศ 2546หลวงพ่อมีอายุมากขึ้นจึงต้องรับกิจนิมนต์น้อยลง และได้รับการดูแลจากนายแพทย์ศิริชัย แพทย์ประจำโรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ เป็นอย่างดี ซึ่งต่อมา หลวงพ่อก็ได้เข้าโรงพยาบาลเป็นประจำ เนื่องจากมีสุขภาพไม่แข็งแรง เนื่องจากสมัยก่อนหลวงพ่อได้สูบบุหรี่มาก จึงเป็นผลต่อร่างกาย จึงต้องได้รับการดูแลจากนายแพทย์ของโรงพยาบาล ซึ่งในช่วงเดือน สิงหาคม 2547 ท่านก็ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ *** สุดท้าย หลวงพ่อก็ได้มรณภาพลงในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ 2547 เวลา 13.10 น. ณ โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ อ. เมือง จ. นครสวรรค์ ด้วยอาการสงบ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    บูชา 2 องค์ 550
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  9. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พ่อขุนเม็งรายมหาราช
    พระราชประวัติ
    พญามังรายเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าลาวเม็งแห่งราชวงศ์ลวจังกราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง (อ.เชียงแสนปัจจุบัน) กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง พระราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ท้าวรุ่งแก่นชายทรงตั้งพระนามพระธิดาใหม่ว่าพระนางเทพคำข่ายหรือเทพคำขยายเพื่อเป็นมงคลนาม พญามังรายเป็นเชื้อสาย ของพระเจ้าลวจังกราชปกครองชนเผ่าไทยยวน ซึ่งมีอาณาจักร ของตนเรียกอาณาจักรหิรัญนครเงินยาง ได้สร้างเมืองหิรัญนครเงินยางเป็นเมืองหลวงขึ้นทีริมฝั่งแม่น้ำโขงเมื่อประมาณ พ.ศ. 1182 พญามังรายประสูติวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ สัมฤทธิ์ศกจุลศักราช 600 (พ.ศ. 1781) เวลาย่ำรุ่ง พญามังรายมีโอรส 3 องค์ ได้แก่ เจ้าขุนเครื่อง เจ้าขุนคราม (ไชยสงคราม) และเจ้าขุนเครือ พญามังรายเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1860 รวมพระชนมายุ 79 ชันษา
    การศึกษา
    เจ้าชายมังราย (พญามังราย) ทรงรับการศึกษาที่สำนักอิสิฤๅษีร่วมกันกับเจ้าชายงำเมือง (พ่อขุนงำเมือง) และเจ้าชายราม (พ่อขุนรามคำแหง) แล้วได้รำเรียนวิชาจบแล้วก็ย้ายไปสุกทันตฤๅษีก็ยังพบสหายอยู่เมื่อเรียนวิชาสำเร็จเจ้าชายทั้งสามเห็นว่าต้องแยกจากกันจึงดื่มน้ำสาบานว่าจะเป็นเพื่อนกันตลอดไปแล้วได้พูดว่า หากใครบ่ซื่อคิดคดขอให้ตายในสามวันอย่าให้ทันในสามเดือนอย่าให้เคลื่อนในสามปี จากนั้นเจ้าชายทั้งสามก็กลับบ้านเมืองของตนไป
    เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 20 พรรษาพญาลาวเม็งก็เสด็จสวรรคต พญามังรายจึงเสวยราชสมบัติแทน ต่อมาพระองค์ได้ไปตีเมืองหริภุญชัยแล้วได้ชัยชนะจึงสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาแล้วเชิญสหายรักของท่านมาร่วมหาทำเลที่จะสร้างเมืองใหม่แล้วในที่สุดพ่อเมืองทั้งสามก็หาทำเลได้แล้วตั้งชื่อนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
    นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ (เชียง (*เจียง)ในภาษาล้านนา แปลว่า เขา ดังนั้น เชียงใหม่ หรือ เจียงใหม่ จึงแปลว่า เขาใหม่นั่นเอง) เป็นเมืองที่พญามังรายทรงเลือกทำเลที่ตั้ง โดยเห็นว่าเป็นเมืองที่ไกลจากการรุกรานของจีนราชวงศ์มองโกลมากกว่าเมืองเชียงราย เมืองหลวงเดิม ซึ่งปัจจุบันเมืองที่สร้างขึ้นใหม่นี้ก็คือจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน
    ตามหลักสูตรการศึกษาของไทยมักกล่าวว่าเมืองเชียงใหม่นี้สร้างขึ้นโดยความร่วมมือของ 3 กษัตริย์เชื้อไท ได้แก่ พญามังราย พ่อขุนรามคำแหง (อาณาจักรสุโขทัย) และพ่อขุนงำเมือง (เมืองพะเยา) ซึ่งข้อมูลทางวิชาการปัจจุบันระบุว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เนื่องจากสมัยก่อน การสร้างเมืองย่อมเป็นความลับต่อเมืองอื่น ดังนั้น การบอกว่ากษัตริย์ทั้ง 3 ร่วมมือกันนั้นย่อมขัดกับความเป็นจริง แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่ทั้ง 3 พระองค์จะเป็นพันธมิตรกัน เนื่องจากอาณาจักรจีนได้ตีอาณาจักรพุกามในพม่าปัจจุบันแตก ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาก ทำให้เกิดการร่วมมือกันของกษัตริย์ไททั้ง 3
    พระราชกรณียกิจ
    เมื่อพระชนมายุได้ 20 พรรษา พระเจ้าลาวเม็งสวรรคต พญามังรายเสวยราชสมบัติปกครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบต่อมา นับเป็นราชกาลที่ 25 แห่งราชวงศ์ลวจังกราช เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ทรงพระราชดำริว่า แว่นแคว้นโยนก ประเทศนี้ มีท้าวพระยาหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของปู่เจ้าลาวจก (ลวจังกราช) ต่างก็ปกครองอย่างสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกประการหนึ่งบ้านเมืองใด หากมีผู้เป็นใหญ่ปกครองบ้านเมืองมากเจ้าหลายนายก็มักจะสร้างความทุกข์ยากให้แก่ ไพร่บ้านพลเมืองของตน และถ้าหากมีศัตรูต่างชาติเข้าโจมตีก็อาจจะเสียเอกราชของชนชาติไทยได้โดยง่าย


    ฉะนั้นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง พญามังรายจึงมีพระประสงค์ที่จะรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วิธีดำเนินตามนโยบายก็คือ แต่งพระราชสาสน์ไปถึงบรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้เข้ามายอมอ่อนน้อมในบรมโพธิสมภารของพระองค์เสียแต่ โดยดีหาไม่แล้วพระองค์จะทรงยกกองทัพไปปราบปราม
    • พ.ศ. 1818 ขณะที่ประทับที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าลวจังกราช เมืองฝางมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัย ของพญายีบา พญามังรายทรงทราบเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงมอบ ให้ขุนฟ้าขุนนางเชื้อสายลัวะเป็นผู้รับอาสาเข้าไปเป็นไส้ศึกทำกลอุบายให้พญายีบามาหลงเชื่อ และทำให้ชาวเมืองหริภุญชัยเกลียดชัง พญายีบา พญามังรายทรงมุ่งมั่นที่จะขยายพระราชอำนาจเหนือดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนให้ได้ จึงมอบเมือง เชียงรายให้แก่ขุนเครื่องปกครอง ส่วนพระองค์มาประทับที่เมืองฝาง
    ต่อมาพระองค์ทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ จึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วเวียงชัยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับอยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น เป็น เวียงกุมกาม
    • พ.ศ. 1824 ขุนฟ้าสามารถทำการได้สำเร็จ โดยหลอกให้พญายีบาเดินทางไปขอกำลังพลจากพญาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์นคร(โอรสของพญายีบา) พญามังรายจึงสามารถเข้าเมืองหริภุญชัยได้พระองค์ทรงมอบเมืองหริภุญชัยให้ขุนฟ้าปกครอง ส่วนพระองค์ได้มาสร้างเมืองชั่วคราวขึ้นว่าเวียงชะแวและต่อมาก็สร้างเมืองขึ้นใหม่ซึ่ง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือให้ชื่อว่า เมืองกุมกาม หรือเวียงกุมกาม ต่อมาพญามังรายทอดพระเนตรชัยภูมิระหว่างดอยอ้อยช้าง(ดอยสุเทพ)ด้านตะวันตกกับแม่น้ำปิง ด้านตะวันออก ทรงพอพระทัยจึงสร้างเมืองแห่งใหม่ให้นามว่า เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 1839 เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ พญามังรายได้ย้ายเมืองหลวง จากเวียงกุมกามสถาปนาเมืองใหม่แห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรล้านนามีอำนาจเหนือ ดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกกถึงแม่น้ำโขงตอนกลางจนถึงหัวเมืองไทยใหญ่ (เงี้ยว) 11 หัวเมืองลุ่มแม่น้ำสาละวิน
    พญามังรายเสด็จสวรรคตเพราะต้องอสนีบาตเมื่อเสด็จประพาสตลาด เชื่อกันว่าเป็นปาฏิหารย์ของ พระนางอั้วเวียงชัยบูชา 3 องค์ 1150บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  10. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ปิดเกจิสายอีสาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1563.JPG
      DSCF1563.JPG
      ขนาดไฟล์:
      139 KB
      เปิดดู:
      74
    • DSCF1564.JPG
      DSCF1564.JPG
      ขนาดไฟล์:
      134.2 KB
      เปิดดู:
      67
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2010
  11. texsum

    texsum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +1,511
    มีเหรียญครูบาชุ่ม วัดวังมุย เนื้อเงินไหมครับ
     
  12. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    พระ

    ไม่มีครับเมียงมองหาเหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2010
  13. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญเก่าเมืองอุตรดิตถ์

    เหรียญเก่าเมืองอุตรดิตถ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ครูบาศรีวิชัย ตอน เหรียญดีเหรียญนึ่งของครูบาตี่ควรฮู้ไว้เจ่นลูกเจ่นหลาน
    "ตราบใดสายน้ำปิงไม่ไหลคืน จะไม่เหยียบแผ่นดินเชียงใหม่ตราบนั้น"...
    นี่เป็นคำวาจาสิทธิ์ที่"ครูบาศรีวิชัย"ได้กล่าวไว้กับหลวงศรีประกาศ หลังจากที่ท่านพ้นข้อกล่าวที่ถูกทางคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่กล่าวร้าย นับว่าเป็นวาจาสิทธิ์ที่ออกมาจากปากนักบุญแห่งล้านนาไทย ก่อนที่ครูบาศรีวิชัยจะกลับสู่เมืองลำพูนจนกระทั่งวาระสุดท้ายของท่าน...
    เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของครูบาศรีวิชัย ผู้ช่วยพัฒนาศาสนสถานที่ชำรุดทรุดโทรม กลับคืนสู่อดีตที่เจริญรุ่งเรือง บรรดาเจ้านายฝ่ายเหนือ พระสงฆ์ พ่อค้า ข้าราชการและประชาชน จึงมีการลงประชามติจัดสร้าง อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย”...ขึ้น
    อนุสาวรีย์นี้สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ หล่อเท่าองค์จริงในท่ายืน จัดสร้างและออกแบบโดยช่างของกรมศิลปากร...การสร้างดำเนินการสร้างเสร็จเรียบร้อย แต่คณะกรรมการไม่สามารถนำเอาขึ้นไปประดิษฐานที่เชียงใหม่ได้ เล่ากันว่าเมื่อจะเอาขึ้นไปคราวใด มักจะเกิดอุปสรรคและปัญหาเสมอ...
    จนเวลาได้ล่วงเลยไปนานหลายปีหลวงศรีประกาศ” ทนรอต่อไปไม่ไหว จึงได้นำเอาดอกไม้ไปบูชา นัยว่าเพื่อเป็นการบอกกล่าวอัญเชิญ และตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่า...
    แม้จะมีเหตุขัดข้องอย่างไร ก็จะต้องจัดการเอาขึ้นไปให้ได้...”
    ซึ่งก่อนจะนำขึ้นไปหลวงศรีประกาศ ได้โทรเลขสั่งชาวเชียงใหม่เตรียมขบวนแห่มารอรับที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ เมื่อได้เวลาจึงอัญเชิญรูปหล่อครูบาศรีวิชัยขึ้นรถด่วนเชียงใหม่ บรรดาคณะสงฆ์ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนและเจ้านายฝ่ายเหนือได้ร่วมกันจัดขบวนแห่มารอรับอย่างคับคั่งและทำการเฉลิมฉลองสมโภชอย่างยิ่งใหญ่...
    และในวันที่รูปหล่อครูบาศรีวิชัยถูกอัญเชิญถึงจังหวัดเชียงใหม่นั่นเอง... ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ประชาชนซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับแม่น้ำแม่ปิงต้องจดจำได้อย่างไม่มีวันลืมเลือน”....คือ....
    กระแสน้ำปิงได้ไหลบ่า หวนย้อนกลับคืนขึ้นเหนือ กระแสน้ำได้นองท่วมท้นจนเต็มเขื่อนท่วมถึงเขตอำเภอฮอด.....”
    สัจจวาจาของครูบาศรีวิชัย” ที่ได้กล่าวไว้...
    "แม้แต่ธรรมชาติก็ยังไม่สามารถขัดขวางได้..."
    การที่กระแสน้ำปิงได้ไหลย้อนกลับขึ้นไปนั้น เนื่องจากทางการสั่งปิดเขื่อนเป็นครั้งแรก เพื่อกักเก็บน้ำสำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าและเก็บน้ำไว้ให้เกษตรกรได้มีไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง..
    คำพูดของท่านครูบาศรีวิชัยที่ท่านได้เอ่ยไว้กับหลวงศรีประกาศ...เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และแม้กระทั่งท่านใกล้จะมรณภาพที่ก็ยืนหยัดในวาจาสิทธิ์ของท่าน...ที่เป็นปริศนาซึ่งไม่มีผู้ใดจะคาดคิด….”
    จะว่าเป็นเหตุบังเอิญหรืออะไรก็แล้วแต่จะคิดกันไป....แต่มันก็เป็นเหตุการณ์ที่คนทั่วไปกล่าวกันว่าอัศจรรย์ยิ่งนัก.....
    เขื่อนภูมิพล(ยันฮี)เปิดใช้ น้ำปิงไหลคืนขึ้นเหนือ.. สมดั่งคำวาจาสิทธิ์ของครูบาศรีวิชัยและท่านครูบาฯก็ได้ขึ้นมาที่เชียงใหม่จริง ๆ…”
    ถ้าเราศึกษาข้อมูลเมืองเชียงใหม่จะพบว่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยที่อาณาจักรในดินแดนล้านนายังไม่รุ่งเรืองไพบูลย์ ได้มีหลักฐานว่า พระนางจามเทวี” พระธิดาเจ้าผู้ครองเมืองละโว้ได้เสด็จตามลำน้ำปิงขึ้นไปครองอาณาจักรหริภุญชัย หรือ นครลำพูนในเวลาต่อมา..
    เรื่องราวการเดินทางของพระนางจามเทวีที่ทวนกระแสน้ำปิงสู่อาณาจักรหริภุญชัยยังคงเป็น"ตำนานของแก่งน้ำริมแม่ปิง"มาจนทุกวันนี้.... หรือแม้แต่เมื่อครั้งที่”พระราชชายาเจ้าดารารัศมี”ได้เสด็จเดินทางไปกลับระหว่างกรุงเทพ ฯ กับเชียงใหม่ก็ทรงต้องใช้เส้นทางตามแม่น้ำปิงแห่งนี้เช่นกัน...
    เขื่อนภูมิพล(ยันฮี)เปิดใช้ น้ำปิงไหลคืนขึ้นเหนือ.. สมดั่งคำวาจาสิทธิ์ของครูบาศรีวิชัยและท่านครูบาฯก็ได้ขึ้นมาที่เชียงใหม่จริง ๆ…”

    ครูบาศรีวิชัยพระอริยสงฆ์แห่งล้านนาได้ดับขันธ์ด้วยอาการสงบ ท่ามกลางสานุศิษย์ที่ใกล้ชิด เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑ เวลา ๐.๐๕ น. รวมสิริอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน...
    นั่นหมายถึงว่าล้านนาไทยได้สูญเสียพระสงฆ์นักพัฒนาผู้ยิ่งใหญ่ไปอีกหนึ่งท่าน..ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ คงจะทราบกันดีว่า ชีวิตส่วนใหญ่ของท่านครูบาศรีวิชัย จะเกี่ยวข้องกับชาวเชียงใหม่...”เป็นส่วนมาก..
    ประชาชนชาวเชียงใหม่ต่างเลื่อมใสและศรัทธาในตัวของครูบาศรีวิชัยอย่างแท้จริง ซึ่งเราจะเห็นได้จากการสร้างเสริม สร้างสรรค์ บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานชิ้นสำคัญๆ จะได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากประชาชนอย่างจริงใจและจริงจัง....
    ถ้าจะกระชับวงสนทนาเข้าไปอีกนิด..เส้นทางขึ้นดอยสุเทพ..” ก็คงจะเป็นการแสดงถึงความมีจิตศรัทธาได้เป็นอย่างดีขนาด...
    สาธุพระปัญญาบารมี....วัตรแวดล้อม
    วิริยะบารมี......อ้อมระวังดี
    ศีละบารมี.....บังหอกดาบ
    เมตตาบารมี....ปราบแพ้ทั้งปืน
    ทานะบารมี.....หื้อเป็นผืนตั้งต่อ
    อุเบกขาบารมี....หื้อก่อเป็นเวียงศรี
    สัจจะบารมี..แวดระวังดีเป็นไม้ใต้
    ขันติบารมี....กลายเกิดเป็นหอกดาบบังหน้าไม้และปืนไฟ
    อธิษฐานะบารมี.....ผันปราบไปทุกแห่ง...ฯลฯ....
    สำหรับความคิดของผม...ถ้าจะว่าไปแล้ว พระคาถาบารมี ๙ ชั้นหรือบารมี ๑๐ ทัศ” ซึ่งเป็นพระคาถาที่ครูบาศรีวิชัยนับถือมากๆ ท่านจะสวดและแนะนำให้ลูกศิษย์ ท่องจำและหมั่นสวดให้เป็นประจำทุกวัน "คือส่วนเล็กๆที่เป็นเครื่องยืนยัน"..คุณสมบัติ คุณลักษณะ คุณธรรม ของครูบาศรีวิชัย..ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง....
    อะยัง วุจจะติ สิริวิชะโย นามะ มหาเถโร อุตตะมะสีโล นะระเทเวหิ ปูชิโต โส ระโห ปัจจะยาทีนัง มะหะลาภา ภะวันตุ เม อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ สิระสา อะหัง วันทามิ สัพพะโส สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิฯ…”
    อธิบายความตามข้างบนว่า...”พระมหาเถระรูปนี้..” ซึ่งพุทธศาสนิกชนพากันเรียกขานว่า “พระมหาเถระศรีวิชัย” ผู้มีศีลอันอุดม ผู้อันเหล่านรชนและเทวดาพากันบูชา ท่านเป็นผู้สมควรแก่เครื่องสักการะบูชาอันมีปัจจัยสี่เป็นต้น ขอให้ลาภเป็นอันมากจงเกิดมีแก่ข้าพเจ้า...
    ข้าพเจ้าขออภิวาทซึ่งพระเถระเจ้ารูปนั้นตลอดเวลา ขอกราบไหว้ด้วยเศียรเกล้า ขอกราบไหว้ด้วยอาการทั้งปวง ขอให้สำเร็จประโยชน์ ขอให้สำเร็จประโยชน์ ขอให้สำเร็จประโยชน์ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาฯ
    โอ้เคยภิรมย์สุขสมจินต์ แผ่นฟ้าแผ่นดินเชียงใหม่ ขวัญข้าคือ “ดอยสุเทพเด่นไกล”..ภูพิงค์นั่นไง ชีวิตแห่งเรา……..
    ครูบาศรีวิชัยได้ถือเอาฤกษ์ใน “วันที่ 9 พฤศจิกายน 2477” โดยครูบาได้มอบหมายให้ครูบาเถิ้ม เจ้าอาวาสวัดแสนฝาง เป็นผู้ขึ้นท้าวทั้ง 4 ในเวลา 01.00 น. ครั้นพอถึงเวลา 10.00 น. พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ได้อาราธนานิมนต์ครูบาศรีวิชัย จากวัดพระสิงห์มาสู่บริเวณพิธี เมื่อขบวนนิมนต์ครูบาศรีวิชัยเดินทางมาถึงบริเวณเชิงดอย (บริเวณวัดศรีโสดา)…
    พิธีลงจอบแรกการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพก็เริ่มขึ้น
    โดยครูบาเถิ้ม วัดแสนฝางเป็นผู้สวดเจริญพระพุทธมนต์และสวดชัยมงคลคาถา พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้ลงจอบแรกเป็นพิธีและครูบาศรีวิชัยท่านลากมูลดิน เป็นพิธีเอาฤกษ์เอาชัย จากนั้นเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่จึงได้ลงจอบแรกประเดิม ติดตามด้วยหลวงศรีประกาศ คุณนายเรือนแก้ว เจ้านายฝ่ายเหนือ พ่อค้าคหบดี ต่างร่วมลงจอบแรกประเดิมการสร้างทางอย่างทั่วถึง…
    ซึ่งทางดังกล่าวได้แล้วเสร็จในเวลา “๕ เดือนกับ ๒๒ วัน”ความสำเร็จของทางขึ้นดอยสุเทพ ถ้าจะว่าไปแล้วคือเรื่องของ.. จินตนาการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ก่อรูปขึ้นมาเป็นนามธรรมนั่นเอง....
    ๕๐ ปีต่อมา..ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้มีมติให้จัดโครงการ วันกตัญญูเชิดชูเกียรติคุณ ฉลองสมโภชครบรอบ ๕๐ ปี สร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาศรีวิชัย” ในการดำเนินงานจัดหาทุนได้มีการสร้างวัตถุมงคลออกมาเป็นรูปเหมือนและเหรียญของครูบาศรีวิชัย..โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก “องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”ทรงพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานไว้บนวัตถุมงคล..
    สถานที่จัดงานล้านนามหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นที่ วัดศรีโสดา ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งวัดนี้เป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติงาน ตลอดจนเป็นคลังเสบียงใหญ่ที่จัดสรรแบ่งปันเสบียงอาหาร ให้แก่ศรัทธาประชาชนที่มาช่วยงาน ซึ่งวัดศรีโสดาแห่งนี้ครูบาศรีวิชัยท่านอยู่พำนัก ระหว่างปฏิบัติงานสร้างทางขึ้นดอยสุเทพจนแล้วเสร็จ...
    วัดศรีโสดา ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง บรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวน เหมาะสมที่ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีบริเวณกว้างขวาง มีวิหารหลวงและสำคัญคือ “วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย...”
    สำหรับผมแล้ว นอกจากงานนี้จะมีพิธีกรรมที่ดี วัตถุมงคลที่มีคุณค่า “บรรดาพระคณาจารย์ผู้ทรงศีล” ที่นิมนต์มานั่งปรกอธิฐานจิตครั้งนี้..
    ล้วนเป็นลูกศิษย์และผู้เคยร่วมงานพัฒนา กับครูบาศรีวิชัยทั้งสิ้น”..
    ซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนๆ บางท่านอาจจะเคยได้ไปกราบลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัยมากันบ้างแล้ว หรืออาจจะเคยไปกราบแต่ก็ไม่ทราบ บันทึกการจัดงานในครั้งนี้จึงเป็นหลักฐานสำคัญให้เราได้ทราบการสืบสายของครูบาอาจารย์ และในบางโอกาส”ผมอาจจะต้องใช้บันทึกน้อยตอนนี้เข้ามาเกี่ยวโยงกับเรื่องของคณาจารย์ทางภาคเหนือ”ถ้าผมได้มีโอกาสได้เขียนถึง..
    รายนามพระคณาจารย์สายครูบาศรีวิชัยที่มาร่วมงานมีดังนี้ ขอเชิญเพื่อนๆ ตรวจสอบรายชื่อได้เลยครับ..

    “[B]ครูบาหล้า[/B] (ตาทิพย์) วัดป่าตึง [B]ครูบาธรรมชัย[/B] วัดทุ่งหลวง [B]ครูบาบุญมี[/B] วัดท่าสะต๋อย [B]ครูบาสิงหชัย[/B] วัดฟ้าฮ่าม [B]ครูบามงคลคุณาทร[/B] วัดหม้อคำตวง [B]ครูบาจันทร์แก้ว[/B] วัดดอกเอื้อง [B]ครูบาโสภา[/B] วัดผาบ่อง [B]ครูบาอ้าย[/B] วัดศาลา [B]ครูบาอิ่นแก้ว[/B] วัดวาฬุการาม [B]ครูบาอิ่นคำ[/B] วัดข้าวแท่นหลวง [B]ครูบาคำตั๋น[/B] วัดสันทรายหลวง [B]ครูบาญาณวิลาส[/B] วัดต้นหนุน [B]ครูบาสุรินทร์[/B] วัดศรีเตี้ย [B]ครูบามูล[/B] วัดต้นผึ้ง [B]ครูบาศรีนวล[/B] วัดช้างค้ำ [COLOR=red][B]ครูบาวงศ์[/B] วัดพระบาทห้วยต้ม[/COLOR] [B]ครูบาอินตา[/B] วัดห้วยไซ [B]ครูบาศรีนวล[/B] วัดเจริญเมือง
    [COLOR=black][FONT=Tahoma](ความจริงแล้วลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ยังมีมากกว่านี้หลายเท่านักเพียงแต่ว่างานนี้นิมนต์มาเท่านี้ครับ)..”[/FONT][/COLOR]
    [B][COLOR=black][FONT=Tahoma]น้อยคนนักที่จะเห็นความสวยงามของโปรยฝน..[/FONT][/COLOR][/B][COLOR=black][FONT=Tahoma] เว้นแต่เกษตรกร ที่หวังให้พืชผลเจริญงอกงามหรืออาจจะเป็นเด็กอนุบาลที่นั่งแอบหวังลึกๆ ให้น้ำท่วมเพื่อที่ตนเองจะได้ไม่ต้องไปโรงเรียน..ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือว่าเป็นจุดเล็กๆของสังคมคนหมู่มาก...[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B]จะว่าไปแล้ว[/B]ก็ไม่ต่างกันครับถ้าผมจะขออนุญาตเพื่อนๆนำเอาบันทึกงานพุทธาภิเษกครั้งนี้ที่เขียนขึ้นโดยคนเชียงใหม่และอยู่ในพิธีกรรมดังกล่าวมาให้อ่านกัน..[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B][COLOR=black][FONT=Tahoma]วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗[/FONT][/COLOR][/B][COLOR=black][FONT=Tahoma] เวลา ๑๕.๑๙ น.เมื่อได้ฤกษ์จุดเทียนชยันโต เจ้าคณะภาคเจ็ด ได้ทำพิธีจุดเทียนชัย พระมหาเถรานุเถระได้เจริญพระพุทธมนต์ปรากฏว่า....[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma]”...[B]ท้องฟ้าได้เริ่มมีเมฆหมอกและฝนตกพรำ ชุ่มฉ่ำทั่วบริเวณตั้งแต่เชิงดอยสุเทพจนถึงบริเวณพระธาตุดอยสุเทพ มีกระแสลมเย็นพัดลงมาจากยอดเขา ทำให้บรรยากาศในวิหารหลวงเยือกเย็น ศรัทธาประชาชนนับพันที่นุ่งขาวห่มขาวมาร่วมพิธี ต่างนั่งทำสมาธิด้วยความสงบเรียบร้อยและปราบปลื้มในมงคลฤกษ์ครั้งนี้[/B]...”[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B][COLOR=black][FONT=Tahoma]บรรดาพระคณาจารย์ศิษย์อาวุโสของครูบาศรีวิชัย[/FONT][/COLOR][/B][COLOR=black][FONT=Tahoma] จำนวน ๑๘ รูป ได้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์... [/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma]“..[B]ไหว้พระตามแบบที่เคยปฏิบัติเมื่อครั้งได้อยู่กับครูบาศรีวิชัย[/B]..” [/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B]ซึ่งเป็นพิธีกรรมพิเศษ[/B]นอกเหนือจากกำหนดการที่พระคณาจารย์ทั้งปวงปฏิบัติเองตามที่เคยปฏิบัติมาในอดีต..”[B]พิธีการเช่นนี้จัดว่าเป็นกรณีพิเศษจริงๆแบบล้านนาไทยดั้งเดิม[/B]..”[/FONT][/COLOR]
    [B][COLOR=black][FONT=Tahoma]หลังจากสวดมนต์ไหว้พระและทำการสักการะดวงวิญญาณของครูบาศรีวิชัยเสร็จแล้ว[/FONT][/COLOR][/B][COLOR=black][FONT=Tahoma] ต่อจากนั้นพระคณาจารย์ก็เข้าประจำที่นั่งปรกทำสมาธิอธิฐานจิต [/FONT][/COLOR][COLOR=black][FONT=Tahoma]“[B]แผ่พลังสู่มงคลวัตถุ[/B]” โดยมีพระพุทธมนต์พิธีสวดพุทธาภิเษก จนหมดรอบปรกแรก.[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B][COLOR=black][FONT=Tahoma]พระคณาจารย์และประชาชนที่อยู่ไกลก็เดินทางกลับ[/FONT][/COLOR][/B][COLOR=black][FONT=Tahoma] ได้แวะนมัสการสักการะอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เพื่อกรวดน้ำอุทิศถวายกุศลแด่ครูบาศรีวิชัยและบรรพชนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกับครูบาศรีวิชัยในครั้งอดีต ขอให้กุศลผลบุญครั้งนี้ จงดลบันดาลให้ทุกท่านจงประสบแต่ความสุข ให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง....[/FONT][/COLOR]
    [B][COLOR=black][FONT=Tahoma]ครูบาอาจารย์ของผมบางท่านเคยสอนไว้ว่า..[/FONT][/COLOR][/B][COLOR=black][FONT=Tahoma]ทุกครั้งที่ได้สวดมนต์ไหว้พระหรือได้ทำบุญอย่าลืม[/FONT][/COLOR][COLOR=black][FONT=Tahoma]”[B]กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล[/B]” ท่านเปรียบเทียบไว้เห็นภาพว่า”[B]ทุกครั้งที่น้ำตกกระแทกพื้นดิน ดินยังกระจาย[/B]..” [/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B]เช่นเดียวกัน[/B]การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลท่านว่า "[B]ฟ้าดินยังต้องรับรู้[/B]..."หากเมื่อมาสวมเข้ากับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพิธีนี้...[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma]”[B]บ่ายอมก่อต้องยอม บ่าเจื้อก่อต้องเจื้อเต๊อะ[/B]..”[/FONT][/COLOR]
    [B][COLOR=black][FONT=Tahoma]ท่านครูบาอิ่นแก้ว อนิญฺชโนเจ้าอาวาสวัดวาลุการาม[/FONT][/COLOR][/B][COLOR=black][FONT=Tahoma] (ป่าแงะ) ต.ตลาดขวัญ อ.ดอยสะเก็ด จ.เขียงใหม่ หรือชาวบ้านเรียกว่า [/FONT][/COLOR][COLOR=black][FONT=Tahoma]“[B]ครูบาป่าแงะ[/B]” ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ทรงพรรษายุกาล ทางศาสนายกย่องว่า “[B]ผู้ทรง รัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน[/B]” รับนิมนต์เป็นคณาจารย์องค์แรกที่ตั้งจิตกรวดน้ำ... [/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B]ทันทีที่น้ำลงสู่ปฐพีที่หน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย" [/B][/FONT][/COLOR]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black]ท้องฟ้าที่แล้งฝนมานานของเมืองเชียงใหม่ก็มี..[/COLOR][/FONT]
    [FONT=Tahoma][COLOR=black][COLOR=black][FONT=Tahoma]”[B]ฝนตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์ใจจริงๆ[/B]”[B] ..[/B][/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B]และทำให้บริเวณนั้น[/B]เยือกเย็นชุ่มฉ่ำคล้ายกับเป็นน้ำพระพุทธมนต์ประพรมทุกๆคน น้ำฝนที่เปรียบเสมือนน้ำพระพุทธมนต์จากครูบาศรีวิชัยครั้งนี้ ปรากฏว่าตกทั่วเมืองเชียงใหม่ ซึ่งชาวเชียงใหม่เชื่อกันว่าเป็นปรากฏการณ์ที่แสดงว่าบรรพชนที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ได้รับถวายกุศลผลบุญครั้งนี้โดยครบถ้วน.....[/FONT][/COLOR]
    [B][COLOR=black][FONT=Tahoma]ปัจจุบันวัตถุมงคลชุดนี้[/FONT][/COLOR][/B][COLOR=black][FONT=Tahoma] เป็นที่ยอมรับและมีประสบการณ์เกิดขึ้นกับผู้ที่นำไปบูชามากมาย เป็นที่กล่าวขานกันในกลุ่มผู้นิยมคติแนวนี้ โดยเฉพาะ [/FONT][/COLOR][COLOR=black][FONT=Tahoma]”[B]เหรียญครูบาศรีวิชัยหลัง ภปร.[/B]” [/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B]บางท่านถึงกับกล่าวว่า..[/B]ถ้าไม่สามารถหาเหรียญสมัยเก่าของครูบาศรีวิชัยได้ละก็...เหรียญรุ่นนี้สามารถนำขึ้นมาแขวนได้อย่างภาคภูมิใจในยุคที่วิกฤติพลังงานกำลังเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการศึกษาของเด็ก.. [/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B]ว่ากันว่า[/B] “[B]พุทธคุณบ่าขึ้นกับราคา[/B]” หรือ “[B]ก๊านเซาะหาขึ้นกับความปอใจ๋[/B]” ยังคงความหมายเข้มแข็งและเหมาะสมกับเหรียญชุดนี้..[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B][COLOR=black][FONT=Tahoma]ผมเคยได้ยิน[/FONT][/COLOR][/B][COLOR=black][FONT=Tahoma]ผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านเคยกล่าวถึงครูบาศรีวิชัยไว้ว่า..[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma]“[B]ท่านครูบาเจ้าเป็นพุทธบุตร ที่เกิดมาเพื่อช่วยพัฒนาพระพุทธศาสนาของล้านนา[/B]” [/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B]ผมเชื่อว่า[/B]เพื่อนๆ คงจะไม่ปฏิเสธคำกล่าวนี้นะครับ และส่วนตัวผมคิดว่าครูบาศรีวิชัย ท่านเป็นพระนักพัฒนาที่ยอดเยี่ยม มีความสามารถในการสร้างขวัญและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้มมามีส่วนร่วมในการบูรณะพัฒนาปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน ถาวรวัตถุที่ชำรุดทรุดโทรม ซึ่งหากเอามาเขียนคาดว่าจะใช้เวลาหลายวันแหละครับ...[/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B][COLOR=black][FONT=Tahoma]แม้ครูบาศรีวิชัยท่านจะมรณภาพ[/FONT][/COLOR][/B][COLOR=black][FONT=Tahoma]ไปนานร่วม ๗๐ ปีแล้วก็ตามแต่ผลงานและความนิยมนับถือในตัวครูบาก็ยังคงมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย จะว่าไปแล้วเกือบจะทุกหนทุกแห่งในภาคเหนือมีผลงานของครูบาศรีวิชัยที่ได้สร้างสรรค์ไว้ค่อนข้างมาก... [/FONT][/COLOR]
    [COLOR=black][FONT=Tahoma][B]ก็คงเหมาะสมแล้วกระมังครับ[/B]ที่ชาวบ้านจะนับถือและเรียกท่านว่า [/FONT][/COLOR][COLOR=black][FONT=Tahoma]“[B]ครูบาศีลธรรม[/B]” หรือ “[B]ต๋นบุญ[/B]”...เกือบลืมครับ “[B]แขวนเหรียญครูบาศรีวิชัยถ้าจะได้ให้ใจ[/B]”ต้อง “[B]ใจซื่อ มือสะอาด มีวินัย ใจสู้งาน[/B]” เพราะสิ่งนี้คือคุณสมบัติของท่านตามที่ผมได้ศึกษาประวัติมา...สวัสดีครับ[/FONT][/COLOR]

    [COLOR=black][FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=blue]คัดลอกมาจากข้อเขียนของ[/COLOR][COLOR=red]คุณศิษย์กวง[/COLOR][/SIZE][SIZE=5][COLOR=blue]ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ[/COLOR][/SIZE][/FONT][/COLOR]
    [SIZE=6][COLOR=red][B]เหรียญครูบาเจ้า กะไหล่ทองลงยา บูชา 1200 บาท[/B][/COLOR][/SIZE]

    [/FONT][/COLOR]
    [/FONT][/COLOR][/COLOR][/FONT][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.2 KB
      เปิดดู:
      69
    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.6 KB
      เปิดดู:
      73
    • 14.jpg
      14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.6 KB
      เปิดดู:
      64
    • 15.jpg
      15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.9 KB
      เปิดดู:
      73
    • 16.jpg
      16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30 KB
      เปิดดู:
      54
    • 18.jpg
      18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46 KB
      เปิดดู:
      74
    • 19.jpg
      19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.8 KB
      เปิดดู:
      72
    • 24.jpg
      24.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.7 KB
      เปิดดู:
      79
    • 12.jpg
      12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.1 KB
      เปิดดู:
      199
    • 13.jpg
      13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.4 KB
      เปิดดู:
      158
    • DSCF1640.jpg
      DSCF1640.jpg
      ขนาดไฟล์:
      284.8 KB
      เปิดดู:
      302
    • DSCF1641.jpg
      DSCF1641.jpg
      ขนาดไฟล์:
      302.4 KB
      เปิดดู:
      49
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  15. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    ครูบาศรีวิชัยตนบุญแห่งล้านนาไทย
    ให้บูชาทุกหรียญติดต่อได้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • svchai.jpg
      svchai.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      52
    • DSCF1576.jpg
      DSCF1576.jpg
      ขนาดไฟล์:
      134.4 KB
      เปิดดู:
      48
    • DSCF1577.jpg
      DSCF1577.jpg
      ขนาดไฟล์:
      157.9 KB
      เปิดดู:
      57
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  16. kikhoh

    kikhoh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +317
    [​IMG] [​IMG]
    เหรียญนี้ให้บูชาไหมครับ
     
  17. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล" หรือ พระภาวนาวิศาลเถร วัดสระประสานสุข (วัดบ้านนาเมือง) ต.ไร่น้อย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นพระป่าปฏิบัติสายพระอาจารย์มั่นที่มีผลงานมากมาย

    วัตถุมงคลของท่าน ล้วนแต่ได้รับความนิยมหลายรุ่น โดยเฉพาะรูปหล่อรุ่นแรกสร้างเมื่อปี 2530 มีทั้งพิมพ์ก้นตันและก้นกลวง นอกจาก นี้ วัตถุมงคลหลวงพ่อบุญมี ท่านได้สร้างไว้หลายแบบหลายชนิด อาทิ พระบูชาพระสีวลี หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล, พระเนื้อผงรุ่นแรก พิมพ์พระสีวลี เป็นต้น

    ส่วนความนิยมประเภทเหรียญ รุ่นแรก จัดสร้างปี 2530 เช่นกัน ปัจจุบันเนื้อทองคำเล่นหากันที่หลักหมื่น เหรียญทองแดงอยู่ที่หลักพัน

    ลักษณะพิมพ์ทรงของเหรียญรุ่นแรก รูปหยดน้ำมีห่วง ขอบเหรียญเป็นลายกระหนก ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อมีครึ่งองค์ มีตัว อักษรด้านล่างความว่า หลวงพ่อบุญมี โชติปาโล ด้านหลังมีตราสัญลักษณ์ ด้านล่างมีตัวอักษรความว่า วัดสระประสานสุข จ.อุบลราชธานี

    ด้านพุทธคุณโด่ดเด่นในเรื่องของแคล้ว คลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม สยบสิ่งอัปมงคลใดๆ ทั้งปวง อยู่ยงคงกระพัน ลาภผลพูนทวี มั่งมีศรีสุข

    พระภาวนาวิศาลเถร นามเดิม บุญมี นามสกุล กุศลคุณ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2452 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา

    บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบล รัตนาราม) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และในระหว่างบรรพชาเป็นสามเณร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ได้เมตตานำสามเณรบุญมีไปจำพรรษากับท่านที่จังหวัดสกลนคร

    เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีทอง ในวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม ซึ่งตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม 2472 ซึ่งตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันวิสาขบูชา โดยมี พระ เดชพระคุณ พระศาสนดิลก (เสน ชยเสโน) เป็นอุปัชฌาย์ พระมหาสว่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์เพ็ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า "โชติปาโล" อันมีความหมายว่า "ผู้มีแสงสว่างในธรรม"

    หลวงพ่อบุญมี ได้ศึกษาอักษรขอมจนมีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้ และยังมีความชำนาญในการอ่านหลังสือธรรมสมัยโบราณ

    นอกจากนี้ หลวงพ่อยังมีความสามารถทางด้านการใช้ภาษาผะหญา ภาษิตอีสานเป็นอย่างดี สามารถนำเอาใช้ในการเทศนาธรรม และคำสอนของหลวงพ่อจนเป็นที่ประทับใจและศรัทธาแก่ลูกศิษย์ที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาทุกคน

    หลวงพ่อบุญมี ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ที่ พระครูไพโรจน์รัตโนบล เป็นครั้งแรก ซึ่งสมณศักดิ์ พระครูรัตโนบล นั้นเป็นของหลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ท่านได้รับเพียง 3 วัน จากนั้นได้ มอบคืนให้พระธรรมเจดีย์ (จูม) วัดโพธิ์สมภรณ์ จ.อุดรธานี หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีพระสงฆ์องค์ใดได้รับราชทินนามนี้อีกเลย

    จนกระทั่งปี พ.ศ.2524 สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธฯ ได้รับสั่งกับหลวงพ่อว่าไม่มีใครเหมาะสมที่จะได้รับสมณศักดิ์ พระครูไพโรจน์รัตโนบล นี้เท่ากับหลวงพ่อบุญมีอีกแล้ว

    จากนั้นได้เลื่อนมาจนถึงชั้นพิเศษ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2545 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระภาวนาวิศาลเถร

    หลวงพ่อบุญมีชอบชีวิตที่สงบเรียบง่าย ท่านอยู่กุฏิหลังเก่าจนวาระสุดท้าย

    หลวงพ่อบุญมีได้ละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อเวลา 11.55 น. วันที่ 4 มิถุนายน 2547 สิริอายุได้ 95 ปี 3 เดือน 9 วัน 74 พรรษา
    พระผงรุ่น1องค์ละ 150 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1590.jpg
      DSCF1590.jpg
      ขนาดไฟล์:
      330.9 KB
      เปิดดู:
      39
    • DSCF1591.jpg
      DSCF1591.jpg
      ขนาดไฟล์:
      240.6 KB
      เปิดดู:
      39
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2010
  18. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    เหรียญหน้าเสือ

    ให้บูชาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2010
  19. aossv

    aossv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +279
    พระผงสมเด็จชานหมากบรรจุพระธาตุข้าว มี 2 องค์บูชา องค์ละ 550 บาท
    ยังให้บูชา อยู่หรือ เปล่าครับพี่ ถ้ายังให้ บูชา ผมขอ บูชา องค์นึ่งครับ
     
  20. siwa1968

    siwa1968 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +540
    มีครับ

    โอนแล้ว แจ้งที่อยู่เลยครับ
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาพะเยา ชื่อบ/ช ปริศนา บัวเทศ เลขที่ 209-2-51303-6
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...