สัมมาทิฎฐิเป็นไฉน( ไม่ธรรมดา )

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 5 มีนาคม 2009.

  1. บุคคลทั่วไป 1 คน

    บุคคลทั่วไป 1 คน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +7
    ท่านศรี สัจจธรรมมีหลายระดับแล้วจะเรียกว่าสัจจธรรมได้ยังไงหล่ะ
    ไอ้ที่มันหลายระดับหน่ะ มันระดับความหลงของเรามากกว่า
    มันเลยเห็นชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง กลายเป็นธรรมที่มีระดับขึ้นมา
     
  2. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    วันนี้เธอยังพึ่งหัดตั้งใข่

    แต่เรากิเลสนิพพาน
     
  3. บุคคลทั่วไป 1 คน

    บุคคลทั่วไป 1 คน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +7
    เอ้อ ลืมไป ท่านศรีระดับกระบี่ไร้ใจแล้ว
    เรายังแค่เอากิ่งไม้เขี่ยดินหาเงาตัวเองอยู่เลย :)
     
  4. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ท่านควรทำความเข้าใจอย่างนี้
    เพื่อไม่ให้เป็นปมด้อย

    ที่ผมอ่านความคิดของท่านก็เพื่อให้
    ท่านมีมานะไปให้ถึงฝั่งข้างโน้น
    ซึ่งมีความปลอดภัยที่อยากให้พ้นวัฏจักรแห่งความ
    เวียนว่ายตายเกิด ไหนก็ได้ร่างกายเป็นมนุษย์มาแล้ว

    แม้มีอายุ 100 ปี ไม่เห็นความเสื่อมก็ไร้ประโยชน์ที่ได้ร่างกายเป็นมนุษย์

    การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของอันได้ยาก
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าอธิบายเลยครับ มันกลับหัวกลับหางไปหมด ไม่ตรงสักกะข้อ

    การรู้เฉยๆ ก็คือ การตั้งมั่นรู้ หรือ สติอยู่ที่ฐาน

    การที่สติ อยู่ที่ฐาน ไม่แส่ส่ายออกนอก นั้นคือ สภาวะสมาธิ

    สภาวะสมาธิตั้งมั่นอยู่ฐาน มีสติระลึกรู้ เหมือนดั่งหินผาที่อยู่
    ท่ามกลางห่าพายุ ไม่มีความเคลื่อนไหว ไม่ไหลเพราะหนัก
    แน่น เพราะกำลังของสติอินทรีย์ สมาธิอินทรีย์ และปัญญาอินทรีย์

    ส่วน สมาธิ ที่จับเอาจิตไปขัง นั้นก็หนทางหนึ่ง แต่ไม่ใช่หนทาง
    ที่เราเดิน คุณจึงเห็นมันกลับหัวกลับหาง

    เราฝ่าไปในกองกิเลส ด้วยจิตตั้งมั่น เห็น แต่มันย้อมจิตไม่ได้
    นี่คิอสภาวะห่างจากกิเลส เมื่อกิเลสมันห่างจากจิต จิตก็ผ่อง
    ใสด้วยการตั้งมั่นรู้ จิตตื่น จิตพุทโธ

    เราไม่ใช่พวกจิตนิยม เที่ยวทนุถนอมรักษาจิต ไปจับมันขังไว้
    ให้นิ่งๆ แล้วบอกว่ากิเลสไม่มี หรือกิเลสมีแล้วรีบทำกรรมฐาน
    นั่งทับไว้แล้วทำหน้าลอยๆดั่งพรหมว่าฉันอาลากดาบส

    สภาวะดับกิเลส ดับขันธ์ คือ จิตห่างจากกิเลส ห่างจากขันธ์

    ไม่ใช่ไปกดทับไว้แล้วบอกว่าไม่มี ประหารมันแล้ว ทำสำเร็จ

    กรรมฐานแบบนั้นมีแต่สร้างอัตตา

    พระพรหมมีอัตตาใหญ่เท่าใด คนทำกรรมฐานนั่งทับกิเลส
    ไว้ก็ใหญ่เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2009
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตอบคุณหลินจิ่งเฉิน

    เผอิญผมมีนามแฝงว่า เล่าปัง คนที่เรียกรู้กลศึกที่เรียกว่า หินกลิ้ง จากซุนหวู่ จางเหลียง

    ผมเลยไม่มีกระบี่ไร้ใจ แบบโก้วเล้งรำพันเหมือนคนอื่นเขา

    หินกลิ้ง ก็คือ มันขรุขระตรงไหนมันก็ผลิก ตรงไหนลาด เราก็กลิ้งเร็วรุนแรง ตรงไหน
    เขาต้านเราก็หยุดสงบรอจังหวะ หาเหลี่ยมกลิ้ง

    มีทับ มีหยอก มีสัพหยอก มีหลอก มีลวง มีทะลวง มีตะบัน

    * * *

    อย่าอินมากหละ ผมก็แค่จะคุย แบบกระบี่ไร้ใจ แต่เผอิญชอบคนละแนว

    * * *

    แล้วก็แยกให้ออกนะว่า อันไหนคือ ถกธรรม อันไหน คือเผลอตามกิเลส

    และเผอิญวันนี้ เลือกบทเป็นกระจก คือ เอาคำของเขาที่เคยใช้กับเรา
    มาคืนเขาไป เรียกเทคนิคคุณธรรมภูติก็ได้ หากเคยตามอ่าน จะเห็น
    ว่า เราแค่หยิบคำเก่าๆ ที่เขาเคยใช้กับเรา เอามาลองใช้ดูบ้าง ก็เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2009
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อีกข้อนะพี่หลิน

    อย่ายึดติดตัวบุคคล หากจะเคารพธรรมของท่านหนึ่ง อย่าเอาเรื่องคนที่เอา
    พระท่านมาอ้างบ่อย แล้วไปสำคัญว่า เป็นพระท่าน ต้องแยกตัวบุคคลให้ออก
    จากกัน ไม่ใช่คนเดียวกันสักกะหน่อย

    แล้วคนอย่างผมนี่ อย่ามาอินมาก ผมนั้นพร้อมที่จะกลิ้งได้ทุกเมื่อ

    เป้าหมายผม ไม่ใช่เรื่องการทำนิพพานให้แจ้ง แต่เป็นแค่ดันคนไป
    ทำนิพพานให้แจ้ง

    ผมแค่ผลักดันเท่านั้น หากคุณพบว่า ผมดันคุณไป นั้นก็คือสิ่งที่ผมตั้งใจ

    ดันไปไหนหละ ก็ดันไปปฏิบัติ ไปลองปฏิบัติ

    วันนู้นคุณยังไม่เคยรู้จักพระชื่อนั้นชื่อนี้ ผมก็ทำหน้าที่เอาชื่อพระมาทำให้
    แจ้งแก่คุณ คุณได้ฟังแล้ว ก็ต้องพึ่งน้ำบ่อน้อยไปทำให้ตัวสะอาดเอา
    เอง :)
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คุณนิวรณ์ ขนาดเรื่องง่ายๆ ที่ผมพูดวันนี้คุณยังเข้าใจไม่ตรง

    พอผมพูดธรรมไปว่า ดูจิตเป็นอย่างไร คุณมีอคติอยู่มันจะตรงใจคุณได้อย่างไร

    คุณคิดว่า ผมไม่รู้จักเรื่องง่ายๆ อย่างการดูจิตหรือ มันมีก็แต่กิเลสที่พยายามพลิกผันไปทิศนั้นทีทิศนี้ทีเพื่อให้มันดูยาก และ ครบถ้วน เท่านั้นแหละ แต่จริงๆ มันก็คือ การดูรูปนาม
    เท่านั้น แต่แย่กว่า การดูรูปนามคือ การดูจิตดูแล้วเฉยๆ เท่านั้น แต่ นามรูป ญาณ อันเป็นเป็นวิปัสสนานั้น ทำเพื่อเป็นบาทในการดูลักษณะที่ ยิ่งๆ ขึ้นไป ตัวหลงทั้งนั้นเลย วิธีการของ การดูจิต

    คุณไปดูว่า วิปัสสนาญาณอันเป็นโสฬสญาณ มันมีเท่าไร อุทยัพยญาณ คุณได้หรือยัง
    ภังคญาณคุณได้หรือยัง นิพพิทาญาณ อนุโลมญาณ สังขารุเบกขาญาณ คุณได้หรือยัง

    ถ้าจะบอกว่า การดูจิต คือ รวมทั้งหมดนี้ ก็เห็นที่จะต้องไป คุยกับ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณแล้วว่า ทำไมอธิบายมากมาย ในเมื่อ พศ 2552 นี้มีคนอธิบายแค่คำว่า ดูจิตคำเดียวครอบไปหมด


    สรุปคุณก็ิเข้าใจผิดไปมาก ผมไม่ได้บอกว่า คุณเป็นสมาธิที่เอาจิตไปขัง
    คุณเป็น การดูจิต ก็ถูกต้อง ดีระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทางที่ถูก เพราะไม่มีการกำจัดกิเลส
    มันเหมือนใช้สมาธิเท่านั้น

    ก็คุณก็ดูตัวเองสิ ว่า เป็นอย่างไร กิเลสลดลงไปแค่ไหน
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กลับหัวกลับหางอยู่ดีแหละครับ

    ดูคุณอธิบายสิ เดี๋ยวก็บอกว่าดูจิต ไม่มีกำลังสมาธิประหาร

    พูดไปอีก ก็บอกว่า ดูจิต เป็นเพียงการใช้สมาธิ

    อ้าว ยังไงแน่ ตกลงมีสมาธิ หรือ ไม่มีสมาธิ

    ถ้ามีสมาธิ แล้วกิเลสที่ไหนจะโผล่ในสมาธิหละครับ

    หากดูจิต เป็นเพียงการใช้สมาธิ อ้าว เมื่อใช้สมาธิอยู่ ก็ไม่มีกิเลส นิวรณ์สิ

    งง ไหม

    คุณสรุปมาใหม่อีกทีดีกว่า ตกลงดูจิตนี่มีการใช้สมาธิอยู่หรือเปล่า

    ถ้าใช้สมาธิอยู่ มีสมาธิอยู่ แล้วตกลงกิเลสมันลากผมไปหรือเปล่า

    หากกิเลสไม่ลากผมไป มันไม่เกิด แล้วตกลงดูจิตนี่ประหารกิเลสได้หรือไม่ได้
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ไม่งงหรอก คุณนั่นแหละ งงเอง

    สมาธิ ก็ไม่มีกำลังประหารอยู่แล้ว มีสมาธิก็มีสมาธิอยู่กี่ระดับหละ

    กิเลสไหนโผล่มาในสมาธิ ก็ตอบว่า มิจฉาสมาธิไง และ ขณิกะสมาธิ อุปจารสมาธิ เพราะว่าสมาธินั้นไม่แนบ ไม่มีแรง ที่จะดับนิวรณ์ ยังไม่เป็น ฌาณ
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คุณนิวรณ์ สมาธิ ที่คุณเคยฝึกมา เรียกว่า เป็นสมาธิก็จริง แต่มันไม่แนบ มันไม่เป็นอัปปนา คือ เป็นสมาธิ ที่เปราะบางมาก พร้อมจะถูกทำลายได้ง่ายๆ
    แต่ก็มีกุศลคือ ทำสมาธินั้นได้เร็ว และสมาธินั้นก็ไม่ได้แนบ

    ก็สมาธินั้นแหละ เพราะไม่ได้อบรมสะสมให้มันมีกำลัง แต่ก็เพียงพอที่จะดูจิต

    แต่ก็ แตกง่าย และไม่แนบ คุณจึงมีเวลาดูกิเลสตลอดไง

    แต่หากว่า เป็นอัปนนาแล้ว เป็น เอกคตาจิตแล้ว ไม่มีให้ดู และหากเป็นโลกุตระสมาธิ เป็นเอกคตาจิตแล้ว ไม่ทื่อ ครองชีวิตปกติ แต่จิตเป็นเอกคตา
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ผมคงต้องขอตัว แล้วพรุ่งนี้จะมาจำแนก องค์สมาธิให้ดู ว่าแต่ละแบบนั้นเป็นอย่างไร

    อุปจารสมาธิ ต่างจากฌาณอย่างไร อัปปนา แตกต่างจากฌาณอย่างไร

    พรุ่งนี้จะเอามาพูดให้ฟัง
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อ้อ ดูจิต นี่ยังไม่เป็น ฌาณ ต้องทำฌาณก่อนแล้วดูจิต

    การทำวิปัสสนานั้น ตำราไหน ก็บอกว่าให้ทำที่ อุปจารสมาธิ

    หรือท่านขันธ์จะบอกว่า ให้ไปทำวิปัสสนาในฌาณ 3 ฌาณ4 หละ

    * * * * ตกลงเข้าใจหลักการทำวิปัสสนาไหม * * * *

    ส่วนเวลาไม่ทำวิปัสสนาทำอะไร ก็ไปทำสมถะสิ ฌาณ 3 ฌาณ 4 ก็ว่าไป

    แล้วคราวนี้มาดูกันหน่อย

    ผมกำลังชักชวนคนทำอะไร ชักชวนคนทำวิปัสสนาใช้ไหม ผมไม่ได้สอน
    สมถะกรรมฐานใช่ไหม ดังนั้น ผมจะต้องพูดเรื่องการทำฌาณ3 ฌาณ4 ไหม

    หากเข้าใจหลักการวิปัสสนา ก็ต้องตอบว่า ไม่ต้องพูดถึง

    ไม่พูดถึง ไม่ได้แปลว่า เขาไม่ทำ

    ส่วนฌาณ3 ฌาณ4 คนที่เขาพูดสอนได้ดีๆ มีเยอะแยะ ในบอร์ดนี้
    ก็เป็นไปเพื่อ ฌาณ3 ฌาณ4 อยู่แล้ว ทำไมผมจะต้องไปแย่งเขา
    พูดด้วยหละ

    แล้วจะผิดอะไรนักหนา หากผมจะคอยชักชวน กวักมือเรียกให้คน
    มาทำวิปัสสนากันบ้างเพื่อกุศล

    ก็มีแต่คุณนี่แหละ ที่ไม่รู้อะไร มามองว่าผมสร้างอกุศลกรรม
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไม่ต้องจำแนกหรอกครับ สมถะกรรมฐานนั้น มีสอนกันเยอะแยะ

    ผมเองก็ทำกสิณอยู่ อานาปานสติก็ทำอยู่ เห็นแสง เห็นอุโมงค์
    ก็เห็นไปเรื่อยๆ เล่าให้ฟังตั้งหลายหน คนทำอยู่เพียรอยู่ คุณจะมา
    เร่งให้ได้อย่างใจตัวคุณ นี่มันประหลาด

    สมถะ ผมทำเป็น ไม่ต้องสอนหรอกครับ คนอื่นเขาก็รู้ๆกันเยอะแยะแล้ว

    วิปัสสนาสิ คนไม่สนใจ ผมเจียดเวลาพูดเรื่องวิปัสสนานี่ มันกิเลสมาก
    จนคุณลำคาญเลยเหรอ
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แล้วคุณขันธ์หนะ คุยว่า ถามพระอนุรุธ

    ผมก็มี แต่ผมไม่ได้พูด เพราะ เยอะ

    มีตั้งแต่ผอมๆ แห้งๆ ถึง สมบูรณ์

    มีตั้งแต่สักยันต์เต็มแขนเต็มขา จนกระทั่งพกย่าม มากันเป็นคณะ

    ผมไม่กล่าวถึง เพราะไม่มีประโยชน์อะไรต่อคนอื่น เพราะ เราก็
    เห็นว่า มาสอนกันเป็นเคสๆไป

    ผมว่า คุณเอาเวลาไปใส่ใจ คุณวิมุตติดีกว่า

    เมื่อวานผมทักนิดหน่อย แกตกใจ ออกปากว่า ไม่ได้เชื่อคุณขันธ์
    กระโดดหนีซะงั้น ตลกจะตายไป พอตั้งตัวได้ก็มาเล่นเป็นลูกคู่อีก
    แปลกคน
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อีกนิดนะครับ คุณขันธ์

    อีกไม่นาน ผมก็มีแววจะเลิกพูด หรือ ชักชวนคนดูจิตแล้ว

    ผมไม่จำเป็นต้องก้าวเป็นแถวหน้าอีกต่อไป เพราะนับวัน
    จะมีคนที่มาทำหน้าที่ตรงนี้มากขึ้นเรื่อยๆ แล้วเขาก็เข้า
    มาเอง ผมไม่ได้ไปเกณฑ์มา

    พอเขาจับหลักได้ เขาก็กล้าพูด กล้าแสดง กล้าชักชวน

    เมื่อนั้นก็เป็นเวลาเก็บเกี่ยวบุญของเขา ผมก็หมดหน้าที่
    เหลือแต่เพียงนั่งดู

    ถึงวันนั้น ก็หยุดคิดได้เลยนะครับว่า ผมปฏิบัติทางเดียว
    เพราะภาพนั้นที่คุณอาศัยเพื่อตำหนิผมจะหายไป
     
  17. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ผมถามจริง ๆ เถอะผู้รู้ อธิศีล ยังไปไม่รอดเลย
    ก้าวกระโดดไปอธิจิตมันจะไม่ยุ่งไปกันใหญ่
    หรือครับ อธิปัญญายิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย
     
  18. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    ไผ่เป็นลำเป็นกลุ่มเป็นกอ ไผ่จะล้อเล่นลม

    ไปตามทางที่เหมาะสม ไปตามทิศทางลม

    ไผ่ต่างพันธ์ ต่างเผ่า ต่างกอ ไผ่ก็ยังต่างสี

    ดังผู้คนในสังคมเรานี่ ใยจะไม่ต่างกัน

    คนละทาง คนละอย่าง คนละอุดมการณ์

    แต่ก็มีจุดหมายเดียวกัน เป็นเรื่องราวของชาวไผ่แดง

    บ้างก็รู้กันอยู่แก่ใจ บ้างก็ฝันกันไป

    แต่จงจำไว้ก่อนจะสาย อย่าให้ใครมาสนตะพาย

    ;aa13​
     
  19. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>โชแปง, sriaraya5 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    <TABLE width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>กว่าจะถึงอรหันต์ - โดย...ณวมพุทธ - ฝึกฝนจิต แก่กล้า ฆ่ากิเลส
    ด้วยฤทธิ์เดช ได้อยู่ กับหมู่ที่...
    เป็นมิตรดี เพื่อนดี สหายดี
    เกื้อกูลมี มรรคผล หลุดพ้นทุกข์

    พระเมฆิยเถระ
    เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระนามว่า วิปัสส ทรงตัดสินพระทัยสิ้นสุดพุทธกิจแล้ว ทรงปลงอายุสังขาร(กำหนดการสิ้นอายุจะปรินิพพาน) ทำให้มหาชนพากันหวั่นไหวขวัญเสีย ผืนแผ่นดินสะเทือน ท้องฟ้าคะนอง ทะเลครืนครั่น
    คราวนั้นอดีตชาติของพระเมฆิยเถระนี้ ได้เกิดอยู่ในสมัยของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ก็รู้สึกสะเทือนหวั่นไหวเช่นกัน แต่ด้วยจิตใจเคารพ ศรัทธายิ่งนัก เขาได้ประกาศถึงพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้า ประกาศพระธรรมอันเป็นคำสั่งสอนที่ตรัสไว้ดีแล้วของพระองค์ เพื่อทำจิตใจตนและมหาชนให้คลายจากความเศร้าโศกไปเสีย
    เหตุแห่งผลบุญนี้ ทำให้เขาบันเทิงอยู่ในสวรรค์(สภาวะสุขของผู้มีจิตใจสูง) ชาติแล้วชาติเล่าได้ทำกุศลเสมอมา ไม่ไปสู่ทุคติ(ทางไปชั่ว)เลย ด้วยใจระลึกกำหนดหมายถึงพระพุทธเจ้านั่นเอง และมีอยู่ชาติหนึ่งได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชผู้ประเสริฐ มีพระนามว่า สมิตะ ซึ่งมีไพร่พลทรงอานุภาพมาก
    กระทั่งในชาติสุดท้าย เขากำเนิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในนครกบิลพัสดุ์ มีนามว่า เมฆิยะ
    เมื่อเมฆิยะเจริญวัยเติบใหญ่แล้ว ด้วยใจศรัทธายิ่งในพระพุทธศาสนา จึงได้ขอบวชเป็นภิกษุอยู่ในสำนักของพระพุทธเจ้าองค์สมณะโคดม
    มีอยู่คราวหนึ่ง พระศาสดาประทับอยู่ที่จาลิกบรรพตใกล้เมืองจาลิกา ภิกษุเมฆิยะได้เป็นอุปัฏฐาก(ผู้คอยดูแลรับใช้)ให้แก่พระศาสดาในที่นั้น
    เช้าวันหนึ่ง ภิกษุเมฆิยะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านชันตุคามแล้ว ขากลับได้เดินไปตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา พบเห็นอัมพวัน(ป่ามะม่วง)อันน่ายินดี น่ารื่นรมย์ จึงเกิดความคิดขึ้นว่า
    "ป่ามะม่วงนี้ช่างน่ายินดี น่ารื่นรมย์จริงหนอ เหมาะจะเป็นสถานที่บำเพ็ญเพียรแก่ผู้ต้องการฝึกฝนตน นี่ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต เราก็จะมาอาศัยป่ามะม่วงนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร"
    ครั้นกลับมาแล้ว ได้ไปเข้าเฝ้าพระศาสดาถึงที่ประทับ กราบทูลถึงป่ามะม่วงนั้นและขออนุญาต พระศาสดาทรงรับฟังแล้วตรัสว่า
    "ดูก่อนเมฆิยะ จงรออยู่ที่นี่ก่อน เราอยู่เพียงผู้เดียวเท่านั้น เธอจงรออยู่จนกว่าจะมีภิกษุรูปอื่นมาแทนเถิด"
    แม้ทรงกล่าวเป็นเชิงห้ามไว้ แต่ภิกษุเมฆิยะก็ยังกราบทูลขอเป็นครั้งที่สองอีก
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงจบกิจ(กำจัดกิเลสหมดแล้ว)ไม่มีกิจอะไรอื่นที่ต้องทำยิ่งกว่านี้ อริยมรรค(มรรคองค์ ๘) ก็ทรงสั่งสม กระทำไว้แล้ว แต่ข้าพระองค์ก็ยังมีกิจ(กำจัดกิเลส)ที่ต้องทำให้ยิ่งขึ้น ยังต้องสั่งสมกระทำอริยมรรคอยู่ ดังนั้นถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตแล้ว ข้าพระองค์ก็จะไปยังป่ามะม่วงเพื่อบำเพ็ญเพียรให้ยิ่ง"
    พระศาสดายังคงไม่ทรงอนุญาต แล้วตรัสเช่นเดิมอีก แต่ภิกษุเมฆิยะก็ไม่เลิกลา กราบทูลขอกับพระศาสดาอีกเป็นครั้งที่สาม คราวนี้พระศาสดกจึงตรัสว่า
    "ดูก่อนเมฆิยะ เราจะว่าอะไรเธอได้ เมื่อเธอกล่าวอยู่แต่คำว่า เพื่อบำเพ็ญเพียร ฉะนั้นบัดนี้เธอจงรู้ความสำคัญในเวลาอันเหมาะควรเถิด"
    เมื่อพระศาสดาตรัสเช่นนี้ ภิกษุเมฆิยะจึงถวายบังคมพระศาสดา แล้วไปอยู่ที่ป่ามะม่วงนั้นเพื่อบำเพ็ญเพียร
    มีอยู่วันหนึ่งในเวลากลางวัน ภิกษุเมฆิยะนั่งพักที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จิตเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมากมาย อกุศลวิตก(การครุ่นคิดในแง่ชั่วร้าย) อันลามก ๓ ประการบังเกิดขึ้นคือ ๑. กามวิตก(ครุ่นคิดเสพไปในกาม) ๒. พยาบาทวิตก(ครุ่นคิดเคียดแค้นอยู่) ๓. วิหิงสาวิตก(ครุ่นคิดหมายเบียดเบียนทำร้ายเขา) ทำให้ภิกษุเมฆิยะตกใจและสะเทือนใจยิ่งนัก แต่ก็ได้เข้าถึงความจริงตามความเป็นจริงว่า
    "น่าประหลาดใจหนอ เรื่องไม่ควรมีก็มีได้ แม้กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาอย่างยิ่ง ก็ยังเกิดการครุ่นคิดในแง่ชั่วร้ายเข้าครอบงำได้ ไม่ว่าจะเป็นการครุ่นคิดเสพกาม การครุ่นคิดเคียดแค้น และการครุ่นคิดทำร้ายเขาก็ตาม"
    สลดสังเวชกับเหตุการณ์นี้แล้ว ภิกษุเมฆิยะก็รีบกลับมาเข้าเฝ้าพระศาสดา กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระศาสดาจึงทรงสั่งสอนว่า
    "ดูก่อนเมฆิยะ มีธรรม ๕ ประการที่ปฏิบัติแล้ว จะเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติ(การหลุดพ้นกิเลสด้วยอำนาจของการฝึกจิต) ที่ยังไม่แก่กล้า คือ
    ๑. การเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
    ๒. การเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาฏิโมกข์(วินัยข้อห้าม ๒๒๗ ข้อของภิกษุ) ถึงพร้อมด้วยอาจาระ(การประพฤติดี) และโคจร(การไปในที่อันเหมาะควร) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทาน(ถือปฏิบัติ)ศึกษาอยู่ในสิกขาบท (ข้อศีลข้อวินัย)ทั้งหลาย
    ๓. การเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ในเรื่องที่เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส ให้เป็นที่สบายในการเปิดจิต คือ อัปปิจฉกถา (เรื่องลดความอยากได้เข้ามา) สันตุฏฐิกถา (เรื่องยินดีในของของตนให้มีน้อยๆไว้) ปวิเวกกถา (เรื่องทำความสงัดกายสงัดใจ) อสังสัคคกถา (เรื่องไม่คลุกคลีกับหมู่คนพาล) วิริยารัมภกถา(เรื่องสร้างเสริมความเพียร) ีลกถา(เรื่องตั้งอยู่ในศีล)สมาธิกถา(เรื่องทำจิตตั้งมั่นสงบจากกิเลส) ปัญญากถา(เรื่องมีปัญญาชำแรกกิเลส) วิมุตติกถา(เรื่องความหลุดพ้นหมดกิเลส) วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องสภาวะที่รู้เห็นได้จริงถึงความหลุดพ้นจากกิเลสแล้ว)
    ๔. การเป็นผู้สร้างเสริมความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้ถึงพร้อมกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม
    ๕. การเป็นผู้มีปัญญาเป็นอริยะ พิจารณาความเกิดและความดับของกิเลสได้ สามารถชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้โดยถูกตรง
    ดูก่อนเมฆิยะ หากเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดีมีเพื่อนดีแล้ว เพียงข้อแรกนี้เท่านั้น ก็พึงหวังได้ว่า ตนจะเป็นผู้มีศีล....ตนจะได้ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในการขัดเกลากิเลส....ตนจะเป็นผู้สร้างเสริมความเพียรละอกุศลธรรม....ตนจะเป็นผู้มีปัญญาเป็นอริยะ.....ฯลฯ
    นี่แหละ....! หากผู้นั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้ แล้วกระทำให้มากในธรรมอีก ๔ ประการให้ยิ่งขึ้น คือ
    ๑. เจริญอสุภะ(สภาพที่ไม่สวยงาม) เพื่อละราคะ(ความกำหนัดยินดี)
    ๒. เจริญเมตตาเพื่อละความพยาบาท
    ๓. เจริญอานาปานสติ(กำหนดลมหายใจเข้าออกจนจิตสงบแล้วพิจารณาดับกิเลส)เพื่อตัดวิตก
    ๔. เจริญอนิจจสัญญา(กำหนดความไม่เที่ยงในสิ่งทั้งปวง) เพื่อถอนอัสมิมานะ(การถือตัวว่า นี่กู นั่นเป็นของกู)

    ดูก่อนเมฆิยะ อนัตตสัญญา(กำหนดความไม่ใช่ตัวตน ยึดเป็นเจ้าของไม่ได้) ย่อมบังเกิดแก่ผู้ได้อนิจจสัญญา และผู้ที่ได้อนัตตาสัญญาย่อมบรรลุนิพพาน(กิเลสสิ้นเกลี้ยง) อันถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะในปัจจุบันนั่นเทียว"
    เมื่อภิกษุเมฆิยะได้รับฟังโอวาทนั้นแล้ว ก็นำมาบำเพ็ญเพียรอย่างยิ่ง กระทำให้มากตามคำสอนของพระศาสดา เจริญวิปัสสนา(อบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง) จนกระทั่งสามารถบรรลุวิชชา ๓ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระมหาสาวกทั้งหลาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...