สุริยุปราคาวงแหวน 21 พฤษภาคม 2555 รวยรวยรวย

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย แจ๊กซ์69, 20 พฤษภาคม 2012.

  1. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    จันทรุปราคาบางส่วน 4 มิถุนายน 2555

    จันทรุปราคาบางส่วนครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำของวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2555 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 17:00 น. และถูกเงาของโลกบังลึกที่สุดเวลา 18:03 น. คิดเป็นขนาดความลึก 37% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ สองเวลานี้ประเทศไทยยังไม่เห็น เนื่องจากดวงจันทร์ยังไม่ขึ้น และเป็นเวลากลางวัน
    <table align="center" cellpadding="5" cellspacing="5" width="620"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG] </td> </tr><tr> <td align="center"> จันทรุปราคาบางส่วน 17 สิงหาคม 2551 (ภาพ – ศิรวิศ สุรพฤกษ์) </td> </tr> </tbody></table> ดวงจันทร์จะขึ้นมาเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกในช่วงครึ่งหลังของปรากฏการณ์ กรุงเทพฯ ดวงจันทร์ขึ้นเวลา 18:41 น. ถูกเงามืดของโลกบังอยู่ราว 20% จากนั้นกลับมาสว่างเต็มดวงเวลา 19:07 น. ดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าเป็นมุมเพียง 5° และท้องฟ้ายังไม่มืด จึงมีเวลาสังเกตจันทรุปราคาขณะถูกเงามืดบังได้ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง และอาจสังเกตได้ยาก เนื่องจากอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเวลาสังเกตได้นานกว่า เนื่องจากดวงจันทร์ขึ้นก่อนกรุงเทพฯ เช่น ที่อุบลราชธานี ดวงจันทร์ขึ้นตั้งแต่เวลา 18:25 น.
    พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือส่วนใหญ่ของ ทวีปเอเชีย ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนใหญ่ของอเมริกาเหนือและใต้ (ยกเว้นด้านตะวันออก) และทวีปแอนตาร์กติกา ผู้ที่อยู่ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียจะเกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อน สูงขึ้นในค่ำวันที่ 4 มิถุนายน ส่วนอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้เกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนต่ำลงใน เวลาเช้ามืดของวันเดียวกัน ตามเวลาท้องถิ่น
    ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 4 มิถุนายน 2555

    1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 15:48:08 น.
    2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 16:59:51 น.
    3. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 18:03:12 น.
    4. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 19:06:30 น.
    5. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 20:18:16 น.
    จันทรุปราคาครั้งนี้เกิดขึ้นที่จุดโหนดขึ้นในวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก เมื่อสังเกตจากประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู ห่างดาวแอนทาเรสในกลุ่มดาวแมงป่องประมาณ 8° เป็นจันทรุปราคาครั้งที่ 24 ใน 77 ครั้ง ของซารอสที่ 140 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1597 - 2968 ซารอสนี้ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 20 ครั้ง บางส่วน 8 ครั้ง เต็มดวง 28 ครั้ง บางส่วน 7 ครั้ง และเงามัว 14 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2246 และ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2264 นาน 1 ชั่วโมง 38.6 นาที
    [​IMG]
     
  2. nongyao

    nongyao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    321
    ค่าพลัง:
    +346
    ขอแสดงความชื่นชม ในความรอบรู้ มีความรู้ดีจริงๆ ขอสรรเสริญ
     
  3. Chalermwich

    Chalermwich เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2007
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +1,273
    เห็นข่าว ดาวศุกร์ ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด จะมีอะไรมั้ย
     
  4. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    ไม่มีจ้า จะก็ต่อเมื่อ ราูหู อีกประมาณ10ปีออก ไหว้รับพระศุกร์ จะรวย หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ว่างั้น ผมไปอ่านเจอแต่ยังหาเครดิตไม่ได้ครับ
     
  5. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    เตรียมไหว้รับราหู รวยรวยรวย


    จันทรุปราคาบางส่วน : 4 มิถุนายน 2555

    วรเชษฐ์ บุญปลอด 9 พฤษภาคม 2555
    สองสัปดาห์หลังสุริยุปราคาในเดือนพฤษภาคม จะเกิดจันทรุปราคาบางส่วนขึ้นในช่วงหัวค่ำของวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2555 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา นับเป็นจันทรุปราคาที่เห็นดวงจันทร์แหว่งครั้งเดียวของปีนี้ (อีกครั้งเป็นจันทรุปราคาเงามัว)
    เงามืดเริ่มบังดวงจันทร์ตั้งแต่เวลา 17:00 น. บังลึกที่สุดเวลา 18:03 น. คิดเป็นขนาดความลึก 37% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ แต่ประเทศไทยยังไม่เห็น จะเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาที่ดวงอาทิตย์ตกและดวงจันทร์ขึ้น โดยแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยเห็นดวงจันทร์ขึ้นในเวลาที่ต่างกัน ความลึกของจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์ขึ้นจึงต่างกันด้วย
    <center>[​IMG]</center> <table align="center" border="1" cellpadding="3" cellspacing="0"> <tbody><tr> <th colspan="3" class="tablehead">ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน : 4 มิถุนายน 2555</th> </tr> <tr bgcolor="#e7e7e7"> <td align="center">เหตุการณ์</td> <td align="center">เวลา</td> <td align="center">มุมเงย
    (ที่กรุงเทพฯ)</td> </tr> <tr> <td>1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก </td> <td align="center">15:48 น.</td> <td align="center">-39° (ใต้ขอบฟ้า)</td> </tr> <tr> <td>2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน</td> <td align="center">17:00 น.</td> <td align="center">-23°(ใต้ขอบฟ้า)</td> </tr> <tr> <td>3. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด)</td> <td align="center">18:03 น.</td> <td align="center">-9°(ใต้ขอบฟ้า)</td> </tr> <tr> <td>4. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ทั้งดวงออกจากเงามืด)</td> <td align="center">19:07 น.</td> <td align="center">5°</td> </tr> <tr> <td>5. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก</td> <td align="center">20:18 น.</td> <td align="center">20°</td> </tr> </tbody></table> จังหวัดทางตะวันออกของประเทศจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นก่อน ตารางด้านล่างบอกเวลาดวงจันทร์ขึ้นและมุมเงยของดวงจันทร์ขณะสิ้นสุด จันทรุปราคาบางส่วน เมื่อสังเกตจากอำเภอเมืองของบางจังหวัด จังหวัดที่ดวงจันทร์ขึ้นก่อน จะมีโอกาสเห็นดวงจันทร์แหว่งได้มากกว่าจังหวัดที่ดวงจันทร์ขึ้นทีหลัง จากตารางแสดงว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ตอนล่างจะเห็นดวงจันทร์ขึ้น ก่อนภาคอื่น ๆ วันนั้นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู ใกล้ดาวแอนทาเรสหรือดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่อง ดวงจันทร์จึงขึ้นเยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
    <table align="center" border="1" cellpadding="3" cellspacing="0"> <tbody><tr bgcolor="#e7e7e7"> <td align="center">สถานที่</td> <td align="center">ดวงจันทร์ขึ้น</td> <td align="center">มุมเงยเมื่อสิ้นสุด-
    จันทรุปราคาบางส่วน
    </td> </tr> <tr> <td>กรุงเทพฯ</td> <td align="center">18:41 น.</td> <td align="center">5°</td> </tr> <tr> <td>ขอนแก่น</td> <td align="center">18:36 น.</td> <td align="center">6°</td> </tr> <tr> <td>จันทบุรี</td> <td align="center">18:32 น.</td> <td align="center">7°</td> </tr> <tr> <td>เชียงใหม่</td> <td align="center">18:57 น.</td> <td align="center">2°</td> </tr> <tr> <td>นครพนม</td> <td align="center">18:30 น.</td> <td align="center">7°</td> </tr> <tr> <td>นครราชสีมา</td> <td align="center">18:37 น.</td> <td align="center">6°</td> </tr> <tr> <td>นราธิวาส</td> <td align="center">18:23 น.</td> <td align="center">9°</td> </tr> <tr> <td>ประจวบคีรีขันธ์</td> <td align="center">18:41 น.</td> <td align="center">5°</td> </tr> <tr> <td>สงขลา</td> <td align="center">18:32 น.</td> <td align="center">7°</td> </tr> <tr> <td>สุโขทัย</td> <td align="center">18:50 น.</td> <td align="center">3°</td> </tr> <tr> <td>อุบลราชธานี</td> <td align="center">18:25 น.</td> <td align="center">8°</td> </tr> </tbody></table> หมายเหตุ :

    1. ทุกจังหวัดในประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์แหว่งมากที่สุดขณะดวงจันทร์ขึ้น แต่แหว่งไม่เท่ากัน
    2. เมฆหมอกใกล้ขอบฟ้าอาจบดบังดวงจันทร์ขณะขึ้นมาอยู่เหนือขอบฟ้าแล้ว จึงเริ่มเห็นดวงจันทร์ช้ากว่าเวลาที่ระบุ
    3. เวลาดวงจันทร์ขึ้นในที่นี้คือเวลาที่ขอบด้านบนของดวงจันทร์แตะขอบฟ้า เมื่อดวงจันทร์ขึ้นมาอยู่เหนือขอบฟ้าทั้งดวงในอีกราว 2 นาทีถัดมา จะใกล้เคียงกับเวลาดวงอาทิตย์ตกของแต่ละสถานที่ (ดู เวลาดวงอาทิตย์ตกและดวงจันทร์ขึ้น หรือคาดคะเนจากจังหวัดในตารางซึ่งอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน)
    4. เมื่อกำมือแล้วเหยียดแขนออกไปข้างหน้าให้สุด กำปั้นของเรามีขนาดประมาณ 10°
    เมื่อสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 19:07 น. ดวงจันทร์จะกลับมาเต็มดวง แต่เราจะสังเกตได้ว่าขอบด้านบนของดวงจันทร์ยังหมองคล้ำอยู่เล็กน้อย เนื่องจากดวงจันทร์ยังอยู่ในเงามัว จันทรุปราคาจะสิ้นสุดอย่างสมบูรณ์เมื่อดวงจันทร์ออกจากเงามัวในเวลา 20:18 น.
    กรุงเทพฯ ดวงจันทร์ขึ้นเวลา 18:41 น. ถูกเงามืดของโลกบังอยู่ราว 1 ใน 4 ของดวง จากนั้น เมื่อสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 19:07 น. ดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าเป็นมุมเพียง 5° และท้องฟ้ายังไม่มืด จึงมีเวลาสังเกตจันทรุปราคาขณะถูกเงามืดบังได้ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง และอาจสังเกตได้ยาก เนื่องจากอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเวลาสังเกตจันทรุปราคาครั้งนี้ได้นานกว่า เนื่องจากดวงจันทร์ขึ้นก่อนกรุงเทพฯ เช่น ที่อุบลราชธานี ดวงจันทร์ขึ้นตั้งแต่เวลา 18:25 น. เงามืดบังดวงจันทร์อยู่ราว 1 ใน 3 ของดวง เมื่อสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้า 8°
    ภาคใต้ตอนล่าง ดวงจันทร์ขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นราธิวาสดวงจันทร์ขึ้นเวลา 18:23 น. เงามืดบังดวงจันทร์อยู่ราว 1 ใน 3 เมื่อสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้า 9°
    ภาคเหนือ ดวงจันทร์ขึ้นช้าที่สุด เช่น เชียงใหม่ดวงจันทร์ขึ้นเวลา 18:57 น. เงามืดบังดวงจันทร์อยู่ราว 1 ใน 10 จากนั้น เมื่อสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์จะอยู่สูงเหนือขอบฟ้าเพียง 2°
    การสังเกตจันทรุปราคาในวันนี้อาจอยู่ในจังหวะที่ไม่ดีนัก เนื่องจากดวงจันทร์มีมุมเงยต่ำกว่า 10° และท้องฟ้ายังสว่างอยู่ด้วยแสงสนธยา อย่างไรก็ดี หากท้องฟ้าเปิด ไม่มีเมฆฝนบดบัง จะสามารถถ่ายภาพจันทรุปราคาบางส่วนได้ โดยมีต้นไม้ อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในแนวขอบฟ้าเป็นฉากหน้า ทำให้ภาพมีองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ได้มีเพียงแต่ดวงจันทร์
    หลังจากจันทรุปราคาบางส่วนครั้งนี้ จะเกิดจันทรุปราคาเงามัวในวันลอยกระทง ซึ่งดวงจันทร์ไม่สัมผัสเงามืด จึงปรากฏเต็มดวงอยู่ตลอด ส่วนจันทรุปราคาบางส่วนครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในกลางดึกของคืนวันที่ 25 เข้าสู่เช้ามืดวันที่ 26 เมษายน 2556 แต่พื้นผิวดวงจันทร์ถูกเงามืดของโลกบดบังเพียง 1.5% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์


    เครติด จาก สมาคมดาราศาสตร์ไทย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...