หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    -เขมิโย-วัดถ้ำพญาช้างเผือก.jpg
    หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก
    บ้านปากช่อง ต.ห้วยยาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

    หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเมืองกลางปี พ.ศ.๒๕๕๖ จึงได้ทำการรักษาโดยให้คีโม ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น แต่อาการอาพาธของท่านค่อย ๆ ทรุดลงจนธาตุขันธ์เกินจะแบกภาระไว้ได้ หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย ท่านจึงละสังขารลงเมื่อเวลา ๑๒.๐๔ น. ตรงกับวันอังคารที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐ ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น


    สิริอายุรวม ๘๓ ปี ๒ เดือน ๑๒ วัน ๕๘ พรรษา


    กำหนดพิธีถวายเพลิงสรีระสังขาร
    ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่วิไลย์ พิธีเริ่มขึ้นตั้งแต่ ๑๓.๐๐ น. – ๑๕.๐๐ น. ณ เมรุชั่วคราววัดถ้ำพญาช้างเผือก บ้านปากช่อง ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
    ขอเชิญร่วมงานพิธีถวายเพลิงสรีระสังขาร พระครูญาณวราจาร (หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย) ณ เมรุถาวร วัดถ้ำพญาช้างเผือก บ้านปากช่อง ตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ในวันศุกร์ที่ ๑ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐


    โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่วิไลย์ เขมิโย


    “..นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายส่วนใหญ่ก็เช่นเดียวกัน นั่งเข้าไปก้นยังไม่อุ่น ยังไม่เท่าหมานั่ง อยากเห็นนั่นเห็นนี่ อยากให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยากรู้นั่นรู้นี่ มันเข้าในเกณฑ์อยากเกินประมาณ คำว่าเกิน ๆ นี่แหละ มันทำพิษ ทำโลกรุ่มร้อนอยู่ทุกวี่ทุกวัน


    สมมุติเราทำน้ำพริกถ้วยหนึ่งในน้ำพริกถ้วยนั้นมีสิ่งที่เกินอยู่ในนั้น มันจะกินได้ไหม…น้ำพริกใส่พริกมากเกินไป น้ำปลามากเกินไป ใส่มะนาวมากเกินไป ลูกศิษย์เกินครู ลูกเกินพ่อแม่ พูดมากเกินไป คุยมากเกินไป โม้มากเกินไป บ่นมากเกินไป จู้จี้มากเกินไป หึงมากเกินไป ระแวงมากเกินไป สงสัยมากเกินไป ดีใจมากเกินไป เสียใจมากเกินไป รักมาก ชังมาก พระพุทธองค์ตรัสว่ามัชฌิมาปฏิปทา ให้พอดี น้ำพริกพอดีกินได้เอร็ดอร่อย ที่พูดมาทั้งหมดให้ระวังอย่าให้มันเกินประมาณ ประมาณคือขอบเขตอย่าให้มันเกินออกไป มันจะไม่พอดีพองามพอเหมาะพอสม


    อาตมาคิดเห็นความอยากของคนที่เกินประมาณ จะทำสิ่งใดก็อยากได้ผลเร็วๆ ให้ทันจิตทันใจ ทำปุ๊บตอบปั๊บ ทำวันนี้เห็นวันนี้ สมมุติเราทำบาปเสร็จเกิดหม้อนรกปุ๊ปขึ้นเดี๋ยวนั้น เห็นยมบาลเดี๋ยวนั้น หัวใจมันจะไม่ช็อคตายหรือ มันอัปรีย์จังไรจริงๆ สมมุติมีเด็กหญิงคนหนึ่งอายุ ๓-๔ ขวบ เกิดมีท้องตั้งครรภ์ขึ้นมา เราจะเห็นว่าเป็นอย่างไรในเมื่อมันไม่สมควรจะเป็น มันฝืนธรรมชาติ ปลูกข้าวลง คอยจะขยี้เอาเม็ดมากิน เคยมีไหม น้ำยังไม่เต็มตุ่มเต็มไห จะร้องขออ้อนวอนให้มันล้นออกมาจากปากหม้อปากไห ตายแสนชาติก็ไม่เจอ ความอยากมันเกินพระพุทธเจ้า เลยไปแล้ว เลยไปหาพระเทวทัตแล้วอเวจีโน้น


    พระพุทธเจ้าของเราสอนให้ดูเหตุดูผล ความสุขเกิดจากเหตุอะไร ดี-ชั่ว บาป-บุญ คุณ-โทษ มรรค-ผล สวรรค์-นิพพาน เหตุดีผลย่อมดี ตอบเหมือนชาวนาปลูกข้าว ชาวสวนปลูกกล้วยมะม่วง ชาวนาชาวสวนต่างบำรุงดูแลให้น้ำใส่ปุ๋ยเป็นอย่างดี งอกงามสมบูรณ์เมื่อถึงฤดูกาลของข้าวออกรวง ใครจะไปหักห้ามไม่ให้มันออกก็ไม่ฟัง ใครจะไปบ่นไปแช่ง ถึงจะเอาหมอเวทมนต์มานั่งบ่นนอนห้ามอยู่กลางทุ่งนา มันก็ไม่ฟังเสียงใครทั้งนั้น กล้วยมะม่วงของชาวสวนก็เช่นเดียวกัน อะไรทุกอย่างในโลกนี้พอเกิดถึงเกิด พอเป็นไปได้จึงเป็นไปได้ พอเป็นพระพุทธเจ้าจึงเป็นพระพุทธเจ้า พอเป็นพระสงฆ์จึงเป็นพระสงฆ์ พอเป็นพ่อจึงเป็นพ่อ พอเป็นแม่จึงเป็นแม่ ปู่ย่าตายายจะเอาเด็กมาเป็นไปไม่ได้มันผิดวิสัย จะเรียกเด็กว่ายายนั่นตานี่ก็บ้าเท่านั้นแหละ ..”


    คัดลอกมาจากหนังสือ “พญาช้างเผือก ประวัติปฏิปาหลวงปู่วิไลย์ เขมิโย”


    ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน
    :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่วิไลย์-เขมิโย-วัด/
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    อาจารย์ยอด : มหาเวทย์ป่าช้าทุงมนต์ หลวงปู่หงษ์ พรหมปฺญโญ [พระ]

    อาจารย์ยอด
    Oct 11, 2021
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่หง1.jpg
    ประวัติ หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ

    หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ จังหวัดสุรินทร์นั้น เป็นจังหวัดหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง “อีสานใต้” มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมที่แตกต่างภาษาพูดที่แตกต่างกัน มีความสามัคคีไม่เกิดปัญหาระหว่างกลุ่มชน เมื่อก่อนเป็นพื้นที่ที่มีช้างอยู่มากมาย ถิ่นอารยธรรมโบราณ และก็ต้องยอมรับว่าจังหวัดสุรินทร์มีพระเกจิอาจารย์ที่เปี่ยมด้วยปฎิปทา


    และจริยาวัตรที่งดงามอยู่หลายรูป เช่น หลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่เจียม หลวงปู่ธรรมรังษี หลวงปู่รอดในอดีตและปัจจุบันจนถึงวาระที่ต้องละสังขารและเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนก็คือ หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ


    หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ เดิมนามว่า สุวรรณหงษ์ จะมัวดี เกิดที่บ้านทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 23มีนาคม พ.ศ. 2461 เมื่อถึงวัยเรียนได้เข้าไปเรียนที่โรงเรียนวัดอุทุมพร บ้านทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จบการศึกษาประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 พออายุได้ 18 ปี มารดารขอร้องให้บวชเณร นายสุวรรณหงษ์ ได้ตามใจแม่จึงรับปากที่จะบวชให้ ตั้งใจว่าจะบวชให้สัก 7 วัน


    ครั้นบรรพชาแล้วพระอุปัชฌาย์ได้ตั้งนามให้ใหม่ว่า”สามเณรพรหมศร” ลุมาได้ 3 วัน ขณะนั่งบนแคร่ไม้ใต้โคนต้นมะขามใหญ่ได้มีบุรุษหญิงชายแปลกหน้าทั้งมีอายุแก่และหนุ่ม แต่งกายแบบชาวบ้านมาขอร้องให้เทศน์โปรดทีเถิด สามเณรพรหมศรกล่าวว่า ฉันพึ่งบวชได้ไม่ถึงวันยังเทศน์ไม่เป็นหรอก ชายหญิงผู้แปลกหน้าทั้งหลายต่างให้ข้อแนะนำว่า


    ท่านเจ้าคะท่านเทศน์ไม่เป็นก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ท่านทดลอง ว่านะโม 3 จบ ประเดี๋ยวท่านก็จะเทศน์ได้เองนั่นแหละ” สามสามเณรพรหมศรนั่งนิ่งแลสงสัยว่า บุคคลทั้งหลายเหล่านี้เป็นใครมาจากไหนอยู่ๆก็มาขอร้องให้เราเทศน์ แต่เมื่อลองคิดแล้วเขาบอกให้ว่านะโม 3 จบ จากนั้นก็เป็นเรื่องที่ปากพูดไปได้เองเป็นเรื่องเป็นราว


    ชายหญิงทั้งหลายต่างนั่งพนมมือ อมยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ครั้นเทศน์จบก็กราบขอบคุณขอลากลับ หันไปอีกทาง ปรากฏว่าหายไปทางไหนก็ไม่รู้ ผู้เขียนกราบเรียนถามหลวงปู่ว่าทำไมสามเณรพรหมศรจึงเทศน์ได้ ท่านกล่าวว่า มันเป็นของเก่าหรือที่เรียกว่า “ธรรมบันดาล” ที่พาให้พูดกล่าวไปได้เอง ความตั้งใจที่จะบวชเพียง 7 วัน ก็อยู่เลยเรื่อยมาจนอายุครบ 20 ปี พระอุปัชฌาย์จึงอุปสมบทให้ ณ วัดเพชรบุรี ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ โดยตั้งนามฉายาให้ใหม่ว่า พรหมปัญโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาดุจพรหม


    หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ เป็นพระธุดงค์ ถือสันโดษ โปรดสัตว์ จึงไม่ติดกับที่อยู่ หรืออมิสลาภ จึงได้ลาญาติโยม เพื่อจาริกแสวงบุญต่อเรื่อยมา ท่านเป็นผู้สันโดษอ่อนน้อมถ่อมตนยิ่งนักได้บังเกิดความเมตตาประสิทธิประสาทสรรพวิชา จนลุเลยข้ามดงสู่จังหวัดสารพัดไต่เขาและภูผา อาศัยหุบเขาข้างห้วยเอนกายาตกค่ำภาวนาตลอดไปยามสองจิตผ่องใส บังเกิดธรรมบันดาลพาพบไปกับพระอาจารย์ใหญ่องค์เทพเทวาได้ประสิทธิ์ประสาทวิชากว่าพันประการ

     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    การอุปสมบท ของ หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ

    เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่หงษ์ ตั้งใจมั่นขยันหมั่นเพียรศึกษาพระปริยัติธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า หลวงปู่เป็นผู้มีความวิริยะสูง จดท่องจำแม่นยำยิ่งนัก ทั้งฝักใฝ่หาความรู้ เพียรหาครูบาอาจารย์อย่างไม่ลดละแม้จะไกลไปยาก ก็อุตส่าห์ดั้นด้นเดินทางไป เพื่อให้ได้ความรู้กลับคืนมาเป็นรางวัล ด้วยปณิธานมั่นที่จะโปรดลูกหลานญาติโยมภายหน้า สืบไป


    ครั้นอุปสมบทได้แล้ว 3 พรรษา จึงกราบลาพระอุปัชฌาย์จาริกธุดงควัตรตามแบบฉบับแห่งพระบรมครู อาศัยอยู่ตามโคนไม้ นุ่งห่มใช้ผ้าเพียงสามผืน ทั้งถือที่สงบสัปปายะ เช่น ป่าช้าเป็นที่เจริญภาวนาเช้าค่ำ ขบฉันภัตตราหารเพียงมื้อเดียว ได้ท่องเที่ยวสู่เมืองขุขัน จ.ศรีสะเกษ


    เพราะเป็นเขตแห่งสรรพศาสตร์มนตรา จึงได้เข้าขอศึกษากับครูอาจารย์ที่เป็นทั้งฆราวาสก็ดี เป็นผู้ทรงศีลสมณะก็ตาม จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงขออนุญาตลากลับเพื่อจาริกธุดงค์สู่พรมเปญ กัมพูชาสืบไป


    ออกธุดงค์

    เมื่อธุดงค์ข้ามเขาเข้าเขตกัมพูชา อันเป็นที่ตระหนักดีอยู่แล้วว่าเป็นดินแดนแห่งอาณาจักรขอมถิ่นอาถรรพ์ เป็นที่รวมแห่งสรรพศาสตร์ ไสยเวทย์มนตรารุ่งเรืองนัก คงเป็นด้วยบุญบารมีเก่าหนุนนำ พาให้ได้พบกับครูบาอาจารย์เก่า เมื่อพบเห็นแล้วทุกครูอาจารย์ ต่างพึงพอใจในพระภิกษุหงษ์ พรหมปัญโญ ผู้สันโดษอ่อนน้อมถ่อมตนยิ่งนัก


    ได้บังเกิดความเมตตาประสิทธิประสาทสรรพวิชา ทั้งเวทย์มนแลคาถาเมตตา มหาเสน่ห์ กำบังภัยทั้งคุ้มครอง แคล้วคลาดกันอาวุธ ปืน หอก ดาบ ธนูหน้าไม้เขี้ยวงา ช้างเสือ หุงสีผึ้ง กันยาเบื่อ ทั้งคุณไสย ทำน้ำมนต์รดอาบต่างหายไป แม้นบ้าใบ้จิตหลอนก็อ่อนโยน จนลุเลยข้ามดงสู่จังหวัดสารพัดไต่เขาและภูผา อาศัยหุบเขาข้างห้วยเอนกายา ตกค่ำภาวนาตลอดไปยามสองจิตผ่องใส บังเกิดธรรมบันดาลพาพบไป


    กับพระอาจารย์ใหญ่องค์เทพเทวาได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาลงจารเสกปากกา อุปเท่มีคุณมากหนากว่าพันประการ ประทานเสร็จสอนจบครบตำรา พระพรหมปัญโญ ให้ปิติทั้งศรัทธา ตั้งจิตกราบครูบาแล้วเงยหน้าขอชมบารมี ทันทีที่ลืมตารูปท่านอาจารย์ใหญ่ก็จางหายทันที พระพรหมปัญโญ สุดที่จะเสียดายเพราะมิได้กล่าวคำว่าขอบคุณ แก่ท่านผู้กรุณาประสาทวิชา ครั้นล่องไพรในพนากลางป่าใหญ่


    [​IMG]

    อัศจรรย์ใจเป็นนักหนาเห็นเด็กร่างดำใหญ่ดุจศิลา พลางผลักทักทายมาแต่ใด กุมารดินล้มหงายหลัง แล้วตั้งตรงทดลองใหม่ ผลักล้มมาด้านหน้า ทดลองถึงสองครั้งให้ระอาจึงแสดงกายาสูงใหญ่ได้ห้าเมตร แสดงเสร็จให้เกิดศรัทธาแล้วสั่งสอนถึงวิธีการสร้างกุมารทองให้ถูกต้องตามตำรับฉบับครู ครั้นธุดงค์ผ่านเขาพนาไพร นานอยู่ได้เกือบขวบปี แวะผ่านที่หมู่บ้าน


    ณ หมู่บ้านนี้เองที่ชาวบ้านต่างกล่าวขานคุณงามความดีในวีรกรรมหลายๆสิ่งที่ไม่อาจลืมเลือนได้ จากหัวใจของทุกคน แม้หลวงปู่จะธุดงค์กลับประเทศไทยแล้วก็ตามจนขณะนี้หลวงปู่มีอายุย่าง 85 ปี จึงได้เดินทางไปเยี่ยมชาวกัมพูชา เมื่อชาวบ้านทราบข่าวว่าหลวงปู่จะมาต่างดีใจ ครั้นหลวงปู่ไปถึงชาวบ้านเกือบพันคนต่างนอนคว่ำเรียงราย


    ตั้งแต่ถนนจนถึงศาลา แล้วอาราธนาให้หลวงปู่เดินเหยียบบนหลังของเขาเหล่านั้น หลวงปู่จะไม่เดินชาวบ้านเขาก็ไม่ยอม กล่าวว่ายอมพร้อมพลีกายด้วยความเคารพบูชา หลวงปู่ขัดเขามิได้จึงยอมเดินบนหลังของเขาเหล่านั้น แม้แต่ผู้เฒ่าอายุราว 100 กว่าปี เมื่อทราบข่าวว่าหลวงปู่หงษ์ มาก็อุตส่าห์ลากไม้เท้าหลังงองกเงิ่นเดินทางมากราบบูชา


    ผู้ติดตามหลวงปู่ทุกคนต่างแปลกใจและถามว่าทำไมจึงศรัทธาองค์หลวงปู่ขนาดนี้ พวกเราทุกคนต่างก็ถึงบางอ้อ เพราะพ่อเฒ่าต่างเล่าให้ฟังว่า หลานเอ๋ย ถ้าวันนั้นหลวงพ่อไม่ได้อยู่กับเราแล้ว หมู่บ้านกรูทั้งหมู่บ้านก็แตกกระจายป่นปี้ไปแล้ว เพราะมันเป็นเรื่องแปลก ตาเองก็ไม่เคยเห็น ว่าลูกระเบิด และลูกปืนใหญ่ขนาดแตงโม


    มันตกมาบนหลังคาหญ้าแฝก แปลกที่มันไม่ทะลุหล่นลงมา กลับกลิ้งคลุกๆ ไปตามทางลาดชายคา พวกเราก็นึกว่าต้องตายแน่ๆ ถ้าลูกระเบิดตกกระทบกับพื้นดิน ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงดังตุ้บ! ปรากฏว่าลูกปืนจมดินเกือบครึ่งลูก แต่มันอัศจรรย์มาก หลานเอ๋ย มันไม่ระเบิด! เท่านั้นแหละเม็ดกรวด เม็ดหิน แม้แต่ดินใต้แคร่ไม้ไผ่


    หลวงปู่หงษ์ ธุดงค์จาริกแสวงบุญเรื่อยมายังเมืองพระตะบอง ขณะนั้น ชาวเมืองเกิดความเดือดร้อน ข้าวยากหมากแพง เกิดขโมย โจรชุกชุม แต่ยังมีกลุ่มโจรหนึ่งมีหัวหน้าเป็นสตรี มีลูกน้องกว่า 50 คน มีนามว่า “มะลิ” มะลิเป็นชื่อของสาวใหญ่ชาวเขมร ถือกำเนิด ณ เมืองพะตะบอง ในยุคนั้นแล้วต้องถือว่ามะลิเป็นสาวที่มีความงดงามที่สุด


    ความงามสมัยนั้นจะต้องมีผิวดำเป็นมัน ผมดำเงา มีความสง่าแฝงไปด้วยตะบะบารมีประดุจนางพญา เพราะนางนั้นมีสมุนพลพรรคบริวารประมาณกว่า 50 คน ทั้งนางและสมุนบริวารนั้นล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่ทางราชการของกัมพูชาต้องการตัวมากที่สุด เพราะมะลิและบริวาร มีอาชีพในการจี้ปล้น


    แต่ก็เป็นโจรที่มีคุณธรรม เพราะข้าวของที่ได้มาจากการปล้นนั้นนางได้แบ่งปันแล้วก็นำไปแจกจ่ายแบ่งต่อคนยากจนด้วย ซึ่งการจี้ปล้นแต่ละครั้ง จะปล้นจากคนรวยมาแบ่งคนจน หรือการจี้ปล้นแต่ละครั้งนั้นจะกระทำก็ต่อเมื่อพรรคพวกอดอยากไม่มีจะกินแล้ว จึงทำการปล้น ในการลูกสมุนออกปล้นแต่ละครั้ง นางมะลิจะทำพิธีเบิกทางโจร


    มรณะภาพ

    [​IMG]

    เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 5 มี.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ หรือ พระครูประสาทพรหมคุณ เกจิดังเมืองสุรินทร์ แห่งวัดสุสานทุ่งมนวัดเพชรบุรี ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ได้ละสังขารลงแล้ว ด้วยระบบไตไม่ทำงาน หลังนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ด้วยโรคชราซึ่งหลวงปู่หงษ์ป่วยด้วยโรคชรามานานหลายปีแล้ว โดยหลวงปู่เกิดวันพฤหัสบดีที่ 5 มี.ค.2460 มรณะ วันพุธที่ 5 มี.ค.57 สิริรวมอายุได้ 97 ปีบริบูรณ์สร้างความเศร้าสลดแก่ศิษยานุศิษย์และชาวจ.สุรินทร์ รวมถึงศิษยานุศิษย์ที่อยู่ทั่วประเทศเป็นอย่างยิ่ง


    ขอขอบคุณบทความประวัติเกจิอาจารย์ดังโดย ufabet.com
    :- http://www.hirotatomoyuki.com/main/หลวงปู่หงษ์-พรหมปัญโญ/
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2021
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พระคาถา3คำสั้นแต่ศักดิ์สิทธิ์มาก พลิกฟื้นชีวิตให้กลับมารุ่งเรืองได้อีกครั้ง ของหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ

    AKedOLScC8Kw0LJ3CJ4gmxR40oAzP0fpJnXVWcBbZk_h2Q=s48-c-k-c0x00ffffff-no-rj.jpg
    เรื่องเล่าผ่านกาลเวลา
    367,656 viewsAug 21, 2020
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่จันทา ธุดงค์ปาลึก |พบเสือ ช้างป่า | เรื่องเล่าจากพระธุดงค์

    ZfcPCWlxWMCpVij0pBmT5C_w6DtiJZqnBJUf_epuHdCdKgEjOHSzNeB2QFvrdVnqv6yKku=s48-c-k-c0x00ffffff-no-rj.jpg
    100 เรื่องเล่า

    Sep 18, 2021

    หลวงปู่จันทา ถาวโร แห่งวัดป่าเขาน้อย จังหวัดพิจิตร เป็นพระกรรมฐาน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านได้เล่าถึงประสบการณ์ ในการออกธุดงค์ ปฏิบัติสมาธิภาวนาในป่า เขา ที่ต้องผจญกับภยันตราย สิ่งลี้ลับ มหัศจรรย์ การตายแล้วฟื้นของท่าน รวมทั้งเรื่องประหลาด หลายๆ เรื่อง เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    964-5e6a.jpg
    ประวัติ หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด

    หลวงพ่อโอภาสี เดิมชื่อ ชวน มะลิพันธ์ ถือกำเนิดที่ บ้านตรอกไฟฟ้า อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ได้เล่าเรียนอักขระสมัยในสำนักวัดใต้ นครศรีธรรมราช แต่เนื่องจากวัดใต้ไม่มีสำนักเรียนในในสำนักวัดโพธิ์ สามเณรชวนจึงได้ถือกำเนิด ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์นี้เอง ในสำนักเรียนพระปริยัติในวัดโพธิ์สามเณรชวนเล่าเรียนปริยัติด้วยความขยันขัน แข็ง และฉลาดเฉลียวเป็นที่พอใจของเจ้าสำนักบาลีเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับออกปากว่าสิ้นประโยคนักธรรมในวัดแล้วจะส่งมาเรียนในกรุงเทพฯ ให้ถึงที่สุด สามเณรชวนได้รับการนำมาถวายตัวเป็นศิษย์ในองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรฌานวงศ์ซึ่งได้รับไว้ในพระอุปการะ และทรงทำการอุปสมบทให้เป็นภิกษุในพัทธสีมาวัดบวรโดยทรงนั่งเป็นพระอุปัชฌาย์ พระภิกษุชวนเล่าเรียนพระปริยัติจนสอบได้เปรียญ 7 ประโยค เข้ารับพระราชทานพัดจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรียกกันติดปากคนทั่วไปว่า มหาชวนเปรียญเอกหลังจากได้พบกับหลวงพ่อกบแล้ว พระมหาชวนก็เก็บตัวนั่งวิปัสสนาตลอดวัน ออกบิณฑบาต และฉันเช้าเพียงครั้งเดียว จะเปิดกุฏิก็ตอนบ่าย เปิดมาก็เอาสิ่งของต่างๆ มาเผา ตอนแรกก็น้อยๆ ก่อน คนจีนแถวบางลำพูเห็นเข้าก็เรียกท่านว่า เซียน จึงพากันมาถวายของให้เผาเป็นการใหญ่

    ข้อคิดเรื่องฉายาโอภาสี

    มีผู้นมัสการเรียนถามพระมหาชวนหลายต่อหลายคนด้วยกัน ด้วยคำถามที่ซ้ำๆ กันว่า " พระมหาชวนทำไมจึงเป็นโอภาสี " ท่านก็ตอบออกมาเหมือนกันทุกครั้งว่า " มหาชวนมรณภาพไปแล้ว ที่อยู่นี่คือ โอภาสี โอภาสี คือ ผู้ถวายเพลิงเป็นพุทธบูชา " " หลวงพ่ออายุเท่าใดแล้วขอรับ ” ใครคนหนึ่งถามด้วยความอยากรู้เป็นกำลัง หลวงพ่อโอภาสีตอบแบบให้กลับไปคิดว่า " ในโลกก็หกสิบปีแล้ว แต่อายุจริงนั้นอาตมาไม่รู้เลย มันเนินนานเป็นยิ่งนัก "

    หากจะวิเคราะห์กันถึงประเด็นนี้ ท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้เป็นสองนัยด้วยกันคือนัยแรก วิญญาณของมหาชวนเดิมนั้นถึงวาระต้องแยกจากสังขารด้วยการมรณภาพตามธรรมดาปกติ วิสัย แต่เมื่อวิญญาณมหาชวนออกไปแล้ว วิญญาณมหาชวนของเทพ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรสักอย่างได้มาสวมร่างของมหาชวนบำเพ็ญบารมีธรรมต่อ ไปท่านจึงบอกว่า อายุในโลกนั้นหกสิบ แต่อายุจริงนั่นไม่รู้ นัยที่สอง เป็นปริศนาธรรมว่า จะรู้อายุไปด้วยเหตุใดกัน หกสิบแล้วก็เท่านั้นแหละ มันไม่เห็นจำเป็นที่จะต้องมาเรียนรู้เลย แต่จากปากคำของผู้ที่เป็นศิษย์รับใช้มหาชวนตั้งแต่เริ่มมาอยู่วัดบวร ยืนยันว่า มหาชวนเดิมนั้นเป็นพระเรียบร้อย พูดจาเสียงเบาๆ และสำรวมมีสมณสารูปอันน่าเลื่อมใส สมกับเป็นมหาเปรียญเจ็ดประโยค

    แต่เมื่อเป็นโอภาสีแล้ว ผิดกันเป็นคนละคน พูดจาเสียงดัง และโฮกฮากมีอารมณ์ร้อนเหมือนไฟ เหมือนกันเป็นคนละคน แสดงให้เห็นว่า มหาชวนเดิมนั้นน่าจะตายไปจริงตามที่ท่านบอก และที่น่าประหลาดใจก็ คือ ตั้งแต่มหาชวนกลายเป็นหลวงพ่อโอภาสีนั้น จะสะสม พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้เต็มไปหมด และท่านก็เคยถ่ายภาพในอิริยาบถที่ประคองพระบรมรูปไว้หลายครั้งด้วยกัน ผู้เขียนนั้นออกจะเชื่อผู้ที่ว่า โอภาสี คือดวงวิญญาณดวงหนึ่งที่เข้ามาอาศัยสังขารของมหาชวนในการบำเพ็ญบารมี และน่าจะเป็นวิญญาณที่มาจากต่างมิติ และต่างภพ ซึ่งต้องการมาสร้างบารมีให้แก่กล้าในมนุษย์โลก

    ปาฏิหาริย์ครั้งสุดท้าย

    พุทธสมาคมแห่งประเทศอินเดียได้ทำจดหมายนิมนต์หลวงพ่อโอภาสีไปนมัสการสังเวช นียสถาน และให้ญาติโยมได้นมัสการอย่างใกล้ชิด หลวงพ่อรับจดหมายมาอ่าน ในจดหมายแจ้งกำหนดการให้หลวงพ่อไปอินเดียวันที่ 28 ต.ค.2498 แต่แล้วหลวงพ่อให้ศิษย์ตอบจดหมายไปว่าขอเลื่อนไปวันที่ 31 ต.ค. จะสะดวกกว่า จึงมีการเปลี่ยนหมายกำหนดการที่กำหนดไว้เดิมออกไป การไปอินเดียคราวนี้ องค์สรภาณมธุรส บ๋าวเอิง แห่งวัดสมณานัมวรวิหาร สะพานขาวได้ขอเดินทางร่วมไปกับหลวงพ่อโอภาสี โดยไปเรียนให้ทราบถึงสำนักสงฆ์บางมด หลวงพ่อโอภาสีได้ตอบว่า...“ ไม่ได้ดอกคุณ ไปคราวนี้อาตมาไปแบบพิสดารไม่มีพาสสปอร์ต ไม่มีใครไปด้วยเลยสักคน อีกอย่างหนึ่งคุณมีกิจธุระมากไปไม่ได้ จะห่วงหน้าพะวงหลังต่างๆ ”องค์สรภาณมธุรส บ๋าวเอิง ได้กล่าวกับศิษย์ใกล้ชิดว่า อาตมาสงสัยอยู่แล้วว่าจะต้องมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นแน่นอน แต่ไม่กล้าซักถามท่าน เกรงบารมีท่านจริงๆ ไม่งั้นคงถามให้รู้เรื่องไปเลย วันที่ 31 ต.ค. ที่ประเทศอินเดีย มิสเตอร์ ยี.อี.เอิร์ด นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศอินเดีย กำลังพักผ่อนอิริยาบถในบ้าน พลันที่ผนังเบื้องหน้าก็ปรากฏกลุ่มควันจางๆ พวงพุ่งขึ้น และจับกลุ่มกันหนาขึ้น ภายในกลุ่มควันนั้นปรากฏใบหน้าของหลวงพ่อโอภาสีขึ้น ใบหน้าของท่านดูแจ่มใสมีรัศมีกระจายออกมาอย่างสวยงาม ท่านยิ้มให้ มร.เอิร์ด อย่างเมตตา พลันกลุ่มควัน และภาพของท่านก็มลายหายไปทันที มร.เอิร์ด

    ซึ่งเคยได้ข่าวว่าหลวงพ่อจะมาอินเดียแบบพิสดารจากท่าน บ๋าวเอิง ก็รู้สึกว่า น่าจะมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นแน่ๆ ครั้นตอนสายหน่อยกำลังจะออกจากบ้าน คนรับใช้ก็เข้ามาเรียนบอกว่า มีนักบวชในศาสนาพุทธมาคอยพบอยู่ที่ห้องรับแขก มร.เอิร์ด จึงรีบออกไปพบในห้องรับแขกนั้นเอง ร่างของหลวงพ่อโอภาสีนั่งคอยอยู่ มร.เอิร์ด เข้าไปกราบแทบเท้าท่านด้วยความเคารพ ทำไมหลวงพ่อไม่บอกล่วงหน้า ถึงเวลาที่จะมาจะได้เอารถไปรับจากสนามบิน หลวงพ่อเดินทางมาที่บ้านผมลำบากมากไหม ไม่ลำบากเลย สบายมากฉันมาตามคำพูดของฉันให้คุณได้ประจักษ์ว่า คำพูดของโอภาสีเชื่อถือได้ ฉันลองบอกว่าจะมาแล้วละก็ อะไรก็ห้ามฉันไม่ได้ ฉันมาแล้วละ เธอสบายใจได้ มร.เอิร์ด จึงให้นำน้ำชามาต้อนรับหลวงพ่อโอภาสี และขอตัวไปเตรียมตัวจะเอารถพา หลวงพ่อโอภาสีไปเที่ยวชมภายในเมือง แต่หลวงพ่อโอภาสีได้กล่าวเป็นคำสุดท้ายว่า... ไม่ต้องวุ่นวายหรอกคุณ ฉันเพียงแต่มาให้เห็นเท่านั้นแหละ ไม่ต้องวุ่นวาย มร.เอิร์ด หายไปเพียงสิบนาที ก็พร้อมที่จะนิมนต์หลวงพ่อขึ้นรถ แต่พอมาที่ห้องรับแขก ร่างของหลวงพ่อโอภาสีก็ไม่มีอยู่แล้ว จึงออกไปดูหน้าบ้านก็ไม่พบอีก จึงเรียกคนรับใช้มาสอบถาม คนรับใช้ก็บอกว่า นั่งมองดูหน้าบ้านเป็นเวลานานแล้วไม่เห็นมีพระออกมาเลย มร.เอิร์ด รู้สึกใจหายวาบไม่ยอมออกจากบ้าน เพราะเกรงว่า หลวงพ่ออาจมาเตือนอันตราย แต่แล้วในตอนบ่ายสามโมง โทรเลขด่วนก็มาถึง มร.เอิร์ด พอฉีกโทรเลขออกอ่าน มร.เอิร์ด ก็เข่าอ่อนทรุดลงนั่งอย่างหมดแรง ข้อความในโทรเลขมีใจความว่า... “ หลวงพ่อโอภาสีมรณภาพเวลา 07.30 น. วันที่ 31 กำหนดการงดทั้งหมด ”

    หลวงพ่อโอภาสีมรณภาพตอน 07.30 น. แล้วภาพในกลุ่มควันนั้นเป็นอะไรกันแน่ มร.เอิร์ด รู้สึกเหมือนถูกทุบหัวด้วยตะลุมพุกแล้วหลวงพ่อโอภาสีที่ได้คุยกันอยู่เมื่อ ครู่มาได้อย่างไรกัน นอกจากจะเป็นกายทิพย์ของหลวงพ่อโอภาสี มร.เอิร์ด รีบจองเที่ยวบินที่ด่วนที่สุดเดินทางมาบางมด เมื่อมาถึง...ก็ได้พบศพของหลวงพ่อโอภาสีนอนมรณภาพ มีมุ้งกางไว้เหมือนคนนอนหลับร่างกายไม่แข็ง แต่นิ่มเหมือนคนนอนหลับทั่วๆ ไป เรื่องราวของหลวงพ่อโอภาสี ไปปรากฏร่างถึงอินเดียจึงปรากฏขึ้นจากปากของ มร.เอิร์ด เสียงร่ำไห้ของศิษย์จึงดังระงมขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ศพของหลวงพ่อโอภาสียังไม่ได้เผา ตั้งไว้ที่วัดโอภาสีบางมด จนถึงทุกวันนี้ และไม่เน่าไม่เปื่อย กลับแข็งเป็นหินโดยตลอด สมกับเป็นผู้อุดมด้วยศีลาจารวัตรผู้มาจากต่างมิติสวมร่างของมหาชวน ซึ่งสิ้นบุญมรณภาพไปในช่วงแห่งความตายที่วัดบวรนิเวศวิหาร ก่อนหน้ามรณภาพในต้นปี 2498 นั้น คณะศิษย์ได้ขออนุญาตสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญหลวงพ่ออนุญาต แต่ได้สั่งว่า “ เหรียญนี้จะไม่มีรูปโอภาสี เพราะในโลกนี้จะไม่มีโอภาสีอีกต่อไป ครุ คือ อำนาจเสมากับอุณาโลม และรัศมีคือตัวโอภาสีอีกต่อไป ”

    เหรียญรุ่นสุดท้าย คือ เหรียญครุฑแยกเสมา อันเป็นเหรียญรุ่นแรก และ รุ่นเดียวที่ไม่มีรูปหลวงพ่อโอภาสี แม้หลวงพ่อโอภาสีจะมรณภาพไปเป็นเวลาเกือบ 39 ปีแล้ว แต่ศิษย์ไม่เคยลืมเลือนควากตัญญูมีการจัดงานสรงน้ำรูปหล่อ และแห่รูปหล่อของหลวงพ่อเป็นประจำ และต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลวงพ่อโอภาสีไม่เคยจากไปไหนเลย แต่อยู่กับพวกเราตลอดกาลนาน ท่านจะคอยดูแลพวกเราเสมอตราบเท่าที่พวกเรายังมีความเคารพในองค์ท่านอยู่ ทุกลมหายใจ มหาชวน มะลิพันธ์ กลายเป็นโอภาสี และโอภาสีได้กลายเป็นพุทธบุตรที่เปี่ยมด้วยพลังเทพต่างมิติ ทุกวันนี้ปัญหาที่ขบไม่แตกก็คือ ท่านหลวงพ่อโอภาสีเป็นใครนักบุญ ผู้มาจากต่างกาลเวลา หรือพระพุทธบุตรผู้มีมหาอภิญญาจิต ท่านผู้อ่านคิดว่าหลวงพ่อโอภาสีเป็นใครกันแน่

    คาถาของหลวงพ่อโอภาสีที่ท่านได้มอบให้ศิษย์หมั่นท่องบ่นภาวนาได้เป็นประจำวันว่า...

    “ อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง ”

    สวด อยู่กับบ้านป้องกันอันตราย สวดก่อนออกจากบ้านคุ้มกันอันตรายตลอดการเดินทาง ไปต่างถิ่นสวดป้องกันอันตรายต่างๆ ทั้งจากเทวดา และภูตผีปีศาจทั้งหลาย เดินไปในทางเปลี่ยวหยุดภาวนาที่ต้นไม้ใหญ่ หรือ ศาลเจ้าเรียกให้ท่านช่วยติดตามปกป้องภัยได้อีกด้วย เรียกว่า คาถาสำเร็จแห่งหลวง
    ข้อมูลอ้างอิงจาก : buddhakhun.org
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    970-8cf4.jpg

    หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด

    พระผู้บูชาไฟ-เผากิเลสในใจมนุษย์

    เวบหนังสือพิมพ์สยามรัฐ - 3/12/2548

    สมัยสงครามอินโดจีน พระเกจิอาจารย์ดังหลายรูปต่างเป็นที่พึ่งทางกายและใจของบรรดาทหารหาญ และชาวบ้าน ดังนั้น วัตถุมงคล-เครื่องรางของขลังของพระเกจิในยุคนั้น จึงโด่งดังมาจนทุกวันนี้ และมีมูลค่าในการเช่าหาที่ค่อนข้างสูง

    “ผ้าประเจียด” ของ “หลวงพ่อโอภาสี แห่งอาศรมบางมด กทม.” เป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้คนสมัยนั้น เพราะมีคุณานุภาพอันวิเศษยิ่ง

    ท่านจัดพิธีปลุกเสกที่วัดบวรนิเวศฯ โดยอาราธนาพระเถระผู้ทรงวิทยาคมมาร่วมพิธีด้วย 3 รูปคือ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา และหลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ฉะเชิงเทรา เมื่อทหารนำไปใช้ปฏิบัติการในสมรภูมิ ปรากฏว่ายิงไม่ออกบ้าง ยิงไม่ถูกบ้าง ข้าศึกเห็นทหารไทยก็พากันเสียขวัญ ถึงขนาดตั้งฉายาให้ว่า “ทหารผี” ไม่เพียงเท่านั้น พระเครื่องต่างๆ ของท่าน ยังสร้างประสบการณ์ให้ผู้คนร่ำลือมากมาย และเชื่อในความขลังไม่รู้คลาย

    หลวงพ่อโอภาสี เป็นศิษย์เอกรูปหนึ่งของหลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกา จ.นครนายก ซึ่งสำเร็จทางเตโชกสิณ มีนามเดิมว่า “ชวน” เป็นชาว จ.นครศรีธรรมราช บุตรของนายมิตร นางล้วน นามสกุล “มลิวัลย์” อายุได้ 5 ขวบ บิดาและมารดานำไปฝากไว้กับอาจารย์ ณ สำนักวัดใต้ เพื่อที่จะได้เล่าเรียนหนังสือ ก่อนจะนำไปฝากบวชเป็นสามเณร ณ สำนักวัดโพธิ์ โดยมีท่านอาจารย์ที่วัดนี้เป็นพระอุปัชฌาย์

    เล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่เป็นเวลานานพอสมควรจนความรู้แตกฉาน จึงได้ลาบิดาและมารดาเดินทางมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ โดยฝากตัวเป็นศิษย์ของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ศึกษาได้ระยะหนึ่งจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเล่าเรียนทางด้านพระพุทธศาสนาในวิชาการต่างๆ เป็นเวลานานหลายปี จึงได้เข้าสอบไล่แปลพระปริยัติธรรม สอบได้เปรียญ 3 ประโยค กระทั่งถึงเปรียญ 7 ประโยคตามลำดับ

    ท่านมหาชวนได้เป็นที่เคารพของประชาชน ทำให้คนรู้จักท่านมากขึ้น เพราะเห็นว่าการปฏิบัติภารกิจประจำวันของท่านเริ่มเปลี่ยนไป เพราะแทนที่จะนั่งหลับตาภาวนาเหมือนกับพระเกจิอาจารย์อื่นๆ แต่ท่านกลับบูชาเพลิงพร้อมกันไปด้วย ไม่ว่าของสิ่งนั้นจะเป็นทรัพย์สินเงินทองมีค่าใดๆ ก็ถูกนำเอาไปโยนเข้ากองไฟเสียหมด ไม่มีการเสียดายด้วยประการใดทั้งสิ้น แม้ท่านจะเผาไปมากเท่าใด ก็มีผู้ศรัทธานำไปถวายให้เผามากยิ่งขึ้น

    สิ่งของที่ท่านนำไปบูชาเพลิงนั้น หากท่านผู้ใดต้องการจะขอ ท่านก็ยินดีให้ การกระทำของท่าน ประชาชนจึงนำไปวิพากษ์วิจารณ์กันทั่วกรุง บางคนก็มองในแง่อัศจรรย์ ซึ่งไม่เคยพบเห็น

    บางคนก็คิดว่าท่านวิกลจริต เพราะได้เห็นท่านมุ่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยจะจุดธูปเทียนบูชาพระมีควันตลบอบอวนไปทั่วห้อง ทำให้บางคนคิดว่าไฟกำลังไหม้กุฏิของท่าน

    แต่เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ จะเห็นท่านนั่งสงบอยู่ที่หน้าบูชาพระในลักษณะของผู้ที่กำลังทำสมาธิ จึงจะเข้าใจว่าท่านเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยที่ตัวท่านเองไม่มีความกังวลใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะยึดมั่นความสันโดษเป็นที่ตั้ง และท่านจะฉันอาหารเพียงมื้อเพลมื้อเดียวเท่านั้น

    สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ที่หน้าโต๊ะบูชาในกุฏิของท่านและบริเวณรอบๆ จะเต็มไปด้วยพระบรมรูปหล่อ และพระบรมรูปฉายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นจำนวนมากมาย ทุกวันเมื่อฉันเพลเสร็จท่านจะเข้าห้องเพื่อทำสมาธินานจนกระทั่งถึง 4 โมงเย็น หลังจากนั้นก็จะไปทำวัตรสวดมนต์เย็นในโบสถ์ เสร็จแล้วก็จะกลับเข้าห้องบำเพ็ญภาวนาทำสมาธิต่อไปจนเช้าของอีกวันหนึ่ง

    เมื่อท่านปฏิบัติเช่นนี้นานเข้า ได้มีผู้ที่เคารพไปหา ท่านมักจะกล่าวเสมอๆ ว่า “มหาชวนนั้นตายไปแล้ว อาตมาไม่ใช่มหาชวน”

    แต่ถ้าถามถึงอายุ ก็จะได้รับคำตอบว่า “อายุของอาตมานั้นไม่ทราบ แต่เวลานี้ 60 ปีเศษแล้ว” ทุกคนที่ได้ฟังต่างก็แปลกใจและตีความหมายไม่ออก จึงทำให้มีผู้เชื่อกันไปว่า หลวงพ่อโอกาสีมิใช่ตัวของมหาชวนโดยแท้จริง แต่เป็นวิญญาณของเทพเจ้าหรือผู้วิเศษองค์หนึ่งที่มาอาศัยร่างของมหาชวนอยู่เท่านั้น

    ประมาณปีพ.ศ. 2484 หลวงพ่อโอภาสีได้ออกจากสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร นัยว่าเสด็จพระอุปัชฌาย์ไม่ทรงโปรดการกระทำของท่าน และได้จาริกธุดงค์ไปยังจังหวัดต่างๆ จนพบกับองค์พจนสุนทร พระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในการค้นคว้าเรื่องวิญญาณ และได้รับคำแนะนำให้ไปอยู่ที่ ต.บางมด อ.บางขุนเทียนซึ่งมีศาลเจ้าอยู่ด้วย

    เมื่อเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าวก็เกิดความพอใจและได้ปักกลดลงในที่ของนายเนียม คหบดี ซึ่งเป็นผู้ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาคนหนึ่งในย่านนั้น ในตอนกลางคืน ท่านได้ใช้ความสงบวิเวกในบริเวณสวนนี้ทำกิจของท่านด้วยการนั่งหลับตาพนมมือเข้าสมาธิอยู่ใกล้กับกองไฟที่ท่านสุมไว้อย่างสว่างไสว

    ต่อมาเจ้าของสวนและชาวบ้านละแวกนั้นได้เรียกชื่อท่านว่า “หลวงพ่อโอภาสี” และได้พร้อมใจกันสร้างกุฏิเล็กๆ ถวายเพื่อป้องกันแดดฝน แต่ท่านก็ไม่ได้สนใจมากนัก และก็ยังคงเคร่งครัดการสุมไฟไว้ตลอดทั้งคืนเช่นเดิม

    ในเวลาต่อมา การก่อไฟของหลวงพ่อได้กลายมาเป็นการเผาจตุปัจจัยสิ่งของต่างๆ ที่ประชาชนนำมาถวาย เป็นต้นว่า ธนบัตรนับจำนวนหมื่นๆ ผ้าที่ประชาชนนำมาทอดเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องกระป๋อง หรือแม้แต่เครื่องประดับต่างๆ ก็โยนเข้ากองเพลิงทั้งสิ้น

    เหล่าชาวบ้านที่รู้จุดประสงค์ของท่านก็ต่างนำน้ำมันก๊าซไปถวายเพื่อใช้ในการเผาปัจจัยต่างๆ นั่นเอง ซึ่งหลวงพ่อเคยกล่าวว่า

    “โดยปกติ แสงไฟที่เผาผลาญสรรพสิ่งอื่นๆ จนมอดไหม้เป็นเถ้าถ่านไปนั้นก็จัดเป็นธาตุที่มีความร้อนสูงอยู่แล้ว แต่ทว่าจิตใจของมนุษย์เรายังมีความร้อนยิ่งไปกว่า กล่าวคือ ร้อนด้วยความโลภ โกรธและหลง ไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น การที่อาตมานำเอาจตุปัจจัยไทยทานทั้งหลายที่มีผู้นำมาถวายมาเผาเสียเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นพุทธบูชาขอให้ช่วยดับความร้อนในกายใจของมนุษย์ให้หมดไป หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ เผากิเลสทั้งหลายให้หมดไปนั่นเอง”

    หลวงพ่อโอภาสีมรณภาพไปเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2498 เป็นเวลาเกือบ 60 ปีแล้ว แต่สังขารยังมิได้มีการเผา ยังคงอยู่ในสวนอาศรมบางมด มีพุทธศาสนิกชนผู้เคารพศรัทธาไปกราบไหว้บูชามิได้ขาด ประหนึ่งท่านยังมีชีวิตอยู่
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    967-0ece.jpg
    พระกริ่งอรหัง ๒๔๙๘ วัดราชบพิธฯ ชนวนทองพันปีหลวงพ่อโอภาสี


    เกร็ดประวัติหลวงพ่อโอภาสี

    โดย แล่ม จันท์พิศาโล

    ข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/column/pra/2004/07/15/02.php

    พระกริ่งอรหัง ๒๔๙๘ เป็นพระกริ่งที่วงการพระเครื่อง ส่วนหนึ่ง เช่าหากันในนาม พระกริ่งหลวงพ่อโอภาสี ทั้งนี้เนื่องจากได้รับ ทองชนวน (ทองเก่าพันปี) จากหลวงพ่อโอภาสี มาเป็นส่วนผสมในการหล่อสร้างด้วย

    พระกริ่งอรหัง เป็นองค์พระพุทธปฏิมากร ที่ได้จำลอง มาจากองค์ พระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธฯ คือ "พระพุทธอังคีรส" และได้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดราชบพิธฯ โดยมีพระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป นั่งปรกปลุกเสก

    ความเป็นมาของ พระกริ่งอรหัง นี้ อาจารย์ ส.พลายน้อย ได้เขียนไว้ในตอนหนึ่ง ของประวัติ หลวงพ่อโอภาสี...ว่า

    จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในเรื่องกฤตยาคมอยู่มาก โดยเฉพาะท่านมีความเคารพศรัทธาเลื่อมใส หลวงพ่อโอภาสี และเคยได้รับครอบน้ำมนต์สำหรับเก็บใส่น้ำล้างหน้าจากหลวงพ่อโอภาสีไว้ด้วย

    ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มียศ พลเอก ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ท่านได้สร้าง พระกริ่งอรหัง ไว้รุ่นหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื่องจากในปีนั้นท่านมีอายุครบ ๔ รอบ ๔๘ ปี จึงเห็นว่า ควรจะสร้างพระพุทธปฏิมากร องค์พระประธานไว้ในบวรพุทธศาสนาสักองค์หนึ่ง

    พอดีกับในขณะนั้น ทาง วัดสุวรรณจินดาราม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี กำลังวางรากโบสถ์ และยังไม่มีองค์พระประธาน พลเอกสฤษดิ์ จึงตกลงใจสร้าง พระประธานถวาย โดยได้ปรึกษากับ พระธรรมปาโมกข์ (สมเด็จพระสังฆราช-วาสน วาสโน) และ พระครูอาทรธรรมานุวัตร วัดราชบพิธฯ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่พลเอกสฤษดิ์มีความเคารพนับถืออย่างยิ่ง

    พระพุทธรูปที่สร้างนี้เป็นแบบขัดสมาธิ แบบสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๒ ศอก ประกอบพิธีหล่อที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม. เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ย. ๒๔๙๘ และได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า

    พระพุทธสยมภูพรรณพิจิตร

    พร้อมกันนั้น ท่านก็ได้จัดสร้าง พระกริ่งอรหัง โดยจำลองรูปแบบจากองค์พระประธานในพระอุโบสถ วัดราชบพิธฯ คือ พระพุทธอังคีรส

    พระกริ่งอรหัง ที่สร้างมีจำนวน ๑๐,๐๐๙ องค์ และพระคะแนน ซึ่งเป็น พระกริ่ง ๒ หน้าเหมือนกัน อีกจำนวน ๑๐๐ องค์

    ในการสร้างพระ-เททองผสมโลหะ-หล่อพระในคราวนั้น คณะกรรมการตกลงกันว่า จะว่าจ้างทีมสร้างและหล่อพระของ นายช่างฟุ้ง บ้านช่างหล่อ ไปปั้นหุ้นถอดแบบพระกริ่งและเทผสมโลหะหล่อพระในมณฑลพิธีภายในบริเวณวัดราชบพิธฯ

    สำหรับแผ่นโลหะ ทองคำ เงิน นาก ทองแดง ทองเหลือง ได้ลงอักขระเลขยันต์ โดยพระคณาจารย์จากทั่วเมืองไทย ประมาณกว่า ๑๐๘ แผ่น เท่าที่มีหลักฐานแน่นอน คือ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ พระสังฆราช (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระวันรัต สังฆนายก (สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ปลด กิตติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร, หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด, พระภาวนาโกศลเถระ (พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อสด) วัดปากน้ำ, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, พระครูวินิตศีลคุณ (หลวงพ่อลา) วัดโพธิ์ศรี จ.สิงห์บุรี เป็นต้น

    สำหรับ หลวงพ่อโอภาสี ท่านได้บริกรรม ทองชนวน ให้กับพลเอกสฤษดิ์ไว้ผสมกับทองที่จะหล่อพระประธาน และพระกริ่งอรหังครั้งนั้นไว้ด้วย โดยท่านบอกว่าเป็น "ทองเก่าพันปี"

    พิธีผสมโลหะหล่อพระและพิธีพุทธาภิเษกฯ ได้ประกอบกันที่วัดราชบพิธฯ เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ย. ๒๔๙๘ ปีมะแม เวลา ๐๙.๒๕ น. เป็นเวลาปฐมฤกษ์ เป็นการจัดพิธีทั้งหมดให้สำเร็จเสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน โดยใช้เวลาตลอดทั้งวันทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า โดยมีพระครูอาทรธรรมานุวัตร เป็นผู้ดำเนินการฝ่ายพระสงฆ์, พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโนทัย) วัดสระเกศ เป็นประธานเจริญชัยมงคลคาถา และพระคณาจารย์ร่วมบริกรรมคาถา นั่งปรกปลุกเสก ภายในบริเวณพิธี

    อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงปู่ธูป วัดแค นางเลิ้ง, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิศ, หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร, พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส, ท่านพ่อลี วัดอโศการาม, หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อเสงี่ยม วัดสุทัศนฯ, เจ้าคุณศรีฯ (ประหยัด) วัดสุทัศนฯ, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง, หลวงพ่อมิ่ง วัดกก, เจ้าคุณผล วัดหนัง, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว ฯลฯ

    หลังจากนั้นพลเอกสฤษดิ์ ได้ถวายพระกริ่งอรหัง แด่สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น นพวงศ์) วัดบวรฯ จำนวนหนึ่ง ถวายพระครูอาทรฯ จำนวนหนึ่ง เพื่อแจกแก่ผู้ร่วมทำบุญในครั้งนั้น และอีกจำนวนหนึ่งได้ถวายให้วัดสุวรรณจินดาราม อ.ลาดหลุมแก้ว ส่วนที่เหลือพลเอกสฤษดิ์ได้แจกจ่ายแก่บรรดาญาติสนิทมิตรสหาย และเหล่าบรรดาทหารทั้งหลายที่ใกล้ชิด เนื่องในโอกาสทำบุญวันคล้ายวันเกิดอายุ ครบ ๔๘ ปี ของท่าน

    พระกริ่งอรหัง ในส่วนของพระครูอาทรฯ ท่านได้แจกไปส่วนหนึ่งและเหลืออยู่อีกส่วนหนึ่งประมาณ ๑๕๐ องค์ ท่านได้มอบให้กับ พระครูวิบูลธรรมธัช วัดราชบพิธฯ เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อให้ศรัทธาสาธุชนได้ร่วมกันทำบุญเช่าบูชา นำปัจจัยถวายวัดราชบพิธฯ ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนเพื่อการศึกษาของเยาวชนในท้องที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

    ขนาดขององค์ พระกริ่งอรหัง กว้าง ๒.๐ ซม. สูง ๓.๕ ซม. เป็นเนื้อโลหะผสม ...ติดต่อสอบถามได้ที่ พระครูวิบูลธรรมธัช โทร. ๐-๒๒๒๑-๑๘๘๘, ๐-๑๙๓๐-๖๓๘๘ หรือที่ "มด" โทร. ๐-๖๕๖๕-๕๒๗๔

    พระกริ่งอรหัง นี้ อาจารย์ ส.พลายน้อย ได้เขียนไว้ว่า...สร้างขึ้นด้วยพิธีแบบลงเลขยันต์และพิธีพุทธาภิเษก เพื่อให้ทรงคุณพระทั้งฝ่าย พระเดช และ พระคุณ

    ในฝ่ายพระเดช ทำหน้าที่กำจัดและป้องกันส่วนเสีย จึงแสดงผลดีในเชิงคงกระพันชาตรี อยู่คงคมศัตราวุธ แคล้วคลาด ปลอดภัย เพราะแสดงอำนาจปราบสิ่งตรงกันข้ามให้สลาย

    ในฝ่ายพระคุณ ทำหน้าที่รักษาและก่อส่วนดี จึงแสดงผลดีในทางให้เกิด เมตตา มหานิยม ศรีสวัสดี ลาภสักการะ ความสำเร็จ เพราะแสดงอำนาจ ฝ่ายสร้างความดี

    เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะนำ พระกริ่งอรหัง ติดตัวไปไหน จึงควรทำใจให้เลื่อมใสและเชื่อมั่นจริงๆ ในคุณพระ แล้วอาราธนาด้วยพระคาถา

    "อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวี คงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง"

    พระคาถานี้ หลวงพ่อโอภาสี ได้นำมาจารึกไว้หลังเหรียญกลมที่สร้างครั้งแรก ที่มีรูปสวัสติกะ (๒๔๙๕)

    นั่นคือข้อความส่วนหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในประวัติของหลวงพ่อโอภาสี

    อนึ่ง ตามที่เคยมีผู้เข้าใจกันว่า พระกริ่งอรหัง รุ่นนี้ หลวงพ่อโอภาสี ได้ปลุกเสกให้ด้วยนั้น เป็นความเข้าใจผิด ทั้งนี้เนื่องจากวันประกอบพิธีที่วัดราชบพิธฯ คือ วันที่ ๑๔ พ.ย. ๒๔๙๘ ซึ่งทางคณะกรรมการได้นิมนต์ หลวงพ่อโอภาสี ไปร่วมนั่งปรกปลุกเสกด้วย ตามความประสงค์ของ พลเอกสฤษดิ์ โดยตรง แต่พอดี หลวงพ่อโอภาสี ได้มรณภาพเสียก่อน คือ ท่านได้มรณภาพในตอนเช้าของ วันที่ ๓๑ ต.ค. ๒๔๙๘ ก่อนพิธี ๑๖ วันเท่านั้น (ในปัจจุบันสรีระของหลวงพ่อโอภาสียังคงอยู่ที่วัดหลวงพ่อโอภาสี บางมด)

    อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคารพเลื่อมใสใน หลวงพ่อโอภาสี ต่างก็ให้ความศรัทธาเช่าหา พระกริ่งอรหัง รุ่นนี้กันมาก เพราะถือว่ามีส่วนผสมของ "ทองเก่าพันปี" ที่หลวงพ่อโอภาสี ได้ปลุกเสกไว้แล้วนั่นเอง

    อีกทั้งยังมีพระคณาจารย์เก่งๆ ในสมัยนั้นลงจารแผ่นทองชนวนและร่วมนั่งปรกปลุกเสกหลายท่านด้วยกัน จึงมีความเชื่อกันว่าเป็นพระกริ่งที่มีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยเลยทีเดียว

    และถ้าหากจะนับถึงความเก่า "พระกริ่งอรหัง" มีอายุการสร้างมาแล้ว ๔๙ ปี นับว่าเป็นพระกริ่งเก่าพอสมควรอีกรุ่นหนึ่งที่น่าสักการบูชาเป็นอย่างยิ่ง
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    969-6642.jpg
    อภินิหารของหลวงพ่อโอภาสี


    เกร็ดประวัติหลวงพ่อโอภาสี
    คัดจากหนังสือคุณทองทิว สุวรรณทัต
    โพสท์ใน http://www.thaimisc.com/ กระทู้ที่ 00181 โดย ยุ [2 ก.ค. 2545 ]
    บรรดาเกจิอาจารย์ทั้งหลายซึ่งมีอภินิหารหรือคุณธรรมอันวิเศษที่มรณภาพไปแล้วนั้น ถ้าใครเอ่ยถึง หลวงพ่อโอภาสี ก็คงจะอดอัศจรรย์ในคุณวิเศษอันสืบเนื่องจากผลการปฏิบัติของท่านไม่ได้ และด้วยเหตุนี้จึงมีผู้อ่านหลายท่านขอให้ผู้เขียนนำประวัติของท่านมาเล่าสู่ให้ฟังกันบ้าง

    ระหว่างปี 2484-2485 ผู้เขียนยังเรียนหนังสืออยู่จำได้ว่าผู้คนทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงพากันไปชุมนุมที่หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร นับแต่ถนนหน้าวัดบวรฯไปจนจรดตลาดบางลำพูมีคนเข้าแถวเต็มไปหมด ได้ความภายหลังว่ามารอหลวงพ่อโอภาสี แจกพระเครื่องที่ท่านทำพิธีปลุกเสก

    ในครั้งนั้น ชื่อเสียงของ หลวงพ่อโอภาสี โด่งดังไปทั่งสารทิศ เพราะพิธีกรรมของท่านแปลกพิสดารเกินกว่าคนธรรมดาจะกระทำได้ กล่าวคือ ท่านขนเอาสมบัติพัสถานในกุฏิของท่าน ไม่ว่าจะเป็นตู้โต๊ะ หนังสือตำรา ถ้วยโถโอชามอันเป็นของเก่าแก่มีราคา ตลอดจนกองธนบัตรที่มีคนมาถวาย มากองสุม ณ บริเวณสนามหญ้า แล้วจุดไฟเผาท่ามกลางความตกตะลึงของพระภิกษุสามเณร และผู้คนที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง พอไฟมอดลงแล้วท่านก็เดินหายไปในกุฏิเพื่อสวดมนต์ภาวนาของท่านต่อไป

    การประกอบพิธีกรรมอันประหลาดของท่านซึ่งมีติดต่อกันหลายครั้งในสมัยนั้น ทำให้วัดบวรนิเวศวิหารพลุกพล่านไปด้วยผู้คนเป็นประวัติการณ์ จึงเป็นเหตุให้หลวงพ่อโอภาสีต้องออกจากวัดบวรฯในเวลาต่อมา และในที่สุดท่านก็ไปอยู่ที่อาศรม ณ ตำบลบางมด

    เรื่องราวอันน่ามหัศจรรย์ของพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีความรู้ในพระธรรม พระวินัย จนสอบได้เปรียบแปดประโยคท่านนี้ ผู้เขียนได้พยายามรวบรวมเรื่องราวของท่านจากหนังสือบางเล่ม และจากท่านผู้รู้บางท่าน พอได้ใจความมาเสนอดังต่อไปนี้

    หลวงพ่อโอภาสี หรือ พระมหาชวน โอภาสี (ป.เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2441 เรียนหนังสือจบขั้นมัธยมปีที่ 6 แล้วบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบได้นักธรรมโทจึงเดินทางมาศึกษาบาลีควบคู่ไปกับนักธรรมเอก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ จนสอบได้เปรียญ 8 ประโยค จากนั้นได้หันมาปฏิบัติตามลำพัง เป็นสำคัญกระทั่งในวันหนึ่งท่านได้ประกาศว่า

    "มหาชวนนั้นตายไปแล้ว บัดนี้เหลือแต่โอภาสีผู้ปรารถนาในความหมดสิ้นจากอาสวะทั้งหลาย"

    ท่านเจ้าคุณราชธรรมนิเทศ เคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า

    "มีสิ่งที่น่าประหลาดอยู่เรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวกับหลวงพ่อโอภาสีเห็นเขาพูดกันว่า เมื่อครั้งท่านยังเป็นพระมหาชวนนั้นที่แก้มซีกขวาของท่านยังไม่มีไฝฝ้า แต่ครั้นมาเป็นหลวงพ่อโอภาสีกลับมีปานดำขึ้นที่แก้มจนเห็นได้ชัด ไม่ทราบว่าปานนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะคนเรามักจะมีปานหรือไฝก็มีกันแต่เล็กแต่น้อย นี่ท่านเป็นผู้ใหญ่แล้ว อายุตอนนั้นประมาณ 40 ทำไมปานเกิดขึ้นมาได้ก็ไม่ทราบ"

    เกี่ยวกับเรื่องอภินิหารของหลวงพ่อโอภาสีนั้นดูจะมีหลายประการ โดยเฉพาะได้แก่การมีหูทิพย์ ตาทิพย์ และวาจาสิทธิ์ ท่านกล่าวคำใดออกมาไม่ใคร่จะพลาดจากคำนั้น ซึ่งอาจจะสืบจากผลการปฏิบัติอย่างแรงกล้าของท่านก็เป็นได้

    มีเรื่องเล่าว่า เคยมีสุภาพสตรีสูงอายุท่านหนึ่ง มีความศรัทธาหลวงพ่อโอภาสีเหลือเกิน ถึงแก่ปรารภกับญาติพี่น้องที่บ้านว่า อยากได้เส้นผมของหลวงพ่อไว้บูชา ครั้นต่อมาสุภาพสตรีท่านนั้นไปนมัสการหลวงพ่อ พอก้มลงกราบ ยังไม่ทันจะกล่าวอะไรหลวงพ่อก็ยกมือจับเส้นผมของท่าน พร้อมกับบอกว่า

    "ผมของอาตมาสั้นออกอย่างนี้ จะตัดไปให้โยมได้อย่างไร"

    สุภาพสตรีท่านนั้นถึงแก่นั่งตกตะลึงพูดไม่ออก

    ครั้งหนึ่งได้มีสุภาพสตรีผู้สูงด้วยอำนาจวาสนาท่านหนึ่งพาบริวารไปนมัสการหลวงพ่อที่สวนส้มบางมด ได้สนทนาปราศรัยกับท่านเป็นอันดี ชั่วครู่หลวงพ่อเหลือบไปเห็นแหวนเพชรในนิ้วมือของสุภาพสตรีท่านนั้น เปล่งประกายสุกสกาวจึงถามว่า

    "ถ้าอาตมาจะขอแหวนวงนี้จากคุณโยม จะเสียดายไหม"

    สุภาพสตรีท่านนั้นถอดแหวนออกจากนิ้วนางประเคนท่านแทนคำตอบทันที ท่ามกลางความชื่นชมของบริวาร หลวงพ่อรับไว้ หยิบพลิกดูไปมาแล้วหันไปหยิบค้อนที่อยู่ข้างหลัง วางแหวนเพชรที่ไม่รู้ว่ากี่กะรัตลงบนพื้นแล้วตอกด้วยค้อนบัดนี้!

    สุภาพสตรีท่านนั้นเกือบเป็นลม

    หลวงพ่อโอภาสีมองหน้าพลางเปรยออกมาว่า

    "ของดี ๆ อย่างนี้ จะสูญได้อย่างไร"

    สุภาพสตรีผู้นั้นหมดกำลังใจจะสนทนาต่อ อ้อมแอ้ม ๆ ออกมาสอง-สามประโยค ก็นมัสการลากลับไม่เหลียวหลัง

    ปรากฏว่าเย็นวันนั้น หลังจากอาบน้ำชำระกายเรียบร้อยแล้ว เปิดโถแป้งออกมา ตั้งใจจะหยิบแป้งขึ้นมาผัด กลับเห็นแหวนเพชรวงที่หลวงพ่อโอภาสีทุบจนแตกกระจายเป็นเสี่ยง ๆ วางอยู่ในนั้นชัดแจ้ง...เป็นวงแหวนสมบูรณ์เหมือนเดิมไม่ผิดเพี้ยน!

    อีกคราวหนึ่ง คุณหลวงประเสริฐรัฐวิจารณ์ เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ขององค์การท่าเรือฯ ผู้รู้จักคุ้นเคยกับหลวงพ่อมาช้านาน ได้เข้าไปนมัสการและสนทนาด้วย จนได้เวลาพอสมควรจะลากลับหลวงพ่อกลับบอกว่าประเดี๋ยวก่อน แล้วท่านก็ลุกเข้าไปในอาศรมถือธนบัตรใบละ 100 จำนวนสองใบมายื่นให้คุณหลวงพลางบอกว่า "เก็บไว้ให้ดี เป็นเงินก้นถุง"

    คุณหลวงก้มลงกราบรับไว้ด้วยความปีติยินดี แต่เมื่อกลับมาบ้านแล้ว ท่านนึกไปถึงเพื่อนคนหนึ่งซึ่งไปรับราชการอยู่ที่กรุงวอชิงตัน อเมริกาในขณะนั้น เพราะเพื่อนผู้นี้เคยปรารภกับท่านว่าอยากได้เงินก้นถุงของหลวงพ่อโอภาสีมานานแล้วแต่ไม่มีโอกาสจะได้กับเขา คุณหลวงประเสริฐคิดถึงเพื่อนผู้นั้นก็อยากจะสละเงินก้นถุงที่ตนได้มาให้แก่เพื่อนไปก่อน ด้วยคิดว่าท่านอยู่ใกล้กับหลวงพ่อ วันหน้าคงจะมีโอกาสขอได้ใหม่ ท่านจึงจัดแจงจดหมายเลขธนบัตรเอาไว้ แล้วส่งเงินนั้นไปให้เพื่อนที่วอชิงตันทันที

    ต่อมาอีกสามสี่วัน คุณหลวงไปนมัสการหลวงพ่ออีกครั้ง พอหลวงพ่อเห็นหน้าท่านก็หยิบธนบัตรใบละ 100 สองใบส่งให้คุณหลวง พลางหัวเราะบอกว่า

    "ไม่ต้องตกใจดอกคุณหลวง เขาไปเที่ยววอชิงตันมา!"

    ก่อนที่หลวงพ่อจะมรณภาพเพียงไม่กี่วัน พุทธสมาคมแห่งประเทศอินเดียได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเดินทางไปร่วมประชุมสงฆ์ทั่วโลก หลวงพ่อรับนิมนต์ ทั้งได้ส่งสานุศิษย์ผู้ติดตามอันได้แก่ นายสนิท วชิรสาร กับ นายยี.อี.เอิร์ด เดินทางล่วงหน้าไปก่อนหนึ่งสัปดาห์ ส่วนหลวงพ่อจะเดินทางไปโดยลำพังในวันที่ 31 ตุลาคม 2498

    หลวงพ่อบ๋าวเอิง ทราบข่าวว่า หลวงพ่อโอภาสีจะไปอินเดียก็จะขอติดตามไปด้วย แต่หลวงพ่อบอกว่า

    "ขณะนี้ท่านมีธุระมาก อย่าเพิ่งไปดีกว่า และอาตมาไปครั้งนี้ก็ไม่ต้องใช้พาสปอร์ตเหมือนคนอื่นเขา จึงให้ร่วมไปไม่ได้"

    ภายหลังจาก นายสนิท วชิรสาร กับ นาย ยี.อี.เอิร์ดเดินทางไปถึงอินเดีย ได้พำนักอยู่ในพุทธวิหารแห่งหนึ่ง ซึ่งทางพุทธสมาคมอินเดียจัดไว้รับรอง ครั้นเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 31 ตุลาคม 2498 นายยี.อี.เอิร์ด ได้เห็นภาพของหลวงพ่อโอภาสีลอยเด่นอยู่เหนือศีรษะ ใบหน้าของท่านอิ่มเอิบสดใส ภาพนั้นปรากฏเพียงชั่วครู่ก็เลือนหายไป

    ครั้นตกบ่ายได้มีคนเข้ามาบอกแก่คนทั้งสองว่า มีพระแก่รูปหนึ่งรอพบอยู่ข้างนอก จึงรีบชวนกันออกไป กลับพบหลวงพ่อโอภาสียืนรออยู่! ท่านบอกว่า

    "ฉันมาตามคำพูด ไม่มีอะไรมาห้ามฉันได้ อย่าแปลกใจเลย"

    ศิษย์ทั้งสองดีอกดีใจ รีบพาหลวงพ่อเข้าไปยังพุทธวิหารพลางขอตัวเพื่อไปเอาของในห้องพักของตน เตรียมจะนำหลวงพ่อออกชมบ้านเมืองอินเดีย แต่ในขณะนั้นเอง มีบุรุษไปรษณีย์นำโทรเลขมาส่ง คนทั้งสองเปิดโทรเลขอ่านดูแล้วต้องยืนตัวแข็งเพราะข้อความมีว่า "หลวงพ่อโอภาสีมรณภาพเช้าวันที่ 31 ตุลาคม 2498 กลับด่วน"

    ปัจจุบันศพของหลวงพ่อโอภาสียังคงอยู่ในอาศรมบางมดเชิญผู้มีจิตศรัทธาไปนมัสการได้

    โดย ยุ [2 ก.ค. 2545 , 23:55:23 น.]
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    966-57bc.jpg
    อภินิหารหลวงพ่อโอภาสี ๒


    จากนิตยสารโลกหน้ามีจริง

    โพสท์ในเวบกองทัพพลังจิต > พุทธศาสนา > พระเครื่อง - วัตถุมงคล โดย vacharaphol เมื่อ 17/10/2549


    พระมหาชวน เปรียญ ๗ ประโยค ได้เข้ามาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร จนได้เปรียญ ๗ ประโยค ครั้นเมื่อท่านได้ไปทอดกฐินที่วัดหลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกา ที่ลพบุรี ได้เห็นหลวงพ่อกบ เผาสมบัติที่มีผู้นำมาถวาย จึงเข้าไปกราบนมัสการเรียนถามเหตุผล เมื่อได้ฟังธรรมจากหลวงพ่อกบแล้วก็เลื่อมใส จนเมื่อกลับมาถึงวัดบวรนิเวศวิหาร ก็หยุดการเรียนปริยัติหันมาเรียนทาง ปฏิบัติ ออกธุดงค์และบูชาไฟตามรอยหลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกา

    บรรดาพระในวัดบวรนิเวศวิหารเข้าร้องเรียนเรื่อง มหาชวนเผาข้าวของที่มีผู้นำมาถวายและ บูชาไฟ ว่าอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้วัดบวรฯ ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งวัดบวรนิเวศวิหารเป็นวัดหลวง ฝ่ายธรรมยุต การบูชาไฟย่อมขัดกับข้อวัตรปฏิบัติแห่งธรรมยุติกนิกาย

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรฯ ขณะนั้น จึงเรียกมหาชวนมาพบ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงให้มหาชวนเลือกปฏิบัติสองทาง คือทางแรกอยู่ในสำนักวัดบวรฯ ต่อไป แต่ต้องยุติการบูชาไฟ และทางที่สอง คือย้ายออกจากวัดบวรฯ ไปจำพรรษาที่อื่น

    มหาชวนกราบทูลว่าขอเลือกทางที่สอง คือแบบแบกกลดธุดงค์ออกจากวัดบวรฯ

    มหาชวนซึ่งต่อมาได้เรียกตัวเองว่า “โอภาสี” โดยบอกว่า มหาชวนได้ตายจากโลกนี้ไปแล้ว ที่อยู่นี่คือ “โอภาสี”

    หลังจากนั้นหลวงพ่อโอภาสีได้ไปอาศัยลานดินว่างในสวนส้มที่ตำบลบางมดเป็นที่ปักกลด โดยออกบิณฑบาต และบูชาไฟ

    มีผู้ที่เคยไปนมัสการท่านที่วัดบวรนิเวศวิหารติดตามมาคอยอุปัฏฐาก

    ต่อมาเจ้าของสวนได้ถวายที่ดินโดยรอบสถานที่ที่ท่านปักกลดทำ เป็นสำนักสงฆ์ ซึ่งปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นวัดโอภาสีจนทุกวันนี้

    ตอนนั้นชาวสวนแบ่งออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งบอกว่าหลวงพ่อโอภาสี ทำให้สวนของพวกเขาอยู่ในอันตราย หากกองไฟที่หลวงพ่อโอภาสีเผาสมบัติลุกลาม ไหม้สวนจนวอดวายเป็นขนัดๆ

    นายตี๋ อันธพาลรับจ้างเป็นรายแรกที่มาลองดีกับหลวงพ่อโอภาสี

    นายตี๋เล่าว่า ได้รับค่าจ้างจากเจ้าของสวนที่ไม่พอใจหลวงพ่อโอภาสี ว่าจ้างให้ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้หลวงพ่อโอภาสีถอนกลดออกไปจากพื้นที่เสีย

    คืนแรกนายตี๋ได้เก็บก้อนหินขนาดเหมาะมือใส่ถุงปุ๋ยมาแอบซ่อนไว้ไม่ไกลจากกลดที่หลวงพ่อปักไว้ พอได้โอกาสเหมาะ หลวงพ่อโอภาสีอยู่เพียงลำพัง ก็ใช้ก้อนหินขว้างปากลดของหลวงพ่อ ถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง

    ก้อนที่ถูกก็ปรากฏสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นแก่ตาตนคือ พอก้อนหินกระทบหลังคากลด ก็เกิดกระเด้งกลับมาอย่างแรง ทีแรกก็เฉียดตัวนายตี๋ นายตี๋จึงคำรามในใจว่า แน่นักเรอะ! คราวนี้แหละจะเขวี้ยงให้ผ่านประตูกลดที่เปิดไว้ให้ถูกตัวหลวงพ่อเลยทีเดียว ให้มันรู้กันไปว่าจะแน่สักแค่ไหน

    ‘‘พอผมขว้างก้อนหินเข้าไปตรงจุดที่ผมกะไว้ ก้อนหินก็กระเด็นย้อนกลับมาด้านบน หล่นลงมากลางกบาลของผมพอดี หัวแตกเลือดไหลโกรก จนผมต้องวิ่งไปเข้าโรงพยาบาลให้หมอเย็บถึง ๑๐ เข็ม ไม่อาจไปรบกวนหลวงพ่อได้อีก พอแผลหายผมจึงไปกราบเท้าท่าน ไปสารภาพให้ท่านอโหสิให้แก่ผม ท่านยิ้มแล้วพูดกับผมว่า...

    ‘‘อาตมาไม่ได้คิดร้ายกับใคร ไม่พยาบาทใคร กรรมของโยมต่างหากที่มันย้อนกลับไปทำร้ายโยม’’

    ทางด้านนายโสม ผู้ว่าจ้างนายตี๋ให้เอาก้อนหินไปขว้างใส่กลดของหลวงพ่อโอภาสี แต่นายตี๋กลับกลายไปเป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงพ่อแทน จึงเกิดความเคียดแค้นมาก

    คืนนั้นกินเหล้าย้อมใจจนได้ที่ แล้วเอาปืนพกเหน็บเอว แอบเข้ามาที่ใกล้ๆ กับกลดของหลวงพ่อโอภาสี ชักปืนขึ้นมาหันปากกระบอกขึ้นฟ้า แล้วตะโกนร้องว่า

    ‘ไปให้พ้นโว๊ย ไปเผาของที่อื่น หากยัง อยู่ที่นี่ชาวบ้านเขาจะเดือดร้อน’

    จากนั้นก็รัวกระสุนเข้าใส่กลดจนหมดลูกโม่ สะใจแล้วก็เดินทางกลับบ้าน

    นายโสมเล่าว่า

    ‘‘เช้ามืดวันรุ่งขึ้น มีตำรวจจากกองปราบมาล้อมบ้านผม เอาหมายค้นมาด้วย มาค้นบ้านและยึดปืนที่ผมเอาไปยิงขู่หลวงพ่อโอภาสีเมื่อคืนก่อน โดยระบุว่าจะเอาไปตรวจพิสูจน์ว่าเป็นปืนกระบอกเดียวกันกับที่ก่อคดีฆ่านายสุชาย เจ้าของสวนย่านเดียวกับผมหรือเปล่า แต่ผมไม่ได้เป็นคนทำ’’

    กว่าเรื่องจะเรียบร้อย นายโสมต้องถูกนำตัวไปสอบสวนแล้วสอบสวนอีก เสียเงินเสียทองจ้างทนายมาสู้ความ จนหมดเงินไปมากมาย ที่สุดก็ต้องมากราบหลวงโอภาสีเพื่อขอให้ท่านช่วย

    โดยสารภาพผิดว่าเคยเอาปืนมายิงขู่หลวงพ่อตอนกลางคืน

    หลวงพ่อโอภาสีท่านก็อโหสิและพรมน้ำมนต์ให้

    ในที่สุดนายโสมก็พ้นผิดและได้กลายมาเป็นศิษย์ของหลวงพ่อโอภาสีเช่นกัน
    965-9364.jpg

    a8a8a8a8a8a8a8a8a8a

    นายกวย ชายชาวจีนซึ่งเช่าที่ดินทำสวนผักในบริเวณนั้น เห็นว่าสำนักสงฆ์ของหลวงพ่อโอภาสีมีข้าวของมากมาย น้ำมันก๊าด น้ำมันมะพร้าว น้ำมันบัว เครื่องใช้ไม้สอยวางไว้มากมาย นายกวยเลยถือวิสาสะมาหยิบเอาไปใช้

    ตอนแรกก็แค่เอาขวดมากรอกน้ำมันก๊าดเมื่อ เห็นว่าหลวงพ่อโอภาสีไม่ว่าอะไรก็เลยหิ้วไปเป็นปี๊บ

    ต่อมาเมื่ออยากได้อะไรก็มาหยิบฉวยเอาไปตามใจชอบ

    ผู้ดูแลสำนักสงฆ์จึงไปกราบเรียนหลวงพ่อโอภาสีเรื่องที่นายกวยมาหยิบข้าวของไปตามอำเภอใจ หลวงพ่อโอภาสีจึงพูดกับผู้ดูแลสำนักสงฆ์ว่า

    ‘‘ไอ้คนบ้า หากอยากได้อะไรมาขอ มีหรือจะไม่ให้ ก็ของพวกนี้ เขาเอามาถวาย เผาทิ้งยังทำได้เลย แล้วคนมาขอเอาไปกินไปใช้ ใครจะปฏิเสธ ไอ้คนนี้มันทำบ้าๆ’’

    หลังจากหลวงพ่อโอภาสีพูดว่า ไอ้คนบ้า ได้เพียงไม่กี่วัน นายกวยก็กลายเป็นบ้า ร้องเล่นเต้นงิ้วไปตามเรื่อง งานการไม่ทำ วิ่งไปมาร้องเพลงแต่เพลงงิ้ว

    ญาติพาไปปากคลองสานก็รักษาไม่หายกลับเป็นหนักขึ้นอีก

    จนมีชาวจีนที่เป็นศิษย์ของหลวงพ่อโอภาสีไปบอกว่า อาจเป็นเพราะนายกวยไปลักขโมยของจากสำนักสงฆ์เลยเป็นบ้า

    จึงช่วยกันมัดนำตัวไปหาหลวงพ่อโอภาสี พอไปถึงท่านก็พูดว่า

    ‘‘อ๋อ นี่หรือที่ชอบมาขโมยของในสำนักสงฆ์ ขอดีๆ ทำไมจะไม่ให้ นี่คงบ้าๆ บอๆ ใช้กรรมไปพอสมควรแล้วนี่ ทีหลังอยากได้อะไรก็มาขอดีๆ หายได้แล้ว ไม่ได้บ้าอะไรนี่นา เป็นคนดี ๆ แท้ ๆ จะบ้าได้อย่างไรกัน’’

    สิ้นคำหลวงพ่อ นายกวยก็ได้สติกลับเป็นนายกวยคนเดิม ทำหน้าตาเหรอ ถามว่าตนมาอยู่ที่สำนักสงฆ์ได้อย่างไร พอรู้เรื่องละเอียดก็เข้ามากราบขอโทษ

    หลวงพ่อได้ให้น้ำมันก๊าด กับน้ำมันบัวแก่นายกวยอย่างละหนึ่งปี๊บ

    a8a8a8a8a8a8a8a8a8a

    นายสมานได้เล่าถึงอภินิหารของหลวงพ่อโอภาสีให้ผู้เขียนฟังว่า

    ได้มานมัสการหลวงพ่อให้ลงธนบัตรขวัญถุงชนิดใบละ ๑๐๐ บาท

    หลังจากหลวงพ่อลงให้เรียบร้อย จึงเอากลับมาที่ร้านขายอาหาร กะว่าจะเอาไปใส่กรอบ ก็พอดีญาติกัน เดินทางจากสหรัฐฯ กลับมาเยี่ยมบ้าน ได้คุยกัน ญาตินายสมานบอกว่าจะกลับไปเปิดร้านอาหารที่ลอสแองเจลิส อยากได้ธนบัตรขวัญถุงไปไว้ที่ร้านสักใบ

    นายสมานจึงเอาธนบัตรขวัญถุงที่หลวงพ่อโอภาสีลงให้มอบให้ญาติเอาไปใส่กรอบติดร้านขายอาหาร โดยคิดว่าเดี๋ยวตนไปหาหลวงพ่อให้ทำให้ใหม่ได้

    หลังจากนั้นนายสมานก็นำธนบัตรใบละ ๑๐๐ บาทใบใหม่ไปให้หลวงพ่อโอภาสีลงให้

    แต่ใบที่ท่านส่งกลับมาให้ปรากฏว่าเป็นธนบัตรขวัญถุงใบที่ตนได้ให้ญาติเอาไปสหรัฐอเมริกา

    เป็นใบเดียวกันแน่นอนเพราะตนเองจำหมวดหมายเลขได้แม่นยำ

    แล้วหลวงพ่อโอภาสีก็พูดขึ้นว่า ‘‘น่าจะเก็บไว้ให้ดี เป็นของเฉพาะตัว กลับให้ท่านบินไปสหรัฐฯ ท่านเลยกลับมาอยู่เมืองไทย ใบใหม่ที่เอามา จะลงให้แล้วส่งไปอเมริกาเอง ไม่ต้องเป็นห่วง’’

    หลายเดือนต่อมา มีจดหมายจากญาติที่สหรัฐฯ มาถึงนายสมานใจความในจดหมายเล่าว่า

    ‘‘อยู่ดี ๆ ธนบัตรขวัญถุงที่ให้มาและเราใส่กรอบผนึกแขวนไว้ที่ฝาผนังใกล้กับโต๊ะแคชเชียร์ ก็หายไปเหลือแต่กรอบเปล่า ๆ โดยไม่รู้ว่าหายไปได้อย่างไร แต่แล้ววันหนึ่งเราก็แทบไม่เชื่อสายตา ในกรอบกลับมีธนบัตรขวัญถุงอยู่ภายใน เป็นใบละ ๑๐๐ บาท แต่หมวดตัวเลขผิดกับของเก่า หากเรามีเวลากลับมาเมืองไทย ช่วยพาเราไปหาอาจารย์ของนายด้วย’’

    ข้อมูลอ้างอิงจาก : dharma-gateway.com
    :- https://www.web-pra.com/amulet/หลวงพ่อโอภาสี-วัดพุทธบูชา
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    เซียนสู ผู้รดน้ำมนต์เปรต

    หลวงตา
    10,372 viewsNov 7, 2021
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ๑๐๖.ลี้ลับตาชีปะขาว ตอน ๑ ผจญภัยบนดอยสูง

    ส่างอุ่นเปิงได้พบตาชีปะขาวลี้ลับ ที่วัดพระธาตุดอยกองมู

    ๑๐๗. ลี้ลับตาชีปะขาว ตอน ๒ (จบ )

    ส่างอุ่นเปิงเดินทางไปหาไม้หอมที่หมู่บ้านชาวดอยเมืองต้นตี ได้พบกับตาชีปะขาวเติงที่นั่น ตาชีปะขาวได้มอบไม้หอมที่ทรงคุณค่าให้กับส่างอุ่นเปิง.

    thamnu onprasert
    Nov 9, 2021

     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ถ้ำน้ำหนาว | เรื่องเล่าพระธุดงค์ง | หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต

    100 เรื่องเล่า
    114,929 viewsSep 27, 2021
    ถ้ำน้ำหนาว เป็นเรื่องเล่าจากหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต ซึ่งก่อนที่ท่านจะไปถึงถ้ำน้ำหนาว หรือถ้ำสีโหแห่งนี้ ท่านก็ได้เดินธุดงค์ ไปในที่ต่างๆ จากวัดดูน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ท่านได้พบเจอสัตว์ร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสือ ช้าง วัว ควายตามทุ่งนา หรือแม้แต่นายพรานที่ยิงท่าน เพราะคิดว่าเป็นสัตว์ แต่ท่านก็ผ่านพ้นอันตรายเหล่านั้นมาได้ ด้วยเมตตาธรรม หลังจากนั้น ท่านก็ได้เดินธุดงค์ ไปยังถ้ำน้ำหนาว และท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ถ้ำแห่งนี้

    เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดถูกประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    lp-pang-002.jpg
    ประวัติหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
    ฉบับเรียบเรียงใหม่
    วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
    การเรียบเรียงประวัติหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต แห่งวัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ค่อนข้างเป็นการยากลำบาก เพราะเป็นอย่างที่ท่านพระอาจารย์พระศรีปริยัติเวที (สมาน สุเมโธ ป.ธ.๙) แห่งสำนักวัดป่าแสงอรุณ จังหวัดขอนแก่นได้กล่าวไว้ในบทนำ ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ณ เมรุวัดอุดมคงคาคีรีเขตไว้ว่า
    “การเรียบเรียงประวัติของท่านโดยละเอียดนั้น นับว่าเป็นการยากมาก เพราะไม่มีผู้ใดทราบชีวประวัติของท่านโดยตลอด ถึงแม้ว่าจะมีผู้สนใจตลอดจนนักเขียนทั้งหลายจะขอโอกาสกราบเรียนถามท่าน ท่านก็ไม่เทศน์ให้ฟัง จะมีก็เพียงครั้งคราวเท่านั้น ที่ท่านเอ่ยถึงความเป็นมาในอดีตให้ฟังเพียงเล็กน้อย การเรียบเรียงจึงไม่สมบูรณ์แบบ”
    ชีวประวัติของท่านได้มีผู้เรียบเรียงไว้เป็นหลายสำนวน ส่วนใหญ่มีข้อมูลที่คล้ายๆ กัน มีแตกต่างบ้างทั้งที่เป็นข้อมูลเล็กน้อย และมีบ้างที่แตกต่างกันในจุดสำคัญ ชนิดที่ถ้าผู้อ่านจะยึดถือเอาข้อมูลของสำนวนใดสำนวนหนึ่งเป็นหลัก ก็จะต้องเรียบเรียงประวัติท่านกันใหม่ไปเลย ในที่นี้จะขอเสนอข้อมูลที่แตกต่างดังกล่าวไว้ตามที่พอรวบรวมได้จากข้อมูลแหล่งต่างๆ ไว้ดังนี้


    lp-pang-040.jpg
    ๑. เรื่องปีพ.ศ. ที่หลวงปู่เกิด มีเพียงวันเกิดของท่านในเหรียญฉลองสิริอายุครบ ๗๗ ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เท่านั้นที่ระบุว่าเป็นวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๔๔๓ ส่วนข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ล้วนระบุว่าเป็น ๕ สิงหาคม ๒๔๔๕
    ๒. เรื่องหลวงปู่ผางเป็นบุตรลำดับที่เท่าไหร่ของครอบครัว ส่วนใหญ่ระบุว่าหลวงปู่ผางเป็นบุตรคนสุดท้อง แต่บางแหล่งระบุว่าเป็นบุตรคนที่สอง
    ๓. เรื่องประวัติการศึกษา บางแหล่งข้อมูลระบุว่าท่านจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ แต่บางแหล่งข้อมูลระบุว่าท่านมีความรู้พออ่านออกเขียนได้
    ๔. เรื่อง ชื่อบุตรบุญธรรมหลวงปู่ ส่วนใหญ่ระบุว่าชื่อ บุญปราง แต่มีบางแหล่งข้อมูลระบุว่า ชื่อ หนูพาน
    ๕. เรื่อง การบวชครั้งที่สอง ของหลวงปู่ที่ระบุว่า ก่อนจะบวช ท่านและภรรยาได้ทำทานโดยการบริจาคทรัพย์สินทั้งหมดของท่านให้กับผู้อื่น แต่บางแหล่งข้อมูลระบุว่าท่านยกทรัพย์สินของท่านทั้งหมดให้กับนางหนูพานผู้เป็นบุตรบุญธรรม
    ๖. เรื่องการออกบวชเป็นชีของภรรยาท่าน ส่วนใหญ่จะระบุว่าภรรยาท่านได้ออกบวชเป็นชีพร้อมกับที่ท่านบวชเป็นพระสงฆ์ แต่มีบางแหล่งข้อมูลระบุว่าภรรยาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในการครองเรือนจึงได้ขอลาท่านออกไปบวชชีก่อน ต่อมาท่านจึงได้ออกบวชเป็นพระภิกษุในภายหลัง
    ๗. เรื่องวัดที่พระอาจารย์สิงห์จำพรรษาอยู่ในช่วงที่หลวงปู่ผางเข้าไปศึกษาและปฏิบัติธรรมกับท่าน บางแหล่งข้อมูลระบุว่า วัดป่าวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี แต่มีบางแหล่งข้อมูลระบุว่า เป็นวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ
    ๘. ประวัติในเรื่องปีที่ท่านทำการญัตติในคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต นั้นมีข้อมูลแตกต่างกันเป็นสองทาง คือ
    ๘.๑ ท่านได้ขอญัตติในคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต เมื่ออายุได้ ๔๒ ปี ๖ เดือน ในวันพุธที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘
    ๘.๒ ท่านได้ขอญัตติในคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต เมื่ออายุได้ ๔๗ ปี ในวันพุธที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑
    ๙. ประวัติในเรื่องวัดที่หลวงปู่ผางขอญัตติในคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ส่วนใหญ่ระบุว่า กระทำที่ วัดบ้านโนน หรือวัดทุ่ง แต่บางแหล่งข้อมูลระบุว่า ทำที่ วัดทุ่งสว่าง บ้านโนนใหญ่ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
    ๑๐. ประวัติของท่านในเรื่องปีและสถานที่ที่ท่านได้เข้าเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ข้อมูลจากหลายแหล่งระบุไว้ไม่ตรงกัน มีการขัดกันในข้อมูลในช่วงประวัตินี้โดย
    ข้อมูล จากเทศนาของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ที่ได้เทศน์ไว้ที่วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐ ได้ระบุสถานที่ที่หลวงปู่ผางได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่นคือ ที่วัดป่าบ้านนามน ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
    แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลกับประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แล้วปรากฏว่า ท่านพระอาจารย์มั่นจำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามนในปีพ.ศ. ๒๔๘๖ ซึ่งปีนั้นตามประวัติของหลวงปู่ผางท่านยังเป็นฆราวาสอยู่ หลวงปู่ผางบวชครั้งที่ ๒ เมื่ออายุ ๔๓ ปี ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๘
    บางข้อมูล เช่นข้อมูลจากบทเสริมประวัติ พระหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต โดย พระเทพบัณฑิต (อินทร์ ถิรเสวี) รองเจ้าคณะภาค ๙ วัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น ได้ระบุไว้ว่า สถานที่ที่หลวงปู่ผางได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่นคือ ที่วัดป่าบ้านผือ นาใน ซึ่งตามประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจำพรรษาที่วัดนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ จนกระทั่งถึงกาลมรณภาพในปีพ.ศ. ๒๔๙๒
    ๙. ประวัติของท่านเกี่ยวกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ที่ได้ระบุว่าในขณะที่ท่านอยู่ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น หลังจากท่านบวชครั้งที่ ๒ แล้วนั้น คืนหนึ่งท่านได้เกิดนิมิต ถึงสถานที่แห่งหนึ่ง รุ่งเช้าขึ้นท่านจึงได้ลาพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ออกธุดงค์ไปหาสถานที่ตามนิมิตนั้น
    ถ้าจะยึดตามข้อมูลที่ว่าพระหลวงปู่ผางได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าบ้านผือ เป็นหลักแล้ว พระหลวงปู่ผางก็ต้องพบกับท่านพระอาจารย์มั่นประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๙ แต่ข้อมูลตามประวัติหลวงปู่เสาร์ ท่านได้มรณภาพในปี ๒๔๘๕ ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่หลวงปู่ผางจะพบกับท่านพระอาจารย์มั่น ถึง ๔ ปี ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่พระอาจารย์เสาร์ และหลวงปู่ผางจะเคยได้มีโอกาสพบกัน ความเป็นไปได้เพียงประการเดียวที่หลวงปู่ผางจะมีโอกาสได้พบและศึกษาธรรมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ก็คือในช่วงเวลาที่หลวงปู่ผางยังเป็นฆราวาสอยู่
    ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงข้อมูลรอบด้านแล้ว ประวัติโดยย่อของหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ในช่วงตั้งแต่บวชครั้งที่ ๒ จนถึง ธุดงค์มาจนถึงวัดดูน ที่มีข้อมูลที่สอดคล้องกันก็น่าจะเป็นดังนี้
    ๒๔๘๗ (เข้าพรรษา ๔ ส.ค. ๘๗)
    อายุ ๔๒ ปี ออกบวชครั้งที่ ๒ ที่วัดคูขาด อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

    ศึกษากับพระอาจารย์สิงห์ ที่วัดป่าแสนสำราญ จ.อุบลราชธานี
    ๗ ก.พ. ๒๔๘๘ (เข้าพรรษา ๒๕ ก.ค. ๒๔๘๘)
    ญัตติเป็นธรรมยุต ที่วัดทุ่งสว่าง อุบลราชธานี
    ๒๔๘๙ (๒ ก.พ. ๒๔๘๙)
    พระมหาปิ่นมรณภาพ เมื่อพระอาจารย์สิงห์ได้จัดการฌาปนกิจศพพระน้องชายเสร็จแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
    ออกธุดงค์เพื่อไปหาท่านพระอาจารย์มั่น
    ศึกษากับพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ นาใน
    ออกธุดงค์เพื่อหาวัดที่ปรากฏในนิมิต
    ๒๔๙๑
    จำพรรษาที่วัดบัลลังก์ศิลาทิพย์ ตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท จ.ขอนแก่น
    ๒๔๙๒
    ออกธุดงค์มาจนถึงภูผาแดง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
    พระอาจารย์มั่นมรณภาพ (๑๑ พ.ย. ๒๔๙๒)

    bar5-ss.gif
    มีชื่อบ่อยากให้ปรากฏ มียศบ่อยากให้ลือชา
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    lp-pang-002.jpg
    หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น นามเดิมของท่านชื่อ ผาง ครองยุต เกิดในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๔๕ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนเก้า ปีขาล ที่บ้านกุดกระเสียน ตำบลกุดกระเสียน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
    โยมบิดาชื่อ ทัน โยมมารดาชื่อ บับพา ครองยุต มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๓ คน คนแรกเป็นหญิงชื่อ บาง ซึ่งบวชเป็นชีอยู่ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต คนที่สองชื่อ คำแสน ส่วนตัวหลวงปู่เป็นคนสุดท้อง (บางแหล่งข้อมูลบอกว่าท่านเป็นบุตรคนที่สอง)
    คุณตาชื่อ ศรีมงคล คุณยายชื่อ เหง้า สำหรับคุณตานั้น เคยเป็นกำนันตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งคุณตาและคุณยายมีบุตรธิดาสืบสกุลด้วยกัน ๓ คน คือ


    lp-pang-001.jpg
    ๑ คุณแม่บัพพา (โยมมารดาของหลวงปู่)
    ๒. คุณแม่ล้อม
    ๓. คุณแม่จอม
    เชื้อสายของท่านมักจะไม่ค่อยมีลูกมาก อย่างมากก็มีลูกเพียง ๒-๓ คน เท่านั้น
    ครอบครัวของท่านยึดอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา เลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก ตามสภาพของท้องถิ่นในสมัยนั้นเป็นหลัก อาชีพอื่น เช่นค้าขาย เป็นต้นเป็นอาชีพรอง
    การศึกษาทางโลกของหลวงปู่มีความรู้เพียงขั้นพออ่านออกเขียนได้ เนื่องจากในสมัยที่หลวงปู่ยังเยาว์วัยอยู่นั้น พระราชบัญญัติประถมศึกษา ยังมิได้ประกาศใช้ ผู้ประสงค์จะได้รับการศึกษาเล่าเรียน จะต้องขวนขวายเอาเอง โดยการฝากตัวเข้าเป็นศิษย์วัดกับพระภิกษุที่อ่านออกเขียนได้ แล้วให้ท่านสอน
    หลวงปู่มีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม ถือความสัตย์ พูดจริงทำจริง รักธรรมชาติ ชอบความสงบ เมตตาสัตว์มีแนวความคิดสร้างสรรค์ และชอบทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
    พ.ศ. ๒๔๖๕ บวชครั้งที่ ๑
    ในปีพ.ศ. ๒๔๖๕ เมื่อหลวงปู่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาตามประเพณีลูกผู้ชายชาวไทย ในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ณ วัดเขื่องกลาง บ้านเขื่องใน ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอุปัชฌาย์ดวน คุตฺตสีโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยมีความรู้พอสมควร ต่อมาเมื่อออกพรรษาจึงได้ลาสิกขาจากสมณเพศมาประกอบสัมมาอาชีพ
    พ.ศ. ๒๔๖๘ แต่งงาน
    ครั้นอายุได้ ๒๓ ปีก็ได้สมรสตามประเพณีกับนางสาวจันดี สายเสมา คนบ้านแดงหม้อ ตำบลแดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ครองเรือนมาด้วยกันอย่างราบรื่น แต่ไม่มีบุตรสืบสกุล จึงได้ขอบุตรของญาติพี่น้องมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมชื่อ นางบุญปราง ครองยุติ (บางแหล่งข้อมูลว่าชื่อ นางหนูพาน)
    เมื่อครั้งยังอยู่ในเพศฆราวาส หลวงปู่เป็นคนขยัน เอาจริงเอาจังกับการงาน ได้ประกอบสัมมาอาชีพโดยช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา บางครั้งก็เป็นพ่อค้าเรือใหญ่ บรรทุกข้าวจากแม่น้ำมูลไปขายตามลำน้ำชีน้อย บางครั้งก็เป็นพ่อค้าวัว นำวัวไปขายที่เขมรต่ำ หลวงปู่ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการสร้างฐานะให้แก่ครอบครัว
    หลวงปู่ผางได้ใช้ชีวิตในเพศฆราวาสเป็นเวลานาน สามารถรอบรู้เหตุการณ์ที่ผ่านมา พิจารณาดูความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและหมู่สัตว์ทั้งหลายบรรดามีในโลกเมื่อเกิดมาแล้วต่างก็สับสนวุ่นวายแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นเป็นที่เดือดร้อนไม่สุดสิ้น
    หลวงปู่คงจะได้สั่งสมบุญบารมีมามาก ทำให้ท่านมองเห็นความไม่แน่นอน และความไม่มีแก่นสารในชีวิต ทำให้จิตใจของท่านโน้มเอียงไปในทางแห่งความสงบ ท่านได้ทำทานเป็นการใหญ่ โดยได้ให้เกวียน วัว บ้าน ไร่ นา แก่ผู้อื่นสละทุกสิ่งทุกอย่างจนหมดสิ้น (บางแหล่งข้อมูลว่า ยกทรัพย์สินให้บุตรบุญธรรม คือนางบุญปราง ครองยุติ ซึ่งขณะนั้นได้แต่งงานมีครอบครัวแล้ว)
    พ.ศ. ๒๔๘๗ บวชครั้งที่ ๒
    หลังจากที่หลวงปู่ในเพศฆราวาสได้บริจาคทาน วัว ควาย ไร่ นา บ้านเรือนให้แก่ผู้อื่นจนหมดสิ้นแล้ว ก็หมดห่วงและได้หันหน้าเข้าหาพระธรรม ดังนั้นประมาณปีพ.ศ. ๒๔๘๗ เมื่ออายุได้ราว ๔๒ ปี จึงได้ชวนนางจันดีผู้เป็นภรรยาออกบวช ภรรยาได้บวชเป็นแม่ชี ส่วนหลวงปู่ได้เข้าอุปสมบทในฝ่ายมหานิกาย ที่วัดคูขาด บ้านศรีสุข ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูศรีสุตตาภรณ์ (สี หรือ ตื้อ พุทธสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ไม่ปรากฏ ท่านได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า "จิตฺตคุตฺโต" อันมีความหมายว่า ผู้คุ้มครองจิตดีแล้ว นับเป็นการบวชครั้งที่สองของหลวงปู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2021
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    ตามประวัติของพระครูศรีสุตตาภรณ์ (สี หรือ ตื้อ พุทธสาโร) ที่พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานพิธีฌาปนกิจศพของท่าน เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๐ นั้น ได้ระบุว่า ท่านพระครูศรีฯ ได้เคยไปศึกษาปฏิบัติทางฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในสำนักพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตมหาเถระ ณ สำนักวัดบ้านแวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ในปีพ.ศ. ๒๔๖๑ และในพรรษาต่อมา ท่านได้ไปศึกษาปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนาธุระ กับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลมหาเถระ ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดภูผากูด ถ้ำคูหาวิเวก จังหวัดสกลนคร แต่ในพรรษาถัดมาท่านเกิดอาพาธด้วยโรคไข้ป่า จึงกลับมารักษาตัวและจำพรรษาที่วัดบ้านคูขาด


    ซึ่งแสดงว่าท่านพระครูศรีสุตตาภรณ์ นั้นเป็นศิษย์ยุคต้นๆ สายมหานิกาย ของท่านพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น ดังนั้นเมื่อท่านได้ทำการอุปสมบทให้กับพระภิกษุผางแล้ว ท่านก็อยากจะให้พระภิกษุผางได้เข้าศึกษาและปฏิบัติพระกรรมฐานตามแบบอย่างที่ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติอยู่กับพระอาจารย์เสาร์ และ พระอาจารย์มั่นในครั้งก่อน


    แต่ท่านก็ทราบดีว่าการจะเข้าศึกษาและปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ไม่ใช่นึกอยากจะเข้าไปกราบขอถวายตัวเข้าเป็นศิษย์นั้นก็จะทำได้ตามใจชอบ เพราะท่านพระอาจารย์มั่นท่านเคร่งครัดเรื่องการคัดเลือกศิษย์เป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่ประสงค์จะเข้าเป็นศิษย์ของท่าน ก็ต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเป็นอย่างดีเสียก่อน


    ในพรรษาแรกของหลวงปู่ผางท่านจำพรรษาที่วัดคูขาด โดยท่านพระครูศรีสุตตาภรณ์ได้อบรมสั่งสอนการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นเบื้องต้น ประจวบเหมาะกับในปีนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ท่านพำนักอยู่ที่จังหวัดอุบล เกิดอาพาธหนัก ถึงขนาดฉันอาหารไม่ได้ ต้องถวายอาหารทางเส้นเลือด ท่านจึงเรียกพระเถระฝ่ายกัมมัฏฐานเข้าไปปรึกษาหารือเพื่อหาทางบำบัดโรคในทางธรรมปฏิบัติ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกอันดับ ๒ ของสมเด็จฯ จึงได้มาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีเพื่ออุปัฏฐากสมเด็จฯ โดยได้พำนักอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ ปีนั้นเป็นปีเดียวกับที่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล น้องชายของท่านซึ่งได้ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ที่จังหวัดปราจีนบุรีอยู่ ๕ พรรษา ได้กลับมาจังหวัดอุบลฯ เนื่องจากอาพาธด้วยโรคปอด รักษาไม่ทุเลา จึงเดินทางกลับมายังบ้านเกิด


    lp-pang-006.jpg
    พ.ศ. ๒๔๘๗ ไปศึกษาและปฏิบัติธรรม


    กับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม


    เมื่อพระครูศรีสุตตาภรณ์ (สี หรือ ตื้อ พุทธสาโร) ได้พิจารณาดังนั้นแล้ว เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงได้แนะนำให้พระภิกษุผางไปศึกษาและปฏิบัติธรรม กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์สมิทธีราจารย์) และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นวัดธรรมยุติกนิกาย


    พ.ศ. ๒๔๘๘ ญัตติเป็นธรรมยุต


    เมื่อท่านพระอาจารย์สิงห์ได้รับพระภิกษุผางไว้ในสำนักแล้ว ท่านก็เห็นว่าเพื่อความสะดวกในการที่พระภิกษุผางซึ่งเป็นพระมหานิกาย จะประกอบสังฆกรรมกับหมู่คณะจึงดำเนินการให้พระภิกษุผางญัตติเป็นธรรมยุต ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ ณ วัดทุ่งสว่าง บ้านโนนใหญ่ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระครูพินิจศีลคุณ (พระมหาอ่อน) เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์


    lp-pang-008.jpg
    เมื่อหลวงปู่ผางได้รับการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายแล้ว ท่านก็เข้ารับการอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักท่านพระอาจารย์สิงห์ ต่อไป


    ต่อมาพระมหาปิ่น ที่ได้อาพาธด้วยโรคปอด เมื่อกลับจากจังหวัดปราจีนบุรี มาอยู่ที่อุบลฯ รักษาอยู่ ๒ พรรษา ไม่หายและได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ เมื่อจัดการงานศพพระมหาปิ่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอาจารย์สิงห์ก็กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา


    ก่อนที่ท่านพระอาจารย์สิงห์จะออกจากวัดป่าแสนสำราญ ไปจำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมาที่ท่านสร้างขึ้นนั้น ท่านได้แนะนำให้พระภิกษุผางไปศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน ดังนั้นพระภิกษุผาง จึงประสงค์จะไปรับโอวาทธรรมจากท่านพระอาจารย์ใหญ่ ซึ่งขณะนั้น พำนักอยู่ ณ เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ (ปัจจุบันคือ "วัดป่าภูริทัตตถิราวาส" อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร)


    lp-pang-007.jpg
    พ.ศ. ๒๔๘๙ ธุดงค์ไปหาท่านพระอาจารย์มั่น


    หลวงปู่จึงธุดงค์จากจังหวัดอุบลราชธานีเลียบฝั่งแม่น้ำโขง ขึ้นไปทางจังหวัดมุกดาหารและนครพนม แวะกราบนมัสการพระธาตุพนม และจาริกไปยังจังหวัดสกลนคร โดยการเดินเท้าตลอดเส้นทาง หากพบสถานที่แห่งใดเหมาะสมแก่การภาวนา และมีหมู่บ้านที่จะบิณฑบาตได้อยู่ไม่ไกลนัก ท่านก็จะพักสักระยะ แล้วเดินทางต่อไป จนกระทั่งมาถึงภูผาซาง


    หลวงปู่หลงทางอยู่ที่นี่เป็นเวลาหลายวัน จนไม่ได้ฉันอาหารใดๆ เลย ร่างกายจึงเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเต็มที ทว่าท่านไม่เคยย่อท้อมีแต่ความมุ่งมั่นที่จะไปฟังธรรมจากพระอาจารย์ใหญ่ให้ได้ ไม่ว่าจะยากลำบากเพียงใดก็ตาม


    “ก็อาศัยแต่ฉันน้ำในกา ไม่ใช่ฉันจนอิ่ม คือจิบเอาทีละน้อยๆ อดอาหารหลายๆ วันก็เคยอดมาแล้ว กลัวทำไม ยิ่งอดยิ่งภาวนาดี”


    จิตใจจึงมีความอิ่มเอิบ ปีติในธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง มีความเบิกบานตลอดเวลา แต่เมื่อนานวันเข้าน้ำในกาก็หมดไป


    “เอ้า! น้ำหมดแล้วจะทำยังไงดี เดินแวะขึ้นป่าลงหุบเขาตรงไหนที่พอจะมีน้ำบ้าง น้ำสักหยดก็ไม่มี ล้าก็ล้า เหนื่อยก็เหนื่อย หิวน้ำก็หิว ฉันน้ำปัสสาวะตัวเองนี่แหละ”


    เมื่อหลงป่าอยู่นานหลายวัน ต่อมาแม้แต่น้ำปัสสาวะก็ไม่มีให้ฉัน ร่างกายของท่านขาดน้ำและอ่อนเพลีย ต้องแบกบริขารทั้งบาตร กลดและกาน้ำ


    “ร่างกายยามนี้ ถือหรือแบกอะไรมันช่างหนักไปหมด ตายแน่ๆ ตายอยู่กลางป่านี้แน่ๆ เราทอดอาลัยตายอยาก ตายก็ตาย จะตายทั้งทีอย่าให้ร่างกายเน่าทิ้งเสียเปล่า ปักกลดนั่งภาวนากลางทางเสือทางช้างป่าผ่านนี่แหละ”


    ทอดอาลัย ... ภาวนา ตายๆ ๆ สู้


    ในยามพลบค่ำของคืนเดือนหงาย ท่านจึงได้ปักกลดภาวนา ณ สถานที่อันเหมาะสม กลางดึกคืนนั้นเอง หลังจากไหว้พระสวดมนต์แผ่เมตตาแล้วก็ภาวนาอยู่ในกลด ด้วยคิดว่าตนเองคงจะต้องตายในคราวนี้แน่นอนแล้ว จึงรำพึงในใจว่า


    “คราวนี้เป็นคราวที่เราจนตรอกจนมุมแล้ว หลงทางอยู่กลางป่ากลางดงคนเดียว ไม่มีใครมาช่วย คงต้องเอาชีวิตมาทิ้งกลางป่านี้แน่ๆ ได้ยินว่าในป่าเขามีเทวบุตรเทวดาอยู่มาก ทำไมไม่เห็นมาช่วยบ้าง ไม่สงสารพระธุดงค์ผู้หลงทางหลงป่าบ้างหรือ บุญกุศลเราคงหมดแค่นี้ เอาละตายก็ตาย คิดก็ตายไม่คิดก็ตาย คิดไปให้มากเรื่องทำไม นั่งภาวนาสละตายที่ตรงนี้แหละ”


    คิดได้ดังนั้นแล้วท่านจึงภาวนาโดยนึกถึงความตายเป็นอารมณ์จนจิตสงบตั้งมั่น เป็นเวลานานเท่าไหร่ก็ไม่ทราบได้ จนกระทั่งได้ยินเสียงสัตว์ชนิดหนึ่งกระโจนมาชนกลดดังโครมครามๆ ถึงสามครั้ง จนกลดแทบจะพัง เมื่อเปิดกลดออกมาก็พบกับเสือโคร่งลายพาดกลอนตัวใหญ่ ยืนจังก้าจ้องหน้าท่านแบบจะกินเลือดกินเนื้อ


    เสือยืนอยู่ห่างไปประมาณ ๓-๔ วา จึงมองเห็นกันได้อย่างชัดเจนเพราะเป็นคืนเดือนเพ็ญ แม้จะเผชิญกับสถานการณ์วิกฤต แต่ท่านกลับมีจิตใจห้าวหาญ ไม่เกรงกลัว


    “ดีล่ะ ไหนๆ ก็จะถึงที่ตายอยู่แล้ว จะตายทั้งที ร่างกายนี้จะได้ไม่ต้องเน่าเปื่อยผุพังไปเปล่า มีผู้มาเก็บซากศพให้ก็ดีแล้ว เราจะเดินเข้าไปให้เสือกินทั้งบริขารนี่แหละ”


    ว่าแล้วท่านก็เดินเข้าไปหาเสือตัวนั้น โดยมิได้สะทกสะท้านต่อความตายใดๆ


    “ฮีบมากินมา เฮามาให้กินแล้ว กินให้หมดเด้อ อย่าให้เหลือซาก มันสิเหน่าเหม็นถิ่มซื่อๆ”


    (รีบมากินสิ เรามาให้กินแล้ว กินให้หมดนะอย่าให้เหลือซาก มันจะเน่าเหม็นทิ้งเปล่าๆ)


    หลวงปู่พูดไปแล้วก็เดินเข้าไปหาเสือไปเรื่อยๆ แต่เจ้าเสือกลับถอยหลังกรูด มันหันหลังให้แล้ววิ่งไปข้างหน้า แล้วหันกลับมาจ้องมองอีก ท่านเดินตามไปจะให้มันกิน เสือวิ่งไปข้างหน้าเรื่อยๆ ท่านก็เดินตามไปเรื่อยๆ เป็นอย่างนี้อยู่จนสว่าง เสือตัวนี้ก็หนีเข้าป่าไป


    “เอ้า! สิมาส่งกันกะบ่บอก ถ้าบ่กินกะฟ่าวเข้าดงเข้าป่าไป เดี๋ยวนายพรานสิมาเห็น เขาจะยิงเอา ให้อยู่เป็นสุขๆ เด้อ”


    (อ้อ จะมาส่งกันก็ไม่บอก ถ้าไม่กินเราก็รีบหนีเข้าไปเสีย เดี๋ยวนายพรานมาเห็น เขาจะยิงเอา ให้เป็นสุขๆ เถิด)
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    ปรากฏว่าการที่ท่านเดินตามเสือเพื่อจะให้มันกินอยู่จนสว่าง ทำให้ออกจากป่ามาจนถึงไร่ของชาวบ้าน หลวงปู่จึงบิณฑบาตได้อาหารมาฉัน ไม่ต้องเอาชีวิตไปทิ้งในป่าแห่งนี้


    lp-pang-049.jpg
    ภาวนาปฏิบัติธรรมในถ้ำลึกที่ผาเสด็จ
    จากนั้นท่านได้ธุดงค์ต่อมาจนถึงดงพระยาเย็น ผาเสด็จ (ภูพระบาท ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี) ไปนั่งภาวนาอยู่ในถ้ำลึกถึง ๘ วัน ๘ คืน
    ก่อนจะเข้าไปนั่งภาวนาในถ้ำนี้ ชาวบ้านที่ทำไร่อยู่ในในถิ่นนั้นได้ห้ามไม่ให้ท่านลงไปนั่งในถ้ำลึก เพราะอากาศในถ้ำนั้นเย็นจัด เขาบอกว่า ๗ วันก่อน มีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาพักและได้มรณภาพในถ้ำนั้น เมื่อท่านได้ฟังเขาเล่าดังนั้นแล้วก็ยังยืนยันแก่เขาว่า จะต้องลงภาวนาให้ได้ จึงเตรียมตัวเข้าไปในถ้ำ
    เมื่อเข้าไปพักในถ้ำท่านพบว่าอากาศหนาวมาก เย็นจัดดังคำบอกเล่า หลวงปู่ผางนั่งพำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ได้ ๔ วัน ก็เกิดเป็นไข้ ท่านเล่าว่าคงจะเป็นเหมือนดังที่คุณโยมคนนั้นบอกไว้ พยายามนั่งภาวนาไปจนครบ ๗ วัน ไข้ก็ยิ่งจับหนัก พอครบวันที่ ๘ มีอาการอ่อนเพลียมาก แต่ก็ยังคงออกไปเที่ยวบิณฑบาตได้มะละกอสุกมาลูกหนึ่ง นึกอยากจะฉันมะละกอสุกลูกนั้น จึงฉันจนหมด ในใจตอนนั้นท่านว่าจะเป็นตายร้ายดีอะไรก็ตาม ก็ให้แล้วแต่บุญแต่กรรม
    หลังจากฉันมะละกอสุกไปแล้วไม่นาน ท่านก็ปวดท้องถ่ายหนัก เมื่อถ่ายแล้วท่านก็รู้สึกว่าอาการไข้ได้หายไป มีเรี่ยวแรงพลกำลังเกิดขึ้น ท่านได้พักอยู่ที่นั่นเป็นเวลาหลายวัน จากนั้นมุ่งหน้าเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดเลยไปนั่งภาวนาตามถ้ำภูเขาหลายแห่ง เช่น ถ้ำผาปู่ ภูกระดึง เป็นต้น


    lp-pang-048.jpg
    สมัยนั้นที่ภูกระดึงผู้คนยังไม่มีมาก ท่านไปพักภาวนาอยู่ระหว่างกึ่งกลางทางขึ้นภูกระดึงในปัจจุบัน ในสมัยนั้น หมู่บ้านศรีฐานซึ่งเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ปากทางขึ้นภูกระดึง มีชาวบ้านอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน การโคจรบิณฑบาตลำบากมาก อากาศหนาวจัด สัตว์ป่าต่างๆ มีมากเยอะแยะเช่น เสือ ช้าง เป็นต้น เมื่อหลวงปู่ลงจากภูกระดึงเพื่อออกไปบิณฑบาตยังบ้านศรีฐาน บางครั้งเคยไปเจอเสือรอยเท้าใหญ่ขนาดคืบกว่า มันนั่งอยู่ระหว่างทางช่องแคบ
    ท่านได้พูดกับมันบอกว่า "ขอผ่านทางไปด้วยเถอะพยัคฆะเอ๋ย หลวงพ่อจะไปบิณฑบาตมาฉัน อย่ามานั่งกีดกันหนทางเลย"
    ไม่นานเจ้าพยัคฆ์ก็ลุกหนีไป แล้วไม่เคยจะกลับมาให้เห็นอีกเลย
    อีกครั้งหนึ่งที่บริเวณนี้แหละ หลวงปู่นั่งภาวนามาหลายวัน รู้สึกว่าอ่อนเพลีย เจ็บปวดตามร่างกายมาก นึกอยากจะเปลี่ยนสถานที่ใหม่ จึงเดินไปตามชายเขา
    ท่านบอกว่า เมื่อเดินไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นเวลาบ่าย ๓ โมงเศษ ท่านไปนั่งพักอยู่ใกล้หนทาง เห็นชาวบ้านเขาเดินทางผ่านมา ก็เลยถามเขาว่า "หมู่บ้านนี้มีคนชื่อเฒ่าเสือไหม ? " ทั้งๆ ที่ท่านไม่รู้จักเฒ่าเสือนั้นเลย
    ชาวบ้านก็บอกว่า มี
    อันว่าเฒ่าเสือนั้น เป็นนายพรานที่ชำนาญป่าแถบนั้นมาก เป็นผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ หลวงปู่จึงบอกชาวบ้านว่า เมื่อกลับเข้าไปในหมู่บ้านแล้ว ช่วยบอกพ่อเฒ่าเสือให้มาหาท่านด้วย ชาวบ้านก็เมื่อกลับถึงหมู่บ้านแล้วก็รีบไปบอกพ่อเสือ
    พ่อเสือก็ได้ออกมาพบหลวงปู่ พอมาถึง ท่านก็ถามว่า
    “เจ้าชื่อเฒ่าเสือ แม่นบ่” (ใช่ไหม)
    เฒ่าเสือตอบว่า แม่น ข่อยนี่หละชื่อเฒ่าเสือ
    หลวงปู่จึงบอกเฒ่าเสือว่า
    "เอ้อเฒ่าเสือเอย ไปหอบเฟือง (ฟาง) มาให้จักมัดใหญ่ๆ แหน่"
    แล้วพ่อเฒ่าเสือก็ไปหาฟางมา โดยเอาผ้าขาวม้ารัดมาถวายหนึ่งมัด
    หลังจากที่เฒ่าเสือถวายฟางมัดหนึ่งแก่หลวงปู่แล้ว ท่านก็บอกเฒ่าเสืออีกว่า
    "ช่วยหาที่พักให้จักบ่อนแหน่ บ่อนได๋ สิดี"
    เฒ่าเสือนั้น แกเป็นนายพรานสันดานดื้อยังมีอยู่ อยากรู้ว่าหลวงพ่อนี้จะดีเด่นแค่ไหน ถ้าไม่แน่ก็จะให้เสือมันจัดการเป็นอาหารในคืนนั้น พ่อเฒ่าเสือก็ยกมัดฟางขึ้นพาดบ่า เดินนำหน้าหลวงพ่อไป เดินทางไปตามซอกเขาประมาณหนึ่งชั่วโมง ก็มาถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นช่องแคบ กว้างพอกางกลดได้เท่านั้นพ่อเฒ่าก็วางมัดฟางลง
    ห่างจากที่นี้ไปประมาณ ๒ เส้น มีแอ่งน้ำเป็นหลุมขนาดพอลงนอนได้ มีน้ำ หลุมนี้เป็นที่สัตว์ป่าทั้งที่ดุร้ายและไม่ดุร้ายลงมากินน้ำเป็นประจำทุกวัน
    พ่อเฒ่าปูฟางจัดที่ถวายแล้วก็ลากลับ
    หลวงพ่อก็เริ่มกางกลดทันที เพราะพลบค่ำใกล้จะมืดแล้ว พลางก็นึกว่า
    “คืนนี้อีกละน้อคงจะพ้ออีหยังจักอย่าง บ่อฮู้ว่าจะแม่นหยังแน่นอน”
    ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร มโนภาพมันจึงคิดไปอย่างนั้น เมื่อกางกลดเสร็จท่านก็เข้าไปในกลด นั่งสวดมนต์ไหว้พระภาวนาเข้าสมาธิ จนถึงเวลาทุ่มเศษๆ ก็นึกจะจำวัดพักผ่อนในคืนนี้ เพราะรู้สึกว่าเหน็ดเหนื่อยมาก พอเอนกายลงครู่เดียวกำลังจะงีบหลับไป ก็มีเสียงมาเตือนว่า
    " ระวังเน้อ ระวังแลงบุ้งกิ้งกือใหญ่ "
    ท่านก็ผวาตื่นขึ้นมาทันที นึกอยู่ว่า อะไรน้อ สัตว์ชื่อนี้ ความหวาดเสียวสะดุ้งกลัวขวัญหนีดีฝ่อก็บังเกิดขึ้นตามปกติวิสัยของมนุษย์ทั่วๆ ไป ท่านก็เลยจำวัดไม่ได้
    "เอาละจะเป็นอย่างไรคืนนี้กูต้องผจญภัย จะเป็นตายอย่างไรแล้วแต่เทวดาฟ้าดินพระอินทร์ พระพรหม จะกรุณา"
    แล้วท่านก็นั่งภาวนาไป ชั่วครู่ก็ได้ยินเสียงดังมาจากฟางที่ปูพื้นบริเวณนอกกลด ดังควั๋กค๊าก เหมือนเสียงตัวปลวกกินฟาง
    ท่านก็เลยหยุดภาวนา แล้วใช้มือลูบจับผ้ามุ้งกลดรอบๆ ตัว
    ก็เลยไปเจอแมลงบุ้งกิ้งกือใหญ่มหึมา ม้วนวงรอบมุ้งกลด ค่อยๆ ขยับเข้ามาเรื่อยๆ เหมือนจะรวบรัดตัวท่าน หลวงปึ่งตกลงตัดสินใจเปิดมุ้งดู ก็เห็นตัวงูใหญ่ลวดลายสีสันเหมือนงูทำทาน ขณะนั้นไม่สามารถจะรู้ได้ว่า ข้างไหนเป็นหัวข้างไหนเป็นหาง เมื่อเห็นดังนั้น ทีแรกท่านนึกว่าจะเปิดมุ้งกระโดดข้ามมันวิ่งหนีไป แต่กลับได้สติคืนมาและนึกถึงคำสั่งสอน ของครูบาอาจารย์ที่ท่านสั่งว่า
    “ถ้ากลัวผีให้เข้าไปอยู่ที่ป่าช้า ถ้ากลัวช้าง เสือ งู สัตว์ดุร้าย ให้เข้าไปอยู่ใกล้สัตว์เหล่านั้น”
    พอคิดได้แล้วก็ตกลงใจ นั่งสวดมนต์ภาวนาทำจิตใจให้เป็นสมาธิตั้งมั่น...
    จนกระทั่งไก่ป่าเริ่มขัน เสียงชะนีกู่ร้องก้องไพร วันใหม่ก็มาถึง แสงสว่างเจิดจ้า
    หลวงปู่ตื่นขึ้นมาก็ไม่เห็นมีอะไร จิตใจก็สบาย จนได้อรุณ ก็ออกบิณฑบาตได้ภัตตาหารพอควรแล้ว ก็กลับคืนที่พัก
    วันนั้นพ่อเฒ่าเสือพร้อมด้วยลูกหลานชาวบ้าน ก็นำอาหารออกไปถวาย
    พอได้โอกาสจึงถามขึ้นว่า
    “เป็นจั่งได๋หลวงพ่อ คืนนี้ มีหยังมารบกวนบ่”
    หลวงพ่อจึงตอบว่า
    “บ่มีหยังนา นอกจากสัตว์ต่างๆ พากันลงมากินน้ำเท่านั้น”
    พ่อเฒ่าเสือก็เกิดอัศจรรย์ใจยิ่งนัก เพราะสถานที่นั้นมีอาถรรพณ์มาก แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น หลวงพ่อพักอยู่คืนต่อมาก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีก ท่านพักอยู่ที่นั่นพอสมควรแล้วก็ออกธุดงค์ต่อไปอีก
    จนพบท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ณ เสนาสนะป่าบ้านผือ ในที่สุด (น่าจะเป็นช่วงก่อนเข้าพรรษาปีพ.ศ. ๒๔๘๙)

    lp-pang-053.jpg
    พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้พบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
    ต่อมาจึงได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เกิดความเลื่อมใสได้ฝากตัวเป็นศิษย์และได้เข้าอบรมอยู่กับพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านผือ นาใน อยู่เป็นเวลาอันสมควร ท่านพระอาจารย์มั่นได้ให้โอวาทว่า “ให้เที่ยวไปองค์เดียว อยู่คนเดียว และตายคนเดียว”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2021
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    หมายเหตุ ประวัติหลวงปู่ผางในช่วงที่อยู่ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นนั้น บางแหล่งข้อมูลได้ระบุว่า หลวงปู่ได้ออกธุดงค์ไปกับพระอาจารย์มั่นด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวเมื่อได้สอบทานกับประวัติท่านพระอาจารย์มั่นหลายๆ แห่งข้อมูล ได้ความว่า พระอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์ครั้งสุดท้ายเมื่อคราวออกธุดงค์จากวัดป่าบ้านนามน มายังวัดป่าบ้านผือ นาใน ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวหลวงปู่ผางเพิ่งจะออกบวชครั้งที่ ๒ และจำพรรษาอยู่ที่วัดคูขาด จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากที่ท่านพระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านผือแล้ว ท่านก็ไม่ได้ออกธุดงค์อีกเลย จนท่านมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ (ข้อมูลจาก ประวัติท่านพระอาจารย์มั่นฉบับสมบูรณ์ โดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร) และหลวงปู่ผางได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่นในราวปีพ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งเป็นเวลาที่พระอาจารย์มั่นไม่ได้ออกธุดงค์แล้ว ฉะนั้นจึงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับห้วงเวลาที่แหล่งข้อมูลดังกล่าวได้ระบุว่าหลวงปู่ผางได้ออกธุดงค์กับท่านพระอาจารย์มั่นว่าเป็นห้วงเวลาใด


    แม้จะไม่มีหลักฐานในการพิสูจน์ถึงห้วงเวลาดังกล่าว แต่เพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เผื่อในภายหน้า อาจจะมีผู้พบข้อมูลใหม่ที่สามารถระบุเวลาที่หลวงปู่ผางออกธุดงค์กับท่านพระอาจารย์มั่นได้ จึงขอนำข้อมูลดังกล่าวมาแสดงไว้ดังนี้


    “ธุดงค์กับหลวงปู่มั่น
    “ ภายหลังออกพรรษาแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้พาคณะออกเดินธุดงค์ และครั้งนี้หลวงปู่ผางได้ติดตามไปด้วย
    “ ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่หลวงปู่มั่นเคยนำมาสอน หลวงปู่ผางได้จดจำเป็นอย่างดีเยี่ยม พยายามจดจำปฏิปทาในการดำรงชีพเพศสมณะต่อไป


    “ ท่านได้พาไปพักตามเงื้อมผาป่าดง ท่ามกลางดงเสือดงช้าง


    “ หลวงปู่มั่นเคยสอนเสมอว่า


    “ “ถ้าจิตใจเรามันยังทำไม่ดีอยู่ ก็ให้เอาเสือเอาช้างนี่หละ มาแก้นิสันสันดานเรา สัตว์พวกนี้เป็นครูฝึกที่ดีกว่าอะไรเสียอีก”
    ...แข็งคาท้อง
    “ สมัยที่หลวงปู่ผางท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านพูดให้ลูกศิษย์ฟังว่า หลวงพ่อมั่นนี้เป็นพระที่ประเสริฐ ท่านล้นด้วยปัญญาบารมีทุกอย่าง


    “ ยามไปปักกลดอยู่กับท่าน ถ้าได้ยินเสือร้องอยู่ในที่ไกลๆ แต่ไม่ค่อยได้เห็นตัว
    “ เสือมันร้องรอบๆ ด้านคล้ายดังกับว่า มาเป็นกองร้อยลาดตระเวนคอยปกปักรักษาอยู่ยามให้
    “ เสียงเสือก็ไม่มารบกวนจิตใจแต่อย่างใด ความจริงก็เป็นเพราะพวกเรายิ่งภาวนาหนักไปเท่านั้น
    “ บางคนกลัวเสือมากไม่ต้องถ่ายหนักเบากันละ ง่วงก็ไม่ง่วง นั่งบ้าง เดินจงกรมบ้าง ทำอยู่อย่างนั้นตลอดคืนตลอดแจ้ง (ท่านพูดแล้วก็หัวเราะ)
    “ แรกเลยทีเดียว ได้ยินเสือร้องทุกคืน ขี้แข็งคาท้องเลยเป็นหลายๆ วันนะ มันไม่ยอมถ่ายท้องนี่ พอเวลามันปวด มันมักจะปวดยามเสือร้องเสียด้วย
    “พอกลัวมากๆ ความปวดโน่นเจ็บนี่พลอยหายไปหมด เป็นอันว่าผ่านไปอีกหนึ่งคืนกับหนึ่งวัน เมื่อพูดถึงความกลัวแล้วน่ะมันที่สุดกันละนะ”
    “ ลูกศิษย์ผู้เล่าให้ผู้เขียนฟังบอกว่า วันที่หลวงพ่อเมตตานะจึงได้ฟังกัน เพราะปกติคนไม่ค่อยกล้าเข้าหาท่าน คิดว่าท่านดุ ความเป็นจริง หลวงปู่ผางท่านมีเมตตาธรรมมากที่สุดเลย


    “หลวงปู่ผาง เคยปรารภกับลูกศิษย์เสมอๆ ว่า


    “ “หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น พระอาจารย์สิงห์ นับเป็นครูบาอาจารย์ที่เสียสละมากที่สุด ทุกข์ทรมานมากที่สุด ลำบากลำเค็ญมากที่สุด หายากในพื้นพิภพปัจจุบัน”
    เคร่งครัดปฏิบัติตาม
    “ หลังจากหลวงปู่ผางได้รับธรรมะและแนวทางอันเป็นอุบายธรรมพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้กราบอำลาพระอาจารย์มั่น ออกเดินธุดงค์ต่อไปโดยลำพัง


    ข้อมูลจาก : หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต เทพเจ้าแห่งภูผาแดง โดย ดำรง ภู่ระย้า

    ศิษย์ท่านเล่าว่า
    คุณดำรง ภู่ระย้า ได้เขียนไว้ในบทความเรื่อง หลวงปู่ผาง จิตฺคุตฺตโต เทพเจ้าแห่งภูผาแดง ไว้ตอนหนึ่งดังนี้


    ผู้เขียน (คุณดำรง) ได้รับคำบอกเล่าจากลูกศิษย์ท่านหนึ่ง ซึ่งในครั้งนั้นท่านผู้นี้พบกับผู้เขียนบนรถโดยสาร และได้เล่าเรื่องหลวงปู่ผาง ให้ฟังว่า....
    “ความจริงหลวงพ่อท่านเล่าว่า จะบวชเพียงชั่วคราว ให้หายจากความทุกข์ที่เข้ามากัดกินจิตใจของท่าน และทดแทนน้ำนมแม่เท่านั้น เมื่อรักษาจิตใจพอสงบระงับลงได้แล้ว ท่านก็จะสึก
    แต่ภายหลังที่ได้พบกับหลวงปู่มั่น ได้รับธรรมะที่มาสะกิดใจท่านในขณะนั้น แล้วนำไปภาวนาดู
    โดยตั้งใจว่า “ถ้าไม่เป็นจริง ไม่คลายทุกข์ได้จริงก็จะสึก แต่ถ้าสามารถแก้ไขจิตใจของท่านได้ และรู้เหตุผลที่เกิดขึ้นกับจิตใจได้ ท่านจะไม่สึก จะขอตายในผ้าเหลือง และจะขอปฏิบัติตามหลวงปู่มั่นสั่งสอนไม่ให้ด่างพร้อยเลยสักข้อเดียว”
    คงจะเป็นเพราะธรรมะเกิดขึ้นกับจิตใจท่านนี้เอง จึงทำให้หลวงปู่ผาง ทุ่มเทชีวิตให้กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบต่อมา จนมีกำลังจิตเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่บรรดาศิษย์ทั้งหลาย


    lp-pang-044.jpg
    ตามหาสถานที่ในนิมิต


    คืนหนึ่งหลวงปู่ได้นิมิตไปว่า ได้ขี่ม้าขาวไปทางจังหวัดขอนแก่น ได้เห็นสถานที่ต่างๆ เลยไปจนถึงอำเภอมัญจาคีรีแล้วม้าขาวก็หยุดให้ท่านลง รุ่งเช้าขึ้นท่านจึงได้ลาพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ออกธุดงค์ไปตามนิมิตนั้นทันที
    หลวงปู่ผางได้ท่องเที่ยววิเวกไปแต่ผู้เดียวในป่าเขา จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นถิ่นทุรกันดารเป็นเวลาหนึ่ง
    พ.ศ. ๒๔๙๑
    ปีนี้ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบัลลังก์ศิลาทิพย์ ตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลา ๑ พรรษา
    เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ได้ธุดงค์ต่อไปยังภูเขาผาแดง อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นทิวเขาที่ไม่มียอดเขาสูง และเป็นเทือกเขาที่อยู่ต่อลงมาทางทิศใต้ของเทือกเขาภูเม็ง ซึ่งเป็นภูเขาใหญ่มียอดเขาสูงและกั้นแดนระหว่างอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นกับอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ บนภูผาแดงนี้ เดิมทีเดียวเป็นป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าดุร้ายมากมายนานาชนิด เช่น เสือ ช้าง หมี งู และสัตว์จำพวกสัตว์เลื้อยคลานพิษร้ายนัก ฯลฯ มีภูตผีปีศาจดุร้าย ป่าติดเป็นพืดไป บริเวณโดยทั่วไปร่มเย็น ปราศจากสิ่งรบกวนให้จิตใจได้ว้าวุ่น สงบวิเวกดี เหมาะแก่สมณะผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม ภายในเทือกเขามีรูน้ำซึมขึ้นมาจากใต้ดินออกทั้งปี แล้วไหลลงไปสู่หนองน้ำเชิงเขา จนเกิดเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ๒-๓ แห่ง และเชื่อกันว่า ที่รูน้ำแห่งนี้มีปลาไหลเผือกขนาดตัวใหญ่มากอาศัยอยู่


    lp-pang-046.jpg
    สถานที่นี้ในอดีตเป็นโบราณสถานเก่าแก่ ชาวบ้านแถบนี้จึงเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ลึกลับและศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีคนหรือพระรูปใดสามารถเข้าไปอยู่ได้ ภูผาแดงนี้ เว้นจากนายพรานล่าสัตว์แล้ว ยากนักที่ชาวบ้านจะขึ้นไป ถึงขนาดว่าเข้าไปหาของป่า ชาวบ้านก็ไม่กล้าที่จะอยู่จนถึงเวลาบ่าย ต้องรีบกลับลงจากภูผาแดง


    หลวงปู่ผางเมื่อธุดงค์มาถึงบริเวณนี้ ที่นั่นท่านได้พบ “ถ้ำกงเกวียน” ซึ่งเป็นถ้ำลึกลับอยู่บนภูผาแดง ไม่มีใครทราบว่าถ้ำแห่งนี้เมื่อเดินเข้าไปแล้วจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน หลวงปู่ผางได้ใช้พลาญหินบริเวณปากถ้ำแห่งนี้เป็นที่บำเพ็ญเพียรภาวนา และในเวลาต่อมาท่านได้ทราบจากนิมิตว่า ที่นี่มีโครงกระดูกของท่านแต่อดีตชาติถูกฝังไว้ เพราะเมื่อชาติก่อนท่านได้เสียชีวิตลงในขณะที่กำลังสร้างพระเจดีย์ค้างอยู่ พอตกมาถึงชาตินี้ ด้วยจิตใจอันตั้งมั่นที่จะสร้างพระเจดีย์ให้สำเร็จ ทำให้เกิดเป็นนิมิตต่างๆ ดลใจให้ท่านมายังสถานที่แห่งนี้ เพื่อสานต่อปณิธานที่ค้างมาตั้งแต่ชาติก่อนๆ
    ย้อนเวลากลับไปเมื่อ ๑๐ ปีก่อน ณ ที่เชิงภูผาแดงที่ซึ่งมีน้ำพุผุดขึ้นมาจากใต้ดิน แล้วเกิดเป็นหนองน้ำนั้น เป็นที่ตั้งของวัดดูน ซึ่งอยู่ห่างจากถ้ำกงเกวียน บนภูผาแดงที่หลวงปู่ผางบำเพ็ญภาวนา ไปประมาณ ๑ กิโลเมตร บริเวณนี้แม้จะเป็นพื้นที่อันตรายสำหรับชาวบ้าน แต่สำหรับพระป่ากรรมฐานอย่าง “พระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน” วัดสมศรี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หนึ่งในกองทัพธรรมของพระป่าแห่งภาคอีสาน ลูกศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ฯลฯ แล้ว พื้นที่แบบนี้สำหรับท่าน ถือเป็นสัปปายะชั้นดีที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง
    ในปีพ.ศ. ๒๔๘๒ นับเป็นปีแรกที่ท่านได้ธุดงค์จากจังหวัดนครราชสีมาและจำพรรษา ณ บริเวณดังกล่าว หลวงพ่อสีทนก็ได้พาชาวบ้านทั้ง ๓ หมู่บ้าน คือหมู่บ้านดอนแก่นเท่า หมู่บ้านโสกใหญ่ และหมู่บ้านโสกน้ำขุ่น ซึ่งเป็นหมู่บ้านด่านหน้าก่อนที่จะมาถึงวัดดูน ช่วยกันสร้างศาลาโรงฉัน พร้อมด้วยกุฏิให้ท่าน ๑ หลัง


    lp-pang-052.jpg
    วัดดูนนั้น แท้จริงแล้วจะมีสภาพเป็นเพียงสำนักสงฆ์ก็ตาม แต่ชาวบ้านก็เรียกสถานที่จำพรรษาของหลวงพ่อสีทนว่า “วัด” โดยเรียกชื่อว่าวัดดูน (ดูน-น้ำที่ซึมไหลออกมาตลอดปี จนกลายเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่) และต่อมา หลวงพ่อสีทนก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดอุดมคงคาคีรีเขต อันมีความหมายตรงกับความเป็นจริงตามสภาพแวดล้อมว่า วัดที่มีน้ำอันอุดมสมบูรณ์และภูเขาเป็นอาณาเขต
    เมื่อแรกที่หลวงปู่ผางธุดงค์มายังภูผาแดงนั้น แม้ท่านทั้งสองจะปฏิบัติธรรมอยู่ในบริเวณที่ห่างกันเพียง ๑ กิโลเมตร เท่านั้น แต่ก็เหมือนว่าพระกรรมฐานทั้งสององค์นี้จะนั่งหันหลังให้กันเพราะต่างองค์ต่างนั่งภาวนาในที่ของตนเอง คือหลวงปู่ผางอยู่ในถ้ำกงเกวียนบนเขา ส่วนพระอาจารย์มหาสีทนอยู่วัดดูน บริเวณเชิงเขา
    อยู่มาวันหนึ่ง เป็นเวลากลางคืน ชาวบ้านต้องเกิดตระหนกตกใจกันทั่วหมู่บ้าน เพราะบนดอยภูผาแดงได้บังเกิดแสงสว่างอันประหลาดซึ่งทอแสงเป็นรัศมีกว้างปกคลุมภูผาแดงโดยทั่วไป
    สีแสงนั้นงดงามยิ่งนัก มองดูแล้วเย็นจิตเย็นใจอย่างประหลาด ต่างก็หลากใจไปตามๆ กัน
    เพราะตั้งแต่เกิดมาลืมตามองเห็นภูผาแดงก็ไม่เคยเห็นสีแสงอย่างเช่นคืนนี้ และแสงที่เป็นรัศมีที่น่าอัศจรรย์นี้ก็ไม่เคยพบเห็นมาก่อน
    วันรุ่งขึ้น ชาวบ้านได้คัดเลือกผู้ชายใจแกล้วกล้าได้กลุ่มหนึ่งเดินทางขึ้นดอยหรือภูผาแดง ซึ่งไม่ยากในการค้นหาที่มาของแสงประหลาด เพราะเป็นภูเขาลูกเล็กๆ เตี้ยๆ
    เมื่อทุกคนขึ้นไปถึง ก็พบกับหลวงปู่ผาง พระที่เคยออกรับบาตรโปรดพวกเขานั่นเอง
    ชาวบ้านแสนจะดีใจ ที่ได้พบผู้วิเศษด้วยศีลธรรมและเป็นพระสงฆ์ที่มีความสงบเสงี่ยมอันหาได้ยาก
    ดังนั้นชาวบ้านจึงร่วมกันนิมนต์ให้ท่านไปจำพรรษาที่วัดดูนซึ่งอยู่ที่เชิงเขา
    พ.ศ. ๒๔๙๒
    เมื่อหลวงปู่ผางได้มาถึงวัดดูน ซึ่งในขณะนั้น มีเพียง กุฏิ ๑ หลัง และศาลาโรงฉันอีก ๑ หลัง เท่านั้น ท่านก็ได้พบกับหลวงปู่มหาสีทนเป็นครั้งแรก เรื่องราวในช่วงประวัติดังกล่าว หลวงปู่ผางได้เล่าไว้ในหนังสือรับรองการสร้างวัด ที่ท่านได้ให้การไว้กับกรมป่าไม้ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เมื่อครั้งที่ท่านในฐานะเจ้าอาวาสวัดอุดมคงคาคีรีเขต ได้ทำเรื่องขอกันพื้นที่วัดจำนวน ๔๘๐ ไร่ ออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ไว้ดังนี้


    lp-pang-013.jpg
    “ได้ธุดงค์เข้ามาถึงวัดแห่งนี้ สมัยนั้นชาวบ้านเรียกกันว่า “ดูน” ในครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๒ แต่พอมาถึงก็เห็นท่านพระมหาสีทน กาญฺจโน ได้ปักกลดอยู่ใต้ร่มไม้องค์เดียวอยู่ก่อนแล้ว ท่านพระมหาสีทน กำลังพาญาติโยมทำเป็นเพิงกันฝนสำหรับพักฉันข้าวหลังเล็กๆ ขึ้น ๑ หลัง ในสมัยนั้นการศึกษาก็ยังไม่มี ส่วนมากไม่ค่อยอ่านหนังสือ หรือเขียนหนังสือกันได้เลย ท่านหลวงปู่เล่าว่า
    ได้พูดคุยอยู่กับท่านพระมหาสีทน ตอนเย็นในช่วงที่อยู่ด้วยกันเป็นประจำ ญาพ่อ (หลวงปู่ผาง) ถามท่านพระมหาสีทนว่า ได้มาปฏิบัติกรรมฐานอยู่องค์เดียวอย่างนี้กี่ปีแล้ว
    ท่านตอบว่า ตั้งแต่ผมเข้ามาอยู่ที่นี้ราวๆ ๑๐ ปีเห็นจะได้ (เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒) ตอนผมเข้ามาอยู่ใหม่ๆ สัตว์ร้ายนานาชนิดมาก และชุกชุมจนไม่มีใครกล้าเข้ามาในบริเวณนี้ได้เลย ท่านพระมหาสีทนพูดต่อไปว่า ตอนกลางคืนของทุกๆ คืน เสือก็มาหาผมบ้าง ช้างก็มาหาผมบ้าง ยังไม่มีใครสนใจผมหรอกในตอนนั้น เพราะเขากลัวสัตว์ร้าย ผมออกไปบิณฑบาต บ้านโสกใหญ่บ้าง บ้านดอนแก่นเท่าบ้าง บ้านโสกน้ำขุ่นบ้าง ตอนแรกเขายังไม่ศรัทธาเลย เด็กๆ พากันวิ่งหนีเวลาเห็นผมไปบิณฑบาต ผมก็นึกสงสารเขามาก เขาคงจะกลัวถึงได้วิ่งหนี แต่พอนานๆ เข้า เขาก็ไม่กลัว ผู้เฒ่าผู้แก่จะมาทำกุฏิถวายผมเหมือนกัน แต่ผมไม่ให้เขาทำ เพราะผมยังไม่แน่ว่าจะธุดงค์ต่อไปไหนอีก ท่านมาก็ดีเหมือนกัน ผมกำลังอยากมีเพื่อนอยู่พอดี ผมขอนิมนต์อยู่ที่นี้นะ


    (หลวงปู่ผางตอบว่า) ผมขอคิดดูก่อน ถ้ามันสะดวก ผมก็จะอยู่
    เราอยู่ด้วยกันมาอีกประมาณ ๔ – ๕ ปี ท่านพระมหาสีทนก็ขอลา ออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือ ไม่กลับมาอีกเลย
    ตอนเราอยู่ด้วยกัน ได้พาญาติโยมสร้างกุฏิขึ้น ๒ หลัง ศาลาพักฉันข้าว ๑ หลัง ตอนนั้นมีทายกทายิกาช่วยกันสร้าง ทั้งสามหมู่บ้านด้วยกัน มีทายกทายิกาประจำวัดตอนนั้น ได้แก่ ๑. นายผง บ้านโสกน้ำขุ่น ๒. นายหอม บ้านดอนแก่นเท่า ๓. นายสม บ้านโสกใหญ่ เป็นทายกอุปัฏฐากวัด ตอนนั้นยังไม่มีใครสนใจทำหลักฐานอะไรไว้ เพราะไม่มีผู้เขียนหนังสือได้กันเลยในตอนนั้น การคมนาคมก็ไม่สะดวก เพราะอยู่ห่างจากตัวเมืองมาก”
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,529
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    (cont.)
    ถึงหลวงปู่ผางจะอายุมากกว่าพระอาจารย์มหาสีทน (หลวงปู่ผางแก่กว่าพระมหาสีทน ๔ ปี) แต่ตามธรรมเนียมพระที่นับอาวุโสจากพรรษาที่บวช (พระมหาสีทนมีพรรษามากกว่าหลวงปู่ผาง ๑๕ ปี) หลวงปู่ผางผู้มาเยือนจึงได้ก้มลงกราบพระอาจารย์มหาสีทนและตกลงจำพรรษาที่วัดดูน
    พระอาจารย์มหาสีทนนั้นท่านเป็นพระป่ากรรมฐานที่มีวิชาอาคม หลังจากท่านสอบเปรียญธรรม ๓ ประโยคได้ ท่านจึงออกเดินธุดงค์แสวงหาความสงบและเผยแผ่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รวมถึงการสร้างวัดวาอารามและถาวรวัตถุต่างๆ ไว้ในพระพุทธศาสนาหลายแห่ง
    ประมาณว่าเมื่อท่านเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ใด และพบว่าวัดไหนอยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านก็จะอยู่ช่วยบูรณะ ส่วนบางสถานที่หากท่านพิจารณาเห็นว่าที่นี่เหมาะสม ท่านก็จะสร้างวัดและถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆ ให้กับเจ้าอาวาสก่อนที่ท่านจะออกเดินธุดงค์ต่อไป ทำให้ท่านเป็นพระที่มีลูกศิษย์มากมาย
    จนเมื่อท่านได้เดินธุดงค์มาถึงบริเวณเขตวัดดูน ซึ่งในระยะแรกที่พระอาจารย์มหาสีทนอยู่จำพรรษา สิ่งปลูกสร้างในวัดมีเพียงศาลาและกุฏิหลังคาแฝกเพียงหลังเดียวเท่านั้น ไม่มีใครทราบว่า เพราะเหตุใดพระอาจารย์มหาสีทนจึงมิได้ขยับขยายหรือเร่งรีบในการก่อสร้างเสนาสนะแต่อย่างใด ผิดกับวัดอื่นๆ ที่ท่านเคยสร้างมา ประหนึ่งเหมือนท่านจะรอคอยบางอย่าง
    จนกระทั่งอีก ๑๐ ปีต่อมา เหตุผลของการรอคอยก็ปรากฏ
    ทั้งนี้เพราะพระอาจารย์มหาสีทนเหมือนหนึ่งได้ทราบแล้วว่าต่อไปวัดอุดมคงคาคีรีเขตแห่งนี้ จะเจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยฝีมือและบารมีของพระภิกษุผู้มาเยือน ดังนั้นเมื่อหลวงปู่ผางได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ท่านจึงได้เมตตาแนะนำการปฏิบัติกรรมฐานพร้อมกับถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆ ให้หลวงปู่ผางจนหมดสิ้น
    ด้วยทุนบารมีเดิมที่มีอยู่ติดตัวมาตั้งแต่อดีตชาติ ทำให้ในเวลาไม่นานนักหลวงปู่ผางสามารถเรียนรู้และแตกฉานในสิ่งต่างๆ ที่พระอาจารย์มหาสีทนได้สอน และเมื่อพระอาจารย์มหาสีทนได้พิจารณาแล้วเห็นว่าหลวงปู่ผางสามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเองแล้ว พระมหาสีทนก็ออกธุดงค์ไปทางภูเก้า เขตท้องที่อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี และไม่ได้กลับมาอีกเลย
    ในเรื่องการเป็นศิษย์เป็นอาจารย์กันนั้น “ส.ธำรงค์ศาสน์” ซึ่งเป็นผู้เขียนประวัติของพระอาจารย์สีทน ตามข้อมูลที่ได้จากการไปกราบนมัสการหลวงปู่พระมหาสีทนด้วยตัวเอง และในบทความตามคำบอกของหลวงปู่พระมหาสีทน สมัยหลวงปู่ยังทรงธาตุขันธ์อยู่ ประมาณปี ๒๕๑๗ ช่วงย้ายมาจากวัดสันติกาวาส อ.เซกา จ.หนองคาย มารักษาอาการอาพาธที่โรงบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น โดยจำพรรษาที่วัดสมศรี บ้านพระคือ ขอนแก่น ได้ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า
    “ตอนหนึ่งผู้เขียนเรียนถามหลวงปู่ว่า ‘หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขตที่โด่งดังอยู่ในขณะนี้ หลวงปู่เคยรู้จักบ้างไหม?’
    ‘หลวงปู่ผางนั่นหรือ ?’ หลวงปู่ทวนคำถามพร้อมกับมองหน้าผู้เขียนแล้วยิ้มให้เล็กน้อยและพูดต่อไปว่า
    ‘หลวงปู่ผางก็ลูกศิษย์ของเราเอง คราวที่เราไปสร้างวัดที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ก็ได้หลวงปู่ผางนี้แหละไปช่วยแรงหนึ่ง อยู่ด้วยจนตลอดพรรษา วัดอุดมคงคาคีรีเขตที่ท่านอยู่ทุกวันนี้ ก็เราเองเป็นผู้วิ่งเต้นช่วยเหลือให้เป็นวัดขึ้นมาได้’
    ผู้เขียน (ส. ธำรงค์ศาสน์) ฟังแล้วก็รู้สึกภูมิใจ ที่หลวงปู่มีลูกศิษย์ที่ขึ้นชื่อลือนาม มีคนเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างมากในขณะนี้”
    เมื่อแรกที่หลวงปู่ผางรับนิมนต์จากชาวบ้าน ลงจากภูผาแดงมาพำนักอยู่ที่วัดดูนและได้พบกับพระมหาสีทนนั้น สิ่งก่อสร้างในวัดยังคงมีเพียงกุฏิหลังคามุงแฝกของพระมหาสีทน ๑ หลัง และศาลาโรงฉันอีก ๑ หลังเท่านั้น หลวงปู่ผางจึงเลือกที่จะปักกลดพักอยู่ที่ข้างโพรงที่มีน้ำซึมออกมาตลอดทั้งปี ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ดูน”

    lp-pang-038.jpg
    สละร่างให้งูยักษ์กิน
    หลังจากพักอยู่ข้างน้ำดูนได้ ๗ วันแล้ว ท่านจึงได้ย้ายไปพักที่แห่งใหม่ ได้ที่เหมาะใต้พุ่มไม้หนามีพลาญหินอยู่ใต้ต้นไม้นั้น ( ปัจจุบันอยู่หน้าอุโบสถวัดดูน ) ปักกลดปฏิบัติภาวนาที่นี่ คืนแรกก็ปกติ เงียบไม่มีอะไร ตกคืนที่สองตอนเย็น ขณะเดินจงกรมอยู่ สังเกตเห็นว่ามันช่างเงียบผิดปกติเสียจริงๆ
    ท่านตั้งท่าระวัง ขณะต่อมาท่านก็ต้องขนลุกไปทั้งตัว เมื่อได้ยินเสียงดังฮอกๆ ท่านว่าเห็นงูใหญ่ตัวเท่าต้นขา กำลังเลื้อยเข้าไปในรูหิน ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับที่ท่านพักนั่นเอง
    เจอเจ้าถิ่นเข้าให้แล้วไหมล่ะ หรือว่าเราปักกลดขวางทาง
    นี่น่ะ ถูกที่ดีแล้ว ตัดสินใจดั้นด้นมาถึงนี่แล้ว ต้องลองกันสักตั้งให้รู้ดำรู้แดงไปเลย
    ท่านก็ยิ่งเร่งตั้งใจภาวนา พอตกคืนที่สาม กำลังเดินจงกรมอยู่ ก็ได้ยินเสียงผิดปกติอีก ต้องเป็นเสียงงูตัวเมื่อวานนี้แน่ๆ เสียงใบไม้กับพลาญหินเสียดสีกันดังวี๊ดๆ วื๊ดๆๆ ฮอกๆๆๆ ใกล้เข้ามาๆ เหมือนกับรู้ตัวว่าอะไรจะเกิดขึ้น จึงได้นั่งลงข้างกลด นั่งนิ่งระงับความตื่นเต้นไว้ได้ กำหนดถามใจตัวเองดูว่า "กลัวงูใหญ่ตัวนี้หรือไม่ ?" ใจตอบตัวเองว่า "ไม่กลัว" จึงได้กำหนดจิตแผ่เมตตาให้มัน จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
    ขณะงูใหญ่เลื้อยมาอยู่ตรงหน้าท่าน อัาปากกว้าง แลบลิ้นแผล็บๆๆ ทำท่าเหมือนจะกินท่านเป็นอาหารอยู่นั้น ท่านจึงพูดกับมันว่า "ถ้าจะกินเราต้องกินให้หมดทั้งบริขาร กลด บาตร จีวร ต้องกินเข้าไปให้หมด อย่าให้เหลือ เรายอมตายแล้ว สละหมดแล้วทุกอย่างแม้ชีวิต"

    ขณะนั้นจิตของท่านตั้งมั่นแน่นเหมือนหิน มีสติอยู่กับตัวตลอดเวลา แนบมือเข้ากับลำตัว ชิดเท้าเข้ากัน นอนเหยียดยาวเพื่อให้งูกิน

    งูตัวนั้นมันคงหิวจัดกระมัง อดอาหารมานานหลายวัน คงหาสัตว์อื่นกินเป็นอาหารไม่ได้แล้ว มันจึงมาหากินคน ท่านว่ามันเริ่มขยอกกลืนกินท่านเข้าไปในปากของมันเรื่อยๆๆ มันกลืนกินตัวเราเข้าไปถึงไหน เย้นเย็น เย็นยะเยือกไปถึงนั่น

    ขณะที่หลวงปู่อยู่ในปากของงูใหญ่นั้น ท่านก็กำหนดภาวนาวางความตาย ตายๆๆๆๆ จนหมดความกลัวตาย เมื่อจิตใจทอดอาลัยเสียดายในชีวิตได้แล้ว จิตก็รวมวูบเข้าเป็นสมาธิ ผู้รู้ก็เป็นอันหนึ่งต่างหาก กายเวทนาก็เป็นอันหนึ่งต่างหาก สติตามดูรู้หมด เป็นอย่างนั้นอยู่นาน เมื่อจิตถอนออกมาแล้ว

    ไม่มีความโกรธหรือผูกอาฆาตพยาบาทมันเลย มีแต่ความองอาจ กล้าหาญ ไม่สะทกสะท้าน กำหนดจิตแผ่เมตตาให้ และภาวนากำหนดดูมันอยู่อย่างนั้น
    มันขยอกตัวท่านเข้าไปในท้อง เข้าไปช้าๆๆ จนกระทั่งถึงลำคอหลวงปู่ แล้วมันก็หยุดอยู่แค่นั้น ไม่กินต่อ
    ท่านก็เลยพูดกับมันว่า "หยังจังบ่กินให้หมดทั้งโตล่ะ ถ้ากินบ่หมด เฮาสิเอาศอกถองพุงเอาเด๊ะ " (ทำไมไม่กินให้หมดทั้งตัวล่ะ ถ้ากินไม่หมด เราจะเอาศอกกระทุ้งเอาน่ะ) ว่าแล้วท่านก็เอาศอกกระทุ้งมันเบาๆ จากนั้นมันก็เริ่มคายขยอกลำตัวท่านออกมาจากปากของมัน แล้วมันก็เลื้อยถอยออกห่างไปนิดหนึ่ง แล้วก็ชูคอยกหัวขึ้นลงๆ อยู่สามครั้ง เหมือนว่ากราบขอขมาลาโทษ ขออโหสิกรรมที่ได้ล่วงเกินท่าน แล้วมันก็เลื้อยเข้ารูไป

    นับจากนั้นมา ท่านว่าไม่เคยเห็นงูตัวนั้นปรากฏตัวให้เห็นอีกเลย ท่านว่ามันเริ่มกินท่านตั้งแต่ ๓ ทุ่ม จนกระทั่งถึงตี ๕ จึงได้คายท่านออกจากปาก สบงจีวรที่ท่านนุ่งห่มอยู่นั้นเปียกปอนหมดเลย (ปัจจุบันที่ตรงนี้ ลูกศิษย์ ได้ปั้นรูปงูใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์)
    เช้ามา ท่านเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน
    ชาวบ้านถาม "ทำไมหลวงพ่อจึงห่มจีวรเปียกมาบิณฑบาตล่ะ”
    ท่านว่า "เมื่อคืนนี้สู้กับเขาทั้งคืน"
    ท่านเลยเล่าเหตุการณ์ที่ได้ประสบเมื่อคืนนี้ให้ชาวบ้านฟัง เมื่อชาวบ้านได้ฟังดังนั้น ต่างก็อัศจรรย์ยิ่งนัก ยิ่งเคารพเลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่มากขึ้น ต่อมาชาวบ้านจึงได้ร่วมกันมาสร้างกระต๊อบให้หลังเล็กๆ พอได้หลบแดดหลบฝน มุงด้วยหญ้าคา กั้นข้างฝาด้วยแถบใบตองกุง ใบตองชาด
    ( จากหนังสือ " ชีวประวัติ ปฏิปทาและคติธรรม ของหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตโต " )

    นิมิตเห็นสถานที่ตั้งพระเจดีย์กู่แก้ว
    วันหนึ่ง ขณะที่หลวงปู่บำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ ท่านได้นิมิตในสมาธิว่าได้เดินไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่พัก จนมาถึงสถานที่หนึ่ง (ซึ่งปัจจุบันที่ตั้งของพระเจดีย์กู่แก้ว) ณ ที่นั้นท่านก็ได้เห็นรูขนาดใหญ่ มีซากปรักหักพัง มีเศษอิฐเศษหิน ลักษณะเหมือนเป็นเจดีย์โบราณอยู่ ท่านจึงขึ้นไปบนขอนไม้ซึ่งวางอยู่ข้างๆ รูขนาดใหญ่นั้น พอขึ้นไปบนขอนไม้แล้วตัวท่านก็ตกลงไปในรูใหญ่นั้น ต่อจากนั้นจิตก็ถอนออกจากสมาธิ จึงได้มาคิดพิจารณา ทราบว่าในอดีต ที่ตรงนี้เคยเป็นที่ภาวนาของหลวงปู่ และได้เห็นดวงแก้วส่งประกายขึ้นมาจากพื้นดิน
    พอตื่นเช้ามาหลังจากฉันเสร็จแล้ว ท่านจึงได้เดินไปดูตามที่เห็นในนิมิตนั้น ก็มองเห็นว่ามีขอนไม้อยู่ข้างๆ รูจริงตามที่ท่านเห็นในนิมิต และบริเวณรอบๆ นั้นก็มองเห็นเป็นซากกู่เก่า (กู่ ภาษาอีสานใช้เรียก เจดีย์หรือพระธาตุ) มีลูกนิมิต, ใบเสมา, ซากอิฐดินเผา, เศษไห เศษหม้อโบราณ อยู่ทั่วไป หลวงปู่จึงมาปักกลด พักภาวนาที่กู่เก่านี้
    ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านจึงได้สร้างเป็นเจดีย์ครอบไว้ เรียกกันว่า “พระเจดีย์กู่แก้ว” เพราะสร้างครอบลูกแก้วดวงใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ – ๗ นิ้ว และเมื่อถึงวันสำคัญมักจะมีปาฏิหาริย์ปรากฏดวงไฟใหญ่เปล่งแสงสว่างไสวไปทั่ววัด และเชื่อกันว่า เหล่าเทพเทวดา พญานาค และภูตผีที่สถิตอยู่ที่ภูผาแดงต่างลงมาฟังเทศน์ฟังธรรมจากองค์หลวงปู่ ทางถ้ำลึกลับบนยอดภูผาแดง (ถ้ำกงเกวียน) มาที่รูใหญ่ที่กู่แก้วที่อยู่ในวัดบริเวณเชิงเขา ชาวบ้านที่อยู่ด้านล่างภูผาแดงต่างได้เห็นปาฏิหาริย์โดยทั่วกัน หลังจากสร้างพระเจดีย์กู่แก้วเสร็จหลวงปู่ได้ปิดปากถ้ำ คงไว้ซึ่งตำนานชั่วนิรันดร์...
    ภาวนาอย่างอุกฤษฏ์
    ท่านพักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่กู่เก่าได้ ๗ วัน แล้วจึงย้ายไปพักที่กุฏิบุ่ง (บุ่ง หมายถึงสถานที่ลุ่ม มีแหล่งน้ำ มีต้นไม้และเถาวัลย์ปกคลุม) ซึ่งชาวบ้านสร้างถวายท่าน ณ กุฏิหลังนี้ท่านตั้งสัจจะอธิษฐานว่าจะอดอาหาร ๕๐ วัน
    ๖ วันแรกท่านไม่ฉันอะไรเลย แม้แต่น้ำก็ไม่ฉัน หลังจากนั้นจึงฉันแต่น้ำเปล่าเท่านั้น ตั้งใจปฏิบัติภาวนาอย่างอุกฤษฏ์ เอาเป็นเอาตายเข้าว่า นั่งสมาธิทั้งวัน เดินจงกรมตลอดทั้งคืน บางทีก็นั่งสมาธิตลอดคืน สลับกับเดินจงกรมทั้งวัน ทำอยู่อย่างนั้นจนร่างกายอ่อนเพลียมาก เดินไม่ไหว เดินไม่ไหวก็ไม่ต้องเดิน ท่านก็ได้แต่นั่งภาวนาเอา ร่างกายท่านซูบผอมมาก เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก
    พอชาวบ้านเห็นดังนั้น ต่างก็ตกอกตกใจ บางคนสงสารท่านมากถึงกับร้องไห้อ้อนวอนให้ท่านฉันอาหารเสีย ท่านก็ไม่ยอม พองดอาหารมาได้ ๔๕ วัน เมื่อขาดสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายมากๆ เข้า ท่านก็ไม่สามารถลุกนั่งได้

    แต่จิตใจท่านไม่เคยย่อท้อ กลับมีกำลังเข้มแข็ง จิตใจเหมือนจะเหาะจะบิน เพราะมีความปีติสุขเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง มีความอิ่มอกอิ่มใจดื่มด่ำอยู่ในรสแห่งพระธรรม ดังคำที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธมฺมรโส สพฺพรสํ ชินาติ รสแห่งธรรม ย่อมชนะซึ่งรสทั้งปวง ดังนี้ ท่านมีความรื่นเริงบันเทิงเบิกบาน มุ่งมั่นอยู่กับอรรถกับธรรมที่กำลังพินิจพิจารณาอยู่ ยิ่งอดก็ยิ่งได้กำลังใจ ภาวนาสะดวกยิ่งขึ้น จิตสงบเป็นสมาธิได้ง่าย เมื่อพิจารณาทางด้านปัญญายิ่งคล่องแคล่ว



    lp-pang-035.jpg
    หลวงปู่สั่งเผาศาลตาปู่
    ในสมัยก่อนชาวบ้านแถวมัญจาคีรีนับถือภูตผีมาก แต่ละหมู่บ้านก็มีตูบตาปู่ (ศาลเจ้า) ไว้ประจำหมู่บ้านเพื่อกราบไหว้ เซ่นสรวงบนบาน บอกกล่าวขอความคุ้มครอง หลวงปู่ผางสั่งสอนชาวบ้าน ให้เลิกนับถือผี หันมานับถือพระรัตนตรัย แต่ชาวบ้านเกรงกลัวผีจะมาทำร้าย ทำให้เกิดความลำบาก ไม่อาจเลิกนับถือผีได้
    หลวงปู่มีอุบายอันชาญฉลาด เพื่อที่จะให้ชาวบ้านได้เห็นว่า พระรัตนตรัยย่อมมีอานุภาพมากกว่าผี ท่านจึงให้ชาวบ้านเผาตูบตาปู่ทิ้ง เมื่อชาวบ้านไม่กล้าเผา ท่านก็ให้กำลังใจชาวบ้าน และบอกว่า ถ้าเจ้าปู่เจ้าผี เจ้าของตูบตาปู่มีจริง ก็ให้เข้ามาดับไฟเอาเอง ชาวบ้านจึงได้กล้าเผา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...