เรื่องเด่น อรูปฌาณเป็นสัมมาสมาธิหรือไม่? ทำไมพระไตรปิฎกกล่าวถึงแต่รูปฌาณ...ขอความรู้ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิทย์, 3 มกราคม 2008.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,463
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค
    [​IMG]
    [​IMG]
    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
    วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
    อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
    โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา-
    *สมาธิ ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๗๒๑ - ๖๗๒๙. หน้าที่ ๒๗๖.
    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=6721&Z=6729&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_10
     
  2. Parinya2021

    Parinya2021 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2021
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +2
    อรูปฌาณ ก็สำเร็จมรรคผลได้ ลองดู คำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีต่อ พรามณ์ พาวรี ในโสฬสปัญหาดูก็ได้ครับ พราม ท่านสำเร็จ อรูปฌาณ พระพุทธเจ้าท่านก็ชมบอกทำได้ดีเเล้ว ทำให้มาก ไม่เห็นท่านให้เลิก เเล้ว ลดลงมาที่ ระดับต่ำกว่านั้นเลย ยกอีกตัวอย่างสมมติ อาจารณ์ ทั้งสองของท่านยังอยู่ อุทกดาษส กับ อาฟารดาบสยังอยู่ คิดว่า พระพุทธเจ้าจะสอน ท่านทั้งสองอย่างไร?? ประเด็น คือ สัมมาสมาธิ กับ ฌาณ มันเป็น ของที่อาศัยกันเเละกัน คือ ต้องมีสัมมาสติก่อน ฌาณที่ทำก็เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าไม่มีสัมมาสติ ฌาณที่ทำก็เป็น มิจฉาสมาธิ หัวใจการปฏิบัติคือ สัมมาสติ หรือสติปัฐานสี่ คือหัวใจการปฏิบัติเพื่อมรรคผล ส่วนสมาธิ คือกำลังของสติ ถ้าเพื่อบรรลุธรรม ก็ต้องระดับฌาณสี่
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    [​IMG]
    สัญญาสูตร
    [๒๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่-
    *ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
    ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การ
    ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
    อารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
    สำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ
    ว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็น
    อากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็น
    วิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็น
    อากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่า
    เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลก
    นี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึง
    แล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
    ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรอง
    ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
    โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่
    ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความ
    สละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
    ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี-
    *ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโป-
    *ธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุ
    เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
    อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
    สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น
    เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง
    ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไป
    หาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้น
    ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
    ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การ
    ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น-
    *อารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็น
    ผู้มีสัญญา ฯ
    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุ
    ได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ
    เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง
    เป็นผู้มีสัญญา ฯ
    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
    โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ
    ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง
    ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
    สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญา
    อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง
    ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
    ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
    ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญ
    ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวง
    หาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถ
    กับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบ
    กันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้
    กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาค
    ก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผม
    เหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
    มีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของ
    พระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...